หมู่บ้านขนาดใหญ่ ลักษณะพื้นที่เป็นวงรีตามแนวเหนือใต้ มีที่นาแปลงใหญ่อยู่ตรงกลางของหมู่บ้าน ถนนสายใหญ่ผ่านขอบด้านเหนือของหมู่บ้านและแยกตรงเข้าสู่วัดใจกลางชุมชนนี้ ภายในวัดมีพระวิหารที่สวยงามด้วยลวดลายแกะสลักและประดับด้วยแก้วโมเสค หลังคามีหลายชั้นสวยงามตามแบบของภาคเหนือหมู่บ้านนี้มีขนาดใหญ่ รูปลักษณะเป็นวงรีตามแนวเหนือใต้
เดิมบริเวณชุมชนบ้านร้องอ้อ หมู่ที่ 4 มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งบริเวณหนองน้ำนี้มีต้นอ้อขึ้นล้อมรอบตามหนองน้ำจำนวนมาก ด้วยลักษณะดังกล่าวจึงได้กลายเป็นที่มาของชื่อชุมชนว่า "บ้านร้องอ้อ"
หมู่บ้านขนาดใหญ่ ลักษณะพื้นที่เป็นวงรีตามแนวเหนือใต้ มีที่นาแปลงใหญ่อยู่ตรงกลางของหมู่บ้าน ถนนสายใหญ่ผ่านขอบด้านเหนือของหมู่บ้านและแยกตรงเข้าสู่วัดใจกลางชุมชนนี้ ภายในวัดมีพระวิหารที่สวยงามด้วยลวดลายแกะสลักและประดับด้วยแก้วโมเสค หลังคามีหลายชั้นสวยงามตามแบบของภาคเหนือหมู่บ้านนี้มีขนาดใหญ่ รูปลักษณะเป็นวงรีตามแนวเหนือใต้
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านร้องอ้อ หมู่ที่ 4 คาดว่ามีชุมชนตั้งอยู่เมื่อประมาณ 100 ปี เดิมมีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งมีต้นอ้อขึ้นล้อมรอบตามหนองน้ำเป็นอันมาก โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านร้องอ้อ หมู่ที่ 4 ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
- นายหล้า ดี
- นายจ้อย ราชทัง
- นายแก้ว จันต๊ะโสภา (พ.ศ. 2473 - 2503)
- นายตัน อินต๊ะมณี (พ.ศ. 2503 - 2512)
- นายปัน อินสัย (พ.ศ. 2512 - 2519)
- นายคำมูล เข็มขาว (พ.ศ. 2529 - 2530)
- นายลักษ์ บุญชละ (พ.ศ. 2530 - 2546)
- นายคำดี บุญสละ (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน)
นอกจากนี้ในชุมชนยังมีศาสนสถานที่สำคัญ วัดร้องอ้อ ซึ่งอยู่คู่กับชุมชนมาอย่างยาวนาน มีประวัติดังนี้
วัดร้องอ้อ (ดอนมูล) วัดร้องอ้อ สร้างขึ้นเมื่อ 2280 เดิมชื่อว่า วัดร้องอ้อดอนมูล มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ เดิม ณ บริเวณนั้นเป็นวัดร้องอ้อฯ ได้สร้างขึ้นที่เหนือวัดซึ่งบริเวณนั้นเป็นวัดเก่าวัดเดิม หลังจากนั้นวัดนั้นน้ำท่วมเกิดเสนาสนะ-เสนาวัตถุเสียหาย ทางคณะศรัทธาจึงพร้อมใจกันย้ายมาสร้างพระอารามไว้ ณ บริเวณทางทิศตะวันตกห่างกันมาประมาณ 500 เมตรเพราะบริเวณนั้นเป็นที่ดอนน้ำไม่สามารถท่วมขังได้และหลังจากนั้นไม่มีเจ้าอาวาสที่จะมาดำรงตำแหน่ง จึงได้นิมนต์เอาพระครูบาอธิการเมธา-มาจากวัดกู่เต้า (เวฬุวนาราม) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดร้องอ้อ ท่านพระครูบาอธิการเมธา ได้สร้างเสนาสนะ-เสนาวัตถุจนวัดร้องอ้อฯ ได้เจริญวรศาสนามานานพอสมควรแก่เวลา ท่านนั้นได้มรณภาพลงด้วยอาการชราภาพ วัดร้องอ้อในสมัยเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ได้เปิดโรงเรียนในวัดให้ชื่อโรงเรียนนั้นว่า โรงเรียนวัดร้องอ้อจนถึงสมัยของท่านเจ้าอาวาสรูปที่ 6 โรงเรียนได้ย้ายไปตั้งที่ทิศตะวันตกของวัด ห่างกันไม่พอเท่าไรในสมัยนั้นได้มีพระภิกษุ-สามเณรเรียนด้วยในวิชานักธรรม-บาลี
รายนามเจ้าอาวาสในอดีต พ.ศ. 2280 - ปัจจุบัน
- พระครูบาอธิการเมธา (มรณภาพ)
