ชุมชนชาติพันธุ์ไทยวน มีพระเจ้าแสนแซ่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้สักการะบูชาเคารพนับถือ
ได้เล่าขานสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน มาจากผ้าที่พระสงค์ให้ห่อหุ้มห่อร่างกายนั้น ก็คือ จีวร ในสมัยก่อนคนในท้องถิ่นได้เรียกว่าผ้า ลังกา เป็นเพราะในสมัยพระพุทธกาล มีตำนานเรื่องเล่าสืบกันมาว่าได้มีพระพุทธเจ้าได้ทรงเดินธุดงค์ จาริกธรรมมายังอำเภอแม่สรวยในสมัยนั้นยังมิได้เป็นอำเภอบริเวณ วัดพระธาตุจอมแจ้ง ในเวลาตอนเช้า ซึ่งพระอาทิตย์กำลังขึ้นจากท้องฟ้าจึงเรียกบริเวณนั้นว่า จอมแจ้ง เพราะพระพุทธองค์เดินทางมาถึงก็แจ้งพอดี แล้วพระพุทธองค์ได้ออก เดินธุดงค์ มาทางทิศใต้ถึงบริเวณลำห้วยลังกาเป็นเวลาก่อนเพลพระพุทธองค์ทรงได้ซักผ้าจีวร (ผ้าลังกา) บริเวณลำห้วยจึงได้เรียกลำห้วยดังกล่าวว่าเป็น ลำห้วยลังกา
ชุมชนชาติพันธุ์ไทยวน มีพระเจ้าแสนแซ่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้สักการะบูชาเคารพนับถือ
บ้านลังกา หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2436 ชื่อเดิม บ้านแพะลังกา เพราะมีสภาพเป็นทุ่งกว้างเหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์ โดยมีเจ้าตำบลเวียงป่าเป้า ได้นำสัตว์เลี้ยงอาทิ เช่น วัว ควาย มาเลี้ยงในบริเวณทุ่งหญ้าดังกล่าว และได้พำนักในบริเวณบ้านลังกาข้อในพักเป็นครั้งคราว เป็นจำนวน 10-15 หลังคาเรือนและมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นการพักพิงที่ถาวร มีจำนวนหลังคาเพิ่มขึ้นจึงได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้าน โดยมีท้าวธนู สุขเกษม เป็นผู้นำหมู่บ้านท่านแรก การตั้งชื่อหมู่บ้าน แพะลังกา คำว่า "แพะ" เป็นภาษาท้องถิ่นของภาคเหนือ หมายความว่า ทุ่งหญ้า เหมาะสมกับเป็นที่เลี้ยงสัตว์ที่มีความอุดมสมบูรณ์
คำว่า "ลังกา" (มิได้มีความหมายว่า รัก ของนกกา) แต่มีที่มาที่ไปจากบรรพบุรุษ ได้เล่าขานสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน แท้จริงแล้วคำว่า "ลังกา" มาจากผ้าที่พระสงฆ์ให้ห่อหุ้มห่อร่างกายนั้น ก็คือ จีวร
ในสมัยก่อนคนในท้องถิ่นได้เรียกว่าผ้า ลังกา เป็นเพราะในสมัยพระพุทธกาล มีตำนานเรื่องเล่าสืบกันมาว่าได้มีพระพุทธเจ้าได้ทรงเดินธุดงค์ จาริกธรรมมายังอำเภอแม่สรวยในสมัยนั้นยังมิได้เป็นอำเภอบริเวณ วัดพระธาตุจอมแจ้ง ในเวลาตอนเช้า ซึ่งพระอาทิตย์กำลังขึ้นจากท้องฟ้าจึงเรียกบริเวณนั้นว่าจอมแจ้งเพราะพระพุทธองค์เดินทางมาถึงก็แจ้งพอดี แล้วพระพุทธองค์ได้ออก เดินธุดงค์ มาทางทิศใต้ถึงบริเวณลำห้วยลังกาเป็นเวลาก่อนเพลพระพุทธองค์ทรง ได้ซักผ้าจีวร (ผ้าลังกา) บริเวณลำห้วยจึงได้เรียกลำห้วยดังกล่าวว่าเป็น ลำห้วยลังกา ผู้คนที่เห็นหลักฐานในบริเวณที่พระพุทธองค์ได้พำนักพักผ่อนจะพบวัตถุโบราณ อาทิ เช่น พระพุทธรูป ถ้วยชามของเก่า ก้อนอิฐ หรือแม้แต่ในวัดพระตอนค่ำ ๆ ชาวบ้านมักจะได้ยินเสียงกลองบูชาดังขึ้นเป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ที่ชาวบ้าน ปู่ ย่า ตา ยาย หรือใคร ๆ ได้ยินแล้วอยากจะพิสูจน์จึงบริเวณนั้นว่า จอวัดงาม บรรพบุรุษจึงเรียกชื่อหมู่บ้านตามทุ่งหญ้าเลี้ยงว่า (แพะ) และผนวกกับชื่อของลำห้วยที่ประชาชนได้ใช้เป็นเส้นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตการเกษตร (ห้วยลังกา) จึงรวมเป็นชื่อของลำห้วยที่ประชาชนได้ใช้เป็นเส้นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตการเกษตร (ห้วยลังกา) จึงรวมเป็นชื่อหมู่บ้าน แพะลังกา
จากอดีตถึงปัจจุบันได้มีผู้นำหมู่บ้านที่ผ่านมาแล้วถึง 15 ท่าน หมู่บ้านได้มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยการสร้างวัด ซึ่งไม่ได้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้เริ่มสร้างเมื่อใดในบริเวณหน้า องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง (บริเวณดังกล่าวนี้ชาวบ้านได้มอบให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่งจักได้สร้างเป็นศูนย์เด็กเล็ก ตำบลบ้านโป่ง และได้ตั้งชื่อว่า วัดลังกา แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวได้มีความเชื่อว่าเจ้าที่แรงพระสงฆ์สามเณรอยู่อย่างไม่สงบสุขบ้างบางครั้งก็มีลมพัดหลังคาวัดเสียหายบ้าง พระสงฆ์มรณภาพอย่างกะทันหันเกิดเหตุการณ์ประหลาดหลาย ๆ อย่างผู้นำประชาชนจึงได้มีการย้ายวัดมาบริเวณวัดลังกาในปัจจุบันนี้ พอถึงในสมัย นายศรี ยาวุฒิ เป็นผู้นำหมู่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) ในปีพุทธศักราช 2518 ได้เห็นสมควร ได้มีการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน โดยได้ตัดคำว่า "แพะ" ออกจากคำนำหน้าชื่อจึงได้มีชื่ออย่างเป็นทางการ หมู่บ้านลังกา ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2476 ประชาชนในหมู่บ้านพร้อมพระสงฆ์บ้านลังกา ได้ร่วมกันก่อตั้งวัดลังกา เลขที่ 412 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้ายโป่ง เดิมเป็นวัดร้างตั้งอยู่บริเวณต้นโพธิ์หน้าองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง เพราะมีสภาพที่เป็นแพะเป็นทุ่งกว้างเหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์มากกว่าและยังไม่มีแหล่งชุมชนหรือบ้านเรือนจึงเกิดเป็นวัดร้างเพราะบางครั้งมีพายุลมแรงทำให้เกิดความเสียหาย และมีเรื่องราวแปลก ๆ เกิดขึ้นภายในวัด พระเณรอยู่อย่างยากลำบากจึงทิ้งให้เป็นวัดร้างชื่อ วัดม่อนแก้วดอนเต้า (ไม่ได้ขึ้นทะเบียน) จึงยังไม่มีชื่อที่แน่ชัดเจนและแน่นอน ต่อมามีพระจี๋ ซึ่งได้เดินธุดงค์มาจากจังหวัดเชียงใหม่มาพักเป็นฝ่ายสงฆ์ โดยมีท้าวธนู สุขเกษม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ซึ่งเป็นผู้นำในขณะนั้น ได้พร้อมใจกันกับชาวบ้านลังกา ได้สร้างวัดลังกาขึ้นมาใหม่
