Advance search

ชุมชนบ้านบางรุ่งโรจน์เป็นชุมชนที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำประมงน้ำจืด เช่น กุ้งกุลาดำ ภายหลังมีการเปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งขาวแทน ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างมาก

หมู่ที่ 10
บางรุ่งโรจน์
บางยาง
บ้านสร้าง
ปราจีนบุรี
องค์การบริหารส่วนตำบลบางยาง เบอร์โทรศัพท์ : 0-3729-5181
จตุพร คุณเจริญ
15 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
15 พ.ค. 2024
บางรุ่งโรจน์

ชุมชนบ้านบางรุ่งโรจน์มีที่มาจากผู้ที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมมาก่อนแล้ว จำนวน 3 กลุ่ม คือ บางไอ้ไร่ บางไอ้โรจน์ และบางไอ้ร้อยรู ภายหลังได้มีการรวมมาเป็นหมู่บ้านเดียวชื่อบางรุ่งโรจน์


ชุมชนชนบท

ชุมชนบ้านบางรุ่งโรจน์เป็นชุมชนที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำประมงน้ำจืด เช่น กุ้งกุลาดำ ภายหลังมีการเปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งขาวแทน ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างมาก

บางรุ่งโรจน์
หมู่ที่ 10
บางยาง
บ้านสร้าง
ปราจีนบุรี
25150
13.895579
101.220856
องค์การบริหารส่วนตำบลบางยาง

ที่มาของหมู่บ้านแต่ก่อนนั้นเดิมทีพื้นที่ของหมู่บ้านบางรุ่งโรจน์เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ มีสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง เนื่องจากหมู่บ้านมีพื้นที่ที่กว้าง จึงมีประชากรอยู่ 3 กลุ่มที่อาศัยอยู่ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมมาก่อนแล้ว จึงมีชื่ออยู่ 3 ชื่อ คือ บางไอ้ไร่ บางไอ้โรจน์ และบางไอ้ร้อยรู แต่ต่อมาได้มีการรวมหมู่บ้านเป็นชื่อเดียวในปี พ.ศ. 2514 โดยมีชื่อว่า "บางรุ่งโรจน์"

บ้านบางรุ่งโรจน์อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี มีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบางเตย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางขาม อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรีและตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบางขาม อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

สถิติจำนวนประชากรจากสำนักทะเบียนราษฎร์ (รายเดือน) รายงานจำนวนประชากรตำบลบางยาง หมู่ที่ 10 บ้านบางรุ่งโรจน์ มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 217 ครัวเรือน จำนวนประชากร 668 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 323 คน และประชากรหญิง 345 คน (ข้อมูลเดือนเมษายน 2567)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาในการเลี้ยงกุ้งของบ้านบางรุ่งโรจน์ มีดังนี้

การเตรียมบ่อ

มีการหว่านปูนมาร์ลและปูนแคลเซียมเมื่อมีการลอกหน้าดินใหม่ จะใส่ไร่ละ 100-200 กิโลกรัม ถ้าไม่ได้ลอกหน้าดินจะใส่ประมาณ 25-50 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าจะให้ดินแห้งไวนั้นจะนำรถไถมาคราดเพื่อให้ดินนั้นแห้งไวและถือเป็นการช่วยกำจัดแอมโมเนียไนไตรไปพร้อม ๆ กัน ระดับของน้ำนั้นขึ้นกับฤดูที่เลี้ยง ถ้าเลี้ยงในช่วงฤดูหนาวจะเริ่มเลี้ยงแค่ 80 เซนติเมตร เพื่อไม่อุณหภูมิน้ำเย็นเกินไป เนื่องจากถ้าน้ำเยอะและเย็น จะทำให้กุ้งไม่กินอาหาร จากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำไปครั้งละ 5-10 เซนติเมตร จนกว่าจะเต็ม หรือถ้าเลี้ยงในฤดูฝนหรือฤดูร้อน แดดจะแรงส่งผลน้ำมีอุณหภูมิที่ร้อนจัดให้เริ่มเลี้ยงในระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร เนื่องจากน้ำร้อนมากจะทำให้กุ้งเครียดและเป็นโรคได้ จากนั้นจึงใส่จุลินทรีย์ผงไร่ละ 1 กิโลกรัม ตอนมีแสงแดดโดยละลายน้ำหน้าใบตีน้ำ ติดเครื่องเพื่อช่วงให้กระจายทั่วบ่อ วัดพีเอชช่วง 7.5-8.5 อัลคาไลน์ 80 ขึ้นไป ทิ้งไว้ 7 วัน ให้มีหนอนแดงเกิด น้ำจึงพร้อมที่จะเอากุ้งมาเลี้ยง

