Advance search

พื้นที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในละแวกบางลำพู ถนนข้าวสาร เป็นถนนติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีทั้งร้านอาหาร โรงแรม โฮสเทล บริษัททัวร์ ร้านกาแฟ ร้านของหวาน รวมถึงมุมถ่ายรูป และสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ

ชนะสงคราม
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตพระนคร โทร. 0-2281-8125, 0-2281-5370
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
25 พ.ค. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
26 พ.ค. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
27 พ.ค. 2024
ย่านท่าพระอาทิตย์

ชื่อ “พระอาทิตย์” ได้มาจากชื่อป้อมพระอาทิตย์ซึ่งเป็นป้อมปราการ 1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี


พื้นที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในละแวกบางลำพู ถนนข้าวสาร เป็นถนนติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีทั้งร้านอาหาร โรงแรม โฮสเทล บริษัททัวร์ ร้านกาแฟ ร้านของหวาน รวมถึงมุมถ่ายรูป และสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ

ชนะสงคราม
พระนคร
กรุงเทพมหานคร
10200
13.762275543714777
100.49316159914699
กรุงเทพมหานคร

ชื่อ “พระอาทิตย์” ได้มาจากชื่อป้อมพระอาทิตย์ซึ่งเป็นป้อมปราการ 1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ป้อมพระอาทิตย์ตั้งอยู่ตรงบริเวณที่เป็นรากฐานของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าปัจจุบันถูกรื้อไปแล้ว พื้นที่ย่านพระอาทิตย์เป็นชุมชนเก่าแก่ที่เติบโตมาพร้อมกับการสร้างพระนคร ถนนพระอาทิตย์วางตัวขนานกับแม่นํ้าเจ้าพระยา ในอดีตมีวังเจ้านาย บ้านเรือนข้าราชบริพาร และราษฎรเรียงรายอยู่ทั้งสองฝั่งถนน ความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนพระอาทิตย์นั้นผูกพันอย่างต่อเนื่องกับประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ ย้อนไปในอดีตสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ย่านพระอาทิตย์ที่ต่อเนื่องกับย่านบางลำพูเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ มีบันทึกว่า เมื่อ พ.ศ. 2412 เกิดเพลิงไหม้บางลำพู สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ไฟลุกลามจากตลาดบางลำพูจนถึงหน้าวัดสังเวชวิศยาราม (อยู่ข้ามคลองบางลำพูเยื้องกับป้อมพระสุเมรุ) และลามถึงริมน้ำเจ้าพระยาไฟจึงหยุด ซึ่งก็แปลว่าบริเวณย่านพระอาทิตย์บางส่วนอาจจะโดนไฟไหม้ใหญ่ครั้งนั้นด้วย

ในราว พ.ศ. 2450 สมัยปลายรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงพระนคร และมีพระราชดำริในการพัฒนาพระนครให้เจริญทัดเทียมอารยะประเทศ โปรดเกล้าฯ ให้มีการตัดถนน และการก่อสร้างอาคารตึกแถวเลียบกำแพงเมืองทางด้านเหนือ มีลักษณะเป็นถนนสายเล็ก ๆ หลายเส้น หนึ่งในนั้นคือ ถนนพระอาทิตย์ เป็นเครือข่ายการคมนาคมที่เชื่อมถึงกันหมด และไปเชื่อมกับถนนราชดำเนินที่สร้างก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อมีถนนความเจริญก็ตามมา ย่านพระอาทิตย์และบางลำพูเจริญขึ้นเป็นลำดับ ตลาดบางลำพูกลายเป็นศูนย์กลางค้าที่สำคัญ ส่วนถนนพระอาทิตย์นอกจากมีวังเจ้านาย บ้านเรือนข้าราชบริพารและราษฎรแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 6 ยังมีการสร้างตึกแถวเป็นแหล่งค้าขายวางตัวเรียงยาวไปตามถนนพระอาทิตย์ด้วย ปัจจุบันอาคารเก่าแก่เหล่านี้ยังคงพบเห็นได้อยู่ทั่วไป แม้จะถูกปรับเปลี่ยนการใช้งานไปตามกาลเวลา แต่ยังคงลักษณะสถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ อาคารที่อยู่ริมแม่น้ำมักเป็นตึกเดี่ยวที่ถูกปรับใช้เป็นออฟฟิศ แทรกด้วยอาคารใหม่ๆ บ้างก็เป็นโรงแรมหรือร้านอาหาร ส่วนฝั่งตรงข้ามถนนเป็นตึกแถวเก่าแก่ซึ่งส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนเป็นร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวต่างชาติที่หนีความพลุกพล่านมาจากย่านถนนข่าวสาร และชาวไทยที่มาเดินเที่ยวหาของอร่อย รวมทั้งหนุ่มสาวที่นิยมนัดกันมาสังสรรค์ในยามค่ำคืน