- พระครูบาอธิการกันธะ(ครูบาเก๊าะ) (มรณภาพ)
- พระครูบาอธิการอินสวน (ครูบาสวน) (มรณภาพ)
- พระอธิการหลุ่ย ติสสวัณโณ (ลาสิกขา)
- เจ้าอธิการบุญยงค์ อินทนันโท (ลาสิกขา)
- พระครูคำไฝ สุทธสีโล (มรณภาพ)
- พระอธิการอินถา ติสสวโร (ลาสิกขา)
- พระวิษณุ เกสโร (สาสิกขา)
- พระอธิการศรีทน สิริธัมโม (ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน)
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 บ้านป่าข่อยเหนือ หมู่ที่ 2 บ้านป่าข่อยใต้
- ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 บ้านขัวโก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอสันทราย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 บ้านท่าร้องขี้ควาย
บ้านร้องอ้อ หมู่ที่ 4 อยู่ในเขตการปกครองของตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านจากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถยนต์โดยสารประจำทางโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 121 สายวงแหวนรอบที่ 3 จากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออก โดยผ่านโรงพยาบาลนครพิงค์ รวมระยะทาง 4 กิโลเมตร สามารถแวะเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ ห้วยตึงเฒ่า และพักรับประทานอาหารได้ที่ร้านอาหารปลาชานเมือง
ใช้เส้นทางลอดใต้สะพานถนนวงแหวนหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านไปได้ 1500 เมตร จะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าสู่หมู่บ้านขัวโกสามารถเดินทางผ่านเส้นทางนี้เพื่อผ่านไปสู่หมู่ที่ 4 บ้านร้องอ้อใต้ อีกทางหนึ่งผ่านทางแยกนี้จะอยู่ตรงข้ามกับหมู่ที่ 3 มีทางแยกเลี้ยวขวาไปสู่หมู่ที่ 4 บ้านร้องอ้อได้ อาณาเขตของหมู่ที่ 4 จะเริ่มตั้งแต่วัดเป็นต้นไปวนรอบวัด จะมีทางเข้าสู่หมู่บ้านอีกสามทาง คือดินทางผ่านถนนวงแหวนหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ข้ามสะพานผ่านโรงเรียนนานาชาติมาได้ 700 เมตร จะมีทางให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่หมู่บ้านขัวโก เวลาไปยังหมู่ที่ 4 จำต้องผ่านหมู่บ้านดังกล่าวไปก่อนวนขวาไปจนถึงวัดร้องอ้ออีกทาง คือ เดินทางผ่านถนนวงแหวนหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางตลาดรวมโชคไปเรื่อย ๆ จนถึงทางเลี้ยวซ้ายให้เข้าหมู่บ้านขัวโก อีกทางหนึ่งคือ เดินทางผ่านถนนวงแหวนหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางตลาดรวมโชคเรื่อย ๆ ผ่านซอยที่เลี้ยวไปบ้านขัวโกไปอีก 300 เมตร จะมีซอยให้เลี้ยวจะเป็นทางเข้าสู่หมู่ที่ 4
อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือติดกับบ้านป่าข่อยเหนือ, ป่าข่อยใต้ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้ติดกับบ้านขัวโก ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกติดกับบ้านสันทราย ทิศตะวันตกติดกับบ้านท่าร้องขี้ควาย ลักษณะของพื้นที่ของหมู่ที่ 4 ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึงทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านอยู่ติดกับแม่น้ำปิงซึ่งไหลผ่านหมู่บ้าน