พ.ศ. 2500 ได้ย้ายวัดลังกา มาสร้าง ณ จุดใจกลางของหมู่บ้านโดยมีพระบุญศรี ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดลังกา และนายปัน เรืองศรี ผู้ใหญ่บ้านลังกา ประชาชนร่วมกันสร้างวัด ปัจจุบันมีการสร้างศาลา 12 ราศี ศาลาพระสังกัจจายน์ ศาลาพระสีวลี ซุ้มประวัติวัดลังกา ศาลาพระอุปคุต และบูรณปฏิสังขรณ์วิหารประตูหน้าต่างไม้แกะสลักใหม่ ทำป้ายวัดใหม่ ทำมณฑปพระเจ้าแสนแซ่ศักดิ์สิทธิ์ และได้พัฒนาปรับปรุงสถานที่วัดลังกาให้มีความเจริญ เพื่อเป็นวัดสมบูรณ์แบบของบวร พระพุทธศาสนาสืบต่อไป (พระอธิการธาดาพงศ์ ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดลังกาปัจจุบัน พ.ศ. 2566)
พ.ศ. 2500 นายตัน ชัยชุมภู เป็นผู้นำชุมชนบ้านลังกา ได้ชวนประชาชนในหมู่บ้านลังกา สร้างโรงเรียนบ้านลังกา และขอที่ดินบริจาคของบุคคลทั้ง 3 คน ดังนี้ นางผัน ชัยชุมภู, นางแก้ว เทพนม, นายใจ ชัยชมภู ร่วมบริจาคยกพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ก่อสร้างโรงเรียนบ้านลังกา จำนวน 19 ไร่ โดยได้สร้างอาคารหลักแรก คือ ห้องพักครู และมีครูแสวง ครูหนานดี ซึ่งเป็นพระได้จบนักธรรมเอกออกมาเป็นครูได้ทำการสอนสืบกันมา และเริ่มพัฒนาการสร้างโรงเรียนมาเรื่อย จนถึงปี พ.ศ. 2565 มีผู้อำนวยการโรงเรียนชูเกียรติ เมืองงาม และปัจจุบันมีนายอภิรัตน์ อจินะ รักษาการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลังกา
ปี พ.ศ. 2517 มีประชาชนบ้านป่าปง ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า ได้อพยพย้ายเข้ามาบ้านลังกาเนื่องจากบ้านเดิมมีน้ำท่วม เริ่มแรกมี 3 ครอบครัว 1.ยายแอร์ ต๋าคำมา 2.นายตา ต๋าคำมา 3.นายอัด ต๋าคำมา (ปัจจุบันมี 16 หลังคาเรือน)
ปี พ.ศ. 2549 ประชาชนที่ย้ายมาจากบ้านป่าบง ตำบลเวียง ไม่มีไฟฟ้าใช้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง จึงได้ขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้ประชาชนกลุ่มที่ย้ายมาใหม่ และมีการก่อสร้างโบสถ์ ณ บริเวณทางทิศเหนือของหมู่บ้านโดยมีนายแอร์ ต๋าคำมา เป็นผู้ก่อตั้ง ชื่อว่า คริสตจักรบ้านดาหลา สภาคริสตจักรในประเทศไทย (เดิมเคยเป็นที่ปลูกดอกดาหลา) ปัจจุบันมีนายอุทัย ต๋าคำมา เป็นผู้นำทางศาสนาคคริสต์ และนายบุญชัย ปิตาดวง เป็นศาสตราจารย์ โดยกิจกรรมทางโบสถ์จะมีการประกอบพิธีทางศาสนา และงานแต่งงาน งานคริสต์มาส ถวายสัมพรคุณ งานศพและฝังศพ ณ คริสตจักรบ้านดาหลา
ปี พ.ศ. 2545 ได้สร้างศาลเจ้าพ่อบ้านลักกา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 และฉางสำรองพันธุ์ข้าวโครงการข้าวนาน้ำฝน กรมส่งเสริมการเกษตร
ปี พ.ศ. 2559 ได้สร้างประปาหมู่บ้านบ้านลังกา ก่อสร้างโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ใช้แหล่งน้ำจากบ่อบาดาล ของบ้านลังกา หมุ่ 4 ตามแบบมาตรฐานทรัพยากรน้ำแบบขนาดใหญ่มาก (45 ลบม.)
