ประชากรในชุมชนมาจากหลายพื้นที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นชาติพันธุ์เดียวกันและไม่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เหมือนกับชุมชนอื่น ๆ ชาวบ้านจึงมีทั้งคนไทย คนไทยเชื้อสายจีน และคนไทยเชื้อสายลาว การตั้งบ้านเรือนจึงตั้งตามกลุ่มที่อพยพเข้ามาโดยมีการตั้งชื่อเป็นคุ้มต่าง ๆ อยู่ด้วยกันอย่างสันติ
ชุมชนเริ่มใหญ่ขึ้นและไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่เรียกตนว่าทัพขอนแก่น ดังนั้นชุมชนนี้จึงเรียกตนรวมกันว่า "พลาญข่อย" ซึ่งคําว่า "พลาญข่อย" มีที่มาจากลักษณะสภาพของพื้นที่ชุมชนที่มีลักษณะบางส่วนเป็นลานกว้างและเป็นเหวลึก คําว่า "พลาญ" มีความหมายเช่นเดียวกับคํา ว่า "ลาน" ส่วน "ข่อย" มาจากการเตือนให้ลูกหลานเดินค่อย ๆ เบา ๆ ให้เดินบนลานอย่างระมัดระวังเพราะอาจจะลื่นตกเหวลงไป
ประชากรในชุมชนมาจากหลายพื้นที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นชาติพันธุ์เดียวกันและไม่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เหมือนกับชุมชนอื่น ๆ ชาวบ้านจึงมีทั้งคนไทย คนไทยเชื้อสายจีน และคนไทยเชื้อสายลาว การตั้งบ้านเรือนจึงตั้งตามกลุ่มที่อพยพเข้ามาโดยมีการตั้งชื่อเป็นคุ้มต่าง ๆ อยู่ด้วยกันอย่างสันติ
ก่อนปี พ.ศ. 2515 ชุมชนบ้านแหลมทองเป็นที่รกร้างและเป็นป่าเสื่อมโทรมเนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นป่าหญ้าคามีไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย รวมถึงพืชตระกูลหนา มีสัตว์อาศัยอยู่ เช่น ช้าง เก้ง กวาง หมูป่า ไก่ป่า เป็นต้น ชาวบ้านที่มาในช่วงแรกหรือช่วงบุกเบิกนั้นจะเข้ามาหาปลาจากแหล่งน้ำ ในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการเข้ามาจับจองพื้นที่และเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร พวกที่มาพวกแรกชาวบ้านเรียกว่าพวก "ทัพขอนแก่น" คือกลุ่มคนที่มีพื้นเพอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นและอพยพย้ายเข้ามาจับจองพื้นที่เป็นกลุ่มแรกและเรียกชุมชนนี้ในช่วงนั้นว่า "ทัพขอนแก่น" กลุ่มสองคือกลุ่มคนจากจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มสามมาจากจังหวัดบุรีรัมย์ และกลุ่มอื่น ๆ จากจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ยโสธร รวมถึงจังหวัดอุบลราชธานี
หลังจากนั้นได้มีการย้ายเข้ามาจับจองพื้นที่มากขึ้นตามลําดับโดยใช้การบอกกันจากปากต่อปาก บางรายก็มาทําการขอซื้อต่อจากผู้ที่มาจับจองพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว ในระยะแรกนี้คนที่อพยพเข้ามาจะนั่งเรือข้ามฟากมาโดยอาศัยเรือหางยาวและเรือรับจ้าง เนื่องจากชุมชนยังไม่มีถนนจากการที่เป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นและไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่เรียกตนว่า ทัพขอนแก่น ดังนั้นชุมชนนี้จึงเรียกตนรวมกันว่า "พลาญข่อย" อย่างไรก็ตามในช่วงนั้นพื้นที่พลาญข่อยนี้เป็นเขตคอมมิวนิสต์ หน่วยงานของทางราชการจึงต้องเข้ามาดูแล โดยตํารวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เป็นหน่วยงานแรกที่เข้ามาบุกเบิกรวมถึงหน่วยงานอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) และกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) ที่เข้ามาทําการสํารวจดูแลและช่วยเหลือ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ชุมชนถูกกลืนไปกับลัทธิคอมมิวนิสต์ เนื่องจากสภาพพื้นที่ยังถูกปกคลุมไปด้วยป่าเป็นส่วนใหญ่และเมื่อได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นมาอย่างเป็นทางการจึงได้ตั้งชื่อขึ้นมาใหม่อีกครั้งว่า "ชุมชนบ้านแหลมทอง" ในระยะนั้นบ้านแหลมทองจัดเป็นหมู่บ้านที่ 15 ตําบลโนนกลาง และขึ้นตรงต่ออําเภอพิบูลมังสาหาร เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่ได้มีอําเภอสิรินธรและได้ทําการย้ายมาอยู่กับอําเภอสิรินธรเมื่อปี พ.ศ. 2535
ชุมชนบ้านแหลมทองในอดีตพื้นที่บริเวณโนนก่ออยู่ภายใต้การกํากับดูแลของอําเภอพิบูลมังสาหาร แต่เมื่อปี พ.ศ. 2529 สภาพหมู่บ้านต่าง ๆ ได้ถูกน้ำท่วมจากเขื่อนสิรินธร ประกอบกับอําเภอสิรินธรได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาเป็นอําเภอใหม่พื้นที่บริเวณโนนก่อจึงได้ถูกโอนย้ายมาอยู่กับอําเภอสิรินธรแทน และยกฐานะขึ้นเป็นตําบล เมื่อ พ.ศ. 2529 โดยมีนายพร ทองแสง เป็นกํานันคนแรก สภาพทั่วไปของตําบลเป็นพื้นที่ราบสูงมีภูเขาปิดกั้นตามแนวชายแดนสาธารณะประชาธิปไตยประชาชนลาว
อาณาเขตตําบล
- ทิศเหนือ ติดต่อ ต.ช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี
- ทิศใต้ ติดต่อ ต.คอแลน อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- ทิศตะวันตก ติดต่อ ต.โนนกลาง อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
ปัจจุบันทั้งชุมชนแหลมทองมีจํานวนประชากรทั้งสิ้น 652 คนเป็นชาย 322 คน เป็นหญิง 330 คน
อาชีพที่สําคัญภายในชุมชนบ้านแหลมทอง ได้แก่ การทําไร่ปอ ไร่มันสําปะหลัง ไร่ผลไม้ ไร่นา สวนผสม การหาปลาในเขื่อน รับจ้างทั่วไป การทํางานกับกลุ่มแปรรูปดินลูกรัง กลุ่มแปรรูปผลไม้พื้นเมือง กลุ่มพลังงานธรรมชาติ
ภาษาอีสาน
วิษณุ พลอยศรี. (2522). การบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศึกษากรณีศูนย์การเรียนชุมชนพลาญข่อย ต.โนนก่อ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.