หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง
หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง
ตำบลโนนสะอาด แบ่งเขตการปกครองเป็น 14 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 2 บ้านหนองไฮ หมู่ที่ 3 บ้านโนนจั่นห้วยแสง หมู่ที่ 5 บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 6 บ้านหนองลุมพุก หมู่ที่ 7 บ้านหนองแวง หมู่ที่ 8 บ้านโนนหินแห่ หมู่ที่ 9 บ้านดอนหัน หมู่ที่ 10 บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 11 บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 12 บ้านพรสวรรค์ หมู่ที่ 13 บ้านโนนศิลา หมู่ที่ 14 บ้านโนนสว่าง หมู่ 15 บ้านใหม่สันติสุข โดยหมู่บ้านทั้งหมดอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสะอาด ส่วนหมู่ที่ 4 บ้านหนองแก (แยกออกจากตำบลโนนสะอาดขึ้นตรงกับเทศบาลตำบลหนองแก)
บ้านหนองแกหมู่ 4 เป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 ภูมิศาสตร์โดยทั่วไปบ้านหนองแกเป็นพื้นที่ที่มีดินเหนียวปนทรายเหมาะสำหรับการปลูกข้าว ดังนั้นอาชีพส่วนมากจึงเป็นเกษตรกร โดยมีชาวบ้านกลุ่มแรกที่มาตั้งรกรากปักฐานคือครอบครัวของนายบุญ ขันแข็งและนางนาง ขันแข็ง ซึ่งเป็นบ้านเลขที่ 1 บ้านหนองแก ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นชาวอำเภอเมืองพลอพยพ มีครอบครัวและมีสมาชิกมากถึง 4 รุ่นด้วยกัน จากนั้นมีครอบครัวของพี่น้องจากเมืองพลย้ายที่อยู่มาอีกจำนวนมาก เนื่องจากที่ดินมีราคาถูกและภูมิศาสตร์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม บ้านหนองแกเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ติดกับถนนเส้นหลัก ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ที่ผู้คนจะสัญจรเข้าสู่เข้าจังหวัดขอนแก่น ทำให้หลายครอบครัวหันมาประกอบอาชีพค้าขายมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทและมีเทศบาลเป็นของตนเอง
พื้นที่ของชุมชนและอาณาเขต
ที่ตั้งของชุมชนและอาณาเขตหมู่บ้านหนองแก หมู่ที่ 4 ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง จากการสำรวจจำนวนประชากรทั้งหมด 384 คน ประชากรเพศชาย 181 คน และประชากรเพศหญิง 203 คน โดยมีจำนวนครัวเรือน 332 ครัวเรือน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,400 ไร่ หมู่บ้านอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองเรือ ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากจังหขอนแก่นประมาณ 58 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านโนนสะอาด
ทิศใต้ ติดกับ บ้านหนองตาไก้
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านโนนสะอาด
ทิศตะวันตก ติดกับ เขตอำเภอชุมแพ
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม และอากาศจะร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม โดยจะมีฝนตกซุก ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนของทุกปี ช่วงฝนตกหนักจะมีน้ำขังตามถนน อาจทำให้ไม่สะดวกในการคมนาคม
ฤดูหนาว
เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยทั่วไปจะมีอากาศหนาวจัดในช่วง เดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุกปี แต่ปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศ
สภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน
ลักษณะบ้านเรือนอยู่กันอย่างเป็นระเบียบ ส่วนใหญ่มีริ้วแบ่งอาณาเขตของบ้านชัดเจน มีทั้งบ้านแบบเป็นบ้านปูนที่มีสภาพมั่นคแข็งแรง บ้านที่ชั้นบนเป็นไม้ชั้นล่างเป็นปูน บ้านปูนชั้นเดียวและสองชั้นอากาศในตัวบ้านดี สิ่งแวดล้อมรอบบ้านมีการปลูกต้นไม้ใหญ่และมีการปลูกผักสวนครัวไว้เกือบทุกครัวเรือน ในครัวเรือนค่อนข้างสะอาดและขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละครัวเรือน ทุกหลังคาเรือนมีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะนิยมใช้ส้วมนั่งยอง และบางบ้านใช้ชักโครก ครัวเรือนมีการกำจัดขยะไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่มีพื้นที่สำหรับกำจัดขยะประจำ จากการร่วมมือกันดูแลของชาวบ้าน มีถนนในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตลาดผ่านทุกซอยในหมู่บ้านและผ่านหน้าหมู่บ้าน
