Advance search

สุเหร่าทรายกองดิน

ชุมชนชาวมุสลิมที่มีประวัติศาสตร์เคลื่อนย้ายมาจากภาคใต้ก่อนที่จะมีการสร้างชุมชนและสร้างมัสยิดเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีอายุมาอย่างยาวนานมากกว่า 200 ปี

ซอยประชาร่วมใจ 48 ถนนประชาร่วมใจ
ทรายกองดินใต้
คลองสามวา
กรุงเทพมหานคร
มัสยิดกามาลุลอิสลาม โทร. 0-2918-9779
มะลิวัลย์ คำมานิตย์
22 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
23 พ.ค. 2024
มัสยิดกมาลุลอิสลาม
สุเหร่าทรายกองดิน

ในปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสคลองแสนแสบโดยเรือมาดยอร์ดชัยยามาทางทิศตะวันออก เมื่อเข้าเขตมัสยิดกมาลุลอิสลามเครื่องยนต์เกิดขัดข้องนายท้ายเรือบังคับเรือเข้าฝั่งให้ช่างเครื่องแก้ไข พระองค์ท่านได้ขึ้นมาเดินบนฝั่ง ประชาชนเมื่อทราบข่าวได้เดินทางมาเข้าเฝ้า และทรงปฏิสัณฐานกับประชาชน ซึ่งขณะนั้นสุเหร่ายังคงเป็นเรือนไม้หลังเล็ก ๆ และมีกองทรายกองใหญ่ เตรียมไว้สำหรับสร้างอาคารสุเหร่า พระองค์ทรงตรัสถามว่า "กองทรายเหล่านี้ มีไว้ทําไม ?" และได้รับคําตอบว่าเพื่อสร้างสุเหร่า พระองค์ทรงรับสั่งว่าจะส่งทรายมาร่วมสมทบการก่อสร้างด้วย หลังจากพระองค์ท่านลงเรือกลับจากนั้นไม่นานก็มีเจ้าหน้าที่ของพระราชวังนําทรายมามอบให้ตามที่ทรงรับสั่ง โดยมีเรือโยงกลไฟนําหินมาสิบลําและทรายสิบลํา เมื่อทหารขนขึ้นมากองไว้นานพอสมควรชาวบ้านไม่เคยเห็นกองหิน กองทรายใหญ่โตขนาดนี้ต่างพูดว่า "ทรายกองดิน" (ทรายกองอยู่บนดิน) นับแต่นั้นเป็นต้นมาชาวบ้านจึงเรียกมัสยิดนี้ว่า "สุเหร่าทรายกองดิน"


ชุมชนชาวมุสลิมที่มีประวัติศาสตร์เคลื่อนย้ายมาจากภาคใต้ก่อนที่จะมีการสร้างชุมชนและสร้างมัสยิดเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีอายุมาอย่างยาวนานมากกว่า 200 ปี

ซอยประชาร่วมใจ 48 ถนนประชาร่วมใจ
ทรายกองดินใต้
คลองสามวา
กรุงเทพมหานคร
10510
13.835001855129258
100.7721815104255
กรุงเทพมหานคร

ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีการกวาดต้อนผู้คนชาวมุสลิมให้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยมีจุดประสงค์ที่สําคัญคือต้องการเพิ่มพลเมืองและต้องการแรงงานในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งอยู่ในระยะที่เพิ่งก่อตั้งรวมทั้งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรและกองทัพในยามที่ยังมีศึกสงครามอยู่เสมอ และมีการกวาดต้อนถึง 2 ครั้ง คือ ใน พ.ศ. 2329 และ พ.ศ. 2334 กระจายอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงบริเวณที่ตั้งชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังได้ใช้แรงงานชาวมุสลิมเพื่อขุดคลองแสนแสบเพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกและการสงคราม การอพยพชาวมุสลิมมลายูจากทางใต้ด้วยเหตุผลทางการเมืองในยุคดังกล่าวทําให้เกิดชุมชนมุสลิมสืบเชื้อสายมลายูตั้งถิ่นฐานชุมชนและสร้างมัสยิดจํานวนมากในกรุงเทพมหานคร รวมถึงพื้นที่ชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามด้วย สมาชิกชุมชนได้ร่วมกันสร้างมัสยิดหรือสุเหร่าหลังแรกของท้องถิ่นเพื่อใช้ปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนาและเป็นศูนย์กลางประจําของชุมชนซึ่งโดยปกติมัสยิดจะถูกสร้างภายหลังจากมีชุมชนมุสลิมเกิดขึ้นแล้ว การตั้งชุมชนและสร้างมัสยิดเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนมีขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งเป็นตําบลทรายกองดินจากทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากกลุ่มชนรุ่นแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานหรือบุกเบิกพื้นที่ริมคลองแสนแสบที่เป็นพื้นที่ตั้งของชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามปัจจุบัน คือ กลุ่มชนมุสลิมเชื้อสายมลายู จากรัฐไทรบุรี (ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน) ซึ่งอพยพในฐานะเชลยศึกถูกกวาดต้อนมาในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยอาศัยเรือลําเลียงผู้คนที่เป็นเชลยมาอยู่บริเวณนี้

ชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามตั้งอยู่กระจายโดยรอบมัสยิดกมาลุลอิสลาม โดยมีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ ร.ร.พิทยพัฒน์ศึกษา
  • ทิศใต้ ติดกับ คลองแสนแสบ
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ซอยเจ็ดพี่น้อง
  • ทิศตะวันตก ติดกับ คลองบึงยาว

ข้อมูลสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฏร ระบุว่า แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร มีประชากรชาย 8,586 คน ประชากรหญิง  9,082 คน รวมทั้งสิ้น 17,668 คน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามมีมัสยิดเก่าแก่ที่สำคัญมีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี เป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีหน้าที่เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจทางศาสนาและเป็นพื้นที่ละหมาดในทุกวันศุกร์ของชาวมุสลิมชายที่ต้องปฏิบัติตาม โดยระยะแรกของการสร้างมัสยิดแห่งนี้เป็นเพียงอาคารเรือนไม้แห่งหนึ่งก่อนที่ในเวลาต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2450 มีการสร้างมัสยิดโดยใช้ปูนขึ้นเป็นครั้งแรกและได้รับการสนับสนุนจากในหลวงรัชกาลที่ 5 จากการเสด็จประพาสผ่านเส้นทางชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามแห่งนี้ก่อนที่ส่งวัตถุดิบทั้งทรายและหินเข้ามาสมทบในการสร้างมัสยิดหลังใหม่ ซึ่งทั้งหินและทรายที่รัชกาลที่ 5 ส่งมามีจำนวนมากจนเป็นทรายกองดินภูเขาสูง ชาวบ้านจึงนำชื่อทรายกองดินมาตั้งเป็นชื่อมัสยิดหลังนี้และกลายนเป็นชื่อชุมชนในเวลาต่อมา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

มะรอแซะ เล๊าะและ. (2556). บทบาทขององค์กรมัสยิดและอิหม่ามในการขับเคลื่อนการศึกษาอย่างบูรณาการของชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษามัสยิดกมาลุลอิสลาม แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรภิรมย์ ดัสกัมพล. (2563, กันยายน 8). ชุมชนในเครือข่ายมัสยิดกมาลุลอิสลาม กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567. สถาบันลูกโลกสีเขียว https://www.greenglobeinstitute.com/

มัสยิดกามาลุลอิสลาม โทร. 0-2918-9779