พระเจ้าแสนแซ่ศักดิ์สิทธิ์
การค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2480 ซึ่งในสมัยนั้นพื้นที่ที่ค้นพบพระเจ้าแสนแซ่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่วัดร้างทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เป็นวัดร้างไม่ทราบชื่อเต็มชาวบ้านเรียกว่า วัดสันป่าแดง และมีวัดใกล้กันคือ วัดจอวัดงาม ซึ่งปัจจุบันนี้ยังคนพบอิฐมอญที่ก่อสร้างวัดบริเวณนั้น โดยการค้นพบพระเจ้าแสนแช่ศักดิ์สิทธิ์นี้ มีคนสมัยบรรพบุรุษรุ่นสืบรุ่นสืบทอดกันมาว่าจนถึงสมัยปัจจุบัน มีการเล่าของพ่อหนานมา ติ๊บปัญญา ซึ่งเป็นไวยาวัจกรขณะเป็นเด็กในสมัยนั้นได้เห็น พระคำแปง ฐานวโร และกลุ่มชายหนุ่มประมาณ 7-8 คน ไปเดินเที่ยวป่าหาของป่าระยะทางห่างจากหมู่บ้านไปประมาณ 2 กิโลเมตร ได้ไปพบวัดร้างแห่งนั้นชื่อว่า
วัดจอวัดงาม เห็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งนอนคว่ำหน้าติดดินโดยด้านหลังของพระพุทธรูปมีรอยของช้างเหยียบย่ำจนบุบเป็นตำหนิโดยชายทั้งหมดนั้นได้ไปหาของป่าแต่กลับไม่ได้อะไร ได้ยินเสียฆ้องกลองบูชาดังตลอดก็เกิดความกลัวจึงได้กลับมานอนที่บ้าน โดยชายคนหนึ่งก็เกิดนิมิตรฝันเห็นพระพุทธรูปมากมายและคนสมัยโบราณมากมาย ได้บอกให้กับชายคนนั้นว่าให้นิมนต์พระขึ้นมาพอตื่นเช้ามาชายคนนั้นกับเพื่อน ๆ ที่ไปด้วยกันก็ไปกันชวนไปหาพระที่วัดซึ่งปัจจุบันคือวัดลังกา โดยมีพระคำแปง ฐาณวโร ในขณะนั้นก็ได้ชักชวนผู้นำหมู่บ้านประชุม มีนายจันทร์ ชัยชุมภู และได้นำชาวบ้านรวมตัวกันตกแต่งเครื่องอัฐบริขารตอกดอกไม้ลำเทียน ขอขมาขอนิมนต์พระพุทธรูป แล้วก็ขุดพระเจ้าแสนแซ่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งสององค์ขึ้นมาและได้เจอพระพุทธรูปองค์เล็กหลาย ๆ องค์มีทั้งพระไม้ขนาดห้านิ้ว โดยเป็นที่หน้าสักการบูชาและพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้เป็นพระพี่พระน้อยโดยองค์พี่มีขนาดใหญ่กว่าองค์น้อง โดยองค์พี่มีพระเนตรคือตาเพชร ส่วนองค์น้องเป็นทองคำครึ่งองค์ไปจนถึงพระเศียรแต่ไม่มีจิกโมรี ซึ่งหาไม่เจอต่อมา ประคำแปง ฐาณวโร ก็ได้นำพระพุทธรูปทั้งหมดมาไว้สักการบูชาที่วัดลังกาเพื่อกราบไหว้ ต่อมาเป็นเหตุการณ์สำคัญก็คือพระเณรและชาวบ้านมีน้อยอีกอย่างขโมยโจรเยอะก็จึงนำไปไว้บ้านเรือนประชาชนดูแลกันคนละคืนสองคืน เพื่อปกป้องพระไม่ให้ใครมาปล้นชิงเอาและก็ปรึกษาหารือกันได้นำเอาพระพุทธรูปองค์พี่องค์ใหญ่ไปฝากไว้กลับวัดใกล้เคียงคือ วัดโป่งเทวี
ในเวลาต่อมาเมื่อบ้านลังกา ได้มีประชากรเพิ่มขึ้น จึงไปขอพระพุทธรูปคืนแต่ก็ได้รับคำบ่ายเบี่ยงไม่คืนให้เกิดทะเลาะวิวาทกันว่าจะขอเอาไว้ที่นี่บ้างต่าง ๆ นานา ต่อมาผู้นำหมู่บ้านในชุมชนและเจ้าอาวาสก็ปรึกษาหารือกันพร้อมกับญาติโยมเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งความสัมพันธ์เครือญาติพี่น้องก็จึงตกลงปลงใจยกให้ วัดบ้านโป่งเทวี นำพระองค์ใหญ่ ไว้สักการบูชาต่อไป เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อบ้านพี่บ้านน้องเครือญาติกันตั้งแต่นั้นมา
