Advance search

ชุมชนท่าบ่อมีความใกล้ชิดกับทรัพยากรลุ่มน้ำสงคราม ชุมชนมีการจัดการในรูปแบบสิทธิชุมชนที่ได้รับการสืบทอดมาแต่ครั้งโบราณ เป็นการใช้กระบวนการที่สัมพันธ์กับการใช้ภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

หมู่ที่ 4
บ้านท่าบ่อสงคราม
ท่าบ่อสงคราม
ศรีสงคราม
นครพนม
อบต.ท่าบ่อสงคราม โทร. 0-4205-5018
ธำรงค์ บริเวธานันท์
25 เม.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
25 เม.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
25 เม.ย. 2024
บ้านท่าบ่อ


ชุมชนชนบท

ชุมชนท่าบ่อมีความใกล้ชิดกับทรัพยากรลุ่มน้ำสงคราม ชุมชนมีการจัดการในรูปแบบสิทธิชุมชนที่ได้รับการสืบทอดมาแต่ครั้งโบราณ เป็นการใช้กระบวนการที่สัมพันธ์กับการใช้ภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

บ้านท่าบ่อสงคราม
หมู่ที่ 4
ท่าบ่อสงคราม
ศรีสงคราม
นครพนม
48150
17.6534906
104.2192483
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบ่อสงคราม

ราว ปี พ.ศ. 2470 ชาวบ้านจากบ้านไก่เขี่ย เมืองท่าแขก แขวคำม่วน ประเทศลาว อพยพหนีความขัดสนเพื่อมาหาดินแดนที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานและทำกิน กระทั่งเดินทางข้ามแม่น้ำสงครามมาพบกับ หมู่บ้านร้างที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน จึงเริ่มทำการสำรวจพื้นที่ริมตลิ่ง กระทั่งพบพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำสงครามที่มีลักษณะเป็นหาดทราย 2 แห่ง คือ ท่าน้ำและท่าช้าง จึงตัดสินใจตั้งถิ่นฐานที่ท่าน้ำ ตั้งชื่อว่า “หมู่บ้านท่าบ่อ”

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวญวนมาทำงานลูกจ้างเรือกระแชง เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำสงคราม จึงเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าบ่อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีชาวอุบลราชธานี นครพนม และยโสธร รวมถึงชาวจีน มาตั้งถิ่นฐานและทำการค้าในบ้านท่าบ่อ เฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายแลกเปลี่ยนข้าว เกลือและปลาร้า บ้านท่าบ่อจึงเป็นศูนย์กลางการค้าของลุ่มน้ำสงคราม

อย่างไรก็ดี ปิยาพร อรุณพงษ์ (2550) แบ่งช่วงทางประวัติศาสตร์และบริบทของชุมชน ซึ่งสัมพันธ์กับแผนพัฒนาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ก่อน พ.ศ. 2504) ชุมชนมีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมแบบการหาอยู่หากิน ชุมชนดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก รวมถึงมีการพึ่งพากันระหว่างชุมชน ละแวกใกล้เคียง ที่ดินทำกินใช้รูปแบบการบุกเบิกแผ้วถางเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าวไร่และการปลูกพืชผักสวนครัว ด้านการรักษาโรคภัยใช้ความรู้พื้นบ้านด้านยาสมุนไพร ผสานกับการใช้มนตร์ต่าง ๆ  เครื่องนุ่งห่มใช้วัตถุดิบฝ้ายที่ปลูกในชุมชนนำมาทอเป็นผ้าฝ้าย ย้อมสีด้วยเปลือกไม้ต่าง ๆ เช่น สีเหลืองจากเปลือกต้นเข สีแดงจากครั่งต้นสะแก สีน้ำเงินเข้มจากต้นคราม ระบบการแลกเปลี่ยนเป็นแบบสิ่งของแลกสิ่งของ เช่น พริกแลกเกลือ ไก่แลกหม้อดิน น้ำตาลปึกแลกจอบ เสียม อัตราปริมาณการแลกขึ้นอยู่กับการตกลงและความพึงพอใจ การขนสิ่งของใช้เกวียนในการบรรทุกสินค้า ส่วนพ่อค้าจากถิ่นอื่น เช่น ท่าอุเทน นครพนมโดยใช้เรือกระแซง สินค้าจากเรือจำพวกผ้า ด้าย ชาม ไห ดินสอ ไม้ขีดไฟ เกลือ ด้านระบบสังคมมีวัฒนธรรมการผูกเสี่ยว เพื่อเป็นเพื่อนสนิทเครือข่ายเพื่อการช่วยเหลือกันและกัน