ปีะมิดแสดงจำนวนและร้อยละของประชากรจำแนกตามช่วงอายุและเพศ ในชุมชนบ้านหนองแก พบว่ามีประชากรทั้งหมดมีจำนวน 818 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 412 คน คิดเป็นร้อยละ 50.37 เพศหญิงจำนวน 406 คน คิดเป็นร้อยละ 49.63 แบ่งเป็น 3 ช่วงวัย ช่วงอายุแรกเกิด - 14 ปี จัดเป็นวัยเด็ก จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ13.20 ช่วงอายุ 15-59 ปี จัดเป็นวัยทำงาน จำนวน 496 คน คิดเป็นร้อยละ 60.64 และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จัดเป็นวัยผู้สูงอายุ จำนวน 214 คน คิดเป็นร้อยละ 26.16 และประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน คือ ช่วงอายุ 50-54 ปี จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 9.17 ช่วงอายุที่น้อยที่สุดคือ ช่วงอายุ 85-89 ปี และ 90 ปีขึ้นไป จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 0.89
1. กองทุนสนับสนุนในชุมชน ได้แก่ กองทุนสวัสดิการชุมชน
2. กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์และกองทุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
3. กองทุนสวัสดิการชุมชน (กองทุนวันละบาท)
• ประธานกองทุนคือ : นายสุชาติ เทียบพระ
• รองประธานกองทุนคือ : นายนาริน มาดินดำ
• และประกอบด้วยสมาชิกอีกจำนวน 13 คน
• กิจกรรมที่ทำ : โดยที่สมาชิกจะออมเงินวันละ 1 บาท หรือ 365 บาทต่อปีและเงินค่าสวัสดิการเดือนละ 30 บาทเก็บเดือนละครั้ง
• การติดต่อสื่อสาร : มีการประชุมสมาชิกประจำปี ปีละ 1 ครั้งหรือในกรณีเร่งด่วนสามารถเรียกประชุมด่วนได้และมีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆของกองทุน
4. กองทุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
• ประธานกองทุนคือ : นายลัด บุญวิเศษ
• รองประธานกองทุนคือ : นางเบญญาภา อักษรพิมพ์
• ประกอบไปด้วยจำนวนสมาชิก : หมู่ 4 ทั้งหมด จำนวน 39 คน
• กิจกรรมที่ทำ : สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้านส่งเสริมสุขภาพ
ควบคุมและป้องกันโรค โดยให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวดูแลสิทธิประโยชน์ด้านหลักประกันสุขภาพและสาธารณสุขในหมู่บ้าน
• มีการสื่อสารโดย : มีการประสานงานระหว่างกันโดยใช้ไลน์กลุ่ม กลุ่ม SMART อสม.
5. กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์
• ประธานกองทุนคือ : นายอุทัย ทิมประจบ
• รองประธานกองทุนคือ : นางทองใส เอ่นหยอง, นายบัญชา ยะล้อม
• ประกอบไปด้วยจำนวนสมาชิก : 9 คน
• กิจกรรมที่ทำคือ : ร่วมกันช่วยออกเงินช่วยเหลือเป็นค่าจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิกที่ถึงแก่ความตายรวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจการของการฌาปนกิจสงเคราะห์ ศพละ 50 บาท
• มีการสื่อสารโดย : ประชาสัมพันธ์โดยการแจกใบแจ้งชำระและตัวแทนในแต่ละคุ้มเดินเก็บตามบ้าน เมื่อมีการเสียชีวิตของประชาชนในชุมชน
ด้านวัฒนธรรม
- เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม ตรงกับวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน
- เดือนยี่ บุญคูณลาน ในตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ กลางคืนอาจมีการคบงันบ้างตอนเช้าถวายภัตตาหารบิณฑบาต เทศนาฉลองสู่ขวัญลาน เลี้ยงอาหารแก่ผู้ไปร่วมพิธี พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ เอาน้ำมนต์ไประข้าว วัว ควาย เชื่อว่าเข้าของจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจะงอกงามและได้ผลดีในปีต่อไป เมื่อเสร็จพิธีจึงขนข้าวใส่ยุ้งและเชิญขวัญข้าว คือ เชิญเจ้าแม่โพสพไปยังยุ้งข้าว