อภินิหารพระเจ้าแสนแซ่ศักดิ์สิทธิ์
- มีคนได้ยินเสียงกลองบูชาดังในวันพระวันศีลใหญ่
- มีการนำพระไปแห่พิธีขอฝนและได้เจอฆ้องทองคำแต่บังคับให้เอาไปคืนแต่กลับหายในพริบตา
- ยังคงเหลือไว้ซึ่งยังถาวรวัตถุต่าง ๆ ในพื้นดินขนาดคนจะนำรถไถไปไถที่ให้สะอาดยังติดเครื่องรถไม่ติด
- ยังเป็นสถานที่ที่ใคร ไม่สามารถไปทำอะไรได้เพราะยังคงเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ถ้าใครลบหลู่จะมีอันเป็นไปทุก ๆ คน
- ใครกราบไหว้ขอพรจะสำเร็จผลตามดังใจปรารถนาถ้าขอในสิ่งที่ดีไม่ผิดศีลธรรม
- ถ้านำพระพุทธรูปไปขอฝนในพิธีแห่ปลาช่อนก็จะเกิดฝนตกต้องตามที่ขอ
ปัจจุบัน พระเจ้าแสนแซ่ศักดิ์สิทธิ์นี้มีพระอธิการ ธาดาพงศ์ ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดลังกาและแม่หลวงกัลยา วรรณธิกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านลังกา พร้อมคณะศรัทธาญาติโยมได้พร้อมใจกันสร้าง มณฑป ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนแซ่ศักดิ์สิทธิ์ไว้เป็นที่กราบไหว้สักการบูชาเคารพนับถือ เพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจให้ได้รับซึ่งความสุขความเจริญและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทำความดีต่อพระพุทธศาสนาสืบไป ให้ยาวนานตลอดไปเทอญฯ เก็บข้อมูลและเรียบเรียงโดย พระอธิการธาดาพงศ์ ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดลังกา เมื่อวันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2535 แรม 3 ค่ำ เดือน 7 เดือน 5 ไทย (สมัยเป็นสามเณร) บทความได้ฟังจากการเล่าของผู้รู้หลาย ๆ ท่าน
ที่ตั้ง หรือ อาณาเขต
- ทิศเหนือ จด บ้านดงหล่ายหน้า หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า
- ทิศใต้ จด บ้านโป่งเทวี หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า
- ทิศตะวันออก จด บ้านป่าบง หมู่ที่ 5 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า
- ทิศตะวันตก จด บ้านดงหล่ายหน้า หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า
สภาพภูมิประเทศ
บ้านลังกา หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านโป่ง สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปมีพื้นที่ภูเขาและป่าไม้ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ดอน ร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบ ร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด และทิศทางตะวันตกเป็นเทือกเขาและที่ราบสูงเอียงมาจะเป็นที่อยู่อาศัยและไร่นาของราษฎร มีทรัพยากรธรรมชาติ มีป่าสงวนและป่าชุมชนมีแหล่งแร่ธรรมชาติ มีแหล่งน้ำสำคัญคือ แม่น้ำลาวห้วยลังกา, แหล่งเก็บนี้ที่สำคัญคือ ฝายน้ำล้นแม่ลาว, อ่างหนองป่าแหย่ง
จำนวนประชากร ชาย 474 คน หญิง 459 คน รวมทั้งสิ้น 933 คน จำนวนครัวเรือน 280 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา สวนลำไย มะม่วง ปาล์ม กระท่อม ข้าวโพด มีวิถีชีวิตที่เป็นระบบเครือญาติกันมานาน
วิถีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตมีเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) มีพิธีกรรมและกิจกรรมในหมู่บ้านในการสร้างความสามัคคีในหมู่บ้าน เพื่อการบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือ ความสามัคคี โดยมีวัดลังกา และคริสตจักรบ้านดาหลาเป็นสถาบันรวมจิตใจ ตลอดจนมีโรงเรียนบ้านลังกาเป็นสถาบันการศึกษาของหมู่บ้าน เด็ก เยาวชน ที่เรียนหนังสือสามารถเรียนหนังสือในโรงเรียนหมู่บ้าน ที่มีความผูกพันของวัฒนธรรมของชุมชน และมีประเพณีร่วมกัน ระหว่าง วัด โรงเรียน ชุมชน ทั้งโรงเรียนยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาพัฒนาดนตรีไทยในชุมชน ทั้งนี้วัดลังกา โดยการนำของเจ้าอาวาสลังกา มีการฝึกอาชีพผู้สูงอายุ การจักสาน การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
ไทยวนทำเนียบผู้นำหมู่บ้านลังกา หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
1.ท้ายธนู | สุขเกษม | 2436 |
2.นายบุญ | ไม่ปรากฏหลักฐาน | |
3.นายแปง | โพธ | 2468 |
4.นายแก้ว | แก้วเต๋จ๊ะ | 2468 - 27 |
5.นายยี่ | ชัยนาม | 2472 - 2480 |
6.นายจันทร์ | เต๋จ๊ะสอน | 2480 - 2487 |
7.นายเรือน | เต๋จ๊ะสอน | 2487 - 2494 |
8.นายตัน | ชัยชุมภู | 2494 - 2499 |
9.นายปัน | เรืองศรี | 2499 - 2504 |
10.นายสม | แก้วปัญญา | 2504 - 2509 |
11.นายศรี | ยาวุฒิ | 2509 - 2528 |
12.นายปิง | มะโนวงค์ | 2528 - 2535 |
13.นายบุญ | ต๋าคำมา | 2535 - 2545 |
14.นายศิลา | บัวราช | 2545 - 2546 |
15.นายมนูญ | ยาวุฒิ | 2546 - 2561 |
16.นายกัลยา | วรรณธิกุล | 2564 - ปัจจุบัน |
กลุ่มทางเศรษฐกิจของชุมชน
- กลุ่มสหกรออมทรัพย์หมู่บ้าน
- กลุ่มเกษตรกร
- กลุ่มกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน
- กลุ่มวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผา, สตรีบ้านลังกา
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
- กลุ่มฌาปณกิจหมู่บ้าน
- กลุ่มแม่บ้าน
- กลุ่มเยาวชน
- กลุ่มศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) วัดลังกา
- กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มพัฒนาอาชีพ (เทียนจักสาน,โคมประทีป)
- กลุ่มพัฒนาอาชีพ
- กลุ่มเกษตรพัฒนาลังกา
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ผู้คนในชุมชนประกอบอาชีพ ปลูกข้าว ทั้งข้าวนาปีและนาปรัง นอกจากนี้ ยังมีการปลูกข้าวโพด มะม่วง ลำไย ยางพารา กระท่อม หน่อไม้ ปาล์ม ขิง และเห็ด
กิจกรรมด้านวัฒนธรรม
- ทำบุญบ้าน
- ดำหัวสักการะผู้ใหญ่
- สรงน้ำพระธาตุเวียงมน
- ตานข้าวใหม่
- ตานสลากภัต
