Advance search

ชุมชนล่ามช้าง ชุมชนเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประเพณี งานหัถกรรมช่างฝีมือของเมืองเชียงใหม่ ได้รับการยกย่องให้เป็นย่านภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมือง ที่เชื่อมโยงลักษณะทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกับถนนท่าแพ ที่ประกอบด้วยอาคารเก่าที่่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เช่นเดียวกัน 

ล่ามช้าง
ช้างม่อย
เมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่
ธำรงค์ บริเวธานันท์
25 เม.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
25 เม.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
25 เม.ย. 2024
ล่ามช้าง

“ชุมชนล่ามช้าง” ตั้งตามชื่อวัดล่ามช้าง จึงเป็นชุมชนที่สร้างพร้อมกับการก่อตั้ง “เมืองนครเชียงใหม่” หรือ “นพบุรีศรีนครพิงค์” เมื่อมีการก่อสร้าง “วัดล่ามช้าง” บริเวณโดยรอบได้กลายเป็นแหล่งชุมชนที่มีผู้คนมาอยู่อาศัย


ชุมชนล่ามช้าง ชุมชนเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประเพณี งานหัถกรรมช่างฝีมือของเมืองเชียงใหม่ ได้รับการยกย่องให้เป็นย่านภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมือง ที่เชื่อมโยงลักษณะทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกับถนนท่าแพ ที่ประกอบด้วยอาคารเก่าที่่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เช่นเดียวกัน 

ล่ามช้าง
ช้างม่อย
เมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่
50300
18.792919320087414
98.99058418511824
เทศบาลเมืองเชียงใหม่

ความเป็นมาของ “ชุมชนล่ามช้าง” สามารถสืบกลับไป ช่วงการสร้างเมืองเชียงใหม่  พ.ศ. 1835-1839  ซึ่งเป็น  ยุคของพระยามังราย พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง กล่าวคือ “วัดเชียงมั่น” ซึ่งเดิมเรียกว่า เวียงเล็ก หรือเวียงเชียงมั่น ครั้งใช้เป็นที่ประทับของพระสหายทั้ง 3 และเป็นสถานที่ที่หารือปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ ในส่วนของวัดล่ามช้างก็เป็นสถานที่ที่ใช้ในการเลี้ยงช้างและเป็นที่พักเของเหล่าข้าราชการ ซึ่งเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “เวียงเชียงช้าง”

ต่อมามีดำริในการสร้าง “วัดล่ามช้าง” พร้อมกับรูปปั้นช้างถูกล่ามเลี้ยงไว้ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการสร้างเมืองเชียงใหม่และเป็นสัญลักษณ์ของวัดล่ามช้าง อีกทั้งยังเป็นความเชื่อเรื่องการใช้พื้นที่ของเจ้าเมืองในล้านนาว่า “หากพื้นที่ใดที่กษัตริย์เคยใช้งานแล้ว ห้ามให้ผู้ใดเข้ามาใช้งาน” ดังนั้นจึงต้อง “สร้างวัด” ทดแทนพื้นที่ดังกล่าว

และ “ชุมชนล่ามช้าง” เป็นชุมชนจัดตั้งในลำดับที่ 61 ของชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2545

ชุมชนล่ามช้าง เป็น 1 ใน 26 ชุมชน ของชุมชนในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ที่อยู่ใต้แผนการพัฒนาย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ ที่ตั้งชุมชนอยู่ใกล้กับแจ่งศรีภูมิ พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และคูเมืองเชียงใหม่ศูนย์กลางของชุมชน ชุมชนล่ามช้างมีพื้นที่ 0.18 ตารางกิโลเมตร  ภายในชุมชนมีอาคารเรือนไม้ที่ก่อสร้างมาตั้งแต่อดีตหลายหลัง ชุมชนล่ามช้างมีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ขอบเขต เริ่มต้นตั้งแต่สถานที่ทำการงานช่างงานรักษาความสะอาด แขวงนครพิงค์ ถึงบริเวณถนนศรีภูมิ
  • ทิศใต้ ขอบเขตเริ่มต้นอยู่บริเวณ ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ ถึงหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดสมเพชร
  • ทิศตะวันออก ขอบเขตตั้งแต่สถานที่ทำการงานช่างงานรักษาความสะอาด ไปจนถึงหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดสมเพชร
  • ทิศตะวันตก ขอบเขตเริ่มต้นบริเวณหัวมุมถนนศรีภูมิ ไปจนถึงศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนด้านศาสนา