- เดือนสาม บุญข้าวจี่ ชาวบ้านจะจัดเตรียมข้าวจี่ตั้งแต่ตอนย่ำรุ่งของวันนั้น เพื่อให้ข้าวจี่สุกทันใส่บาตรจังหัน นอกจากข้าวจี่แล้วก็จะนำ "ข้าวเขียบ" (ข้าวเกรียบ) ทั้งที่ยังไม่ย่างเพื่อให้พระเณรย่างกินเอง และที่ย่างไฟจนโป้งพองใส่ถาดไปด้วย พร้อมจัดอาหารคาวไปถวายพระที่วัด หลังจากนั้นจะให้มีการเทศน์นิทานชาดก เรื่องนางปุณทาสีเป็นเสร็จพิธี
- เดือนสี่ บุญเผวดหรือบุญพระเวส ฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์ บุญนี้จะทำติดต่อกันสามคืน จัดเตรียมสถานที่ตกแต่งศาลาการเปรียญ วันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านรวมทั้งพระภิกษุสงฆ์จะมีทั้งการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทาน ฟังเทศน์ และการแห่ผ้าผะเหวด (ผ้าผืนยาวเขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดร) ซึ่งสมมติเป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าสู่เมือง เมื่อถึงเวลาค่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตรข้าวพันก้อน พิธีจะมีไปจนค่ำ ชาวบ้านจะแห่ ฟ้อนรำตั้งขบวนเรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวายอานิสงฆ์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธี
- เดือนห้า บุญประเพณีสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่โบราณ ในวันนี้พระสงฆ์นำพระพุทธรูปออกจากโบสถ์มาไว้ที่หอสรง ชาวบ้านจะนำน้ำอบ น้ำหอมมาร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปที่หอสรงนอกนี้มีการสรงน้ำพระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้เฒ่าผู้แก่
- เดือนหก บุญบั้งไฟ ถือเป็นคติความเชื่อทางสังคมของชาวอุดรธานีและภาคอีสานทั่วไปที่วิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ เนื่องจากชาวบ้านต้องทำการกสิกรรมเลี้ยงชีพเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องการน้ำจากธรรมชาติเพื่อเพาะปลูกพืชผลของตนเองจึงได้มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่าเทพเจ้าที่ประทานน้ำให้แก่มนุษย์คือ"แถน"บุญบั้งไฟ เป็นความเชื่อของคนอีสานในการขอฝนสืบต่อมา จากเรื่องพญาคันคาก ผู้รบชนะพญาแถนและขอให้พญาแถนบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เมื่อถึงฤดูทำนาก็จะขอฝนมาทำนา ก็ส่งสัญญาณบอกพญาแถนด้วยการจุดบั้งไฟ
- เดือนเจ็ด บุญชำฮะ ในการจัดงานบุญชำฮะหรือบุญเบิกบ้านซาวบ้านจะทำบริเวณพิธีด้วยการนำต้นกล้วยมาสี่ต้นทำเป็นเสาผูกยึดด้วยสายสิญจน์ และจะมีการโยงสายสิญจน์ไปยังบ้านทุกหลังในหมู่บ้าน แล้วนิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์นอกจากนี้จะมีการนำหินเข้าพิธีเมื่อปลุกเสกแล้วพระหรือพราหมณ์ก็จะนำหินที่ปลุกเสกไปว่านทั่วหมู่บ้าน เพื่อปัดรังควาน
- เดือนแปด บุญเข้าพรรษา เป็นประเพณีทางพระพุทธศาสนา จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝน สบง จีวรและเทียนพรรษา จัดขบวนแห่เทียน เมื่อแห่เทียนมาถึงวัดชาวบ้านจะวับศีลรับพร ฟังธรรมตอนค่ำจะเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ
- เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต หรือญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดินจะประกอบด้วย ข้าว อาหารคาวหวาน หมากพลูและบุหรี่ ซึ่งเราห่อหรือใส่กระทงไปวางไว้ตามฟื้น หรือแขวนไว้ตามต้นไม้ในบริเวณวัด
- เดือนสิบ บุญข้าวสาก เป็นประเพณีในวันขึ้น 15 ค่ำ โดยจะมีการจัดเตรียมอาหารบรรจุข้าวเหนียวอาหารแห้ง เช่น ปลาย่าง เนื้อย่าง แจ่วบองหรือน้ำพริกปลาร้า และห่อข้าวเล็ก ๆ อีกห่อหนึ่ง สำหรับอุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับและนำไปทำบุญที่วัด
- เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา บุญออกพรรษาหรือประเพณีตักบาตรเทโว จะมีการจุดประทีปโคมไฟและทำบุญตักบาตร โดยชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัด
- เดือนสิบสอง บุญกฐิน จะมีเจ้าภาพจองวัดและกำหนดวันทอดกฐินล่วงหน้า ชาวบ้านจะนำเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน มาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้อง หรือชาวบ้านใกล้เคียงนำสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน ปัจจัย ฯลฯ มาร่วมสมทบ วันรุ่งขึ้นก็เคลื่อนขบวนไปสู่วัดที่ทอด เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนประทักษิณรอบวัตหรือรอบพระอุโบสถ 3 รอบ จึงนำผ้ากฐินและเครื่องประกอบอื่น ๆ ไปถวายพระสงข์ที่โบสถ์ เมื่อทำพิธีถวายผ้ากฐินและบริวารแต่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำพิธีรับแล้วเป็นเสร็จพิธีสามัคคี
ด้านเศรษฐกิจ
1. ทำนา : เริ่มทำตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม
2. ทำไร่ : เริ่มทำตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน
3. รับจ้างทั่วไป : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
4. ลูกจ้าง : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
ประวัติบุคคลสำคัญ
เหตุผล : นายบัญชา ยะล้อม ได้เข้าร่วมและช่วยเหลือกิจกรรมกับชาวบ้านหนองแกเป็นประจำและได้เป็นเข้าร่วมเป็นกรรมการของหมู่บ้านจึงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองแกหมู่ที่ 4
ประวัติส่วนตัว :
ชื่อ นาย บัญชา ยะล้อม เกิดวันที่ 3 มกราคม 2506 ภูมิลำเนาเป็นคนบ้านหนองแกโดยกำเนิด อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 160 หมู่ 4 ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยบิดาและมารดาเป็นคนภูมิลำเนาบ้านไผ่ได้ย้ายมาอยู่ที่ บ้านเลขที่ 160 หมู่ 4 ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี 2495 ปัจจุบันมารดายังมีชีวิตอยู่ อายุ 90 ปี และบิดาเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2526 อายุ 55 ปี นายบัญชา ยะล้อม จบการศึกษาเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนชุมแพ หลังเรียนจบเมื่ออายุ 20 ปี ได้ทำงานเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้าง และเมื่อปี พ.ศ.2527 ได้แต่งงานกับภรรยาคนที่ 1 มีบุตรด้วยกัน 4 คน บุตรคนที่ 1 เพศชาย อายุ 40 ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันประกอบรับเหมาก่อสร้าง บุตรคนที่ 2 เพศชาย อายุ 38 ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีโรคประจำตัวคือโรคเบาหวาน บุตรคนที่ 3 เพศหญิง อายุ 35 ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว บุตรคนที่ 4 เพศหญิง อายุ 30 ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ปัจจุบันนายบัญชา ยะล้อม ได้สมรสครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2562 และอาศัยอยู่กับภรรยาคนที่ 2 จนถึงปัจจุบัน
ประวัติด้านการศึกษาและการทำงาน :
ชื่อ นายบัญชา ยะล้อม เกิดวันที่ 3 มกราคม 2565 ภูมิลำเนาเป็นคนบ้านนลหนองแกโดยกำเนิดอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 160 หมู่ 4 ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยบิดาและมารดาเป็นคนภูมิลำเนาบ้านไผ่ได้ย้ายมาอยู่ที่ บ้านเลขที่ 160 หมู่ 4 ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี 2495 ปัจจุบันมารดายังมีชีวิตอยู่ อายุ 90 ปี และบิดาเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2526 จบการศึกษาเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนชุมแพ และได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบ้านหนองแกหมู่ที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2540 และความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ในปี พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบันและได้เข้ามาพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้นจนถึงปัจจุบัน เช่น การของบและทำคอนกรีต ทำลานตากข้าวเพื่ออำนวยความสะดวกช่วงเก็บเกี่ยวให้กับเกษตรกรในชุมชนบ้านหนองแกหมู่ที่ 4 และได้ของบจัดทำหอกระจายข่าว 1 ที่ในหมู่บ้านรวมไปถึงการจัดทำศาลารอรถ เป็นต้น
ประวัติบุคคลสำคัญ
