Advance search

บ้านหนองแก

หลักเมืองเก่าชุมแพ แลผาพระนอนล้ำค่าอารยธรรมโนนเมือง ลือเลื่องเศรษฐกิจ ติดตาผานกเค้า เข้าชมถ้ำผาพวงบวงสรวงปู่หลุบ

หมู่ที่ 5
บ้านสว่างหนองแก
ขัวเรียง
ชุมแพ
ขอนแก่น
อบต.ขัวเรียง โทร. 0-4316-1071
ศิราณี ศรีหาภาค
25 ก.พ. 2023
วีรภัทร ศรีทำบุญ
25 ก.พ. 2023
veerapat srithamboon
24 เม.ย. 2023
บ้านสว่างหนองแก
บ้านหนองแก

บ้านสัมพันธ์เป็นหมู่บ้านใหญ่ ตั้งมาก่อนบ้านหนองแกประมาณ 50 ปี มีประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น ชาวบ้านผู้มีฐานะดีในยุคนั้นเลี้ยงฝูงวัวฝูงควายกันแทบทุกครัวเรือน ที่อยู่อาศัยคับแคบจึงคิดหาทางขยับขยายที่ปลูกบ้านแห่งใหม่ที่เห็นว่าเหมาะสมและสะดวกในการไปไร่ไปนา ปล่อยสัตว์เลี้ยงออกหากินการหาฟืนหุงหาอาหารและคนรุ่นนั้นชอบอพยพครอบครัวกันบ่อยๆเฒ่าปลัดจันทร์ หมวดเหม็น เฒ่าขุนศักดา พงษ์แสนพันธ์ เฒ่าแสงและแม่ยุ่น ชวนกันย้ายบ้านจากบ้านสัมพันธ์มาตั้งบ้านสว่างหนองแก


ชุมชนชนบท

หลักเมืองเก่าชุมแพ แลผาพระนอนล้ำค่าอารยธรรมโนนเมือง ลือเลื่องเศรษฐกิจ ติดตาผานกเค้า เข้าชมถ้ำผาพวงบวงสรวงปู่หลุบ

บ้านสว่างหนองแก
หมู่ที่ 5
ขัวเรียง
ชุมแพ
ขอนแก่น
40130
16.53509
102.2364
องค์การบริหารส่วนตำบลขัวเรียง

ก่อนตั้งเป็นหมู่บ้าน ลักษณะพื้นที่เป็นเนินกว้างใหญ่ เหมาะกับการตั้งเป็นหมู่บ้านมีหนองน้ำอยู่บนเนินที่ชาวบ้านเรียกว่าหนองแก หนองน้ำจะมีน้ำขังเต็มเฉพาะในฤดูฝนสวนฤดูแล้งน้ำจะแห้งขอดกว้างประมาณหนึ่งงาน มีป่าไม้ต้นสะแกและต้นไม้อื่นๆ ขึ้นล้อมรอบด้านทิศเหนือของน้ำเป็นป่าหญ้า ด้านทิศใต้ก็เช่นกันเป็นที่พักอาศัยของชาวบ้านในหมู่บ้านทั้งสองคือ ทั้งบ้านสว่างหนองแกและบ้านสัมพันธ์ เมื่อสมัยอดีตนั้นเคยมีเสือออกกินสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านสัมพันธ์เป็นหมู่บ้านใหญ่ ตั้งมาก่อนบ้านหนองแกประมาณ 50 ปี มีประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น ชาวบ้านผู้มีฐานะดีในยุคนั้นเลี้ยงฝูงวัวฝูงควายกันแทบทุกครัวเรือน ที่อยู่อาศัยคับแคบจึงคิดหาทางขยับขยายที่ปลูกบ้านแห่งใหม่ที่เห็นว่าเหมาะสมและสะดวกในการไปไร่ไปนา ปล่อยสัตว์เลี้ยงออกหากินการหาฟืนหุงหาอาหารและคนรุ่นนั้นชอบอพยพครอบครัวกันบ่อยๆเฒ่าปลัดจันทร์ หมวดเหม็น เฒ่าขุนศักดา พงษ์แสนพันธ์ เฒ่าแสงและแม่ยุ่น ชวนกันย้ายบ้านจากบ้านสัมพันธ์มาตั้งบ้านสว่างหนองแกเป็นกลุ่มแรกเลือกสถานที่ปลูกสร้างบ้านโดยเฒ่าปลัดจันทร์เลือกเอาที่ทางทิศเหนือ บ้านเฒ่าขุนศักดา เลือกเอาทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นทางเกวียนไปนาหนองโน บริเวณบ้านแม่ทองพูน วงษ์อุปปา อยู่ปัจจุบัน ประมาณ พ.ศ.2461 ก็มีผู้คนอพยพครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่กันมากขึ้นเรื่อยๆจนพอจัดตั้งเป็นหมู่บ้านได้ นายอำเภอภูเวียงจึงอนุมัติให้ตั้งเป็นหมู่บ้านให้ชื่อว่าบ้านสว่างหนองแก หมู่ที่ 5 ตำบลขัวเรียง อำเภอภูเวียง เลือกนายจำปา สีนวล เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก แหล่งน้ำกินน้ำใช้ประจำหมู่บ้านครั้งแรก คณะผู้ก่อตั้งหมู่บ้านช่วยกันปั้นฝายกั้นร่องสะแบง เก็บกักน้ำกินน้ำใช้สอยประจำหมู่บ้าน ร่องสะแบงนี้เป็นร่องน้ำลึกมากพอสมควร มาสามารถเก็บกักน้ำไว้กินตลอดปี แต่เนื่องจากเป็นร่องน้ำที่เป็นที่นาของชาวบ้านหนีบอยู่ทั้งสองฝั่งของร่องน้ำ ทำให้ไม่สะดวกในการไปหอบน้ำมากินมาใช้ ต่อมาน้ำเริ่มขาดแคลนในหน้าแล้ง และร่องน้ำตื้นเขิน น้ำเก็บไว้ไม่พอใช้ ชาวบ้านจึงร่วมกันคิดหาแหล่งน้ำใหม่ มีผู้ใจบุญคือ นายแสง หมวดเหม็น ยอมให้ที่นาหนึ่งซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ไม่ห่างไกลมากนัก และพื้นที่กว้างประมาณ 6 ไร่ ชาวบ้านได้ร่วมกันปิดกั้นทำนบและขุดสระให้ลึกตามกำลังของชาวบ้านและใช้สระนี้เป็นแหล่งน้ำของหมู่บ้านสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ปรับปรุง ตกแต่ง ขุดลอกมาเรื่อยๆจนชาวบ้านมีน้ำประปาใช้จึงเลิกใช้สระนี้ บ้านสว่างหนองแกในยุคต้นๆ ประชาชนหากินตามธรรมชาติของชาวชนบท เลี้ยงโคกระบือ ทำไร่ทำนา ปลูกพืชล้มลุกตามฤดูกาล ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีนิสัยแสวงที่ทำกินใหม่ไปเรื่อยๆ ชอบย้ายบ้านไปจับจองที่นาที่ตนเห็นว่าดีกว่าเดิม เช่น สามครอบครัวแรกได้ย้ายออกจากบ้านสว่างหนองแกไปตั้งบ้านโคกม่วง และมีคนรุ่นหลังย้ายติดตามไปเรื่อยๆ จนเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ในปัจจุบัน นายจำปา สีนวล ปกครองบ้านสว่างหนองแกมาเป็นเวลานานปี จึงได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ทางราชการจึงแต่ตั้งนายม้าว พงษ์แสนพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้านในสมัยนั้น ต่อมาบ้านเมืองเจริญพัฒนาไปเรื่อยๆ ผู้ใหญ่ม้าวได้เริ่มจัดหาที่ดินในการสร้างวัดในพระพุทธศาสนาไว้ประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงมีความเห็นพร้อมกันเลือกโนนดินที่เหนือหมู่บ้านซึ่งเป็นที่ดินว่าง มีเนื้อที่ว่างประมาณ 6 ไร่ ช่วยกันขุดถางป่าให้โล่งเตียน ปักหลัก ปักเขต ล้อมรั้วด้วยเสาไม้แก่นทั้ง 4 ด้าน ปลูกสร้างกุฏิ สำหรับ พระ เณร ที่พักอาศัย แล้วได้ไปนิมนต์พระสงฆ์ให้มาอยู่จำพรรษา จนเกิดเป็นวัดขึ้นในปัจจุบันเรียกว่าวัดสว่างอารมณ์ เมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้เร่งรัดพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เช่นการศึกษา การคมนาคม และทางสาธารณูปโภค ปี พ.ศ.2486 อำเภอชุมแพยกฐานะเป็นอำเภอใหม่ โดยแยกจากอำเภอภูเวียง โดยมี 4 ตำบล คือตำบลชุมแพ ตำบลขัวเรียง ตำบลโนนทันและตำบลศรีสุข บ้านสว่างหนองแกก็ได้ขึ้นสังกัดหมู่ที่ 5 ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ และมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหมู่บ้านที่เจริญเติบโตในปัจจุบันนี้ โดยทางบ้านสว่างหนองได้มีข้อตกลงในกฎหมู่บ้าน บ้านสว่างหนองแก หมู่ที่ 5 ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ราษฎรบ้านสว่างหนองแก หมู่ที่ 5 ตำบล ขัวเรียง อำเภอ ชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ทุกคนมีมติที่ประชุมประชาคมหมู่บ้านเมื่อวันที่ 7 เดือน มีนาคม พ.ศ.2556 ยินยอมรับปฏิบัติตามกฎหมู่บ้าน ดังนี้ 1 ผู้ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกกรณีจะถูกตัดสิทธิ์ดังนี้ 1.1 ไม่ให้มีส่วนร่วมในฌาปนกิจของหมู่บ้านในทุกกรณี 1.2 ไม่ให้มีส่วนร่วมในกองทุนหมู่บ้านในหมู่บ้านทุกกรณี 1.3 ไม่ให้มีส่วนร่วมในเงินสงเคราะห์หมู่บ้าน ในทุกกรณี 1.4 หากมีผู้ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดได้รับการแก้ไข เช่นหากเป็นผู้ค้าแล้วถูกจับกุมดำเนินคดีหรือกลับตัวเป็นคนปกติและประชาคมรับรองหรือผู้เสพแต่เข้าสู่ระบบของการบำบัดแบบสมัครใจหรือการบังคับก็จะได้รับสิทธิ์ตรงนั้นของครอบครัวนั้นคืนตามปกติ

