Advance search

พระแท่นคู่เมือง ลือเลื่องกระติบสวย ห้วยยางถิ่นอุดม เที่ยวชมคำบอน

หมู่ที่ 3
บ้านหนองหว้า
ยางคำ
หนองเรือ
ขอนแก่น
อบค.เพ็กใหญ่ โทร. 0-4341-8042
ศิราณี ศรีหาภาค
9 มี.ค. 2023
วีรภัทร ศรีทำบุญ
9 มี.ค. 2023
veerapat srithamboon
24 เม.ย. 2023
บ้านหนองหว้า

ครอบครัวนายคําพา  ชานาง นายขันธ์ ราชโพธิ์ศรี  นายพันธ์ สังเยาะ นายดา  นวลบุญมา นายนิล ลือภูเขียว นายหมิง พิมพ์คำ ได้ชักชวนกันไปถางป่าดอนตรงที่เป็นบ้านหนองหว้าปัจจุบันเพื่อทำสวนไร่ในที่สุดก็เห็นอยู่ไกลบ้านของตนบ้านของตนจึงได้พากันย้ายครอบครัวจากบ้านยางคํามาปลูกบ้านอยู่ทางทิศตะวันตกหนองน้ำที่มีต้นหว้าใหญ่ขึ้น (ปัจจุบันได้แก่ ได้แก่ ที่นาของนายเชอรี่ขายให้พ่อค้ามาแบ่งจัดสรรขาย) ในปีต่อมาก็มีครอบครัวชาวบ้านยางคําย้ายตามมาเรื่อยๆจนถึง พ.ศ. 2480   บ้านเมืองมีจํานวนมากขึ้นได้ขอตั้งชื่อหมู่บ้านเป็นทางการชื่อว่าบ้านหนองหว้า


ชุมชนชนบท

พระแท่นคู่เมือง ลือเลื่องกระติบสวย ห้วยยางถิ่นอุดม เที่ยวชมคำบอน

บ้านหนองหว้า
หมู่ที่ 3
ยางคำ
หนองเรือ
ขอนแก่น
40240
16.40422
102.533
องค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลยางคำ

ประวัติความเป็นมาบ้านหนองหว้า  หมู่ที่ 3 อยู่ห่างจากบ้านยางคำไปทางทิศใต้ ประมาณ  1 กิโลเมตรหมู่บ้านติดกับถนนนิระพันธ์ สายดอนโมง-คำแคน ตั้งเมื่อประมาณ  พ.ศ. 2475 ก่อนหน้านี้จะมีชาวบ้านยางประมาณ 5- 6 ครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวนายคําพา  ชานาง นายขันธ์ ราชโพธิ์ศรี  นายพันธ์ สังเยาะ นายดา  นวลบุญมา นายนิล ลือภูเขียว นายหมิง พิมพ์คำ ได้ชักชวนกันไปถางป่าดอนตรงที่เป็นบ้านหนองหว้าปัจจุบันเพื่อทำสวนไร่ในที่สุดก็เห็นอยู่ไกลบ้านของตนบ้านของตนจึงได้พากันย้ายครอบครัวจากบ้านยางคํามาปลูกบ้านอยู่ทางทิศตะวันตกหนองน้ำที่มีต้นหว้าใหญ่ขึ้น (ปัจจุบันได้แก่ ได้แก่ ที่นาของนายเชอรี่ขายให้พ่อค้ามาแบ่งจัดสรรขาย) ในปีต่อมาก็มีครอบครัวชาวบ้านยางคําย้ายตามมาเรื่อยๆจนถึง พ.ศ. 2480   บ้านเมืองมีจํานวนมากขึ้นได้ขอตั้งชื่อหมู่บ้านเป็นทางการชื่อว่าบ้านหนองหว้า หมู่ที่ 3 ตามนามหนองหว้าที่อยู่ใกล้หมู่บ้านขึ้นตรงกับตำบลจระเข้อําเภอเมืองจังหวัดขอนแก่นต่อมา พ.ศ. 2511 ทางราชการได้แบ่งแยกหมู่บ้านต่างๆ มาตั้งเป็นตําบลยางคําจึงได้เปลี่ยนมาเป็น หมู่ที่ 3 ตําบลยางคํา อําเภอหนองเรือ  จนถึงปัจจุบัน 