  • วัดล่ามช้าง เป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดทำกิจกรรมของชุมชนทั้งใน เชิงกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนใน ชุมชนมารวมตัว พบปะ และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ภายในพื้นที่วัดล่ามช้าง มีที่ทำการชุมชน สมาคมชุมชน และมูลนิธิสตรีตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด นอกจากนี้วัดล่ามช้างเป็นวัดที่มีความพิเศษเป็นพื้นที่สำหรับการจัดประชุมภายในชุมชนมาโดย เสมอมา ในช่วงเย็นของทุกวันกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนล่ามช้างและชุมชนใกล้เคียงจะ เข้ามาใช้ลานวัดเป็นพื้นที่นันทนาการและออกกำลัง เช่น กิจกรรมรำมวยจีนเพื่อ สุขภาพ เป็นต้น และภายในพื้นที่วัดยังเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์ ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมเกี่ยวกับการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ให้แก่เยาวชน และผู้ที่มีความสนใจ เช่น กิจกรรมรำฟ้อนเล็บ กิจกรรมการทำตุง, กัญชุดา เพ็ญไชยา (2564)
  • วัดเชียงมั่น เป็นวัดแรกในขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ อยู่ฝั่งตรงข้ามวัดล่ามช้าง สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1839 เป็นวัดที่เก่าแก่ ที่สุดในเมืองเชียงใหม่ แต่เดิมเคยเป็นที่ประทับในขณะสร้างเมือง เป็นที่รู้จักกันใน อดีตว่า “คุ้มเวียงเหล็ก” ต่อมาเปลี่ยนไปเป็นวัดเชียงมั่น โดยมี ความหมายว่า “บ้านเมืองที่มั่นคงแข็งแรง” นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธรูปที่สําคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว เป็นที่เคารพสักการะของชาวเชียงใหม่ ซึ่งเมื่อถึงเทศกาลสลากภัตร หรือ ทานก๋วยสลาก จะมีการเริ่มทำกิจกรรมประเพณีและทานข้าวสลากกันร่วมกันที่วัดนี้ก่อน แล้วจึงค่อยไปทำที่วัดอื่น ๆ , กัญชุดา เพ็ญไชยา (2564)

ทุนด้านเศรษฐกิจ

  • ตลาดมิ่งเมือง หรือตลาดสมเพชร ตั้งอยู่บนถนนมูลเมือง ซอย 6 ไปจนถึง บริเวณถนนมูลเมือง ซอย 7 และเชื่อมไปยังตลาดขุนชานินรการได้ เป็นตลาดโถงไม้ขนาดใหญ่แห่งเดียวในคูเมืองเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยพ่อเลี้ยงอุ่นเรือน ยุตบุตร ตลาดมิ่งเมืองเป็นตลาดที่ก่อสร้างด้วยไม้แล้วยังล้อมรอบ อาคารไม้ สองชั้นล้อมรอบกับอาคารปูนติดกับถนนมูลเมือง อายุรวม ของกลุ่มอาคารอยู่ที่ 60-70 ปี เป็นหนึ่งพื้นที่ที่มีคุณค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม และวิถีชีวิตของชาวชุมชน เนื่องจากเป็นพื้นที่รวมตัวในการทำกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา รวมไปถึงการเป็นพื้นที่ศูนย์กลาง การแลกเปลี่ยนของชุมชนโดยรอบ ที่มักจะมีการจัดงาน ตลาดหมั้ว ตลาดเมือง หรือ ถนนคนเดินภายในชุมชนอยู่เป็นประจำในทุกสัปดาห์ ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นเป็นแหล่งจับจ่ายทั้งของกิน ของใช้ และแหล่งจำหน่ายอาหารพื้นเมืองหา กินยากทั้งของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ปัจจุบันตลาดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของ นักท่องเที่ยวต่างชาติมากมาย ทั้งชาวยุโรปและชาวจีน เนื่องจากทำเลที่ตั้งของตลาด ที่รอยู่ท่ามกลางชุมชนล่ามช้างที่มีเกสต์เฮาส์จำนวนมาก ตลาดมิ่งเมืองจึงมีนักท่องเที่ยวตั้งแต่ช่วงสาย ๆ ของวันจนไปถึงช่วงเย็น และเป็นส่วนหนึ่งของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวิถีชาวบ้านกลางเวียงเชียงใหม่ โดยไกด์ จะพานักท่องเที่ยวมาที่ตลาดมิ่งเมือง เพื่อจ่ายตลาดเลือกซื้อวัตถุดิบสำหรับไปเรียน ทำอาหารไทยภายในชุมชน, กัญชุดา เพ็ญไชยา (2564)
  • ตลาดกองเก่าล่ามช้าง หรือ ถนนคนเดินล่ามช้าง อยู่ภายในชุมชนล่ามช้าง ถนนราชวิถี ซอย 1 ซึ่งเป็นโครงการที่ชาวชุมชนล่ามช้างจัดขึ้นเพื่อ ส่งเสริมการเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กรรมการชุมชน และ OTOP Trader เชียงใหม่ ได้เล็งเห็นว่าชุมชน ควรจะเก็บรักษาอารยธรรม วัฒนธรรม จารีต ประเพณี และอัตลักษณ์ความเป็นล้านนา จึงมีการจัดทำตลาดกองเก่า อารยะธรรมล่ามช้าง เพื่อให้ชาวชุมชนล่ามช้าง และชุมชนข้างเคียงนำอาหาร และสินค้า มาจำหน่าย ทุกวันศุกร์ เวลาตั้งแต่ 16.00-22.00 น. เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชุมชน เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวภายในชุมชน และส่งเสริมการพัฒนา บุคลากร ผู้ประกอบการ ให้มีความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ และนำมาต่อ ยอดในการทำธุรกิจอุตสาหกรรมครัวเรือน รวมถึงการบริหารจัดการชุมชนร่วมกัน, กัญชุดา เพ็ญไชยา (2564)
  • แจ่งศรีภูมิ หรือมุมเมืองศรีภูมิ กำแพงเมืองมุมแรกของเมืองเชียงใหม่ในอดีต สร้างขึ้นในยุคสมัยของ พระญามังราย มีลักษณะเป็นกำแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งจรดอยู่บริเวณขอบกำแพง เมืองชั้นนอกในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และมีคูน้ำล้อมรอบกำแพงเมืองทั้ง 4 ด้าน มีการบูรณะครั้งแรกในสมัยพระเมืองแก้วเพื่อใช้สำกรับป้องกันข้าศึก อดีตกำแพงแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า สะหลีภูมิ หมายถึงความเป็นศรีของบ้านเมืองในอดีต ต่อมาในยุคของนายทิม โชตนา นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2508 ทำการรื้อถอนกำแพงเมืองทั้ง 4 ด้าน โดนเหลือเพียงส่วนที่เป็น แจ่ง หรือ มุมเอาไว้ เนื่องจากกำแพงเมืองเดิมเริ่มมีการทรุดโทรม

ทุนความรู้

  • พิพิธภัณฑ์ตลาดมิ่งเมือง ซึ่งตลาดมิ่ง เมืองก่อตั้งโดย พ่อเลี้ยงอุ่นเรือน ยุตบุตร ภายในบริเวณตลาดมีสองตลาด คือ “ตลาดขุนชำนินรการ” และ “ตลาดมิ่งเมือง” คั่นกันด้วยถนนมูลเมืองซอย 6 ทิศเหนือของตลาดเป็นอาคารปูน ชั้น ตลาดมิ่งเมืองมีอาคารไม้ 2 ชั้นที่มีอายุประมาณ 70 ปี ล้อมรอบ เป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ภายในย่านที่เหลือให้ชมเป็นหลังสุดท้ายในเขตเมืองเก่า พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตลาดมิ่งเมือง จัดขึ้นในห้องแถวเล็ก ๆ ภายในตลาด ทำหน้าที่จัดแสดงข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติและที่มาของชุมชนแห่ง นี้ผ่านภาพถ่าย ข้าวของเครื่องในอดีตที่ชาวบ้านได้ช่วยกันนำมาจัดแสดง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กัญชุดา เพ็ญไชยา (2564). แนวทางการพัฒนาชุมชนและที่อยู่อาศัยในเมืองเก่าเชียงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดย่านนวัตกรรมสร้างสรรค์ภายใต้แผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ : กรณีศึกษาชุมชนล่ามช้าง. สถาปัตยกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จาก https://digital.car.chula.ac.th/