บ้านสว่างหนองแกมีเนื้อที่ประมาณ 7.42 ตารางกิโลเมตร มีทั้งหมด 245 หลังคาเรือน พื้นที่ปลูกบ้านเรือนประมาณ 2,720 ไร่ ทำการเกษตรจำนวน 113 หลังคาเรือน เนื้อที่ทำการเกษตรประมาณ 1,918 ไร่ รวมทั้งหมดประมาณ 4,638 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบโดยรอบหมู่บ้านเป็นที่นาและมีลำห้วยผ่าน ลักษณะดินเป็นดินทรายปนร่วน ตอนฤดูแล้งจะมีสีขาว เมื่อโดนน้ำ (ฤดูฝน) ดินจะออกสีดำ และมีบางส่วนเป็นดินเหนียวเหลือง (เป็นขี้ตมเก่า)

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านหนองส้มมอและบ้านโคกม่วง
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านสัมพันธ์
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านโนนตุ่นและห้วยผักแป้น
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านนาสีนวล บ้านขามป้อม และห้วยข่า

ภูมิประเทศ : บริเวณหมู่บ้านจะเป็นพื้นที่ราบ โดยรอบจะเป็นที่นา มีไร่อ้อยบ้าง และมีลำห้วยด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

ภูมิอากาศ : ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดูคือ

  • ฤดูร้อน : ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน : ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน
  • ฤดูหนาว : ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

สภาพสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน

  • ส้วม : ส้วมซึมและชักโครก
  • ขยะ : จะมีถังขยะวางไว้หน้าบ้านเป็นถังขยะของเทศบาลตำบลสัมพันธ์ โดยจะมารับ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ คือวันจันทร์และวันพฤหัสบดีและมีแหล่งกำจัดขยะรวมของเทศบาลซึ่งไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านสว่างหนองแก

แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตชุมชน

  • แหล่งน้ำ : ห้วย 2 ห้วยอยู่ด้านทิศตะวันออก คือ ห้วยผักแป้น และทิศตะวันตก คือ ห้วยข่า โดยมีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขาภูเวียง ซึ่งชาวบ้านใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกและเป็นแหล่งหาปลา

สาธารณูปโภคในชุมชน

  • น้ำ : ใช้น้ำบาดาลใต้ดินในการอุปโภคในครัวเรือน มีสระโครงสร้างการหลวง (สระหนองโน) อยู่หลังวัด
  • ไฟฟ้า : คนในชุมชนใช้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • สัญญาณอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์ : ในชุมชนมีเสารับสัญญาณอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์ CAT telecom อยู่บริเวณตรงข้ามเมรุ วัดสว่างอารมณ์