ช่วง ปี พ.ศ. 2495 มีการใช้เรือกลไฟล่องมาขายสินค้าในแม่น้ำสงคราม โดยสินค้าสำคัญคือ เกลือ วัตถุดิบสำคัญในการทำปลาร้าของทุกครัวเรือน เพราะความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงจึงเป็นที่มาของภูมิปัญญาการทำปลาร้าและภูมิปัญญาด้านเครื่องมือประมง อาทิ แห เบ็ด เผียก โทง เป็นต้น

ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงหลากหลายด้าน ปิยาพร อรุณพงษ์ (2550) พบว่า ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการหาอยู่หากินไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
  • การพึ่งพาภายนอกมากขึ้นโดยเฉพาะด้านตลาด ทั้งจากภาครัฐและธุรกิจเอกชน
  • การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการคมนาคม จากทางน้ำเป็นทางบก ถนนขยายตัวอย่างรวดเร็ว
  • การชลประทาน เกิดการสร้างเขื่อนน้ำอูน เพื่อเก็บน้ำใช้ในภาคการเกษตรจากเดิมใช้การพึ่งพาน้ำฝนตามฤดูกาล
  • การเปลี่ยนเป้าหมายการผลิตข้าวจากเพื่อยังชีพไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์
  • การใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรช่วยในการผลิต อาทิ รถไถ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เครื่องสูบน้ำ พันธุ์ข้าว เป็นต้น

บ้านท่าบ่อ เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ โดยมีถนนคอนกรีตผ่านกลางหมู่บ้าน ทำให้แบ่งการปกครองเป็น 2 หมู่บ้าน คือบ้านท่าบ่อหมู่ 4 และ หมู่ 6 บ้านท่าบ่อตั้งอยู่ด้านฝั่งขวาของแม่น้ำสงคราม ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอศรีสงคราม รูปแบบการตั้งถิ่นฐานชุมชนบ้านท่าบ่อมีลักษณะขนานไปกับตลิ่งของแม่น้ำ ช่วงฤดูน้ำหลากจะท่วมพื้นที่ราว 2-3 เดือน

แม่น้ำสงครามมีลำน้ำอูนเป็นลำน้ำสาขาที่อยู่ในบริเวณบริเวณเส้นทางจากอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนมไปยัง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร พื้นที่ทั้งสองฝั่งอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าบุ่งป่าทาม และทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ มากไปด้วยแหล่งน้ำขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เช่น ห้วยสายหนองโดน ห้วยสายหนองบง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านบริเวณนั้นทำนาปีและใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์ อาณาเขตติดต่อของบ้านท่าบ่อเป็นดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ ลำน้ำสงคราม และ หมู่บ้านนาเพียง ตำบลท่าบ่อ
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านปากอูน อำเภอศรีสงคราม
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านนาจาน ตำบลเอื้อง
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านดอนแดง ตำบลท่าบ่อ

แหล่งน้ำสำคัญของบ้านท่าบ่อ ประกอบด้วย

  • ลำน้ำสงคราม เป็นแหล่งจับปลา เส้นคมนาคมติดต่อยังหมู่บ้านอื่น ๆ แม่น้ำสงครามจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชุมชนในบริเวณนี้

  • หนองน้ำ เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของพื้นที่ที่มีการกระจายโดยทั่วไป อาทิ หนองหญ้าม้า หนองบอง หนองเหมือด หนองโดน หนองบัว เหล่านี้ล้วนแต่เป็นแหล่งน้ำทางการเกษตรแก่ชุมชน
  • ลำห้วย สายสำคัญในพื้นที่ ได้แก่ ลำห้วยบ่อ ไหลจากหนองไชยวาน หมู่บ้านดอนแดง และลำห้วยชิง ไหลมาจากบ้านท่าโข่ง

