Advance search

ตลาดโบราณทางการค้าริมน้ำที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 140 ปี โดยเทศบาลตำบลนครเนื่องเขตได้ฟื้นฟูวิถีชีวิตริมคลองของตลาดขึ้นมาใหม่ โดยจัดให้มีการจ้าหน่ายสินค้าพื้นบ้านและอาหารพื้นเมืองนานาชนิด อาทิ ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนม กาแฟโบราณ ผลไม้ และพืชผัก ซึ่งมีทั้งร้านค้าบนบกและเรือพายขายอาหารในลำคลองในเฉพาะวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เท่านั้น

หมู่ที่ 9,10,12,13 ถนนสุวินทวงศ์
คลองนครเนื่องเขต
เมืองฉะเชิงเทรา
ฉะเชิงเทรา
Facebook : ตลาดโบราณนครเนื่องเขต เบอร์โทรศัพท์ : 081-153-9919, 087-583-9004 เว็ปไซต์: https://nakhonnueangkhet.go.th/
จตุพร คุณเจริญ
15 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
15 พ.ค. 2024
ตลาดโบราณนครเนื่องเขต

เกิดจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้ขุดคลองนครเนื่องเขตตัดไปเชื่อมกับคลองแสนแสบในปี พ.ศ. 2419 เนื่องจากเป็นพื้นที่สุดเขตพระนคร เพื่อใช้สำหรับเดินทางระหว่างกรุงเทพกับฉะเชิงเทรา


ชุมชนชนบท

ตลาดโบราณทางการค้าริมน้ำที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 140 ปี โดยเทศบาลตำบลนครเนื่องเขตได้ฟื้นฟูวิถีชีวิตริมคลองของตลาดขึ้นมาใหม่ โดยจัดให้มีการจ้าหน่ายสินค้าพื้นบ้านและอาหารพื้นเมืองนานาชนิด อาทิ ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนม กาแฟโบราณ ผลไม้ และพืชผัก ซึ่งมีทั้งร้านค้าบนบกและเรือพายขายอาหารในลำคลองในเฉพาะวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เท่านั้น

หมู่ที่ 9,10,12,13 ถนนสุวินทวงศ์
คลองนครเนื่องเขต
เมืองฉะเชิงเทรา
ฉะเชิงเทรา
24000
13.773797102763902
100.99111540036765
เทศบาลตำบลนครเนื่องเขต

ตลาดโบราณนครเนื่องเขต เป็นตลาดเก่าแก่ที่มีชื่อเรียกมาจากคลองที่ตัดผ่าน เดิมเรียกว่า“สี่แยกท่าไข่” เนื่องจากมีคลองท่าไข่จากฉะเชิงเทราแยกเข้ามาทางทุ่งนา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2419 ทางราชการได้ขุดคลองนครเนื่องเขตไหลผ่านตัวตลาด ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขุดแล้วเสร็จในปีถัดมา จึงทรงพระราชทานนามว่า "คลองนครเนื่องเขตร์" ซึ่งมีความหมายว่าสุดเขตพระนคร ไปเชื่อมกับคลองแสนแสบ เพื่อใช้สำหรับเดินทางระหว่างกรุงเทพกับฉะเชิงเทรา และไปชนกับคลองท่าไข่ โดยคลองที่ขุดใหม่หรือคลองนครเนื่องเขตได้ขุดมาตัดกับคลองธรรมชาติเดิมที่มีอยู่พอดี ซึ่งคือคลองขวาง จึงกลายเป็นสี่แยก และเป็นจุดศูนย์กลางในการค้าขายในเวลาต่อมา โดยมีทางที่แยกไปได้ 4 ทาง ได้แก่ 1) เส้นทางไปคลองแสนแสบ กรุงเทพ 2) เส้นทางไปอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปจนถึงอำเภอองครักษ์ จังหวัดปทุมธานี 3) เส้นทางไปตลาดคลองสวน 100ปี ไปจนถึงคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ และ 4) ลำคลองนครเนื่องเขต

เดิมพื้นที่ตลาดโบราณนครเนื่องเขตมีการตั้งรกรากโดยชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการรวมตัวกันของ 4 ตระกูล ในพื้นที่ ได้แก่ 1) ขุนอนันต์ เนื่องเขต ซึ่งเป็นกำนันคนแรกของตำบลเนื่องเขต 2) เถ้าแก่หมุย ชัยวัฒน์ 3) เถ้าแก่มั้ว สายวานิณชย์ และ 4) เถ้าแก่เง็กเจิ่น หยกอุบล ซึ่งได้มีบทบาทในการช่วยกันก่อตั้งตลาดโบราณนครเนื่องเขตขึ้นมา มีการประกอบอาชีพค้าขายและเป็นจุดศูนย์กลางการค้าขายทางเรือ โดยเฉพาะสินค้าข้าวเปลือก ชา น้ำมัน และของสดต่าง ๆ