ภูมิอากาศเหมาะแก่การทำเกษตรกรรมดินมีความสมบูรณ์ลักษณะของดินจะเป็นดินเหนียวปนทรายและมีความร่วมซุยจึงเหมาะแก่การเพาะปลูก มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติไหลผ่านตลอดเพื่อใช้ในการเกษตร มีบ่อน้ำตื้น บ่อน้ำบาดาล มีประปาของหมู่บ้านเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค โดยใช้เส้นทางสายถนนวงแหวนหน้าศาลากลางแยกเข้าเส้นทางหมู่ที่ 4 บ้านขัวโก ใช้เส้นทางผ่านหมู่ที่ 3 บ้านท่า ใช้เส้นทางถนนวงแหวนรอบนอกซึ่งมีอยู่ 3 เส้นทางที่จะเข้าหมู่บ้าน
หมู่บ้านนี้มีขนาดใหญ่ รูปลักษณะเป็นวงรีตามแนวเหนือใต้ มีลักษณะที่ค่อนข้างพิเศษที่มีที่นาแปลงใหญ่อยู่ตรงกลางของหมู่บ้าน ถนนสายใหญ่ผ่านขอบด้านเหนือของหมู่บ้านและแยกตรงเข้าสู่วัดใจกลางชุมชนนี้ภายในวัดมีพระวิหารที่สวยงามด้วยลวดลายแกะสลักและประดับด้วยแก้วโมเสค หลังคามีหลายชั้นสวยงามตามแบบของภาคเหนือรอบบริเวณจัตุรัสของวัด มีศาลาที่ชาวบ้านมักจะใช้เป็นที่ชุมชนกัน โรงครัวของวัดมีที่เก็บอุปกรณ์เครื่องครัวต่าง ๆ มีที่เก็บกลองและระฆังที่ด้านหนึ่งของบริเวณวัด มีอาคารสองชั้น เป็นที่อยู่อาของเจ้าอาวาส และพระภิกษุสามเณรเป็นที่ทำงานและศึกษาธรรมของบรรดาภิกษุทั้งหลาย ทุกวันพระจะมีชาวบ้านที่เป็นทั้งผู้สูงอายุทั้งชาย และหญิง จะพากันไปนอนวัดตอนกลางคืนในวันพระทุกครั้งเพื่อร่วมกันทำวัตรในตอนเย็น พอตอนเช้าตื่นขึ้นมาก็จะทำวัตรอีกรอบหนึ่ง ติดกับวัดจะเป็นโรงเรียนของชุมชน ซึ่งในบริเวณของโรงเรียนจะมีเนื้อที่ทั้งหมด 7 ไร่ 92 ตารางวา ในปัจจุบันมีการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กไปจนถึงชั้นประถมศึกษาที่ 6 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 184 คน จะเป็นนักเรียนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ 3, 4 และหมู่ 5 ของตำบลสันผีเสื้อ การเดินทางมาเรียนของนักเรียนมีทั้งเดิน ปั่นจักรยานมาเอง และให้ผู้ปกครองมาส่งเนื่องจากโรงเรียนอยู่ติดกับหมู่บ้านจึงเป็นการง่ายที่นักเรียนจะสามารถเดินทางมาเองได้ นักเรียนจะรับประทานอาหารเช้ามาจากที่บ้าน และรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียน ทางโรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวันให้นักเรียนทุกวัน และอาหารเสริม (นม)
ถัดจากวัดและโรงเรียนเป็นถนนลาดยางแอสฟัลท์ติก ตัดออกไปจนวนรอบหมู่บ้านแล้วมาบรรจบที่วัดอีก ทิศใต้ของหมู่บ้านมีถนนไปสู่ท้องนา ลำเหมืองชลประทานสอดแทรกเข้าตลอดหมู่บ้านตามขอบข้างทางของถนน ข้างถนนภายในหมู่บ้านเป็นขอบรั่วบ้าง เป็นต้นไผ่บ้าง บ้างเป็นรั้วจากต้นไม้ต่างๆ เช่นต้นกระถิน ต้นชาทอง แบ่งส่วนระหว่างถนนกับลานบ้านทั้งหลาย บ้านเรือนส่วนใหญ่มองเห็นเพียงครึ่งส่วน จะซ่อนอยู่ท่ามกลางต้นไม้ที่ปลูกรอบบ้าน ภายในลานบ้านจะนิยมปลูกต้นลำไย ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ทำเงินให้กับเจ้าของบ้านมากที่สุด มีต้นมะม่วง มะขาม ต้นขนุน มะยมที่นิยมปลูกไว้หน้าบ้าน เนื่องจากถือว่าเป็นไม้มงคล ต้นกล้วยจะมีกันเกือบทุกบ้าน เพราะจะใช้ใบตองทำกรวยดอกไม้ไปวัดเสมอ นำกล้วยไปบวชชีถวายพระ ส่วนต้นกล้วยยังสามารถนำไปทำกับข้าวได้ด้วย และต้นไม้อื่น ๆ อีกที่มีชื่อแปลก ๆ จะเป็นชื่อที่เรียนทางภาคเหนือ ต้นไม้ทุกต้นที่อยู่ภายในบ้านมีคุณค่าทั้งหมด นอกจากจะประดับเป็นรั้วแล้วยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย
นอกจากนี้ลานบ้านบางบ้านยังปลูกผักสวนครัว ทั้งไว้กินเอง และไว้ขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ บางครอบครัวใช้เป็นที่ขังเป็ด ขังไก่ และมีคอกไว้เลี้ยงวัว ควาย บางบ้านจะมีบ่อน้ำมีน้ำไว้ใช้แต่ส่วนมากจะใช้น้ำประปา เนื่องจากมีความสะดวกสบายมากกว่า บางบ้านจะมีที่อาบน้ำกั้นเป็นบริเวณด้วยกำแพงอิฐขนาดบ่า บางบ้านจะมีห้องน้ำภายในตัวบ้านเพื่อความสะดวกสบายในการอาบ แต่บางบ้านนิยมมีห้องน้ำไว้นอกบ้านมีลักษณะเป็นส้วมซึมมีที่นั่งอยู่ระดับเดียวกับพื้นดิน บางบ้านมียุ้งข้าวที่ทำด้วยไม้ไว้เก็บข้าวหลังจากที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้วจะมีความสูงประมาณแปดฟุต
บ้านเรือนต่าง ๆ ในหมู่บ้านจะมีลักษณะเป็นบ้านภายในบ้านเย็นสบายในฤดูร้อน บ้านไม้ครึ่งปูนเนื่องจากเดิมเป็นบ้านไม้ยกสูงแต่ต่อเติมโดยการก่อปูนบริเวณชั้นล่างก็เลยมีลักษณะเป็นไม้ครึ่งปูน บ้านคอนกรีตสมัยใหม่มีทั้งลักษณะแบบชั้นเดียวและสองชั้น ชี้ให้เห็นถึงสถานภาพทางสังคมและความมั่นคงชัดเจนที่สุด อยู่ที่ขนาดและคุณภาพที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน
จำนวนครัวเรือน 515 ครัวเรือน ประชากร 1009 คน ชาย 463 คน หญิง 546 คน ประชากรวัยแรงงาน ช่วงอายุ 15-60 ปี จำนวน 779 คน เป็นชาย 330 คน หญิง 449 คน วัยแรงงาน ร้อยละ 77 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 50 จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 40 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 10 อาชีพหลัก (1) ทำนา จำนวน 45 ครัวเรือน (2) ทำสวน จำนวน 30 ครัวเรือน (3) รับจ้าง จำนวน 118 ครัวเรือน
ตระกูลสิงคราช
ตระกูลสิงคราชเป็นตระกูลเก่าแก่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านร้องอ้อมาหลายชั่วอายุคน จากการสัมภาษณ์นางสมศรี อินปั๋น (แม่แดง) อายุ 66 ปี ให้ข้อมูลว่าตระกูลสิงคราชมีต้นกำหนดมาจากพ่อมิม สิงคราช และแม่ติ๊บ สิงคราช ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วโดยพ่อมิมเสียชีวิตด้วยโรคชราและส่วนแม่ติ๊บเสียชีวิตด้วยการติดเชื้อในช่องท้องหลังเกิดไส้ติ่งอักเสบ ทั้งสองมีบุตรด้วยกันทั้งหมด 10 คน เสียชีวิตในวัยเด็ก 7 คน เหลือสามคนคือ นายนวล สิงคราช นางต๋า และนางสมศรี อินปั๋น (แม่แดง) ผู้ให้ข้อมูล นายนวลมีบุตรจำนวน 8 คน เป็นบุคคลที่มีความสำคัญทางสังคม ได้แก่ พันโทยุทธสิทธิ์ สิงคราช ซึ่งก็มีบุตรที่เข้ารับราชการตำรวจและทำทหาร ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและชุมชน นอกจากนั้นแล้วลูกหลานของตระกูลสิงคราชต่างมีบทบาทในสังคมและชุมชน เช่น รับราชการครู พยาบาลวิชาชีพ มีส่วนในการบริหารชุมชน เช่น หัวหน้าคุ้ม เป็นต้น นับว่าตระกูลสิงคราชเป็นตระกูลที่มีส่วนในการขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนให้เกิดความเจริญ
ตระกูลอัมสัย
