Advance search

บ้านลำปางหลวง

วัดพระธาตุลำปางลำปางหลวง ที่มีศิลปะแบบพม่าและล้านนา บ่อน้ำเลี้ยงพระนางจามเทวี น้ำพุร้อนโป่งร้อน พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อนุสาวรีย์พระแม่จามเทวี แนวกำแพงเมืองเป็นคันดิน 3 ชั้น

ลำปางหลวง
เกาะคา
ลำปาง
พุทธิพงศ์ องอาจ
16 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 เม.ย. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 เม.ย. 2024
บ้านลำปางหลวง


ชุมชนชนบท

วัดพระธาตุลำปางลำปางหลวง ที่มีศิลปะแบบพม่าและล้านนา บ่อน้ำเลี้ยงพระนางจามเทวี น้ำพุร้อนโป่งร้อน พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อนุสาวรีย์พระแม่จามเทวี แนวกำแพงเมืองเป็นคันดิน 3 ชั้น

ลำปางหลวง
เกาะคา
ลำปาง
52130
เทศบาลตําบลลําปางหลวง โทร. 0-5432-7784
18.2164600186
99.3916516281
เทศบาลตำบลลําปางหลวง

ย่านชุมชนเก่าลำปางหลวงมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบโครงสร้างวัฒนธรรมล้านนา อันได้แก่ระบบเวียงทางศาสนา ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนประวัติศาสตร์เวียงพระธาตุลำปางหลวง แสดงออกถึงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานแบบโบราณของชุมชนเมืองล้านนา ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อดูแลปกป้องวัดพระธาตุลำปางหลวง โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย คันดิน คูเวียง แสดงถึงภูมิปัญญาในการสร้างคูเมืองโดยนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ผ่านลำเหมือง

วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นศูนย์กลางของชุมชน ตั้งอยู่บนเนิน โดยที่ว่างหน้าลานวัดหรือข่วง เป็นความสัมพันธ์ตามคติความเชื่อล้านนาโบราณ การที่ให้วัดเป็นจุดหมายตาและอยู่บนที่สูงประกอบกับมีขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้เห็นและระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ตลอด บ่อน้ำพระนางจามเทวี เป็นบ่อน้ำกลางเมืองก่อนการสร้างชุมชน ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีเป็นรูปแบบของอารยธรรมหริภุญไชย บ่อน้ำนี้มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง เรือนพักอาศัย มีผังการวางตัวไปตามแกนเหนือใต้ตามคติความเชื่อเรื่องทิศแห่งความสมบูรณ์ การประกอบอาชีพเกษตรกรรม แสดงถึงภูมิปัญญาในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อดำรงชีพ วัดพระธาตุลำปางหลวงได้มีประวัติที่สำคัญเกี่ยวเนื่องกับเจ้าเมืองเชียงใหม่โดยปี พ.ศ. 2275 นครลำปางว่างจาก ผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศ เจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายืดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้นหนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางดก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ วองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้าง ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าทิพย์จักรสุละวะถไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปางและเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง, เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ และ ณ ลำพูน

มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลชมพู อำเภอเมือง และตำบลท่าผา อำเภอเกาะดา จังหวัดลำปาง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลเกาะคา ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลใหม่พัฒนา ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาคา จังหวัดลำปาง

ลักษณะภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม

ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ อยู่ห่างจากถนนสายหลัก บ้านเรือนโดยรอบมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ยังคงรูปแบบเดิมอยู่ในส่วนของยุ้งฉาง เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เน้นการค้าขายเป็นหลักสภาพแวดล้อมเป็นเมืองเก่าที่ราบ

มีประชากรทั้งสิ้น 9,735 คน แยกเป็นชาย 4,743 คน หญิง 4,992 คน มีการผสมผสานกันหลากหลายชาติพันธุ์ เนื่องจากมีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในพื้นที่มาอย่างยาวนาน แต่อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่อาศัยในชุมชนในปัจจุบันเป็นผู้อาศัยที่มีความสัมพันธ์กับชาวลำปางที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาอย่างยาวนาน เช่น ชาวจีน ชาวลาว และชาวไทย

ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยชุมชนลำปางหลวงมีกลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มแปรรูปผลผลิต กลุ่มเพาะเห็ด และกลุ่มปลูกผักที่กระจายในพื้นที่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

วัดพระธาตุลำปางหลวง

เป็นสถานที่นำเที่ยวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา โบราณสถาน และโบราณวัตถุ เพราะชุมชนลำปางหลวงมีเอกลักษณ์ในศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตการแต่งกายอาหารและภาษาที่เด่นชัด และยังมีวัดพระธาตุลำปางสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของชุมชน มีความงดงามของวัดวาอารามที่มีศิลปะแบบพม่าและล้านนา มีการจัดทำคู่มือการนำชมการท่องเที่ยวชุมชนโดยมีข้อมูลการนำชมวัดพระธาตุลำปางหลวง บ่อน้ำเลี้ยงพระนางจามเทวี และกลุ่มสาธิตผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน และเส้นทางการเดินทางภายในชุมชนโดยการใช้รถม้าและรถจักรยานและมีการจัดกิจกรรมการแสดงพื้นบ้านในลานข่วงหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวงในวันเสาร์และวันอาทิตย์ และลานร้านค้าสินค้าที่ระลึกการจัดฝึกอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่นให้มีเพิ่มขึ้นให้หลากหลายและมีไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จากการที่บริษัทของชาวต่างชาติเข้ามาเป็นนายทุนหลักในการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ ส่งผลให้มีแรงงานจากหลากหลายชาติพันธุ์เข้ามาทำงานและตั้งรกรากในเมือง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมจนทำให้เมืองลำปางมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์อันเกิดจากการผสมผสานของวัฒนธรรมนานาชาติกับวัฒนธรรมล้านนาดั้งเดิม รวมถึงมีการสร้างทางรถไฟสายเหนือที่มาถึงนครลำปางในปี พ.ศ. 2459 ก่อให้เกิดย่านการค้าขนาดใหญ่ ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในนครลำปาง ทำให้เกิดเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งวัฒนธรรมการดำเนินวิถีชีวิต การใช้รถม้าเป็นพาหนะ ความเป็นอยู่ของผู้คนและวัฒนธรรมทางด้านอาหาร ประเพณีต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการดำเนินการก่อนข้างท้าทาย เนื่องจากจังหวัดลำปางหลายครั้งมักจะถูกมองว่าเป็นเมืองผ่าน ดังนั้นการที่จะทำให้สินค้า หรือบริการเป็นที่นิยมต้องใช้ผู้มีความรู้จากหลากหลายด้านเพื่อที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ และการที่จะทำการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาต่อยอดอะไรสักอย่าง ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจจะทำการเปลี่ยนแปลงในครั้งเดียวหรือเห็นผลในทันที แต่หากค่อย ๆ ทำอย่างต่อเนื่องก็จะเห็นผลในอนาคต

ปัจจุบันมีการเน้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยวมีการรวมตัวเพื่อจัดตั้งองค์กรการท่องเที่ยวขึ้นในชุมชนและเปิดโอกาสให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมีการจัดเวทีเสวนาการจัดประชุมและให้ความรู้กับคนชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2559). ศักยภาพและแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 9(2), 1-11.

แหล่งกรมศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์. (2561). ชุมชนโบราณบ้านลำปางหลวง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://culturalenvi.onep.go.th/

แหล่งกรมศิลปกรรมอุนควรอนุรักษ์. (2564). ลำปางหลวง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2567. https://culturalenvi.onep.go.th/