ย่านพระอาทิตย์อยู่ในพื้นที่บริเวณแขวงชนะสงคราม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขตพระนคร ถนนพระอาทิตย์มีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ท่าพระอาทิตย์อยู่ใกล้เคียงกับบางลำพู โดยมีพิพิธภัณฑ์บางลำพูกับป้อมมหากาฬ ซึ่งเป็นจุดหมายสำคัญคั่นระหว่างสองพื้นที่จัดแสดงทั้งทรัพย์สินมีค่า สะท้อนวัฒนธรรม และความเป็นมาของพื้นที่ และริมแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีทางเดินเลียบแม่น้ำไป ตั้งแต่สวนสันติชัยปราการไปจนถึงใต้สะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านบริเวณท่าเรือพระอาทิตย์ที่มีคาเฟ่ริมน้ำ ซึ่งบริเวณริมน้ำนี้จะมองเห็นทั้งสะพานพระรามแปด และสะพานพระปิ่นเกล้า ส่วนทางถนนพระอาทิตย์เส้นหลัก เมื่อเดินตรงไปทางสะพานพระปิ่นเกล้าเรื่อยไป จนสุดถนนพระอาทิตย์ก็จะเป็นทางเข้าสู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยชุมชนตั้งอยู่เลียบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตและพื้นที่ติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด และแขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและครองรอบกรุงเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ แขวงวัดกัลป์ยาณ์ เขตธนบุรี มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แขวงตลาดยอด เขตพระนคร มีถนนสามเสน และถนนจักรพงษ์เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต

ในบริเวณพื้นที่ย่านท่าพระอาทิตย์มีสวนสาธารณะป้อมมหากาฬ ซึ่งเป็นชุมชนชานกำแพงพระนครที่เหลืออยู่แห่งสุดท้ายของเกาะรัตนโกสินทร์ที่มีการรื้อถอนชุมชนออกเพื่อปรับเป็นสวนสาธารณะตามวัตถุประสงค์ของกรุงเทพมหานคร

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ย่านท่าพระอาทิตย์เป็นอีกย่านยอดนิยมหนึ่งในละแวกบางลำพู ถนนข้าวสาร มีทั้ง โรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ร้านกาแฟ ร้านขนมของหวานไว้นั่งผ่อนคลายอารมณ์ รวมถึงมุมถ่ายรูปสำหรับนักท่องเที่ยว และสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เป็นพื้นที่ในอาณาบริเวณย่านเศรษฐกิจที่มีความสำคัญพื้นที่หนึ่งของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นพื้นที่การค้าขายที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต ผู้คนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้า โดยเป็นอาชีพที่สร้างรายได้และสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต และด้วยเป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย คนในพื้นที่ ละแวกใกล้เคียง รวมไปถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ทำให้ประชาชนในพื้นที่บางกลุ่มมีอาชีพด้านการบริการประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเจ้าของกิจการที่พัก เป็นที่ตั้งของโรงแรม โฮสเทล บริษัททัวร์ ซึ่งมีความหลากหลายในพื้นที่ชุมชน ย่านท่าพระอาทิตย์จึงเป็นย่านที่มีผู้คนประกอบอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างครอบคลุม และเสริมสร้างเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม

ย่านท่าพระอาทิตย์มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ ตึกแถวบริเวณถนนพระอาทิตย์เป็นตึก 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องว่าวมีขอบสันหลังคา อาคารชั้นล่างเปลี่ยนจากสภาพเดิมข้างหน้ายังคงเป็นบานประตูไม้แบบบานเฟี้ยม ชั้นบนมีการเปลี่ยนแปลง ตึก 1 คูหา มีบานหน้าต่าง 2 ช่อง เป็นบานไม้แบบลูกฟักกระดานดุน ช่องแสงเหนือขอบบนของหน้าต่างบานเกล็ดไม้ผนังชั้นบนเรียบไม่มีเสาฝาผนัง ส่วนชั้นล่างมีชายคาปูนเป็นกันสาดคลุมทางเท้ายาวไปตลอดแนวอาคาร

