Advance search

เป็นชุมชนลิเกที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

หนองไผ่ล้อม
เมืองนครราชสีมา
นครราชสีมา
ทน.นครราชสีมา โทร. 0-4423-4600
รัฐนันท์ เผือกหอม
30 ก.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
31 ก.ค. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
31 พ.ค. 2024
มุขมนตรี

ไม่มีที่มาบอกอย่างชัดเจน คาดว่ามาจากชื่อถนนมุขมนตรีที่ชุมชนตั้งอยู่


เป็นชุมชนลิเกที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

หนองไผ่ล้อม
เมืองนครราชสีมา
นครราชสีมา
30000
14.972628
102.073842
เทศบาลเมืองเทศบาลนครราชสีมา

ในอดีตเป็นชุมชนดั้งเดิมเรียกว่าบ้านสวายเรียงประชาชนประกอบอาชีพทำสวนหมาก สวนพลู สวนมะพร้าว สวนมะปราง ต่อมาทางเทศบาลได้ขยายพื้นที่เข้ามาครอบคลุมชุมชนแห่งนี้ ประชาชนจึงเลิกอาชีพทำสวน หันมาประกอบอาชีพอื่นแทน และความเจริญได้หลั่งไหลเข้ามาบริเวณนี้ จึงมีการสร้างที่พักอาศัยมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2543 เทศบาลได้เข้ามาสำรวจและได้ทำการจัดตั้งชุมชนมุขมนตรีขึ้นมา ต่อมาชุมชนนี้ได้กลายมาเป็นชุมชนลิเก เมื่อปี พ.ศ. 2485 เนื่องจากจากแม่เสงี่ยม กับพ่อเต็ก เสือสง่า (ครูเต็ก) เป็นพระเอกลิเกมีชื่อเสียง เดินทางมาจากกรุงเทพฯ หลังจากถูกกระแสนโยบายตั้งแต่รัฐบาลสมัยจอมพล ป. ไม่ยอมรับการแสดงลิเก จึงได้อพยพมาตั้งรกรากในพื้นที่บริเวณชุมชนนี้ โดยเลือกใกล้สถานีรถไฟเพื่อสะดวกต่อการคมนาคม และการออกแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ นับตั้งแต่นั้นจึงทำให้ลิเกโคราชเป็นที่นิยมแพร่หลายกว้างขวางมาก และกำเนิดมีย่านชุมชนลิเกอยู่แถวหัวรถไฟ-สวายเรียง

ชุมชนมุขมนตรีเป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานของประชากรที่เข้ามาอาศัยอยู่ จึงทำให้มีอาคารบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งในบริเวณยังมีสถานีรถไฟโคราชจึงทำให้เป็นเส้นทางผ่านและเส้นทางสัญจรของผู้คน

ชุมชนมุขมนตรีตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลบ้านใหม่ เทศบาลตำบลปรุใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจะบก องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย์ และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองนครราชสีมา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลปรุใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจะบก เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม และเทศบาลตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมืองนครราชสีมา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลบ้านใหม่ และเทศบาลตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา

ประชากรในชุมชนไม่สามารถระบุกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างชัดเจนเนื่องจาก ชุมชนมุขมนตรีเป็นชุมชนที่มีชาวลิเกอพยมมาตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ของคนเชื้อสายมอญ เชื้อสายเขมร 

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนักแสดงลิเก เป็นลักษณะของการตั้งสำนักงานลิเก บริเวณริมถนนมุขมนตรีตั้งแต่บริเวณวัดสมอรายจนถึงวัดหนองจะบก และบางส่วนก็อยู่ในซอยสวายเรียง และประชากรบางส่วนประกอบอาชีพค้าขายเป็นอาชีพรองลงมาส่วนใหญ่มีกิจกรรมการค้าบริเวณริมถนนมุขมนตรีและพื้นที่ ตลาดสวายเรียงและตลาดหัวรถไฟ และประชากรบางส่วนประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น อาชีพรับจ้างทั่วไป อาชีพรับราชการ และพนักงานบริษัท

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชุมชนมุขมนตรีนั้นมีผู้มีภูมิปัญญาชาวบ้านอยู่จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากแล้ว

ด้านเกษตรกรรม : นายปัญญา ไชยเผือก มีความชำนาญในการเลี้ยงปลากัดสวยงาม, นายสมาน ทิมแก้ว มีความชำนาญในการเลี้ยงปลากัดสวยงาม

ด้านอุตสาหกรรม : นายสวชัย ธนกิจมานะชัย มีความชำนาญในการทำวงกบประตูและหน้าต่าง, นางหรรษา เพ็ชรประยูร มีความชำนาญในการทำพวงมาลัย ดอกไม้ต่าง ๆ , นางวรรณา เนียมพิมาย มีความชำนาญในการตัดเย็บเสื้อผ้า

ด้านการแพทย์แผนไทย : นางทองแม้น บัวสำโรง มีความชำนาญในการนวดจับเส้นผ่อนคลาย

ด้านศิลปกรรม : นายสุรศักดิ์ ปิ่นสุวรรณแสง มีความชำนาญในการแสดงลิเกเป็นการอนุรักษ์ลิเก, นายวันเฉลิม คล่องแคล่ง มีความชำนาญในการแสดงลิเก ลำตัด, นายเสน่ห์ ยอดนิยม มีความชำนาญในการละเล่นลิเกพื้นบ้าน

ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี : พระครูวิริย กิจจะรัศมี (เจ้าอาวาสวัดหนองจะบก) ชำนาญในการสอนและเกี่ยวกับธรรมะ, พระครูสันติ ธรรมประภัศร (เจ้าอาวาสวัดใหม่อัมพวัน ชำนาญด้านพระธรรมถูก เผยแพร่ธรรมะ , พระครูอธิการซ้อย สปณโญ (เจ้าอาวาสวัดโครกพรม ชำนาญด้านพระธรรมฝึกการเผยแผร่ธรรมะ

ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยอีสานในการสื่อสาร

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปราโมทย์ เติมทรัพย์. (2549). การอนุรักษ์ชุมชนลิเก กรณีศึกษาชุมชนสุระวิชัยและพื้นที่ต่อเนื่องจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การออกแบบชุมชนเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัฐการณ์ โลสันเทียะ. (2544). การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนมุขมนตรี. ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ทน.นครราชสีมา โทร. 0-4423-4600