บ้านสว่างหนองแก หมู่ที่ 5 ตำบลขัวเรียง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 193 หลังคาเรือน แบ่งออกเป็น 12 กลุ่ม (คุ้ม) ประชากรทั้งหมด 583 คน (เฉพาะบุคคลที่อาศัยอยู่จริง) เพศชาย 279 คน เพศหญิง 304 คน

จากกราฟแสดงให้ว่า ช่วงอายุที่มีประชากรอยู่ในช่วงอายุที่พบมากคือ 45-50 ปีจำนวน 59 คน รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ 41-45 ปี จำนวน 55 คน ช่วงอายุ 11-15 ปีจำนวน 51 คน ตามลำดับ และจากกราฟยังแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างของประชากรของบ้านสว่างหนองแก มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเกิดลดลงทำให้มีอัตราส่วนของการพึ่งพิงในชุมชนเพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวนของผู้สูงอายุมีมากขึ้นและอัตราการเกิดลดลง 

โครงสร้างการบริหารงานในชุมชนบ้านสว่างหนองแก หมู่ที่ 5 กรรมการบริหารชุมชน ร่วมกันวางแผนในการพัฒนาหมู่บ้าน บริหารงานด้านต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เช่น ด้านมหาดไทย ด้านศึกษาธิการ ด้านสาธารณสุข ด้านการเกษตร

ด้านมหาดไทย ทำหน้าที่  รักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาล กรรมการด้านนี้จะประสานงานกับตำรวจและร่วมมือกันดูแลความสงบช่วยตรวจอาวุธก่อนเข้างาน ดูแลให้มีไฟฟ้าในที่เปลี่ยวและมืดในงานเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย

ด้านศึกษาธิการ ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ปกครองนักเรียน เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในโรงเรียน แสดงความคิดเห็นและลงมติในเรื่องการซื้อวัสดุการเรียนการสอนบางอย่างและการจัดกิจกรรมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

ด้านสาธารณสุข ได้แก่ แกนนำด้านสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุขทำงานด้านสุขภาพ  เช่น  ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขที่ออกมาปฏิบัติงานในหมู่บ้าน และประสานงานให้ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ และร่วมกิจกรรมการควบคุมโรคในชุมชน

ด้านการเกษตร ทำหน้าที่ประสานงานกับปศุสัตว์ เช่น เรื่องวัคซีนวัว  กระบือ  สุนัข  แมว  หมู  ให้สัตว์เลี้ยงชาวบ้านได้รับวัคซีน

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข บทบาทหน้าที่ : ประสานงานในการทำงานด้านสุขภาพในพื้นที่ เช่น แจ้งข่าวสารด้านสุขภาพแก่ชุมชน ประสานชุมชนในการรับบริการ ชี้แนะบริการ ร่วมพิทักษ์สิทธิโดยการสำรวจข้อมูลการมีสิทธิบัตรตามโครงการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดในชุมชน ตลอดจนการคัดกรองโรคเบื้องต้นร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นตัวอย่างที่ดีในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

กองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง คือ แหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วนของชุมชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนทั่วประเทศ ส่งผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ดังนี้ (1) ด้านสังคม เป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนในหมู่บ้าน และชุมชนเมืองสร้างแหล่งเงินของตนเอง จากการคิดเอง ตัดสินใจเอง และทำเอง เพื่อพึ่งพาตนเองในอนาคต (2) ด้านเศรษฐกิจ มีการกระจายเงินทุนในท้องถิ่น ทำให้เกิดการสร้างงานในธุรกิจของชุมชนซึ่งเป็นรากฐานที่เข้มแข็งและยั่งยืน (3) ด้านการเมือง ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเพื่อนำมาใช้ในชุมชนของตนเอง (4) ด้านวัฒนธรรม ทำให้เกิดความสามัคคี ความเอื้ออาทร และการกระจายความเสมอภาคในชุมชน กองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองถือว่าเป็นนโยบายเร่งด่วนที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ประชาชนในระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น และสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง ส่งผลให้การกินดีอยู่ดีของประชาชนทั้งประเทศดีขึ้น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง เริ่มต้นโดยการจัดแบ่งเป็นกองทุนละ 1 ล้านบาท  เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน และเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองด้วยภูมิปัญญาของตนเองจากนั้นรัฐบาลจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปฝึกอบรมความรู้ในด้านต่าง ๆ ให้กับประชาชนในหมู่บ้าน โดยเรียกตัวเองว่า ประชารัฐ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจการบริหารการจัดการกับกองทุนที่ได้รับมานี้อย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้น  ซึ่งการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนนี้ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนต่อไป  ทั้งนี้ผลสำเร็จของการกระทำต้องเกิดจากความช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกันแก่กองทุนสมาชิก  โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันตามวิถีชุมชน และวัฒนธรรมระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการยกระดับของกองทุนให้มีความเท่าเทียมกัน จากการอยู่รอด สู่การกินดีและอยู่ดี