ตระกูลอัมสัยเป็นตระกูลเก่าแก่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านร้องอ้อมาเนิ่นนาน เป็นตระกูลที่มีขนาดใหญ่ ปลูกบ้านอยู่ละแวกเดียวกัน ซึ่งตระกูลนี้มีบทบาทที่สำคัญในชุมชน เช่นเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) เป็นกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร) เป็นต้น จากการสัมภาษณ์ นางเปียทิพย์ อัมสัย (พี่เปีย) ปัจจุบันอายุ 35 ปี ซึ่งมีบทบาทในสังคม คือ เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร้องอ้อ หมู่ที่ 4 คุ้ม 6
ต้นตระกูลอัมสัย คือ นายปัน อัมสัย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว นายปันมีภรรยา 2 คน คือ คนแรก นางปั๋น ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว มีลูกด้วยกัน 3 คน เป็นผู้ชาย 2 คน ผู้หญิง 1 คน คือ นายสุบิน นายบุญหลง ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว และนายสีลา คนแรกนายสุบิน อัมสัย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วจากอุบัติเหตุ มีภรรยาสองคน คนแรก นางจันทร์ดี ปัจจุบันเสียชีวิต มีลูกด้วยกัน 3 คน คนแรก นายนิพล อัมสัย อายุ 41 ปี มีบทบาทในชุมชนคือ เป็นกรรมการหมู่บ้านและอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร) แต่งงานกับ นางเปียทิพย์ อายุ 35 ปี มีลูกด้วยกันหนึ่งคน คือ เด็กชายเกียรติศักดิ์ อัมสัย อายุ 14 ปี ทั้งสามอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน
นางนิภาพร แต่งงานกับนายทองใบ ปัจจุบันทั้งสองเสียชีวิตแล้ว มีลูกด้วยกันหนึ่งคน คือ กิตติพงษ์ ลูกคนที่สามหรือน้องของนางนิภาพร คือ นายรันนิกร อัมสัย แต่งงานกับนางยาใจ มีลูกด้วยกันหนึ่งคน คือ เด็กชายทวัต ทั้งสามอาศัยอยู่บ้านเดียวกันร่วมทั้งมีกิตติพงษ์ที่อาศัยอยู่ด้วย ภรรยาคนที่สองของนายสุบิน คือ นางศรีวรรณ ปัจจุบันอายุ 74 ปี มีลูกด้วยกันหนึ่งคน คือ นางสุทรี ปัจจุบันอายุ 33 ปี สามีคนแรกคือ นายหนุ่ย ปัจจุบันอายุ 48 ปี มีลูกด้วยกันหนึ่งคน คือ เด็กชายพีร์ หย่ากันแล้ว สามีคนที่สองคือ นายเตมีย์ อายุ 34 ปี มีลูกด้วยกันหนึ่งคน คือ เด็กชายภู อายุ 4 ปี นายสีมา อายุ 53 ปี แต่งงานกับนางจันทร์แก้ว มีลูกด้วยกันหนึ่งคนคือ นางพรธิวา อายุ 31 ปี แต่งงานกับนายสายัน อายุ 33 ปี
ภรรยาคนที่สองคือ นางบัว ปัจจุบันอายุ 78 ปี มีลูกกับนายปันด้วยกัน 4 คน เป็นผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 3 คน คือ นายสุวรรณ นางศรีพันธ์ นางนา ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว และนางบุญรันต์ คนแรกนายสุวรรณ อายุ 52 ปี แต่งงานกับนางประไพศรี อายุ 48 ปี มีลูกด้วยกัน 2 คน คือ สุทธิ์พงษ์ อายุ 22 ปี และสุภาพร อายุ 14 ปี นางศรีพันธ์ ปัจจุบันอายุ 50 ปี สามีคนแรกคือนายวิชัย มีลูกด้วยกันหนึ่งคนคือวัชรพงษ์ อายุ 29 ปี ปัจจุบันหย่ากันแล้ว สามีคนที่สองคือนายวิโรจน์ อายุ 40 ปี นางบุญรัตน์แต่งงานกับนายประสิทธิ์ มีลูกด้วยกันหนึ่งคน คือ ธีรกิตต์
กลุ่มเป็นทางการ
- กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน
- กลุ่มการพัฒนาสตรี
- กลุ่มออมทรัพย์
- กลุ่มศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
กลุ่มไม่เป็นทางการ
- กลุ่มอาสาสมัครชุมชน
- กลุ่มปราบปรามยาเสพติด 25 ตาสับปะรด
- กลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อพ.ปร.)
