Advance search

หมู่บ้านดีลังเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในระดับตําบลที่คนในชุมชนต่างมีบรรพบุรุษที่มาจากลาวเวียงจันทร์ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและมีวัฒนธรรมเฉพาะทั้งภาษาและวิถีชีวิต
ดีลัง
พัฒนานิคม
ลพบุรี
เทศบาลตำบลดีลัง โทร. 036-436-079
มะลิวัลย์ คำมานิตย์
22 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 พ.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
23 พ.ค. 2024
บ้านดีลัง

มาจากชื่อของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ชื่อตาดี กับ ยายลัง อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นคู่แรกบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า "ดีลัง" เหตุผลอีกประการหนึ่งคือสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านในอดีตเต็มไปด้วยป่าไม้เต็งรังจึงกลายมาเป็นชื่อของหมู่บ้าน


หมู่บ้านดีลังเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในระดับตําบลที่คนในชุมชนต่างมีบรรพบุรุษที่มาจากลาวเวียงจันทร์ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและมีวัฒนธรรมเฉพาะทั้งภาษาและวิถีชีวิต
ดีลัง
พัฒนานิคม
ลพบุรี
15220
14.8517
100.9118
เทศบาลตำบลดีลัง

ชาวบ้านเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เพื่อหนีภัยสงครามครั้งกบฏเจ้าอนุวงศ์ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-3 มีเชื้อสายลาวและลาวพวน กลุ่มลาวเพิ่งตั้งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่ที่บ้านดีลังและ หมู่บ้านหนองนา แต่เดิมผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หนองปลาซิวแต่อยู่ได้ไม่นานก็เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) และโรคฝีดาดระบาดผู้คนล้มตายลงจึงพากันอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หนองขอม แต่โรคร้ายก็ยังตามมาอีกจึงได้อพยพมาอยู่ที่ดีลัง ตามตํานานเล่าว่าได้มีสามีภรรยาคู่หนึ่งมาตั้งรกรากทํามาหากินเป็นคู่แรกชื่อตาดีกับยายลัง ต่อมาก็มีผู้คนอพยพเข้ามาเรื่อย ๆ เมื่อมาอยู่ที่นี่ปรากฏว่าผู้คนหายป่วยและไม่เป็นโรคร้ายอีกเมื่อผู้คนอยู่รวมกลุ่มกันมากได้กลายเป็นกลุ่มครัวเรือนหมู่บ้าน และได้เรียกขานถิ่นที่อยู่ว่า "บ้านดีลัง" เป็นการสํานึกในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันแต่ชาวบ้านไม่ได้อยู่แต่เฉพาะที่ดีดังเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายที่ทํากินออกไปอยู่บริเวณหนองนาเพื่อสะดวกในการเดินทางจึงได้สร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ณ บริเวณนั้น

หมู่บ้านดีลังเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในระดับตําบล บริเวณที่ตั้งเป็นเนินสูงแวดล้อมไปด้วยที่ราบลุ่มที่ปลูกข้าวได้มีธารน้ำสายเล็ก ๆ ซึ่งไหลมาจากเขาสลักได เขาพระยาโจร เขารัง และเขาพระยาเดินธงทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ธารน้ำเหล่านี้จะไหลลงมารวมกับแม่น้ำป่าสักลงมาหล่อเลี้ยงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตําบลโคกสลุง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตําบลช่องสาริกาโดยมีห้วยส้มเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตําบลพัฒนา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตําบลวังเพลิง อําเภอโคกสําโรง และตําบลโคกตูม อําเภอเมือง

ภายหลังปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ได้มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเวียงจันทน์ลงมาไว้ที่เมืองลพบุรีเพื่อเอามาแทนประชาชนที่ถูกต้อนไปจนเกือบจะเป็นเมืองร้างเมื่อครั้งเสียกรุงให้แก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ชาวเมืองลพบุรีที่อาศัยอยู่ในเขตต่าง ๆ มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้มีพ่อค้าชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานและคนในภาคกลางที่มีอาชีพรับราชการอพยพเข้ามาอยู่ในลพบุรีในเวลาต่อ มาอีกด้วย แต่ละกลุ่มก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีเฉพาะอย่างสามารถปรับตัวเข้าหากันได้อย่างปกติสุข