การทำงานและบริหารจัดการ หลักการออมเงิน ทุกวันที่ 30 ของเดือน จะให้สมาชิกฝากเงินเข้ากองทุนอย่างต่ำ 50 บาท/ราย และสามารถเบิกใช้ในกองทุนได้เฉลี่ยรายละได้ 15,000 – 20,000 บาท รวมทั้งมีเงินปันผลให้กับสมาชิก ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี ดูแลสวัสดิการของสมาชิก เช่น การช่วยเหลือด้านการเจ็บป่วย เยี่ยมบ้าน, การดูแลหญิงหลังคลอด, การดูแลเด็ก, การช่วยเหลือสงเคราะห์ครอบครัว, การช่วยเหลือ ฌาปนกิจศพสงเคราะห์ เป็นต้น ให้การช่วยเหลือสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นผลกำไรจากกองทุน 30% โดยเฉลี่ยช่วยเหลือ วัด 10%, บ้าน 10%, และโรงเรียน 10% ระบบข้อมูลข่าวสารของหมู่บ้าน (Information system) มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้านรับทราบ จากหอกระจายเสียง ณ ศาลากลางหมู่บ้าน

วิถีชีวิตทั่วไปของชาวบ้านชุมชนบ้านสว่างหนองแก มีวิถีชีวิตตามหลัก ฮีต 12 คอง 14 ของชาวไทยอีสานแบ่งตามปฏิทินจันทรคติ จากอิทธิพลการถือผีและความเชื่อตามหลักพุทธศาสนา และมีการกำหนดวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลทั่วไปคือวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี

ปฏิทินชีวิตในการประกอบอาชีพของคนในชุมชนซึ่งมีทั้งอาชีพทำนาปีซึ่งจะทำ 1 ครั้งในรอบปี เริ่มฤดูกาลการทำนาปีช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นต้นฤดูฝน และเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม อาชีพปลูกอ้อยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือการปลูกอ้อยต้นฝนซึ่งเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เก็บเกี่ยวช่วงเดือนมกราคม และการปลูกอ้อยตุลา หรือเป็นการเริ่มต้นเพาะปลูกในช่วงเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวช่วงเดือนกันยายน และมีอาชีพที่ทำทั้งปี ได้แก่ อาชีพค้าขาย อาชีพตีมีดซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อาชีพรับจ้างเกษตร อาชีพรับจ้างทั่วไป อาชีพรับจ้างโรงงาน และอาชีพรับจ้างราชการซึ่งจะเริ่มต้นปีงบประมาณในเดือนตุลาคมของทุกปี