ปฏิทินกิจกรรมชุมชนบ้านร้องอ้อ หมู่ที่ 4 ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เดือน | ปฏิทินทางวัฒนธรรม/สังคม | ปฏิทินทางเศรษฐกิจ | ปฏิทินสาธารณะ |
มกราคม | - จัดงานวันขึ้นปีใหม่ภายในหมู่บ้านร้องอ้อ | - ปลูกผักกาด - ปลูกถั่วฝักยาว - ปลูกแตงกวา - เลี้ยงวัว - ค้าขาย - รับจ้าง - ปลูกข้าว | - รณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอครั้งที่ 2 - สัปดาห์ราชประชาสมัย วันที่ 16-20 - เล่านิทาน |
กุมภาพันธ์ | - ประเพณี "ตานข้าวใหม่" | - ปลูกผักกาด - ปลูกถั่วฝักยาว - ปลูกแตงกวา - ค้าขาย - เลี้ยงวัว - ปลูกข้าว | - ให้ความรู้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (14 ก.พ.) - รณรงค์ถุงยางอนามัยวัยรุ่น |
มีนาคม | - เข้ากรรมฐานที่ป่าช้า | - ปลูกผักกาด - ปลูกถั่วฝักยาว - ปลูกแตงกวา - ค้าขาย - เลี้ยงวัว | - วันอาสาสมัครสาธารณสุข (20) - วันรณรงค์โลก (24) - หยุดวัณโรคก่อนจะโชคร้าย |
เมษายน | - ประเพณีขึ้นปีใหม่เมือง ดำหัวผู้สูงอายุ - สรงน้ำพระที่วัด | - ปลูกผักกาด - ปลูกถั่วฝักยาว - ปลูกแตงกวา - ค้าขาย - เลี้ยงวัว - เก็บเกี่ยวนาปลัง | -วันรณรงค์บริจาคโลหิต (2) -วันอนามัยโลก (7) -วันผู้สูงอายุ (13-15) -วันความดันโลหิตสูง (17) -โครงการเคารพผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ |
พฤษภาคม | - เต้นเจ้าเข้าทรง | - ปลูกบล็อกโคลี่ - ปลูกข้าว - เลี้ยงวัว - ค้าขาย | - วันธาลัสซีเมีย (8) - สัปดาห์รณรงค์ป้องกันควบคุมไข้เลือดออก มาลาเรีย (17-23) - วันอัมพฤต อัมพากษ์โลก (24) - วันสุขบัญญัติแห่งชาติ (28) - วันงดสูบบุหรี่โลก (31) - โครงการเป็นหนึ่งไม่พึ่งบุหรี่ |
มิถุนายน | - ประเพณี 12 เป็งหรือประเพณีเลี้ยงผี | - เลี้ยงวัว - ค้าขาย - ลงนาปลูกข้าว - ปลูกข้าวโพด | - วันสิ่งแวดล้อมโลก (5) - วันไอโอดินแห่งชาติ (25) - วันต่อต้านยาเสพติด (26) - วันรณรงค์กินหวานเกินไปเด็กไทยอ้วนลงพุง |
กรกฎาคม | - จัดประเพณีวันเข้าพรรษา ถวายเทียนเนื่องในวันเข้าพรรษา | - เลี้ยงวัว - ค้าขาย - ปลูกข้าว - ปลูกถั่วฝักยาว - ปลูกแตงกวา | - รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายสำรวจการระบาดของโรคโดยผู้นำชุมชน อสม. ดำเนินการ - รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา |
สิงหาคม | - ทำบุญวันแม่แห่งชาติที่บ้านกำนัน | - เลี้ยงวัว - ค้าขาย - ปลูกข้าว - ปลูกถั่วฝักยาว -ปลูกแตงกวา | - รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายสำรวจการระบาดของโรคโดยผู้นำชุมชน อสม.ดำเนินการ - วันแม่แห่งชาติ (12) - วันรณรงค์บริจาคโลหิต (12) - รณรงค์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - สัปดาห์ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ทุกเดือนตรวจถันย์ ฉันไม่กลัวมะเร็ง |