ไทเบิ้ง

คนในชุมชนจะประกอบอาชีพทํานา-ท่าไร่ โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นอายุ 40 ปีขึ้นไปจะทํานาตลอดชีวิต ส่วนเด็กรุ่นใหม่จะหันไปทํางานในโรงงานแทนเนื่องจากเห็นพ่อ-แม่ทํานาลำบากและคนที่ทํางานด้วยควายจะมีสุขภาพแข็งแรง ส่วนคนรุ่นปัจจุบันที่ทํานาด้วยควายเหล็กสุขภาพแย่ลงทุกวัน จากการเป็นคนล่ำสัน แข็งแรง จะค่อย ๆ ผอมลง เนื่องจากเครื่องจักรเป็นเหล็กจึงหนักแรงกว่าทํานาด้วยควาย ส่วนคนรุ่นใหม่ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป จะไม่นิยมทำนาทั้งหญิงและชาย นิยมทำงานในโรงงาน คนรุ่นใหม่บอกว่าทํานาพาให้ยากจน ส่วนการทํางานในโรงงานทําแล้วได้เงินเลย อีกอย่างหนึ่งทํานานั้นลําบากและร้อนทําแล้วไม่ได้เงิน สําหรับผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวจะไปทํางานในกรุงเทพหรือจังหวัดอื่น ๆ ที่พวกพ้องชักชวนกันไป แต่เมื่อมีโรงงานเข้ามา จึงหางานก่อสร้างทํา จากการทํางานรับจ้างก่อสร้างนี้จึงทําให้สร้างบ้านได้เอง โดยไม่ต้องจ้าง

ชาวบ้านดีลัง ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เฒ่านิยมแต่งกายชุดท้องถิ่น และทำขนมโบราณสามอย่างไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งขนมมงคลโบราณนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการทำเลี้ยงในวันทำขวัญข้าว หรือวันที่เชิญเจ้าแม่โพสพเรียก เข้ายุ้งข้าว ได้แก่

ข้าวโปง ขนมโบราณที่ใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำแล้วเอาไปนึ่งให้สุกจากนั้นรอพักให้เย็นก็เอาไปตำกับครกไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นครกตำข้าวสมัยก่อนมีสากไม้ด้ามยาว เป็นการร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน เมื่อแป้งถูกตีถูกตำถูกนวดจนเป็นเนื้อเดียวกันก็จะนำมาปั้นและใส่ไส้ที่ทำจากถั่วลิสงคั่วบดละเอียดผสมกับงาดำคั่วน้ำตาลปี๊บ 

ขนมปิ้งหรือขนมดาดกระทะ เป็นขนมทานเล่นที่ถูกคิดค้นมาจากอดีตเพื่อให้ลูก ๆ เอาไว้กินเล่น โดยทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ผสมน้ำและใส่หัวกะทิแล้วใส่เนื้อมะพร้าวทึนทึก น้ำตาล และชุบไข่ ก่อนลงไปปิ้งในกระทะให้เกรียม ใช้เตาถ่านที่เพิ่มความหอมของควันไฟ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สถานที่ที่สำคัญของชุมชนคือ วัดพนมวัน เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่เชิงเขามีป่าไม้ทั่วไปและบ้านเรือนของประชาชน ห่างออกไปเป็นทุ่งนาแนวป่าไม้นานาพันธุ์ บริเวณที่ตั้งวัดมีการพบอิฐกระเบื้อง, เครื่องปั้นดินเผา ปรักหักพังอยู่เป็นจำนวนมาก และมีเศษโลหะ แร่ เหล็ก พร้อมรูปปั้นแกะสลักเนื้อหิน ศิลาแรงเป็นหลักฐาน ตลอดจนใบเสมาเก่า เนื้อศิลาแลงแกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์แผลงศรพร้อมเครื่องศิวลึงของศาสนาพราหมณ์ถือเป็นหลักฐานของความเป็นวัดโบราณมาก่อนอย่างน้อยคงสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น 

กลุ่มชนในหมู่บ้านดีลังมีบรรพบุรุษเป็นผู้ที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ภาษาที่พูดจัดอยู่ในตระกูลไทย-ลาว หรือ ไทย-โคราช ต่อมาเมื่อมีกลุ่มอื่น ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ด้วยจนกลายเป็นกลุ่มใหญ่จึงจําเป็นจะต้องปรับตัวให้เข้ากับคนรอบข้างด้วยการสร้างภาษาเฉพาะขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง คือ คําพูดที่มักลงท้ายด้วยคําว่า "เบิ้ง" เช่นถามว่าไปไหนมา ตอบว่า "ไปเบิ้ง" หมายความว่าไปใกล้ ๆ แถวนี้ นอกจากนี้ยังมีคําลงท้ายว่า "เด้อ" "เน้อ" "เอ้อ" 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชนิกา วัฒนะคีรี. (2537). จากสังคมชาวนาสู่สังคมอุตสาหกรรม : การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนไทยเบิ้ง บ้านดีลัง จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์ข้อมูลทางวัฒนธรรม. (2565). วัดพนมวัน. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2567. จาก http://www.m-culture.in.th/

Phawanthaksa (นามแฝง). (2562). ชมวัฒนธรรมไทยเบิ้ง แล้วชิมเมนูถิ่นสุดเรียบง่าย แต่ได้สุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567.  จาก https://www.smartsme.co.th/

เทศบาลตำบลดีลัง โทร. 036-436-079