บ้านหนองหว้า หมู่ที่ 3 ตําบลยางคํา อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ  70  ไร่ 

จำนวนหลังคาเรือน 118 หลัง

ประชากรทั้งหมด รวม 580 คน

ชาย 281 คน     หญิง 299 คน

สถานที่ตั้ง

          ทิศตะวันออก    จรด     วัดชัยมงคลและทุ่งนา

          ทิศตะวันตก      จรด     ทุ่งนา 

          ทิศเหนือ          จรด     เขตบ้านยางคํา หมู่ที่ 2 และ 13

          ทิศใต้             จรด     หนองก่ามและทุ่งนา

          ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ

          บ้านหนองหว้าหมู่ที่ 3 พื้นที่เป็นที่ดอน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ  70  ไร่  สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบติดเชิงเขา มีพื้นที่ติดต่อเขตป่าสงวนแห่งชาติ และมีแหล่งน้ำธรรมชาติ

          มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน

          การคมนาคม

          การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียง อำเภอหรือจังวัด โดยเฉพาะกับสถานบริการสุขภาพที่สำคัญ เช่นโรงพยาบาล สถานีอนามัย และคลินิกต่างๆ

          ระยะทางใกล้: เดินเท้า รถจักรยาน รถจักรยานยนต์และรถรับจ้างในหมู่บ้าน

          ระยะทางไกล: รถประจำทาง รถยนต์ส่วนตัว และรถจักรยานยนต์ มีรถสายยางคำ ดอนโมง ขอนแก่น ในการเดินทาง

          ในส่วนของการเดินทางไปยังโรงพยาบาล มีให้บริการรถกู้ชีพ EMS ตลอด24 ชั่วโมง

          พาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตลอดจนจำนวนพาหนะและความถี่ในการให้บริการในชุมชน

โดยส่วนมากในการเดินทางใช้รถส่วนตัว ประเภทรถจักรยาน รถจักรยานยนต์

มีรถให้บริการ รถสายยางคำ ดอนโมง ขอนแก่น ระยะเวลา 05.00 – 18.00 . มาทุกๆ 30 นาที

          ค่ารถ ยางคำขอนแก่น 30 บาท

                ดอนโมง ขอนแก่น 20 บาท

          สภาพถนนในแต่ละฤดู

ถนนคอนกรีตลาดผ่านในหมู่บ้าน มีการวางท่อระบายน้ำมีร่องน้ำระบายน้ำจึงไม่มีปัญหาน้ำท่วมถนน ทำให้การคมนาคมขนส่งการเดินทางไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อนหนาวหรือฝนจึงไม่มีปัญหาเดินทางสะดวกดี

จำนวนประชากรทั้งหมดบ้านหนองหว้า หมู่ที่ 3 ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 118 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 673 คน แยกเป็นชาย 336 คน แยกหญิง 337 คน โดยแยกตามกลุ่มอายุ