เหตุผล : นายลัด บุญวิเศษ ได้เข้าร่วมและช่วยเหลือกิจกรรมกับชาวบ้านบ้านหนองแกเป็นประจำ ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกในหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบล
ประวัติส่วนตัว :
ชื่อ นายลัด บุญวิเศษ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2483 อายุ 83 ปี ภูมิลำเนาเป็นคนบ้านหนองแกโดยกำเนิด อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 190 หมู่ 4 ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น พ่อลัดเป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 6 คน แต่เดิมบิดามารดาอยู่ภูมิลำเนาที่อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น พ่อลัดเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2493 จากนั้นย้ายมาอยู่ที่บ้านหนองแกตามบิดา ต่อมาได้เรียนช่างเย็บผ้า และเมื่อเรียนจบก็ไปทำงานที่ กทม. เป็นเวลา 30 ปี ที่ทำงานตัดเย็บผ้า จากนั้นได้กลับมาที่บ้าน และเปิดร้านเย็บผ้า เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้พบกับนางสง่า บุญวิเศษแต่งงานมีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายเดชา บุญวิเศษ นายสนทยา บุญวิเศษ และนางสาวสุพัตรา บุญวิเศษ
ประวัติด้านการศึกษาและการทำงาน :
ชื่อ นายลัด บุญวิเศษ เกิดปี พ.ศ.2483 อายุ 83 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 190 หมู่ 4 ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น พ่อลัดเป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 6 คน แต่เดิมบิดามารดาอยู่ภูมิลำเนาที่อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น พ่อลัดเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2493 จากนั้นย้ายมาอยู่ที่บ้านหนองแกตามบิดา ต่อมาได้เรียนช่างเย็บผ้า และเมื่อเรียนจบก็ไปทำงานที่ กทม. เป็นเวลา 30 ปี ที่ทำงานตัดเย็บผ้า จากนั้นได้กลับมาที่บ้าน และเปิดร้านเย็บผ้า เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้พบกับนางสง่า บุญวิเศษแต่งงานมีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายเดชา บุญวิเศษ นายสนทยา บุญวิเศษ และนางสาวสุพัตรา บุญวิเศษ พ่อลัดทำอาชีพตัดเย็บผ้าจนอายุ 50 ปี จากนั้นได้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้รับโอกาสให้เป็นผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) เมื่อปี พ.ศ. 2535 จากนั้นเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ออกจากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ไปสมัครเป็นสมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) แต่ไม่ได้รับเลือก แต่ได้รับตำแหน่งให้เป็นประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2542 จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขากองทุนหมู่บ้านในปี พ.ศ.2544 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2557 ได้รับตำแหน่งเป็นประธานกองทุนหมู่บ้าน ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเครือข่ายกองทุนตำบล และเมื่อปี พ.ศ. 2557 ได้รับตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลจนถึงปัจจุบัน
ประวัติบุคคลสำคัญ
เหตุผล : เนื่องจากพ่อสุวรรณเป็นพ่อจ้ำหรือหมอพราหมณ์ประจำหมู่บ้าน มีความสามารถในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการบวงสรวง สังเวยผีหรือเทวดาประจำหมู่บ้านหรือผีปู่ตา เป็นตัวช่วยสื่อสารระหว่างคนกับผีให้แก่ชาวบ้านในชุมชน เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนมีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับจำนวนมาก
ประวัติส่วนตัว :
นายสุวรรณ พรหมสิทธิ์ เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2484 ปัจจุบันอายุ 81 ปี เดิมภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านสงเปลือย อ.กุมภาวปี จ.อุดรธานี ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 96/2 หมู่ 4 ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางสำรอง พรหมสิทธิ์ มีบุตรร่วมกัน 4 คน เป็นบุตรสาว 3 คนและบุตรชาย 1 คน
