Advance search

บางน้ำเปรี้ยวเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางศาสนา ประกอบด้วยหลัก ๆ คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ที่มีความเกี่ยวข้องในทางประวัติศาสตร์คือการขุดคลองบางขนากหรือคลองแสนแสบ อีกทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย เช่น วัดดังสำคัญ ๆ คาเฟ่ ทุ่งนา และแหล่งโบราณคดีบึงไผ่ดำ เป็นต้น 

บางน้ำเปรี้ยว
บางน้ำเปรี้ยว
ฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์ 0 3858 2306 องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยว
จตุพร คุณเจริญ
15 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
ปวินนา เพ็ชรล้วน
15 พ.ค. 2024
บางน้ำเปรี้ยว

บางน้ำเปรี้ยวมีที่มาจากช่วงเวลาฤดูแล้ง ทำให้น้ำในคลองจะมีลักษณะแห้งขอดขุ่นข้น ทำให้รสเปรี้ยว จึงนำมาตั้งเป็นชื่อบางน้ำเปรี้ยว


ชุมชนชนบท

บางน้ำเปรี้ยวเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางศาสนา ประกอบด้วยหลัก ๆ คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ที่มีความเกี่ยวข้องในทางประวัติศาสตร์คือการขุดคลองบางขนากหรือคลองแสนแสบ อีกทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย เช่น วัดดังสำคัญ ๆ คาเฟ่ ทุ่งนา และแหล่งโบราณคดีบึงไผ่ดำ เป็นต้น 

บางน้ำเปรี้ยว
บางน้ำเปรี้ยว
ฉะเชิงเทรา
24150
13.822178975573152
100.97563442767063
องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยว

พื้นที่บางน้ำเปรี้ยวแต่เดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทางตอนเหนือเป็นที่ราบสูงกว่าทางใต้ มีพงหญ้าและต้นโขมง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น ช้าง ต่อมาเมื่อมีการขุดคลองบางขนากเพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ากับแม่น้ำบางปะกงในสมัยรัชกาลที่ 3 ปี พ.ศ. 2380 โดยมีพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการขุด โดยต้นคลองเรียกว่า คลองแสนแสบ ปลายคลองเรียกว่า คลองบางขนาก อีกทั้งยังใช้เป็นเส้นทางขนอาวุธยุทโธปกรณ์ไปรบที่ญวนในช่วงสงคราม ซึ่งภายหลังที่สงครามจบลง สองฝั่งของคลองนั้นเต็มไปด้วยไร่นา อีกทั้งการคมนาคมเริ่มสะดวกขึ้นจึงทำให้เกิดชุมชนขึ้นที่บริเวณปากคลองบางขนากและบริเวณบางน้ำเปรี้ยวขึ้น โดยเฉพาะชาวมุสลิมที่ได้อพยพเข้ามาอาศัยตามแนวคลอง

บางน้ำเปรี้ยวอยู่ในตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว

สภาพภูมิประเทศ

สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก มีลำคลองผ่านหลายสาย เหมาะสำหรับทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์

สถิติจำนวนประชากรจากสำนักทะเบียนราษฎร์ (รายเดือน) รายงานจำนวนประชากรตำบลบางน้ำเปรี้ยว  มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,516 ครัวเรือน จำนวนประชากร 8,347 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 4,161 คน และประชากรหญิง 4,186 คน (ข้อมูลเดือนเมษายน 2567)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การสวดคาถาปลาช่อน

การสวดคาถาปลาช่อนเป็นพิธีกรรมการขอฝนของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ทำการสวด นับเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันศาสนากับครอบครัวในสังคมชนบทได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อขจัดความแห้งแล้งที่เกิดขึ้น สถานที่สวดคาถาปลาช่อนใช้บริเวณทุ่งนาหรือลานดินทำการขุดหลุมเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีความกว้างศอกหนึ่งให้ลึกพอสมควรแล้วจึงตักน้ำใส่หลุมพร้อมทั้งปลาช่อน จากนั้นจะปักฉัตรทำด้วยไม้ไผ่ 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น ตั้งศาลเพียงตาหันไปทางหลุมที่วางเครื่องบวงสรวงปูด้วยผ้าขาว จากนั้นชาวบ้านในท้องถิ่นจะมานั่งฟังพระสวด โดยพระสงฆ์จะสวดทั้งสิ้น 108 จบ 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

แหล่งโบราณคดี

แหล่งโบราณคดีบ้านไผ่ดำ เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ที่บ้านบึงไผ่ดำ ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว เป็นที่ลุ่มนาข้าวผู้สูงอายุเล่าว่าเดิมเป็นป่า ต่อมาได้มีการขุดคลองชลประทานผ่านบริเวณนี้ ได้แก่ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขตและคลองหลอดหมายเลขต่าง ๆ พื้นที่ทั่วไปมีความสูง 1-3 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นดินชุดบางน้ำเปรี้ยวเป็นดินทับถมโดยตะกอนน้ำทะเล และตะกอนน้ำกร่อย ที่เป็นกรดทับถมบนที่ราบลุ่มพบโบราณวัตถุ ขณะขุดคลองชลประทานบริเวณที่พบหลักฐานทางโบราณคดี อาจเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ซึ่งมีวัฒนธรรมการทำเครื่องมือหินและทำภาชนะดินเผาขึ้นใช้ มีการล่าสัตว์และจับหอยทะเลเป็นอาหาร

