หมู่บ้านโพธิ์ศรี คนดีศรีสุพรรณฯ -ยึดมั่นเศรษญกิจพอเพียง สำเนียงไทยพวน ทำสวนไร่นา ภูมิปัญญาจักสาน สืบตำนานประเพณี สามัคคีเป็นเลิศ
ตาสีผู้ที่มีที่ดิน ณ บริเวณนี้จำนวนมากจึงได้ยกที่ดินส่วนหนึ่งของตนให้สร้างวัดแล้วจึงได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดโพธิ์ศรี” ซึ่งได้นําชื่อต้นโพธิ์ใหญ่และชื่อตาสีมารวมกัน และเมื่อมีชาวพวนอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมากจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของวัดว่า “หมู่บ้านโพธิ์ศรี”
หมู่บ้านโพธิ์ศรี คนดีศรีสุพรรณฯ -ยึดมั่นเศรษญกิจพอเพียง สำเนียงไทยพวน ทำสวนไร่นา ภูมิปัญญาจักสาน สืบตำนานประเพณี สามัคคีเป็นเลิศ
หมู่บ้านโพธิ์ศรีจัดตั้งเป็นหมู่บ้านมาประมาณ 200 กว่าปีแล้ว เป็นกลุ่มชาวไทยพวนที่อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง เมืองเชียงขวาง ประเทศลาว เมื่อประมาณสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์จึงได้กวาดต้อนชาวลาวพวนมาด้วยจํานวนมากและได้แยกย้ายชาวลาวพวนเหล่านั้นไปอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศประมาณ 19 จังหวัด ชาวไทยพวนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรีจะอพยพมาจากบ้านสนามแจง จังหวัดลพบุรี และได้มาอาศัยอยู่ที่สวนของตาสีซึ่งเป็นผู้ที่มีที่ดิน ณ บริเวณนี้จํานวนมากจึงได้ยกที่ดินส่วนหนึ่งของตนให้สร้างวัดแล้วจึงได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดโพธิ์ศรี” ซึ่งได้นําชื่อต้นโพธิ์ใหญ่และชื่อตาสีมารวมกันและเมื่อมีชาวพวนอพยพเข้ามาอยู่จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของวัดว่า “หมู่บ้านโพธิ์ศรี”
ในอดีตชุมชนบ้านโพธิ์ศรียังไม่ได้มีการแบ่งแยกหมู่บ้าน กระทั่ง พ.ศ. 2535 มีการแบ่งแยกหมู่บ้าน จากเดิมอำเภอบางปลาม้ามีจำนวน 11 หมู่บ้าน โดยหมู่ที่ 3 มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ทำใตห้งบประมาณในการบริหารจัดการภายในชุมชนไม่เพียงพอจึงได้ดำเนินการแบ่งแยกหมู่บ้าน เป็นหมู่ที่ 12 ขึ้นใหม่ แต่ชุมชนยังคงให้ใช้ชื่อหมู่บ้านเดิมอยู่ คือ บ้านโพธิ์ศรี ทั้งนี้การบริหารงานไม่ได้แยกออกจากกัน ผู้ใหญ่บ้านทั้งสองชุมชนมีการบริหารงานร่วมกัน พัฒนา แก้ไขปัญหา
หมู่ที่ 3 มี 164 ครัวเรือน ประกอบไปด้วยประชากรชาย 289 คน และประชากรหญิง 293 คน รวมทั้งสิ้น 582 คน
หมู่ที่ 12 มี 168 ครัวเรือน ประกอบไปด้วยประชากรชาย 361 คน และประชากรหญิง 357 คน รวมทั้งสิ้น 718 คน
บ้านโพธิ์ศรี เป็นหมู่บ้านโอทอปเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีการพัฒนาด้านการค้นหาเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นทั้งในด้านสินค้าวัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรมของท้องถิ่น สินค้าและผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน คือ การจักสานงานเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางฝีมือที่สืบทอดกันมาในแต่ละครัวเรือนและได้มีการรวมกลุ่มของสมาชิกในหมู่บ้านจัดตั้งเป็นกลุ่มจักสานหวาย-ไม้ไผ่ บ้านโพธิ์ศรี ลงทะเบียนเป็นกลุ่ม OTOP ของอำเภอ จังหวัด และเข้าคัดสรรผลิตภัณฑ์เด่นระดับประเทศ ในระดับ 2 ดาว ประเภทของใช้ และถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (QuadrantB) โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พาณิชย์จังหวัดฯ, อุตสาหกรรมจังหวัด, อบต. ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ การจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมาฝึกสอน เช่น การจักสานด้วยเส้นพลาสติกแทนเส้นหวายและไม้ไผ่ การทำกระเป๋าเชือกถักเพื่อให้เป็นการเพิ่มเติมต่อยอดตัวผลิตภัณฑ์สามารถวางจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์และของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวของกลุ่มให้มีรูปแบบที่หลากหลายให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มจักสานประเภทต่าง ๆ ภายในอำเภอบางปลาม้า เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และเรียนรู้รูปแบบลวดลายร่วมกันตลอดจนนำผลิตภัณฑ์ไปวางจำหน่ายด้วยกัน
ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ทำนาเป็นอาชีพหลักแต่ก็มีอาชีพเสริมด้วย เช่น จักสานจากไผ่และหวายตะแกรงตากปลา กระบุ้งสำหรับหว่านข้าวขนมทองม้วนจากไรซ์เบอร์รี่ เมื่อก่อนทำเพื่อใช้สอยในครัวเรือนแต่ต่อมาเห็นว่าขายได้ก็รวมกลุ่มกันทำเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้หลังว่างเว้นจากการทำนาหรือใช้เวลาว่างในช่วงไปออกนา หลังจากได้พัฒนาการจักสานของในกลุ่มก็มีการไปอบรมการใส่ลายเพิ่มในผลิตภัณฑ์ซึ่งลายแรกที่ทำคือลายดอกพิกุล
สุภาพร ภู่ไพบูลย์. (2558). การจัดการชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโพธิ์ศรี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรัตน์ อัตตะ. (2557). จักสานหวาย-ไม้ไผ่ 'บ้านโพธิ์ศรี' ของดีสุพรรณ ฝีมือชาวไทยพวน. คมชัดลึก. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2567. จาก https://www.komchadluek.net/