- สงกรานต์
- ผ้าป่า
ภัยพิบัติในชุมชน
- น้ำท่วม
- พายุฝน
- ไฟป่า
1.นางกัลยา วรรธิกุล
- เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2512
- พ.ศ. 2519 เรียนโรงเรียนบ้านลังกา จบการศึกษาประถมปีที่ 4 ปี พ.ศ.2525
- พ.ศ. 2525 ศึกษาต่อมัธยมศึกษาโรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี พ.ศ.2528
- พ.ศ. 2528 เป็นลูกจ้างรับจ้างทั่วไป
- พ.ศ. 2529 แต่งงานกับนายสุรพล วรรณธิกุล
- พ.ศ. 2530 มีบุตรธิดาคนแรก นางสาวณัฐกิจตา วรรณธิกุล
- พ.ศ. 2533 เป็นลูกจ้างพนักงานเก็บค่าโดยสาร บริษัทวิ่งรถลำพูน-เชียงใหม่
- พ.ศ. 2536 เป็นลูกจ้างพนักงานเก็บค่าโดยสาร บริษัทวิ่งรถเชียงใหม่-พร้าว
- พ.ศ. 2538 เป็นครูอัตราจ้างของโรงเรียนเอกชน โรงเรียนอนุบาลความหวังเวียงป่าเป้า
- พ.ศ. 2539 ศึกษาต่อการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเวียงป่าเป้า จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี พ.ศ.2542
- พ.ศ. 2540 เป็นพนักงานของกรมทางหลวง (แม่ครัว)
- พ.ศ. 2542 กลับมาอยู่บ้าน มีบุตรหญิงคนที่ 2 นางสาวเข็มจิรา วรรณธิกุล เป็นครูอัตราจ้าง โรงเรียนบ้านลังกา เป็นเวลา 1 ปี
- พ.ศ. 2543 เป็นครูอัตราจ้าง โรงเรียนบ้านโป่งนก เป็นเวลา 4 ปี
- พ.ศ. 2547 เป็นครูอัตราจ้าง โรงเรียนบ้านสันสลี เป็นเวลา 6 ปี
- พ.ศ. 2549 บุตรธิดาคนแรกเสียชีวิต
- พ.ศ. 2554 น้าไม่สบายออกมาประกอบอาชีพค้าขาย
- พ.ศ. 2553 จบปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สาขาเชียงราย ตามโครงการของความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตกับท้องถิ่น
- พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านลังกา หมู่ที่ 4 จนถึงปัจจุบัน
- กลุ่มกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน
- กลุ่มวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผา, สตรีบ้านลังกา
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
- กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มพัฒนาอาชีพ (เทียนจักสาน,โคมประทีป)
- กลุ่มพัฒนาอาชีพ
- กลุ่มเกษตรพัฒนาลังกา
ชุมชนในหมู่บ้านลังกา เป็นชาติพันธุ์ไทยวน (คนเมือง) ใช้ภาษาล้านนาเมืองเป็นภาษาพูดและเขียน ปัญหาในปัจจุบันภาษาเขียนได้มีการนำมาใช้น้อย ไม่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงสูญหายไปกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ เด็กนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ในหมู่บ้านคนรุ่นใหม่พูดภาษาถิ่นได้แต่ไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้
ปัญหายาเสพติดส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน
สำนักศิลปและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2565). หนังสือเรียนอักษรธัมม์ล้านนา สำหรับประกอบการบรรยายภาษาล้านนา. https://www.culture.cmru.ac.th/