บ้านท่าบ่อสงคราม หมู่ที่ 4 เป็นหมู่บ้านในการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าบ่อสงคราม จากข้อมูลจำนวนประชากร เดือนเมษายน พ.ศ. 2567 รวบรวมโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย หมู่ที่ 4 บ้านท่าบ่อมีจำนวนประชากรดังนี้

  • จำนวนบ้าน 241 หลัง
  • จำนวนประชากรชาย 384 คน
  • จำนวนประชากรหญิง 370 คน
  • รวมทั้งสิ้น 754 คน

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบ่อสงคราม รวบรวมข้อมูลกลุ่มองค์กรชุมชนและกลุ่มอาชีพในพื้นที่ จำแนกกลุ่มต่าง ๆ ในตำบล ประกอบด้วย

  • ลูกเสือชาวบ้าน 
  • ไทยอาสาป้องกันชาติ 
  • อาสาสมัครสาธารณสุข 
  • อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 
  • กองทุนเพื่อความมั่นคง 
  • กองทุนหมู่บ้าน
  • หมู่บ้าน อพป.
  • อาสาสมัครพัฒนาชุมชน 
  • อาสาสมัครปศุสัตว์
  • กลุ่มส่งเสริมอาชีพ อาทิ กลุ่มแปรรูปจากปลา - เนื้อสัตว์ หมู่ที่ 4
  • กลุ่มเยาวชน  
  • กลุ่มสตรี

ปฏิทินชีวิตประจำวันของสมาชิกชุมชนบ้านท่าบ่อ มีความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ชุมชนประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม ด้วยการทำนาและการทำการประมง สัตว์น้ำที่หาได้ชุมชนนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ ปลาส้ม ปลาแดก (ปลาร้า) ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารของสมาชิกในชุมชน ปฏิทินการดำรงชีวิตในรอบปีของบ้านที่บ่อ เป็นดังแผนภาพต่อไปนี้

Picture1_666816ffd431e.png

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรมชุมชน

1. ปลาแดก 

“ปลาร้า” หรือ “ปลาแดก” เป็นการหมักปลาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยการนำมาตำในครกหรือการขยำด้วยมือให้เข้ากับเกลือ จากนั้นหมักทิ้งไว้ระยะหนึ่งแล้วนำข้าวคั่วหรือรำข้าว ผสมคลุกให้เข้ากัน จากนั้น “ยัด” ในไหหรือภาชนะ ชาวบ้านเรียกการยัดว่า “แดก” ไม่ได้หมายถึงการ “กิน” หรือมีความหมายเชิงคำหยาบแต่อย่างใด

“ปลาแดก” มีบทบาทต่อวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านท่าบ่อ อาทิ การผลิตเพื่อบริโภค การผลิตเพื่อค้าขาย แลกเปลี่ยน เหตุผลในการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ และบริโภคในครัวเรือนรวมถึงเครือญาติ กล่าวคือเมื่อมีการจับปลาได้มาก นำไปสู่การผลิตเพื่อแบ่งปันเพราะพื้นที่อยู่ห่างไกลจึงนำไปสู่กระบวนการแลกเปลี่ยน หรือญาติมาเยี่ยมจึงให้ปลาแดกกลับไปกิน

ปลาแดกกับสังคมชาวบ้าน

วัตถุดิบและการผลิตปลาแดก ต้องหามาจากนอกบ้านฉะนั้นการหาวัตถุดิบจึงต้องใช้คนมากกว่า 1 คน จึงนำไปสู่สัมพันธภาพระหว่างคนในหมู่บ้านเดียวกัน ในครอบครัวเดียวกัน หรือการขอปลาแดกระหว่างบ้านใกล้เรือนเคียงกัน ส่วนกระบวนการผลิตปลาแดก เป็นการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษฝ่ายหญิง ในอดีตเมื่อต้องออกเรือนจะเรียนรู้กระบวนการทำปลาแดกจากผู้ใหญ่กระทั่งมีความชำนาญ นำไปสู่การสืบทอดวิธีการทำปลาแดก ก่อเกิดความสัมพันธ์ในหมู่เครือญาติ