ประวัติด้านการศึกษาและการทำงาน :
นายสุวรรณ พรหมสิทธิ์ เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2484 ปัจจุบันอายุ 81 ปี เดิมภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านสงเปลือย อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกร ในวัยเด็กจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อปีพ.ศ. 2498 จากนั้นได้บวชเรียนที่วัดแห่งหนึ่งในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และได้ไปบวชเรียนเพิ่มเติมที่วัดหิรัญรูจีวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 2 ปี จนสำเร็จการบวชเรียนได้ระดับนักธรรมชั้นโทและลาสิกขาในปี พ.ศ. 2504 หลังจากที่ลาสิกขาแล้วได้กลับมาทำไร่ ทำนาช่วยบิดาและมารดา เป็นเวลา 5 ปี บิดาและมารดาจึงได้เสียชีวิตลง พ่อสุวรรณจึงได้มาทำงานเป็นช่างไม้ที่บ้านหัวทุ่งคำไฮ ตำบลบ้านเป็ด จังหวัดขอนแก่น ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง มีฝีมือในการทำไม้ต่าง ๆ และได้พบรักกับแม่สำรอง พรหมสิทธิ์ในเวลาต่อมา จากนั้นก็มีการเก็บสะสมเงินสำรองเอาไว้และเดินทางมากซื้อที่นาทำกินในบ้านหนองแก ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างนั้นก็เดินทางไป ๆ กลับ ๆ ระหว่างบ้านหัวทุ่งคำไฮและบ้านหนองแกจนปี พ.ศ. 2511 ก็ได้มาตั้งรกรากปักฐานที่บ้านหนองแกโดยถาวร และประกอบอาชีพเกษตรกร เนื่องจากพ่อสุวรรณได้บวชเรียนเป็นเวลา 7 ปี พ่อสุวรรณก็มีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ชาวบ้านเห็นความสามารถของพ่อสุวรรณที่มีความขลังกอปรกับชาวบ้านมีความเชื่อในเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธ์ ผีสาง เทวดา ก็ได้เชิญพ่อสุวรรณมาเป็นพ่อจ้ำหรือหมอพราหมณ์ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในบ้านหนองแกและหมู่บ้านใกล้เคียง พ่อสุวรรณก็ได้รับตำแหน่งผู้นำด้านศาสนาจนถึงปัจจุบันและเป็นมัคนายกในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
1. กองทุนสนับสนุนในชุมชน ได้แก่ กองทุนกู้ยืมเงิน (กองทุนเงินล้าน) กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์กองทุนขยะ ทำร่วมกับ อบต.
2. กรรมการหรือองค์กรการทำงานและการบริหารจัดการของกรรมการมีลักษณะการทำงานคือ มีการจัดประชุมลูกบ้าน การแจ้งปัญหา และการหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
3. ระบบข้อมูลข่าวสารของหมู่บ้าน(Information system) ประชาชนในหมู่บ้านรับทราบข้อมูลข่าวสารโดยการประชาสัมพันธ์จากหอกระจายเสียงของผู้ใหญ่บ้าน การประชาสัมพันธ์ของ ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และจากสะดวก เข้าใจง่าย และทั่วถึง
ผู้คนในชุมชนบ้านหนองแกใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นชัดเจนในด้านประชากรโดยมีรายละเอียดดังนี้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คนในชุมชนมีการสร้างบ้านแบบสมัยใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างผีกับคน หรือระบบความติดของคนรุ่นใหม่ในสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากอิทธิพลของระบบสื่อในมิติต่างๆ ที่มีความรวดเร็วเชื่อมโยงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของทั้งคนรุ่นเก่าและใหม่ กระกอบกับอิทธิพลทางการศึกษาสมัยใหม่ที่สอนให้คนเชื่อในหลักการวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดและความเชื่อ
ประชาชนบ้านหนองเเกมีส่วนร่วมในการเป็นแกนนำในการออกกำลังกายในเเต่ละสัปดาห์ โดยมีอาสาสมัครเป็นแกนนำ และโดยการเสนอชื่อแกนนำ เพื่อเป็นแกนนำในการออกกำลังกาย
ในชุมชนบ้านหนองแกมีจุดสนใจอื่นๆ เช่น ร้านบ้านกาแฟ ตลาดหนองแก ร้านก๋วยเตี๋ยว อบ อร่อย ร้านหม่ำแม่สุดใจตลาดหนองแก เจ้าเก่า และ วัดไตรมิตร
จากการสำรวจข้อมูลของนักศึกษาจากวิทยาลัยบรมราชชนนี ขอนแก่น