คุณยายบุญเนียม ศรศักดิ์ดา เกิดเมื่อปี พ.ศ.2469 ปัจจุบันอายุ 90 ปี ไม่ได้แต่งงาน มีโรคประจำตัวคือ ความดันโลหิตสูง เป็นมานาน 1 ปี การศึกษา จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านสัมพันธ์ ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น หลังเรียนจบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 แล้วนั้นได้ออกมาทำอาชีพทำนา จนถึงอายุ 70 ปี  มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน คุณยายบุญเนียมเป็นลูกคนที่ 5 เสียชีวิต 4 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่กับน้องสาวคนสุดท้องพร้อมครอบครัวรวมทั้งหมด 8 คน ได้แก่ คุณยายเจียม ภูมิพิพัฒน์(น้องสาว),นายประมวล ภูมิพิพัฒน์(ลูกชายคุณยายเจียม),คุณศิริวรรณ พันธ์โกศล(ลูกสาวคุณยายเจียม),คุณสยาม พันธ์โกศล(ลูกเขยคุณยายเจียม) และหลานอีก 3 คน อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 122 หมู่ 5 บ้านสว่างหนองแก ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ปัจจุบันคุณยายบุญเนียม สามารถช่วยเหลือตนเองได้ สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง เช่นการอาบน้ำ แต่งตัว เป็นต้น เวลาเดินจะใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเอง คุณยายมีอาการหูตึงทั้งสองข้าง และกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ผู้ดูแลจึงได้จัดเตรียมกระโถนปัสสาวะไว้บริเวณที่นอน การดูแลสุขภาพ ในการรับประทานอาหารนั้น คุณยายบุญเนียมจะรับประทานเป็นประเภทอาหารพื้นบ้าน เช่น ป่นปลา ผักลวก แจ่ว เป็นต้น ไม่รับประทานของมันของทอด  มีเพิ่มอาหารเสริมเป็น เครื่องดื่มประเภทชง ผสมธัญพืช สูตรหวานน้อย คุณยายบุญเนียมออกกำลังกายเป็นประจำ โดยการแกว่งแขนทุกเช้า และงานอดิเรกของคุณยายบุญเนียมคือการตัดหญ้าบริเวณรอบบ้าน และการปลูกพืชผักสวนครัว ปัจจุบันคุณยายบุญเนียมไม่ค่อยได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาเนื่องจากชราขึ้น แต่อยู่ที่บ้านก็มีการสวดมนต์ก่อนนอนทุกวัน  เนื่องจากแบบแผนการดูแลตนเองของคุณยายบุญเนียมนั้นมีประสิทธิภาพคุณยายบุญเนียมจึงเป็นผู้สูงอายุที่อายุมากถึง 90 ปีคนเดียวในหมู่บ้านสว่างหนองแก ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นจากจำนานผู้สูงอายุทั้งหมด 138 คน และเป็นที่เคารพรักของลูกหลาน

นายสุรินทร์ ประทุมมา เกิดเมื่อ พ.ศ.2490 ปัจจุบันอายุ 69 ปี เดิมเกิดที่ อำเภอเชียงยืน ย้ายถิ่นฐานตามบิดา มารดาตั้งแต่อายุได้ 2 ปี มาอยู่ที่ หมู่ 5 บ้านสว่างหนองแก ต.ขัวเรียง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น นายสุรินทร์ ประทุมมาเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ได้เริ่มชกมวยครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นระยะเวลาได้ 2 ปี จากนั้นได้บวชเรียนเป็นเวลา 1 ปี เมื่อ พ.ศ.2507 และก็ได้กลับไปชกมวยอีกครั้งเมื่อ พ.ศ.2508 ในปีเดียวกันนั้นได้แต่งงานกับภรรยาคนแรก คือนางบัวไร กองแก้ว แต่เมื่อครั้นแต่งงานได้ 9 เดือน ภรรยาคนแรกได้เสียชีวิตด้วยโรคไตวาย ซึ่งไม่ได้มีบุตรร่วมกัน และนายสุรินทร์ ประทุมมา ได้แต่งงานครั้งที่ 2 กับนางบุญรอด ประทุมมา ปี พ.ศ.2514 มีบุตรร่วมกัน 4 คน มีบุตรคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2515 จึงได้หยุดชกมวย และได้ไปประกอบอาชีพก่อสร้าง จากนั้นกลับมาทำนา นายสุรินทร์ ประทุมมา เริ่มทำงาน ปสส. ปี พ.ศ. 2518 จากนั้นผู้ทรงคุณวุฒิได้ชักชวนให้มาทำงาน เริ่มเป็นประธาน อสม. เมื่อปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันนายสุรินทร์ประทุมมาอายุได้ 69 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร มีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน เริ่มเป็นโรคเบาหวานครั้งเเรกเมื่อปี พ.ศ.2542 นอกจากโรคเบาหวานแล้ว นายสุรินทร์ ประทุมมา ยังมีโรคประจำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง เริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน ได้รับยารับประทานเป็นประจำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลขัวเรียง และแพทย์นัดตรวจสุขภาพทุก 3 เดือนที่ โรงพยาบาลชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เป็นประจำ นายสุรินทร์เป็นคนอารมณ์ดี ไม่ใจร้อนเหมือนครั้นเป็นวัยรุ่น ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่คืออยู่ที่สวนทำเกษตรกรรม และพอถึงเวลาเย็นนอนที่สวนบ้างที่บ้านบ้างบางวัน ปัจจุบัน นายสุรินทร์ ประทุมมา อยู่บ้านเลขที่ 160 ม.5 ต.ขัวเรียง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถือจากคนในหมู่บ้าน เนื่องจากอุปนิสัยเป็นอารมณ์ขัน ยิ้มแย้มแจ่มใสและมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกับกิจกรรมในชุมชนอยู่เป็นประจำ