ตลาดโบราณนครเนื่องเขต ตั้งอยู่ในเทศบาลตําบลคลองนครเนื่องเขต อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่12 และ 13 เขตเทศบาลตําบลนครเนื่องเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 และ 10 เขตเทศบาลตําบลนครเนื่องเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ คลองนครเนื่องเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ คลองขวาง

สถิติจำนวนประชากรจากสำนักทะเบียนราษฎร์ (รายเดือน) รายงานจำนวนประชากรตำบลคลองนครเนื่องเขต หมู่ที่ 9 10 12 13  มีจำนวนประชากรรวม 578 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 341 ครัวเรือน  (ข้อมูลเดือนเมษายน 2567)

ตลาดโบราณนครเนื่องเขตส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยชาวไทยภาคกลางและชาวจีน บางส่วน ก่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ลักษณะทางสังคมของคนในตลาดโบราณนครเนื่อง เขตเป็นสังคมแบบสมัยโบราณ คือ การอยู่อาศัยร่วมกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และการพึ่งพาอาศัยกัน โดยที่การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนจีน หรือคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ จะตั้งอยู่บริเวณริมน้้าคลองนครเนื่องเขต ทั้งชุมชนสวนมะม่วง ชุมชนโรงหมูและชุมชนนครเนื่องเขต โดย ประชากรเดิมที่ตั้งถิ่นฐานในตลาดโบราณนครเนื่องเขตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นกลุ่มคนจีนแมนจูรุ่น สุดท้ายที่ทางภาครัฐจ้างมาขุดคลอง เมื่อขุดคลองเสร็จก็ตั้งถิ่นฐานในบริเวณนั้น รวมทั้งกลุ่มที่ค้าขาย จากต่างถิ่นก็จะอพยพมาประกอบการค้าขาย เปิดร้านขายของช้า ท้าโรงสีกลายเป็นศูนย์กลางทาง การค้าที่ส้าคัญในสมัยนั้น ซึ่งคนจีนส่วนใหญ่ได้แต่งงานกับคนไทย

จีน
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประเพณีที่สำคัญทางศาสนาและเทศกาลประจำปีที่คนในตลาดโบราณนครเนื่องเขตยังถือปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ การจัดงานประเพณีลอยกระทงประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน งานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ในเดือนมกราคม งานประเพณีสงกรานต์ในเดือนเมษายน เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีการเล่นงิ้วในงานเทศกาลทั้งสองศาล คือ ศาลเจ้าปุนเถ้ากงและศาลเจ้าไท่จือเอี้ย เพื่อเป็นการ สักการบูชาและแสดงความเคารพต่อศาลเจ้าทั้งสอง

อันเนื่องมาจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาวไทยและชาวจีน รวมถึงผู้คนในตลาดโบราณนครเนื่องเขตยังคงผูกพันกับวิถีชีวิตและยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีแบบชาวจีนและยังสืบทอดต่อ ๆ กันมาให้คงอยู่ต่อไป งานงิ้วของศาลเจ้าปุนเถ้ากงและศาลเจ้าไท่จือเอี้ยจะจัดในเดือนมีนาคม และเดือนกันยายนของทุกปี โดยจะทำบุญเลี้ยงองค์เทพเจ้าของศาลในเวลากลางวัน และจะแสดงงิ้วในช่วงเวลากลางคืน ความแตกต่างของงานงิ้วทั้งสองศาล คือ การเปียของ เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยศาลเจ้าปุนเถ้ากงจะให้ผู้ที่มาร่วมงานได้ประมูลแข่งขันของกันตามแรงศรัทธา ส่วนศาลเจ้าไท่จือเอี้ยจะทำการประมูล โดยสามารถเข้ามาดูของแล้วแจ้งกับทางคณะกรรมการในการประมูลได้เลย ไม่จำเป็นต้องมี การแข่งขัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางวัฒนธรรม

ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ตั้งอยู่บริเวณโรงงิ้วของชุมชนสวนมะม่วงปัจจุบัน เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าปุนเถ้ากง เทพเจ้าที่คุ้มครองรักษาชุมชนดั้งเดิม เป็นเทพแห่งพระภูมิเจ้าที่ที่มีอยู่ทุกหมู่บ้าน ตำบล หรือเป็นผู้นำผู้เป็นใหญ่ในเขตนั้น ๆ ซึ่งหมายถึงผู้ใหญ่ หรือข้าหลวง ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่อำเภอนั้น ๆ อย่างมากมาย เมื่อถึงแก่กรรมไปแล้ว จิตวิญญาณก็ยังมาวนเวียนช่วยเหลือราษฎรอยู่ จึงได้สร้างศาลเจ้าขึ้นประดิษฐานรูปและทำการเซ่นไหว้ ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพองค์หนึ่ง เมื่อชาวจีนอพยพมาอยู่ที่ใดก็จะนำองค์ปุนเถ้ากงไปสักการะด้วย เล่ากันว่าท่านปุนเถ้ากงได้บริหารบ้านเมืองปกครองอาณาประชาราษฎร รับราชการในสมัยราชวงศ์ถัง ระหว่าง พ.ศ. 1163-1451 ด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขถ้วนหน้า ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ท้าให้ราษฎรเคารพรักใคร่ท่าน หลังจากที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ทางการจึงได้สร้างศาลเจ้าขึ้น เพื่อระลึกถึงคุณความดีและสักการะเซ่นไหว้ปุนเถ้ากงแห่งนี้เดิมตั้งอยู่ริมน้้า ต่อมามีการตั้งศาลใหม่ขึ้นซึ่งก็คือที่ตั้งปัจจุบัน ก่อสร้างมาแล้วประมาณ 50 ปี ด้วยแรงศรัทธาของศรัทธาของชาวชุมชนนครเนื่องเขตช่วยกันบริจาคสมทบทุน คนที่มาไหว้ส่วนมากจะมากราบไหว้ขอให้คุ้มครอง มีสุขภาพดี การค้ารุ่งเรือง ร่ำรวยเมื่อสมปรารถนามักเซ่นไหว้ด้วย อาหารเจ ถ่อก้วย (ลักษณะคล้ายขนมกุ้ยช่าย สีชมพู่ ทรงสามเหลี่ยม) และประทัด

ศาลเจ้าไท่จื่อเอี๊ย ตั้งอยู่ในชุมชนโรงหมู เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าไท่จื่อเอี๊ย โดยมี ประวัติความเป็นมาว่า องค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ เป็นตำนานที่ขานกันมาแต่ครั้งโบราณกาล สมัยปลายราชวงศ์เชียงต้นราชวงศ์จิวมีจิวบุ้นอ้วงเป็นฮ่องเต้ องค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อเป็นบุตรคนที่ 3 ของแม่ทัพหลี่เจ๋งกับนางฮิง บุตรคนโตชื่อ “กิมจา” และคนรองชื่อ “บักจา” เมื่อมารดาตั้งครรภ์หน่าจาเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน จึงคลอด หลังจากคลอดแล้วหน่าจาแทนที่จะเป็นเด็กทารกดังเช่นทั่วไป กลับเป็นก้อนเนื้อทรงกลม ๆ ที่ห่อหุ้มไว้ด้วยเนื้อเยื่อและรกพันเต็มไปหมด สร้างความตกใจและประหลาดใจแก่แม่ทัพหลี่เจ๋งและนางฮิง ผู้เป็นบิดาและมารดา ด้วยความประหลาดดังกล่าว หลี่เจ๋งผู้เป็นบิดาจึงใช้กระบี่ฟันก้อนเนื้อ ปรากฏว่าภายในก้อนเนื้อนั้น เป็นเด็กทารกเพศชาย ซึ่งในมือขวาถือห่วงทองค้าและรอบตัวพันด้วยผ้าแพรสีแดง ยังความปิติยินดีให้ครอบครัว ขุนนางใหญ่น้อยได้มาแสดง ความยินดีกับแม่ทัพหลี่เจ๋ง ในขณะนั้นมีนักพรตท่านหนึ่งมีนามว่า “ไท้อิกจิงยิ้ง” ซึ่งบำเพ็ญศีลภาวนา อยู่ ณ ยอดเขาเคี่ยงง่วนซัวกิมกวงตัง หรือปัจจุบันเรียกว่า “ไท้อิกติ่ง” มาร่วมแสดงความยินดีด้วย และเมื่อได้เห็นบุคลิกลักษณะของเด็กน้อยก็เกิดความชื่นชมพร้อมกับได้ชี้แจงให้แม่ทัพหลี่เจ๋งและนาง ฮิงทราบว่า ห่วงทองและผ้าแดงที่ติดตัวมานั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นผู้มีบุญบารมีสูง อีกทั้งได้รับตัวเด็ก น้อยไว้เป็นศิษย์ และตั้งชื่อให้ว่า “หน่าจา”

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ฐานิตา แก้วกลัด. (2557). การพัฒนาตลาดโบราณนครเนื่องเขต ตำบลคลองนครเนื่องเขต อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. สารนิพนธ์การผังเมืองบัณฑิต สาขาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณหัทยา สายวาณิชย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดโบราณนครเนื่องเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. สารนิพนธ์การผังเมืองบัณฑิต สาขาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทศบาลตำบลนครเนื่องเขต. (ม.ป.ป.). สถานที่สำคัญ-ตลาดโบราณนครเนื่องเขต. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://nakhonnueangkhet.go.th/public/list/data/

Facebook : ตลาดโบราณนครเนื่องเขต เบอร์โทรศัพท์ : 081-153-9919, 087-583-9004 เว็ปไซต์: https://nakhonnueangkhet.go.th/