Advance search

ชุมชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีผีขนน้ำ โดยเป็นความเชื่อที่เป็นเอกษณ์ของชาวไทพวนที่นำมาพร้อมการอพยพมาจากประเทศลาว ซึ่งประเพณีผีขนน้ำในบ้านนาซ่าวเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องดวงวิญญาณของวัว ควาย ที่สิงสถิตตามริมน้ำ

หมู่ที่ 1
บ้านนาซ่าว
นาซ่าว
เชียงคาน
เลย
องค์การบริหารส่วนตำบลนาซ่าว เบอร์โทรศัพท์: 042-821152
จตุพร คุณเจริญ
15 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
ปวินนา เพ็ชรล้วน
15 พ.ค. 2024
บ้านนาซ่าว

ขุนหมื่นนารินทร์ได้ตั้งหมู่บ้านและประกาศให้คนของตนปักหลักทำไร่-นา แต่การทำไร่-นาครั้งนั้นยังไม่มีจอบ ซึ่งมีแต่มีด เสียม ฉะนั้นการทำไร่-นา จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งต้องทำการขุด-ซ่าวเป็นระยะยาวไปตามลำห้วย ได้แก่ แม่น้ำฮวยและห้วยหย่อง ด้วยเหตุนี้ จึงได้นามว่า “บ้านนาซ่าว” โดยอาศัย 2 คำ คือ คำว่า “ขุด/ซ่าว” กับคำว่า “ยาว” ซึ่งเทียบกับไม้สอยผลไม้ของคนลาว มีลักษณะยาว ตามภาษาลาวเรียกว่า “ไม้ซ่าว”


ชุมชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีผีขนน้ำ โดยเป็นความเชื่อที่เป็นเอกษณ์ของชาวไทพวนที่นำมาพร้อมการอพยพมาจากประเทศลาว ซึ่งประเพณีผีขนน้ำในบ้านนาซ่าวเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องดวงวิญญาณของวัว ควาย ที่สิงสถิตตามริมน้ำ

บ้านนาซ่าว
หมู่ที่ 1
นาซ่าว
เชียงคาน
เลย
42110
17.835260
101.666869
องค์การบริหารส่วนตำบลนาซ่าว

บ้านนาซ่าวแต่เดิมนั้นเกิดจากชาวบ้านได้มีการอพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าไทยพวนโดยอพยพมาหาที่ทำกินตั้งหลักแหล่งเพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ จนมาพบบริเวณที่เหมาะแก่การตั้งหลักแหล่ง และพื้นที่อุดมสมบูรณ์คือ นาซำหว้า ก็พากันปลูกบ้านสร้างที่อยู่อาศัย และยึดบริเวณนาซำหว้าเป็นที่ทำมาหากินเรื่อยมา พอชุมชนมีการขยายมากขึ้นก็ได้ย้ายบริเวณไปบ้านสองโนน และตั้งเป็นหมู่บ้านใหญ่ขึ้น แต่ก่อนหมู่บ้านยังไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคงนับถือผีบรรพบุรุษ ผีปูย่าเท่านั้น เป็นประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่แรก

ชุมชนบ้านนาซ่าวตั้งอยู่ในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ 

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคานฃ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหาดทรายขาว และตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน

สถิติจำนวนประชากรจากสำนักทะเบียนราษฎร์ รายงานจำนวนประชากรตำบลนาซ่าว หมู่ที่ 1 บ้านนาซ่าว มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 368 ครัวเรือน จำนวนประชากร 910 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 449 คน และประชากรหญิง 461 คน (ข้อมูลเดือนเมษายน 2567)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประเพณีผีขนน้ำ

มักจัดขึ้นในช่วงเดือน 6 หรือหลังจากวันวิสาขบูชา ช่วงวันแรม 1 ถึง 3 ค่ำ ของทุกปี และจัดการละเล่นประเพณีผีขนน้ำขึ้น 3 วัน ผู้เล่นส่วนใหญ่มักจะออกมาเล่นในวันแรกและวันที่ 3 ส่วนวันสุดท้ายเป็นการทำบุญให้กับวัดโพธิ์ศรี เพื่อเป็นการนำปัจจัยไปทำนุบำรุงวัด โดยมีการกำหนดวัน ดังนี้

วันแรก เรียกว่า วันโฮม เป็นวันที่เข้าผาม (ปะรำพิธี) เข้าไปวัดโพธิ์ศรี โดยขบวนแห่จะแห่ขบวนไปรอบหมู่บ้าน เมื่อเดินถึงวัด พระจะตีกลองใหญ่ 3 ครั้ง ขบวนแห่จะเดินรอบโบสถ์ 3 รอบ เสร็จจะนำดอกไม้ไปบูชาที่ผาม เป็นอันเสร็จพิธี

วันที่สอง วันแห่ช่วงเช้ามืดจะมีพิธี "ครอบเจ้าปู่" ที่ศาลเจ้าปู่ เมื่อเสร็จพิธีแล้วจะมีการอัญเชิญพระอปคุต แห่เข้าไปวัดโพธิ์ศรี เมื่อไปถึงบริเวณวัดก็แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ แล้วเชิญพระอุปคุตไปไว้ที่หออุปคุต แล้วแยกย้ายไปตามคุ้มต่าง ๆ เพื่อรอเวลานัดหมายตั้งขบวนแห่ เมื่อถึงเวลาบรรดาผีขนน้ำของแต่ละคุ้มจะไปรวมตัวกันที่จุดหมายบริเวณโรงเรียนบ้านนาซ่าว แล้วเริ่มแห่ขบวนเข้าไปในวัด

วันที่สาม วันทำบุญตักบาตรและถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ มีการแสดงธรรมเทศนาให้ศีลให้พรแก่ชาวบ้าน การทำอุทิศส่วนกุศลให้ผีวัว ผีควาย และการแห่ปัจจัยต่าง ๆ เพื่อนำมาถวายวัด

แต่ถึงกระนั้นการกำหนดวันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากต้องมีการเข้าทรงเพื่อกำหนดวันก่อน โดยจะกำหนดล่วงหน้าอย่างน้อยเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางวัฒนธรรม

ประเพณีผีขนน้ำเป็นประเพณีท้องถิ่นของบ้านนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นประเพณีในระดับชุมชนที่เกิดจากความเชื่อ ความศรัทธาเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชุมชน โดยชาวบ้านเชื่อว่า “เมื่อเล่นผีขนน้ำแล้วจะเป็นที่ชอบใจของ เจ้าปู่จิรมานพ กับเจ้าปู่ผ่านพิภพซึ่งถือว่าเป็นผีเจ้าบ้านมีอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลให้พบแต่สิ่งดีงาม เภทภัย สิ่งไม่ดีต่าง ๆ จะไม่เกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม พบว่า "ชาวบ้านยังเชื่อว่าการเล่นผีขนน้ำเกี่ยวข้องกับพิธีขอฝน คือ หากปีใดจำนวนผีขนน้ำที่เข้ามาร่วมเล่นในงานบุญเดือนหก เป็นจำนวนมาก เจ้าปู่ก็จะชื่นชอบและดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกถูกต้องตามฤดูกาล ชาวไร่ชาวนาปลูกข้าวอย่างอุดมสมบูรณ์ และหากว่าปีใดจำนวนผีขนน้ำที่เข้ามาร่วมเล่นในงานบุญเดือนหกมีจำนวนน้อย ฝนฟ้าก็อาจจะแห้งแล้งไม่ตกตามฤดูกาล ข้าวที่ปลูกไว้จะไม่อุดมสมบูรณ์” ประเพณีผีขนน้ำจึงนิยมเล่นกันในงานบุญประเพณีที่เรียกว่า “บุญเดือนหก”

ศิลปกรรมการทำหน้ากากและเสื้อผ้า

ผู้ที่เล่นผีขนน้ำส่วนมากมักเป็นเพศชาย จะต้องเตรียมแต่งตัวหัวผีขนน้ำของตนเอง เพื่อเล่นประกอบพิธีบวงสรวงให้กับผีบรรพบุรุษและให้ความบันเทิงแก่ชุมชนชาวบ้าน

การทำหน้ากาก

  1. นำไม้เนื้ออ่อนมาแกะสลักรูปวัว ควาย ให้มีขนาดที่พอเหมาะ
  2. วาดหน้าตาผี โดยจะมีลักษณะตาโต จมูกโต ฟันใหญ่ แต่มักเขียนปากให้เป็นรอยยิ้ม
  3. ใบหูทำด้วยสังกะสีโตพอควรกับใบหน้า
  4. ใช้หวายมาตรึงติดกับหน้ากาก ใช้เชือกมัดลำหวายให้โค้งเข้าหากันให้เหมือนเขาวัวเขาควาย
  5. ใช้กระดาษสีต่าง ๆ ตัดเป็นริ้วติดประดับระหว่างเขาทั้งสองข้าง

ชุดและเสื้อผ้า

  1. เสื้อทำด้วยผ้าตัดเป็นคอกลม เสื้อจะยาวลงไปถึงตาตุ่ม
  2. ย้อมสีให้เป็นสีเหลือง อมดำหรือม่วง
  3. นำผ้ามาเย็บเป็นชิ้นขวางตามลำตัว
  4. นำไม้มามัดเป็นลูกระนาดขั้นบันได ใช้มัดติดกับส่วนเขาเพื่อทำให้ถ่วงน้ำหนักไม่ให้หลุด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทรงสิริ วิชิรานนท์. (2559). ประเพณีผีขนน้ำ: กรณีศึกษาประเพณีผีขนน้ำ บ้านนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 1(1), หน้า 33-42.

แทนมาตา ป้อมบุบผา. (2565). โครงการออกแบบและปรับปรุงศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านนาซ่าว จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลนาซ่าว. (ม.ป.ป.). ประวัติและข้อมูลสภาพทั่วไป. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567. จาก https://nasao.go.th/

องค์การบริหารส่วนตำบลนาซ่าว เบอร์โทรศัพท์: 042-821152