2. ทุนความรู้เกี่ยวกับสภาพนิเวศของแม่น้ำ

การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลมีผลต่อการไหลของกระแสน้ำในแม่น้ำสงคราม ดังนั้นชุมชนจึงเรียนรู้และปรับปรนให้มีความสอดคล้องกันระหว่างธรรมชาติกับการดำรงชีวิต เฉพาะอย่างยิ่งการหาปลาในฤดูน้ำหลากที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เครื่องมือสำหรับการจับปลา ปิยาพร อรุณพงษ์ (2550) พบว่า ช่วงเริ่มต้นน้ำหลากชาวบ้านเรียกช่วงนี้ว่า น้ำแก่ง เครื่องมือจับปลาที่เหมาะสมคือ ไซ ลอบ ตุ้มปลากด ตุ้มปลาแขยง เมื่อน้ำนองทุ่งนาจึงเปลี่ยนมาใช้ มอง ถึงช่วงที่น้ำนิ่งราวเดือนกันยายนเปลี่ยนชนิดเครื่องมือเป็นตุ้มปลาขาว เมื่อน้ำลดสามารถใช้เครื่องมือตุ้มและมอง และช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ใช้เครื่องมือประมงขนาดใหญ่เรียกว่า โต่ง เพราะเป็นช่วงน้ำลดและไหลสู่แม่น้ำโขง การเรียนรู้เกี่ยวกับนิเวศของลำน้ำจึงเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตด้วยการประมงของชุมชน

3. ทุนความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือหาปลา

ความรู้เกี่ยวกับการจับปลาโดยการพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมของชุมชน ทำให้ชุมชนมีทรัพยากรอาหารและสามารถสร้างรายได้แก่ครอบครัว เครื่องมือจับปลา อาทิ

  • มอง หรือ ตาข่าย ทำด้วยป่านสามารถจับปลาขนาดใหญ่ จำพวก ปลาบึก ปลาสวาย ปลากะโห้ ปลานาง ปลาดังกล่าวเหมาะในการทำปลาย่าและปลาร้าประเภทปลาเนื้ออ่อน
  • สะดุ้งใหญ่หรือยอ เป็นเครื่องมือที่ลงทุนสูง เพราะต้องใช้ไม้ไผ่ลำดีจำนวนมาก มีใช้อย่างแพร่หลายในหมู่บ้านยางงอย สามผง ปากยาม ท่าบ่อ เชื่อว่าเป็นเครื่องมือที่นำมาจากแหล่งประมงในเขื่อนชลประทาน เช่น เขื่อนลำปาว เขื่อนอุบลรัตน์
  • มองกวาด มองแก่ หรืออวนลาก เป็นเครื่องมือสำหรับจับปลาช่วงน้ำลดและไหลไม่แรง และเป็นเครื่องมือที่ใช้เงินลงทุนมากเพราะต้องซื้ออวน เรือ การจ้างคนลากอวน อวนที่มีประสิทธิภาพสามารถจับปลาใหญ่น้ำลึก เช่น ปลาเค้า ปลาสวาย ปลาเมโพ ปลาเนื้ออ่อน ปลาตะเพียน ปลาขนาดเล็ก เช่น ปลากะทิง ปลาหลด ปลาเม่า 

อ ร้อยละ 30 ภาษาแสก ร้อยละ 20 ภาษาลาว และภาษาอื่นๆร้อยละ 10

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปิยาพร อรุณพงษ์ (2550). มิติทางวัฒนธรรมในการจัดการลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง: กรณีศึกษาชุมชนท่าบ่อ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. พัฒนามนุษย์และสังคม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://cuir.car.chula.ac.th/

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบ่อสงคราม. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐาน. จาก https://www.thabosongkhram.go.th/

อบต.ท่าบ่อสงคราม โทร. 0-4205-5018