การเลือกพันธุ์กุ้ง

ต้องเลือกจากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ หรือเคยใช้ลูกกุ้งกันอยู่ประจำ เลือกที่สามารถทนกับน้ำจืดและแข็งแรง โดยการสังเกตว่าลูกกุ้งนั้นแข็งแรงหรือไม่ให้ดูที่การว่ายน้ำต้องกระฉับกระเฉง ถ้าว่ายช้าแสดงว่ากุ้งอ่อนแอ หรือถ้ามีการตักตัวที่ตายติดมาด้วยจะทำให้กุ้งบ่อนั้นอ่อนแอหรือเป็นโรคตามมาได้ ไม่ควรนำมาเลี้ยง

การปล่อยลูกกุ้ง

เอากุ้งลงมาเพาะทดสอบในน้ำที่เตรียมไว้แล้วในบ่อ นำกุ้งที่ได้จากบ่อเพาะมาเทใส่สวิงแล้วนำมาใส่กะละมังที่เตรียมไว้แล้วสังเกตการว่าย ถ้าว่ายน้ำปกติแล้วไม่เป็นอะไรให้นำมาลงในช่วงเช้าวันถัดไป ต้องลงในช่วงเช้าเพราะแดดจะไม่ร้อน 

การจัดการคุณภาพน้ำ

ใส่จุลินทรีย์ผงเป็นช่วง ๆ 7-10 วัน ใส่ครั้งหนึ่งตลอดการเลี้ยงเพื่อที่น้ำจะได้ไม่เน่าเสีย พื้นบ่อก็ไม่เหม็น การใส่ปูนขึ้นอยู่กับถ้าน้ำขุ่นขาวจะทำให้น้ำเขียวด้วยการใส่ปูนโดโลไมท์ลงไป

การให้อาหารและการเลี้ยง

ให้อาหารสมทบโปรตีน 35 % ตั้งแต่เล็ก ๆ จนจับขาย ช่วงแรกจะให้อาหาร 1 แสนตัวต่อ 1 กิโลกรัมต่อมื้อ วันละ 2 มื้อ จากนั้นตามเช็คยอ และมีการผสมหอยแมลงภู่นึ่งหั่นมาเลี้ยงเคล้าปนไปกับอาหาร เนื่องจากกุ้งจะเติบโตได้ดีกว่าการกินอาหารสำเร็จรูป 

การให้อากาศ

ในบ่อ 1 บ่อ จะมีใบพัด 2-4 พวง ใช้เครื่องแล้วแต่กำลังม้า ช่วงแรกจะไม่ตีน้ำเนื่องจากกุ้งยังไม่หนาแน่น ถ้าตีน้ำจะตีประมาณตี 4 ของทุก ๆ วันในเดือนแรก แล้วสังเกตการกินอาหารของกุ้ง ถ้ากินมากจะขยับการตีน้ำไวขึ้นเรื่อย ๆ จะเริ่มตีน้ำมากเมื่อเข้าเดือนที่ 2 ในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น

การจัดการโรค

อย่าให้อาหารมากจนพื้นบ่อเสีย จะทำให้กุ้งเครียดและเป็นโรค โดยต้องวางในยอ เช็คว่ามื้อไหนหมดไวจึงค่อยเพิ่มปริมาณขึ้นไป ถ้ามื้อไหนไม่หมดจึงลดปริมาณลง

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

ใช้อวนลากก่อน 1 ครั้ง และปูอวนหน้าตูดท่อแล้ววิดน้ำกุ้งมารวมกันที่ปูอวนไว้ จากนั้นตักขึ้นไปน็อคน้ำแข็งจากนั้นนำไปขายที่แพ หรือ แพมาซื้อถึงปากบ่อ

ปัญหาและอุปสรรค

บางครั้งกุ้งขาวจะตายก่อนกำหนด หรืออาจโตช้า หรือสภาพอากาศที่ร้อนและเย็นจัดไปจะไม่ดี กุ้งเสี่ยงต่อโรคระบาด หรือบางครั้งขายได้ราคาต่ำมากจึงขาดทุน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อดุลย์ บุญคง. (2553). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการเลี้ยงกุ้งในน้ำจืด บ้านบางรุ่งโรจน์ ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

องค์การบริหารส่วนตำบลบางยาง. (ม.ป.ป.). ข้อมูลสภาพทั่วไป-องค์การบริหารส่วนตำบลบางยาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567. จาก https://tambolbangyang.go.th/

องค์การบริหารส่วนตำบลบางยาง เบอร์โทรศัพท์ : 0-3729-5181