1.โครงสร้างองค์กรชุมชน

-คณะกรรมการหมู่บ้าน 17 คน

-อสม. 11 คน

2.ทุนชุมชน

-ทุนมนุษย์ ได้แก่ ผู้นำด้านการเกษตร ผู้นำไม่เป็นทางการ ผู้เฒ่าผู้แก่

-ทุนสังคม ได้แก่ วิถีชีวิต ความเชื่อ องค์กร

-ทุนกายภาพ ได้แก่ สาธารณูปโภค สิ่งที่ชุมชนสร้างขึ้น

-ทุนธรรมชาติ ได้แก่ หนองเต่า พืชเศรษฐกิจ

-ทุนเงิน ได้แก่ กองทุนต่างๆ

3.ปฏิทินชุมชน

-ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ ฮีต 12 คลอง14

-ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ค้าขาย จักสาน

4.ประวัติศาสตร์ชุมชน

-ความเป็นมาของหมู่บ้าน

-ผู้นำจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

5.ระบบสุขภาพ

-แผนปัจจุบัน ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์

-แพทย์ทางเลือก ได้แก่  หมอเป่า

-พืชสมุนไพร ได้แก่ ลางจืด

6.ระบบการสื่อสาร

-หอกระจายข่าวประจาหมู่บ้าน

-การประชุมในหมู่บ้าน

-การบอกเล่าปากต่อปาก

-โทรศัพท์

บ้านหนองหว้า  หมู่ที่ 3 มีการนับถือประเพณีอย่างเคร่งครัดมาแต่ครั้งโบราณ และเป็นประเพณีของท้องถิ่นสืบมาหลายปี เรื่องฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่ หรือถ้าจะเรียกให้เป็นแบบชาวบ้านแท้ก็ว่า”เปิงบ้านเปิงเมือง" มีผู้สูงอายุท่านกล่าวไว้ว่า เดือนอ้าย เป็นระยะอากาศหนาวชาวบ้านจะจัดสถานที่แล้วนิมนต์พระสงฆ์เข้ากรรม การเข้ากรรมของพระนั้นคือการเข้าอยู่ประพฤติวัตรโดยเคร่งครัดชั่วระยะหนึ่ง ในป่าหรือป่าช้า เดือนยี่ ทำบุญคูณลาน คือเก็บเกี่ยวแล้วทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่โภสพ นิมนต์มาสวดมนต์ทำบุญลาน บางคนก็มีพิธีสู่ขวัญข้าวก่อนจึงจะขนข้าวขึ้นสู่ยุ้งฉาง เสร็จแล้วก็ทำพิธีเลี้ยงเจ้าที่หรือตาแฮกและเก็บฟืนไว้เพื่อหุงต้มอาหารต่อไป เดือนสาม ทำบุญข้าวจี่ วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ ข้าวจี่คือเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า ชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด  นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน เดือนสี่ ทำบุญมหาชาติ "บุญผะเหวด"   หมู่บ้านหนองหว้า หมู่ที่ 3 และหมู่บ้านใกล้เคียงจะรวบรวมกัณฑ์หลอนแห่เป็นขบวนกันมา แห่รอบศาลาการเปรียญ 3 รอบ แล้วก็นำไปถวายพระรูปที่กำลังเทศน์อยู่ ก่อนวันงาน 5-6 วัน หนุ่มสาวจะลงศาลานำดอกไม้ ประดับตกแต่งศาลาบริเวณวัด เดือนห้า ทำบุญตรุษสงกรานต์  จะมีการละเล่นหรือการรดน้ำ สาดน้ำ ช่วงนี้อากาศร้อนมาก การเล่นน้ำก็เพื่อความสนุกสนานและในตรุษสงกรานต์ลูกหลานก็จะได้ขอพรจากผู้สูงอายุ เดือนหก ทำบุญวิสาขบูชา และบุญบั้งไฟ นอกจากนี้ก็มีพิธีรดน้ำพระสงฆ์ยกฐานเป็น ยาซา ยาครู สำเร็จและบวชลูกหลาน เดือนเจ็ด ทำบุญด้วยเบิกบ้าน ทำพิธีเลี้ยงมเหศักดิ์หลักเมือง เลี้ยงผีบ้านซึ่งเรียกว่าปู่ตา หรือตาปู่ ซึ่งเป็นผีประจำหมู่บ้าน และเรียกผีประจำไร่นาว่า "ผีตาแฮก" คือก่อนจะลงทำนาก็เซ่นสรวงบูชาเจ้าที่ผีนาก่อนเป็นการแสดงความนับถือรู้บุญคุณ เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา ชาวบ้านก็จะเข้าวัด  ฟังธรรม กิจกรรมเวียนเทียนและถวายผ้าอาบน้ำฝน เดือนเก้า ทำบุญข้าวประดับดิน กำหนดเอาวันแรม 14 ค่ำเดือน 9 ประชาชนหาอาหาร หมากพลู บุหรี่ ห่อด้วยใบตองไปวางตามยอดหญ้าบ้าง แขวนตามกิ่งไม้บ้าง และใส่ไว้ตามศาลเจ้าเพื่ออุทิศให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เดือนสิบ ทำบุญเข้าสาก (สลากภัต) ทำในวันเพ็ญเดือน 10 เป็นการทำบุญให้เปรต คือเชิญมารับทาน เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว ทำพิธีปวารณาออกพรรษาชาวบ้านก็จะมีการเวียนเทียน เดือนสิบสอง ทำบุญกฐิน ชาวบ้านจะมีการเก็บรวบรวมจัตุปัจจัยจากชาวบ้านหรือเก็บจากกองกฐินเพื่อนำเงินที่ได้ไปถวายวัด  ในงานบุญกฐินก็จะมีการจุดพลุตะไลประทัดและปล่อยโคมไฟด้วย และในเดือนสิบสองยังมีประเพณีลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา

นายคำเบ้า หล้าทุ่ม

เกิด เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2490

อายุ 70 ปี

ระดับการศึกษา อนุปริญญาตรี           ประวัติครอบครัว - บิดาชื่อ นายจันทร์ หล้าทุ่ม (เสียชีวิตเมื่ออายุ 84 ปี) - มารดาชื่อ นางทอง หล้าทุ่ม (เสียชีวิตเมื่ออายุ70ปี)  พี่น้องร่วมสายโลหิต ทั้งหมด 5 คน 1.นายคำพอง หล้าทุ่ม (เสียชีวิตเมื่ออายุ59ปี) 2.นายเบาะฮอง หล้าทุ่ม (เสียชีวิตเมื่ออายุ62ปี) 3. นางเนา (เสียชีวิตเมื่ออายุ58ปี) 4. นายสำเพา หล้าทุ่ม อายุ72 ปี 5. นายคำเบ้า หล้าทุ่ม อายุ 70 ปี เป็นลูกคนสุดท้อง แต่งงานเมื่ออายุ 22ปี กับ นางสุมาตย์ หล้าทุ่ม มีบุตรด้วยกัน ทั้งหมด 4 คน คือ 1. นาย วรวุฒิ หล้าทุ่ม อายุ 47 ปี 2. นาง จุฬาภรณ์ หล้าทุ่ม อายุ 45 ปี 3. นาย ชาติไชยา หล้าทุ่ม อายุ 43 ปี 4. นาย ธีรยุทร หล้าทุ่ม อายุ 42 ปี

บทบาทในชุมชน  .2515 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ พ. 2517 สารวัตรกำนัล พ. 2530 ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน พ. 2540 ดำรงตำแหน่งเป็นกำนันตำบลยางคำ พ. 2551 เป็นสมาชิกอบต. พ.2556 ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสวัสดิการชุมชน

คติประจำใจ คือ ถูกใจเป็นรองถูกต้องเป็นหลักเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว

นางชะอ้อน โนนบุญมา

เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2475

อายุ 84 ปี

ระดับการศึกษา ประถมศึกษา           ประวัติครอบครัว บิดาชื่อ นายพลู พลเพ็ง มารดาชื่อ นางหลง พลเพ็ง (เสียชีวิตเมื่ออายุ 53 ปี ) พี่น้องร่วมสายโลหิต 2 คน -ยายหนู (เสียชีวิตแล้ว) -ยายชะอ้อน โนนบุญมา เป็นบุตรสาวคนเล็ก แต่งงานเมื่ออายุ 22ปี กับนาย จำปี โนนบุญมา มีบุตรด้วยกัน ทั้งหมด 6 คน คือ 1. นางสำลี อายุ 62 ปี 2. นางคำดี อายุ 60 ปี 3. นายสมพงษ์ โนนบุญมา อายุ 57 ปี 4. นายบรรจง โนนบุญมา อายุ 54 ปี 5. นายอนงค์ (เสียชีวิตเมื่ออายุ 43 ปี ) 6. นาย ธเนศ โนนบุญมา อายุ 40 ปี

บทบาทในชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา เป็นประจำ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน เป็นคนเฒ่าคนแก่ที่ผู้คนในบ้านหนองหว้าเคารพนับถือ อีกทั้งยังเป็นผู้ถ่ายทอดการสานก่องข้าวให้กับผู้ที่สนใจอยากเข้ามาศึกษา และลูกหลาน

กองทุนแม่ของแผ่นดิน

กองทุนแม่ของแผ่นดินเป็นกองทุนเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นการปราบปราม ป้องกัน บำบัดและให้โอกาสแก่ผู้ที่ติดยาเสพติดในชุมชน หากมีคนในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่ถูกจำคุก หากพ้นโทษแล้ว จะให้โอกาสในการทำความดี และให้เงินช่วยเหลือในการประกอบอาชีพ หากได้อาชีพแล้ว ต้องส่งเงินคืนโดยไม่มีดอกเบี้ย เริ่มต้นกองทุนมามาตั้งแต่ ปี พ.. 2547 มีเงินจำนวน 8,000 บาท ปัจจุบันมีเงินในกองทุน 40,000 บาท  ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆในชุมชน เช่น เป็นทุนการศึกษาและช่วยเหลือด้านสาธารณประโยชน์ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 90% ของคนชุมชน

กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน

กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้เงินจากรัฐบาลมา 280,000 บาท เพื่อให้สมาชิกกู้เงินเพื่อนำไปประกอบอาชีพและจะเก็บเงินคืนในระยะเวลา 3-5 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย โดยสมาชิกมีครบครัวละ 1 คน

กองทุนส่งเสริมอาชีพ

             กองทุนส่งเสริมอาชีพ จะให้สมาชิกสามารถกู้ยืมเงินเพื่อไปใช้ในการประกอบอาชีพ และต้องส่งเงินคืน โดยจะมีดอกเบี้ย เพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียน โดยคนในหมู่บ้านสามารถสมัครเป็นสมาชิกในกองทุนได้ หลังคาเรือนละ 1 คน

กองทุนปุ๋ย

กองทุนปุ๋ยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อให้สมาชิกสามารถซื้อปุ๋ยในราคาถูก โดยทางกองทุนจะจัดจำหน่ายปุ๋ยตามความต้องการของสมาชิก โดยคิดกำไรเพียงแค่ 5 บาท ส่วนการคืนจะคืนเป็นเงินในรอบ 1 ปี เพื่อที่จะได้รวมเงินไว้เพื่อซื้อปุ๋ยในรอบต่อไป การคิดดอกเบี้ยจะคิดร้อยละ 5 บาท / กระสอบ/ปี

กองทุนฉางข้าว

กองทุนฉางข้าวเริ่มต้นจากการรวมเงิน แล้วนำไปซื้อข้าวมาไว้ที่ฉางข้าวหมู่บ้าน เพื่อให้สมาชิกสามารถยืมข้าวได้เมื่อเดือดร้อน โดยจะมีการคิดดอกเบี้ย คือ หากยืม 10 ถัง ต้องจ่ายดอกเบี้ย 1 ถัง โดยจะคืนเป็นปี

กองทุนประปาหมู่บ้าน

             กองทุนประปาหมู่บ้าน เป็นการบริหารจัดการกันเองของชุมชน เริ่มต้นกองทุนเนื่องจากปี พ.. 2550-2555 เกิดการเสียดุลทางด้านการบริหาร โดยมีค่าไฟฟ้าที่จ่ายมีมากกว่าค่าน้ำที่เก็บได้ จึงมีการปรับเปลี่ยนใหม่ มีการลดค่าน้ำลง โดยมีคณะกรรมการไปสำรวจการใช้น้ำของคนในชุชม แล้วตั้งกฎระเบียบใหม่ โดยลดค่าน้ำจากหน่วยละ 7 บาท เหลือหน่วยละ 6 บาท โดยหากครัวเรือนใดที่มิตเตอร์มีปัญหาก็ต้องเปลี่ยนมิตเตอร์ใหม่ หากไม่เปลี่ยนก็จะตัดน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบครัวเรือนอื่นๆ โดยกองทุนน้ำให้เกิดกำไร ที่สามารถนำเงินมาใช้ในกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้านได้

กองทุนประปาเพื่อการเกษตร

             กองทุนประปาเพื่อการเกษตรได้รับเงินสนับสนุนจากกรมทรัพยากร เพื่อกระจายน้ำให้แก่สมาชิกให้มากที่สุด โดยหากในช่วงหน้าแล้ง หรือหมู่บ้านขาดน้ำใช้ ก็จะเปิดน้ำประปาที่ใช้เพื่อการเกษตรให้คนในหมู่บ้านได้ใช้ด้วย โดยจะขึ้นอยู่กับการยินยอมของสมาชิกประปาเพื่อการเกษตร และมีการเก็บค่าน้ำหน่วยละ 5 บาท

กองทุนฌาปนกิจศพ

             กองทุนฌาปนกิจศพ เป็นกองทุนที่ช่วยเหลือสมาชิกเมื่อมีงานศพ โดยจะเก็บเงินจากสมาชิกครัวเรือนละ 100 บาทเมื่อมีคนเสียชีวิตในหมู่บ้าน เพื่อนำเงินไปช่วยเจ้าภาพในการจัดงานศพ

กองทุนบัญชีวัดชัยมงคล

             กองทุนวัดชัยมงคล เป็นการบริหารเกี่ยวกับวัด เงินเกี่ยวกับบุญต่างๆ โดยเงินที่เหลือจากการทำบุญ หากหมู่บ้านไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างอะไร ก็จะนำเงินส่วนนี้ให้วัด แต่หากหมู่บ้านมีโครงการที่จะสร้าง เช่น สร้างประตูโขง ก็จะนำเงินส่วนนี้เข้าบัญชีกลาง

กลุ่มแม่บ้าน

             กลุ่มแม่บ้าน เดิมเป็นกลุ่มจักสาน ซึ่งมาจากกำนันที่เป็นผู้นำเอาการจักสานเข้ามาในหมู่บ้าน เมื่อกำนันย้ายไปหมู่บ้านอื่น กลุ่มจักสานจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มแม่บ้าน แต่ปัจจุบันยังคงมีการจักสานอยู่เช่นเดิม คือการสานกระติบข้าว

กลุ่มโคกระบือ

             กลุ่มโคกระบือ เป็นการหมุนเวียนให้สมาชิกเอาโค กระบือไปเลี้ยง โดยเริ่มแรกมีวัว 4 ตัว ให้สมาชิกหมุนเวียนกันไปเลี้ยง และถ้าหากวัวคลอดลูก สมาชิกก็จะได้ลูกวัวไว้ และคืนแม่พันธุ์ เพื่อจะหมุนเวียนไปให้สมาชิกคนอื่นต่อไป

กลุ่มโครงการเครื่องเสียง

             กองทุนเครื่องเสียง เป็นการช่วยเหลือระหว่างชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนสามารถเช่า เครื่องเสียง เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ ในราคาถูก