นายสุรินทร์ ประทุมมา เริ่มทำงาน ปสส. ปี พ.ศ. 2518 จากนั้นผู้ทรงคุณวุฒิได้ชักชวนให้มาทำงาน เริ่มเป็นประธาน อสม. เมื่อปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันนายสุรินทร์ประทุมมาอายุได้ 69 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกร มีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน เริ่มเป็นโรคเบาหวานครั้งเเรกเมื่อปี พ.ศ.2542 นอกจากโรคเบาหวานแล้ว นายสุรินทร์ ประทุมมา ยังมีโรคประจำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง เริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน ได้รับยารับประทานเป็นประจำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลขัวเรียง และแพทย์นัดตรวจสุขภาพทุก 3 เดือนที่ โรงพยาบาลชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เป็นประจำ นายสุรินทร์เป็นคนอารมณ์ดี ไม่ใจร้อนเหมือนครั้นเป็นวัยรุ่น ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่คืออยู่ที่สวนทำเกษตรกรรม และพอถึงเวลาเย็นนอนที่สวนบ้างที่บ้านบ้างบางวัน ปัจจุบัน นายสุรินทร์ ประทุมมา อยู่บ้านเลขที่ 160 ม.5 ต.ขัวเรียง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น เป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถือจากคนในหมู่บ้าน เนื่องจากอุปนิสัยเป็นอารมณ์ขัน ยิ้มแย้มแจ่มใสและมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกับกิจกรรมในชุมชนอยู่เป็นประจำ

ทุนกายภาพ

  • แหล่งน้ำ : ห้วย 2 ห้วยอยู่ด้านทิศตะวันออก คือ ห้วยผักแป้น และทิศตะวันตก คือ ห้วยข่า โดยมีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขาภูเวียง ซึ่งชาวบ้านใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกและเป็นแหล่งหาปลา

ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • วัดพุทธ 1 แห่งชื่อวัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีพระสงฆ์จำพรรษารูป  เป็นธรรมยุทธ พระสงฆ์จะฉันบาตรเฉพาะตอนเช้า เน้นการบำเพ็ญเพียร ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ไปทำบุญตักบาตร  ที่วัดตอนเช้าจะเป็นผู้สูงอายุ เพราะคนหนุ่มๆจะออกไปทำงานกันแต่เช้า เวลามีงานบุญในหมู่บ้านชาวบ้านก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรม เช่น งานบุญกฐิน งานบุญผ้าป่า งานเข้าพรรษา งานออกพรรษาและวันสำคัญต่างๆทางพุทธศาสนา

ทุนเศรษฐกิจ

  •  มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง คือ แหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วนของชุมชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนทั่วประเทศ ส่งผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม

ผู้คนในชุมชนบ้านสว่างหนองแกใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน


สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นชัดเจนในด้านประชากรโดยมีรายละเอียดดังนี้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คนในชุมชนมีการสร้างบ้านแบบสมัยใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างผีกับคน หรือระบบความติดของคนรุ่นใหม่ในสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากอิทธิพลของระบบสื่อในมิติต่างๆ ที่มีความรวดเร็วเชื่อมโยงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของทั้งคนรุ่นเก่าและใหม่ กระกอบกับอิทธิพลทางการศึกษาสมัยใหม่ที่สอนให้คนเชื่อในหลักการวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดและความเชื่อ

ชุมชนบ้านสว่างหนองแกมีจุดที่น่าสนใจอื่นๆเช่น  วัดสว่างอารมณ์  ครัวร้านอร่อย ภัตตาคารอ๊อดดาวเงิน ชุมแพ ร้านครัวคุณนู ส้มตำแซ่บเวอร์

จากการสำรวจข้อมูลของนักศึกษาจากวิทยาลัยบรมราชชนนี ขอนแก่น

อบต.ขัวเรียง โทร. 0-4316-1071