กันยายน | - จัดพิธีเลี้ยงเสื้อบ้านหรือที่เรียกว่าพิธีเลี้ยงศาลประจำหมู่บ้าน | - เลี้ยงวัว - ค้าขาย - ดูแลหว่านปุ๋ยใส่นาข้าวและตัดหญ้าตามคันนา | - วันหัวใจโลก - ตรวจวัดความดันโลหิตป้องกันภัยเงียบ |
ตุลาคม | - ทำบุญวันออกพรรษาที่วัด - ทำบุญวันปิยมหาราช | - เลี้ยงวัว - ค้าขาย - ร้บจ้าง | - วันเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า (21) - วันทันตสาธารณสุข (21) - รณรงค์มะเร็งเต้านม |
พฤศจิกายน | - ประกวดประเพณีลอยกระทง | - เลี้ยงวัว - ค้าขาย - เก็บเกี่ยว - รับจ้าง | - วันคนพิการ (10) - วันเบาหวานโลก (14) - วันสถาปนากระทรวงสาธารณสุข (27) - รวมพลคนรักสุขภาพ |
ธันวาคม | - จัดงานวันผ้าป่าประจำปี | - เลี้ยงวัว - ค้าขาย - รับจ้าง - เริ่มฤดูกาลทำนาปัง ไถ พรวนดิน | - วันเอดส์โลก (1) - วันพ่อแห่งชาติ (5) - รณรงค์บริจาคโลหิต (5) - รณรงค์วัคซีนโปลิโอครั้งที่ 1 - ปีใหม่สดใส ปลอดภัยอุบัติเหตุ เฝ้าระวังอุบัติเหตุ 7 วันอันตราย |
1. นายคำดี บุญสละ มีความสามารถพิเศษด้านการบริหารการปกครอง
ประวัติการทำงาน
- ปี พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน ทำธุรกิจนำเที่ยว
- ปี พ.ศ. 2537 ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4
- ปี พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลสันผีเสื้อ
ประวัติการศึกษา
- ปี พ.ศ. 2518 จบชั้นประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านร้องอ้อ
- ปี พ.ศ. 2556 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่การศึกษานอกโรงเรียนที่อำเภอเมืองสันผีเสื้อ
ประชาชนในหมู่บ้านเป็นคนพื้นเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาพื้นเมือง, ภาษาเหนือ) ในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาหลักภายในชุมชน สำหรับการติดต่อสื่อสารทางราชการและบุคคลภายนอกใช้ภาษาไทยกลางและภาษาถิ่นในการติดต่อสื่อสาร
มีโรงเรียนประจำหมู่บ้านจำนวน 1 โรง มีครู 8 คน มีนักเรียนทั้งหมด 192 คน เป็นชาย 91 คน เป็นหญิง 101 คน เปิดสอนในระดับอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าไปมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านในการพัฒนาโรงเรียน/การใช้ประโยชน์ ให้เด็กในชุมชนเข้าไปเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง ผู้ดูแลเด็ก 2 คน เด็กชาย 20 คน เด็กหญิง 14 คน รวม 34 คน
กมลวรรณ สุทธินิล, ณัฐชยา สมฟอง , ธนกร ตาลป่า, ปรีดาพร ภูมิพื้น, พรทิพย์ พิทักษ์ไพร, พรพิมล ไชยชิตร, ภูมิเกียรติ ทองพันธ์ และมารี แซ่ชง. (2556). รายงานการพัฒนาอนามัยชุมชนบ้านร้องอ้อ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.