-        เต็นท์   เช่าในราคา  50 บาท

-        เครื่องเสียง เช่าในราคา 150 บาท

-        เก้าอี้  เช่าในราคา 0.50 บาท

ทุนทางกายภาพ

- ฝ่ายหนองก่าม                                                                                                     - ฝ่ายสองร้อย

ผู้คนในชุมชนบ้านหนองหว้าใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน


สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นชัดเจนในด้านประชากรโดยมีรายละเอียดดังนี้                                                                                                                         การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คนในชุมชนมีการสร้างบ้านแบบสมัยใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างผีกับคน หรือระบบความติดของคนรุ่นใหม่ในสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากอิทธิพลของระบบสื่อในมิติต่างๆ ที่มีความรวดเร็วเชื่อมโยงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของทั้งคนรุ่นเก่าและใหม่ กระกอบกับอิทธิพลทางการศึกษาสมัยใหม่ที่สอนให้คนเชื่อในหลักการวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดและความเชื่อ


ได้เข้าร่วม โครงการ “บ้านหนองหว้าปลอดยุง มุ่งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์” จากสถานการณ์โรคไข้เลือดอ



วัดชัยมงคลบ้านหนองหว้าตั้งเมื่อ พ.ศ. 2485 หลังจากที่ตั้งบ้านได้ 5 ปี ชาวบ้านหนองหว้าได้ร่วมกันนัดถางป่าดอนทางทิศตะวันออกหมู่บ้านตั้งเป็นสํานักสงฆ์ขึ้นให้ชื่อว่าวัดชัยมงคลบ้านหนองหว้าสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4ไร่ 2 งาน มีอาณาเขตดั้งนี้ทิศตะวันออกยาวประมาณ 2 เส้น 2 วา จดถนนโรงพยาบาลดอนโมง มัญจาคีรี ทิศตะวันตกยาวประมาณ 2 เส้น 2 วา  จดที่นานายคํา กรุขันธ์ ทิศใต้ยาว 2 เส้น 2 วา จดถนนสาธารณะประโยชน์เข้าสู่หมู่บ้านการบริหารคณะสงฆ์มีเจ้าอาวาสมาอยู่จำพรรษาเท่าที่ทราบ 4 รูป

ชุมชนบ้านหนองหว้ามีจุดที่น่าสนใจอื่นๆเช่น  ร้านครัวคุณเอ๊กซ์ ร้านปลาไข่ไก่ป๊อป ร้านเจ้นางข้าวมันไก่&ตามสั่ง และ วัดชัยมงคล

กระทรวงสาธารณสุข. (2551). คู่มือ สุขภาพครอบครัวสำหรับประชาชน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2555). คู่มือจัดอบรมวิถีชุมชน. นนทบุรี: สามลดา.

ขนิษฐา นันทบุตร. (2550). ระบบการดูแลสุขภาพชุมชน แนวคิด เครื่องมือ การออกแบบ. ของแก่น:

        มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ขนิษฐา นันทบุตร. (2551). ข้อเสนอบทบาทพยาบาลชุมชนที่เท่ากัน สภาวการณ์ระบบสุขภาพที่เปลี่ยนไป.

        นนทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการพยาบาล สภาการพยาบาล.

จีระศักดิ์ เจริญพันธ์. (2554). การจัดการสาธารณสุขในชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 10). ขอนแก่น:

        คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2553). การส่งเสริมสุขภาพในชุมชนแนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:

        โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ. (2552). ทฤษฎี-ปรัชญา ความรู้ สู่การปฏิบัติในงานพยาบาลอนามัยชุมชน. สงขลา:

        คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ละเอียด แจ่มจันทร์. (2549). สาระทบทวนการพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาขั้นต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3).

        กรุงเทพฯ: จุดทอง.

วสุธร ตันวัฒนกุล. (2547). สุขภาพ อนามัยชุมชนและกระบวนการพัฒนา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง. (2548).

อบค.เพ็กใหญ่ โทร. 0-4341-8042