ป้อมมหากาฬ ตั้งอยู่บริเวณริมคลองรอบกรุง ใกล้เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยมีแนวกำแพงเมืองต่อไปเป็นแนวตามถนนมหาไชย เป็นป้อมที่ใช้รักษาพระนครสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ส่วนกลางของกำแพงเมืองสร้างขึ้นพร้อมกับอีก 14 ป้อม แต่ไม่ปรากฏมีวังของเจ้านายอยู่บริเวณริมป้อม เข้าใจว่าคงจะอยู่ในความดูแลของวังอื่นอยู่แล้ว

ป้อมมหากาฬเป็นป้อมขนาดใหญ่ทรงแปดเหลี่ยม วัดจากฐานรากชั้นนอกด้านทิศเหนือจรดฐานด้านทิศ ใต้กว้าง 38 เมตร ความสูงจากพื้นดินถึงปลายใบเสมา 4.90 เมตร และจากพื้นดินถึงหลังคาป้อม 15 เมตร โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน รากฐานอยู่ใต้ระดับผิวดิน ลักษณะเป็นป้อม 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้นสู่ชั้นที่ 1 และ 2 กำแพงป้อมเป็นแบบใบเสมาเหลี่ยมขนาดใหญ่ทั้งหมด ยกเว้นกำแพงปีกกาที่ต่อออกมาจากกำแพงป้อมชั้นที่ 2 มีลักษณะใบเสมาปลายแหลมเหมือนกำแพงเมือง ตัวป้อมชั้นบนสุดมีลักษณะเป็นหอรูปแปดเหลี่ยม มีประตูทางเข้า 1 ประตู หลังคาโครงไม้มุงกระเบื้องทรงคล้ายฝาชีหรือใบบัว คว่ำ 2 ชั้น ที่ป้อมชั้นล่างมีปืนใหญ่ตั้งประจำช่องเสมาเป็นจำนวน 6 กระบอก กำแพงเมืองที่ต่อจากป้อมมหากาฬไปตามแนวถนนมหาไชยนั้น มีลักษณะเป็นกำแพงมีเชิงเทิน ใบเสมาชนิดปลายแหลม ยาว 180 เมตร ถูกตัดขาดเป็นช่วงๆรวม 4 ช่วง กำแพงช่วงยาวมีช่องประตูรูปโค้งแบบประตูช่องกุดใต้เชิงเทิน 3 ประตู สองข้างช่องประตูเป็นบันไดขึ้นสู่ชานบนกำแพง ในพุทธศักราช 2524 กรมศิลปากรได้บูรณะป้อมและกำแพงเมือง เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี และได้ก่อคอนกรีตแนวเชิงเทินเชื่อมช่วงกำแพงที่ขาดเข้าด้วยกันตามแบบเดิม

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนป้อมมหากาฬพร้อมด้วยกำแพงเมืองเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 65 วันที่ 22 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492

ภาษาพูด : ภาษาไทยกลาง

ภาษาเขียน : ภาษาไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

แพรรพี ปาทาน. (2565). องค์ประกอบย่านเก่าในเมืองที่เหมาะแก่การเดิน เปรียบเทียบ กรณีศึกษาย่านท่ามหาราช ย่านท่าพระจันทร์ ย่านท่าพระอาทิตย์. การผังเมืองบัณฑิต สาขาวิชาผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. (2558). ป้อมมหากาฬและกำแพงเมือง. ใน หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2567, จาก http://www.resource.lib.su.ac.th

ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. (2558). ตึกแถวถนนพระอาทิตย์. ใน หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2567, จาก http://www.resource.lib.su.ac.th/

BKKEAT. (2561). เข้าท่าทริป : กิน เที่ยว ชิลล์ ได้ตลอดวันยันค่ำที่ ท่าพระอาทิตย์’. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.bkkmenu.com/

สำนักงานเขตพระนคร โทร. 0-2281-8125, 0-2281-5370