โบราณวัตถุที่ค้นพบ

ขวานหิน ขวานหินเป็นเครื่องมือขนาดกะทัดรัดที่มีรูปร่างเหมือนขวานทำด้วยหิน นำมาขัดให้เรียบและมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ขวานฟ้า ทำเป็นแบบต่าง ๆ มีทั้งชนิดธรรมดาและแบบมีบ่า ซึ่งลักษณะที่เรียกว่าขวานหิน “คม” คือ เป็นหินที่มีคมอยู่ตรงกลางของขวานทั้งสองด้านมีความโค้ง มาบรรจบกับคมเท่ากันซึ่งได้พบทั้งสิ้น 10 กว่าชิ้น มีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันมีทั้งแบบขนาดเล็กจิ๋ว แบบธรรมดาและแบบที่มีป่า บางอันยังมีความสมบูรณ์แต่บางอันชำรุดหรือปั่นข้างขวานหินที่พบนี้ ทำมาจากหินที่มีสีดำและสีเทาอมเขียว ซึ่งมีความแข็งแกร่งและคงทนถาวรดีมาก ได้แก่ หินกรวด หินชนวนและหินเชิด การที่สำรวจพบเครื่องมือหินเป็นแบบธรรมดาและแบบมีบ่าในบริเวณบึงไผ่ดำ ทำให้ทราบว่า ในอดีตบริเวณท้องถิ่นแถบนี้อาจเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานแล้วอย่างน้อย ประมาณ 1,000 ปี และมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยกันบ้าง

หินลับ หินลับเป็นที่ค้นพบในบริเวณบึงไผ่ดำนี้มีทั้งสิ้นประมาณ 10 ชิ้น มีลักษณะเป็นแบบธรรมดาคงจะนำมาใช้ในการทำขวานหินลับ ขวานหินและอาวุธอื่น ๆ ที่ใช้ในการล่าสัตว์ เช่น ใบหอกที่ทำด้วยหินและหัวลูกธนู หินลับนี้ทำจากหินทรายที่มีอยู่ตามธรรมชาติและนำมาจากแหล่งอื่น อาจจะเป็นบริเวณแถบจังหวัดปราจีนบุรีที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของชุมชน หินลับที่ พบ 2 ชนิด คือ หินทรายหยาบ และหินทรายละเอียด หินลับที่เป็นหินทรายหยาบนั้นคงจะใช้สำหรับลับขึ้นรูปทรงของตัวขวานก่อน จากนั้นจึงใช้หินลับละเอียดลับให้ขวานหินมีความเรียบและคม สะดวกต่อการใช้งาน เกี่ยวกับการสับตัดหรือล่าสัตว์ หินลับที่ค้นพบนี้มีร่องรอยการใช้งานทุกชิ้น

ทัพพีดินเผา ทัพพีดินเผาที่พบนี้ มีอยู่ประมาณ 6 ชิ้น มีขนาดตามความกว้างตั้งแต่ 7.80 เซนติเมตร ถึง 11.90 เซนติเมตร และมีความยาวตั้งแต่ 9.50 เซนติเมตร ถึง 14.90 เซนติเมตร ส่วนความหนามีขนาดเท่ากับภาชนะดินเผาทั่วไป มีลักษณะคล้ายกับกระจำที่ทำด้วยกะลามะพร้าว แต่มีความลึกของตัวทัพพีมากกว่าโดยเฉพาะชิ้นเล็กที่สุดมีการเจาะรูที่ด้าม 2 รู ลักษณะเหมือน กับว่าจะต้องหาไม้มาผูกทำเป็นด้าม ส่วนที่ยื่นออกมาเล็กน้อยนั้น

กระดูกสัตว์ กระดูกสัตว์ที่พบ เป็นกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ซึ่งพบว่า เป็นกระดูกสันหลัง ของสัตว์จำพวกวัว ควาย กระดูกเขากวางและเก้ง ฟันของช้าง วัว ควาย และหมูป่า กรามล่าง และกระดูกขาวจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นของวัว

เปลือกหอยทะเล เปลือกหอยที่พบนั้นมีหลายชนิด ได้แก่ หอยแครงมีผ่าใหญ่กว่าหอยแครง ในปัจจุบัน หอยตลับ หอยหนาม หรือหอยสังข์หนาม หอยขมทะเลหอยเชลล์ ซึ่งมีจำนวนมาก โดยเฉพาะหอยสังข์หนาม และหอยขมทะเลบางชนิดมีขนาดเล็กมาก

ถ่านไม้ ถ่านไม้ที่พบทับถมกันอยู่ใต้น้ำในบึง ตอนที่เก็บมานั้นมีขนาดใหญ่ต่อมาภายหลังมี ขนาดเล็กลง เมื่อนำไปทดลองเผาจะไม่ค่อยติดไฟและมีกลิ่นฉุน

กระสุนดินเผา กระสุนดินเผาที่พบ ทำด้วยดินเหนียวเป็นลูกกลม ๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.50 เซนติเมตร และนำไปเผาไฟจนสุกเป็นสีแดง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ไพรัช พัฒนสถิตฉาย. (2539). บทบาทของชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาการวางแผนภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน เติมพิพัฒน์พงศ์. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไปของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยว. (ม.ป.ป.). ประวัติและสภาพทั่วไป. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.bangnampriao.go.th/

โทรศัพท์ 0 3858 2306 องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยว