Advance search

ชุมชนมุสลิมริมคลองแสนแสบ ที่เชื่อกันว่าสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มแขกปัตตานี เมื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพระนครได้จับจองปักหลักทำกินจุดแรกบริเวณซอยสุขุมวิท 47 ในปัจจุบัน

ซอยสุขุมวิท 49/14
คลองตันเหนือ
วัฒนา
กรุงเทพมหานคร
มัสยิดดารุ้ลมุห์ซีนีน (บ้านดอน) โทร. 06-5683-8154
มะลิวัลย์ คำมานิตย์
21 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
23 พ.ค. 2024
สุเหร่าบ้านดอน

ที่มาของชื่อชุมชนสุเหร่าบ้านดอนมาจากจุดแรกของการปักหลักทํากินนั้นอยู่บริเวณ ซอยสุขุมวิท 47 ในปัจจุบัน บริเวณนั้นเองเป็นจุดเริ่มของการเรียกชื่อชุมชนของตนว่า "บ้านดอน" เนื่องจากทําเลเป็นที่ดอนหรือเนินสูงทําให้การทํานาที่ถือเป็นอาชีพหลักของชุมชนได้ผลผลิตไม่ดีนัก 


ชุมชนมุสลิมริมคลองแสนแสบ ที่เชื่อกันว่าสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มแขกปัตตานี เมื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพระนครได้จับจองปักหลักทำกินจุดแรกบริเวณซอยสุขุมวิท 47 ในปัจจุบัน

ซอยสุขุมวิท 49/14
คลองตันเหนือ
วัฒนา
กรุงเทพมหานคร
10110
13.7445
100.5786
กรุงเทพมหานคร

ประวัติของชุมชนชาวบ้านดอนมีการเล่าต่อกันมา โดยเชื่อกันว่าชุมชนสุเหร่าบ้านดอนสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มที่เรียกว่า "แขกตานี" หรือ "แขกปัตตานี" ซึ่งก็คือชาวปัตตานีที่ได้เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพระนครตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวร ฯ ยกทัพไปปราบพม่าทางภาคใต้แล้วเลยไปตีเมืองปัตตานี และกวาดต้อนผู้คนมาไว้ตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งแต่ส่วนใหญ่จะอยู่ รอบ ๆ ชานกรุง โดยมีจุดประสงค์ที่สําคัญ คือ ต้องการเพิ่มพลเมืองและต้องการแรงงานในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งอยู่ในระยะที่เพิ่งก่อตั้ง รวมทั้งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรและกองทัพในยามที่ยังมีศึกสงครามอยู่เสมอและมีการกวาดต้อนถึง 2 ครั้ง คือใน พ.ศ. 2329 และ พ.ศ. 2334 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีการกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองภาคใต้ขึ้นมาอีกระลอกหนึ่งแล้วให้อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครหลายแห่ง โดยให้กระจายกันอยู่ตามชานเมืองเพื่อทําการเพาะปลูกและนําผลผลิตมาหล่อเลี้ยงเมืองซึ่งยังอยู่ในช่วงต้องทําสงครามอยู่เนือง ๆ และในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ใช้แรงงานชาวมุสลิมเพื่อขุดคลองแสนแสบเพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกและสงคราม

เมื่อชาวมุสลิมปัตตานีเริ่มเข้ามาอยู่ในพระนครแล้วชนกลุ่มนี้ก็ยึดอาชีพทํานาเป็นหลักเมื่อแรกบุกเบิกได้เท่าใด สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้เลย จุดแรกของการปักหลักทํากินนั้นอยู่บริเวณซอยสุขุมวิท 47 ในปัจจุบัน บริเวณนั้นเองเป็นจุดเริ่มของการเรียกชื่อชุมชนของตนว่า "บ้านดอน" เนื่องจากทําเลเป็นที่ดอนทําให้ทํานาได้ผลผลิตไม่ดีนักจึงยังไม่มีการตั้งสุเหร่าไว้ทําพิธีกรรมทางศาสนาคงมีแต่กุโบร์ (สุสาน) ไว้สําหรับฝังศพเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อย้ายมาแล้วส่วนที่เป็นกุโบร์เก่าก็ยังเป็นที่ว่างไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่นาน ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดคลองแสนแสบผ่านมาใกล้ชุมชนชาวบ้านดอนซึ่งเชื่อว่ามีส่วนในการขุดคลองแสนแสบด้วยจึงได้โอกาสโยกย้ายถิ่นฐานไปอยู่และใช้เป็นแหล่งน้ำสําคัญในการทํานา โดยอพยพครอบครัวซึ่งในขณะนั้นมีประมาณ 20-30 ครัวเรือน เคลื่อนย้ายเข้ามาจรดคลองแสนแสบและอาศัยอยู่ในบริเวณนี้จนถึงปัจจุบัน

ชุมชนสุเหร่าบ้านดอนตั้งอยู่ในซอยย่อย 3 ซอย บ้านเรือนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในซอยประเสริฐสิทธิ์ ถนนสุขุมวิท 49 แยก14 ถนนสุขุมวิท 49/14 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร และบางส่วนอยู่ในซอยติดกันคือซอยพร้อมพรรคและซอยแสงเงิน อาณาเขตทิศเหนือติดคลองแสนแสบ ส่วนทิศใต้ ตะวันออก และตะวันตกติดที่ดินเอกชน

ประชากรชุมชนสุเหร่าบ้านดอนส่วนมากเป็นชาวมุสลิมที่ที่อาศัยในบริเวณนี้มาอย่างยาวนานตั้งสมัยบรรพบุรุษอย่างแขกปัตตานีที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งรกรากในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 

ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2567 ระบุว่าชุมชนสุเหร่าบ้านดอน มีจํานวนครัวเรือน 1,350 ครัวเรือน จํานวนประชากร 3,710 คน มีอาชีพค้าขาย รับจ้าง สภาพการถือครองที่ดินส่วนใหญ่เช่าที่ปลูกบ้านและเป็นบ้านเช่า

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บุคคลสำคัญของชุมชนสุเหร่าบ้านดอนที่โดดเด่นคือ นายอรุณ บุญชม ซึ่งเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 19 แห่งประเทศไทย เขาได้รับการศึกษาในสาขาอัลฮะดีษและอิสลามศึกษาจากมหาวิทยาลัยอิสลาม นครมาดีนะห์ และยังมีปริญญาตรีในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นายอรุณเคยเป็นอาจารย์สอนอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ รวมทั้งเป็นอิหม่ามประจำมัสยิดดารุ้ลมุห์ซีนีน (สุเหร่าบ้านดอน) และมีบทบาทสำคัญในองค์กรอิสลามหลายแห่งในประเทศไทย

เมื่อเกิดการตั้งหมู่บ้านอยู่ริมคลองแสนแสบแล้วความเป็นอยู่ในเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ การคมนาคม ตลอดจนการประกอบอาชีพก็ได้รับความสะดวกสบายขึ้น ทำให้เกิดความคิดว่าจะลงหลักปักฐานถาวรในบริเวณนี้จึงจำเป็นต้องจัดการสร้างมัสยิดเพื่อใช้ชุนชนบ้านดอนเป็นชุมชนมุสลิมที่มีมัสยิดบานดอนเป็นที่ศูนย์กลางของชุมชนและเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ ในระยะแรกมัสยิดสมัยนั้นเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในที่ดินส่วนบุคคล ก่อนที่เจ้าของที่ดินอนุญาตให้มัสยิดอาศัยอยู่ โดยมีฮัจยีฮะ มุสตาฟา เป็นอิหม่าม และเมื่อฮัจยีแป้นได้มาซื้อที่ดินที่มัสยิดตั้งอยู่จึงได้อุทิศให้เป็นที่ดินของมัสยิดร่วมกับนางมัรยัม (แมะเลาะเซ็ม ซึ่งเป็นบุตรสาวเป็นเนื้อที่ 62 ตารางวา เมื่อฮัจยีฮะ มุสตาฟา ได้ถึงแก่กรรมลง ฮัจยีเซ็น หวังภักดี ได้เป็นอิหม่ามและได้ดำรงหน้าที่อิหม่ามด้วยความเรียบร้อยตลอดมา ต่อมาเมื่อฮัจยีเซ็น หวังภักดี ถึงแก่กรรมลง ฮัจยีอับดุลเลาะห์ กระเดื่องเดช ได้เข้าดำรงตำแหน่งอิหม่ามได้บริหารและพัฒนามัสยิดให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งมีการซื้อที่ดินอุทิศให้เป็นสมบัติของมัสยิดจำนวน 347 ตารางวา ทำให้ที่ดินของมัสยิดมีบริเวณกว้างขึ้นและได้จัดสร้างมัสยิดหลังใหม่ จนเมื่อปี พ.. 2482 แทนที่มัสยิดหลังเก่าที่มีสภาพทรุดโทรม จนกระทั่ง พ.. 2504 ปรากฏว่าจำนวนสัปปุรุษยิ่งเพิ่มมากขึ้นทำให้พื้นที่มัสยิดไม่พอแก่การประกอบศาสนกิจ คณะกรรมการมัสยิดได้ประชุมปรึกษาหารือแก้ปัญหาเห็นว่าสมควรให้สร้างอาคารมัสยิดถาวรขึ้นให้มีขนาดกว้างใหญ่พอแก่จำนวนสัปปุรุษที่จะประกอบศาสนพิธี 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในปี พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นระยะที่มีการดําเนินนโยบายพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 ของรัฐบาลจอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์ มีการตัดถนนเพชรบุรีตัดใหม่ผ่านจากประตูน้ําจดคลองตัน และเริ่มมีการจัดสรรที่ดินแยกพื้นที่ออกเป็นซอยต่าง ๆ โดยในระยะแรกตัดเป็นถนนลูกรังจากถนนสุขุมวิทเข้ามาใกล้ชุมชนทําให้ที่ดินมีราคาแพงขึ้นจากเดิมมากขึ้นเรื่อย ๆ ชาวมุสลิมชุมชนสุเหร่าบ้านดอนในระยะนั้นแม้มีที่ดินกว้างขวางจากการบุกเบิกซึ่งทางการอนุญาตไว้ตั้งแต่เริ่มตั้งชุมชนว่าใครบุกเบิกได้เท่าไรก็เป็นของตน แต่ไม่มีเงินเมื่อมีโอกาสขายที่ดินจึงขายออกไปนอกจากนั้นยังจํานองแล้วหลุดจํานองไปมาก 

จากสภาพแวดล้อมที่เป็นเส้นทางผ่านสายสําคัญ ๆ รวมทั้งมีผู้มาเช่าบ้านอยู่เป็นจํานวนมากทําให้เป็นทําเลที่ดีในการประกอบอาชีพค้าขายโดยเฉพาะอาหารการกิน แม่บ้านในชุมชนจึงใช้เวลาว่างมาขายอาหาร เช่น อาหารตามสั่ง ขนมครก กล้วยแขก ผลไม้ ฯลฯ รายที่มีบ้านอยู่ติดเส้นทางสัญจรมักเปิดร้านที่หน้าบ้านของตัวเอง ส่วนรายที่ไม่มีทําเลได้เปรียบเช่นนี้ก็มักตั้งอุปกรณ์ค้าขาย กระจัดกระจายอยู่ตามลานหน้ามัสยิดจนเป็นตลาดขนาดย่อม ต่อมาคณะกรรมการมัสยิดเห็นว่าลักษณะการตั้งขายดังกล่าวไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อมีอาคาร 3 ชั้นของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนขึ้น จึงได้เปิดชั้นล่างเป็นที่ขายอาหาร โดยเก็บค่าเช่าเดือนละ 500 บาท ค่าบํารุงปีละ 1,000 บาท ส่วนตรงข้ามเป็นโรงเรือนยกเสามุงกระเบื้องบนพื้นดินเปิดให้เช่าที่ขายของโดยฮัจยีสลิม พุ่มดอกไม้ เป็นรายได้เฉพาะบุคคลแต่ยังไม่เพียงพอต่อปริมาณแม่ค้า ด้านหน้าสิ่งปลูกสร้างทั้งสองจึงมีผู้มาตั้งโต๊ะหรือรถเข็นขายขนมอยู่อีกหลายราย ตลาดแห่งนี้บริการคนทั้งภายในและภายนอกชุมชน โดยในช่วงเที่ยงจะมีลูกจ้างจากบริษัทต่าง ๆ ใกล้เคียงเข้ามาสั่งอาหารอย่างหนาแน่นรวมทั้งนักเรียนที่เสร็จจากรับประทานอาหารแล้วอาจแวะละหมาดที่มัสยิด 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สรัฐ เพชรรักษ์. (2542). บทบาทผู้นำชุมชนมุสลิมในกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีชุมชนสุเหร่าบ้านดอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Tnews. (2566, พฤศจิกายน 22). เปิดประวัติ “นายอรุณ บุญชม” จุฬาราชมนตรีคนที่ 19 แห่งราชอาณาจักรไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567. https://www.tnews.co.th/

สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป). มัสยิดดารุลมุห์ซินีน (บ้านดอน). สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567. https://www.cicot.or.th/th/mosque/detail/

มัสยิดดารุ้ลมุห์ซีนีน (บ้านดอน) โทร. 06-5683-8154