ชุมชนริมน้ำโรคี่ หนึ่งในกลุ่มบ้านสมาชิกวิสาหกิจกาแฟไล่โว่ วิสาหกิจจาก 5 กลุ่มบ้านที่อยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก
ชุมชนริมน้ำโรคี่ หนึ่งในกลุ่มบ้านสมาชิกวิสาหกิจกาแฟไล่โว่ วิสาหกิจจาก 5 กลุ่มบ้านที่อยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก
บ้านเกาะสะเดิ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงโป หรือโพล่ง ที่ได้มีการตั้งถิ่นฐานรกรากยาวนานกว่าร้อยปี ในอดีตบ้านเกาะสะเดิ่งเป็นเพียงหย่อมบ้านของบ้านที่พุโช่ว์ ต่อมาที่บ้านพุโช่ว์เกิดอหิวาตกโรคเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ที่หย่อมบ้านเกาะสะเดิ่งประมาณ 3-4 ปี แล้วจึงกลับมาอยู่บ้านที่พุโช่ว์อีกครั้ง และมีการโยกย้ายถิ่นระหว่างสองบริเวณนี้หลายชั่วอายุคนเพราะสาเหตุด้านพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน จนท้ายที่สุดก็กลับมาตั้งถิ่นฐานถาวรที่บ้านเกาะละเดิ่ง ส่วนบ้านที่พุโช่ว์กลายเป็นที่ทำกินและเป็นไร่ข้าวหมุนเวียนแทนบ้านเกาะเดิ่งในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ประชากรของบ้านเกาะสะเดิ่งบางส่วนยังอพยพมาจากสถานที่อื่นนอกเหนือจากบ้านที่พุโช่ว์ เนื่องด้วยหลังจากมีการสร้างเขื่อนเขาแหลมหรือเขื่อนวชิราลงกรณ ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ตั้งอยู่รอบบริเวณเขื่อน ชาวบ้านต้องย้ายบ้านเรือนขึ้นมาบริเวณเหนือเขื่อนนวมถึงบ้านเกริงสะดา
รวมทั้งชาติพันธุ์โผล่วส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเกริงสะดาและหมู่บ้านหนองประโด่งก็ต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน โดยทางรัฐได้จัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านห้วยมาลัย ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี แต่ด้วยอุปนิสัยของชาวโพล่งที่ชอบอยู่กับป่ามากกว่าพื้นราบ จึงตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่บริเวณริมแม่น้ำรันตี ซึ่งห่างจากอำเภอสังขละบุรี 15 กิโลเมตร แต่อยู่ได้ไม่นานก็เริ่มอพยพอีกครั้ง เพราะทำเลที่ตั้งริมแม่น้ำรันตีนั้นไม่เหมาะกับการทำเกษตรกรรมซึ่งเป็นวิถีชีวิต ชาวบ้าน จึงย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านกองม่องทะตอนล่างเป็นเวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นก็ได้อพยพขึ้นไปยังพื้นที่หมู่บ้านเกาะสะเดิ่งในปัจจุบัน
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านทิไล่ป้า
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านกองม่องทะและบ้านสะเน่พ่อง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านไล่โว่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันตก
สภาพภูมิอากาศ
สภาพอากาศของบ้านเกาะสะเดิ่ง มีสภาพอากาศแบบกึ่งเมืองหนาวเมืองร้อน เนื่องจากตั้งอยู่ในหุบเขาภายในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,000 ฟุต และมีภูเขาสูงเรียงรายล้อมรอบ ในฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยเวลากลางคืนประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส และถึงแม้จะเป็นฤดูร้อนอากาศที่นี่ก็ยังคงเย็นสบาย โดยมีฤดูกาล 3 ฤดู ได้แก่
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงปลายเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมกราคม
สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่ 3 บ้านเกาะสะเดิ่ง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 369 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 190 คน ประชากรหญิง 179 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 97 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนมกราคม 2567) ประชากรในชุมชนคือชาวกะเหรี่ยงโป หรือที่เรียกตนเองว่า โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง
โพล่งส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรมตามวิถีดั้งเดิมตามชาติพันธุ์ คือ การทำไร่หมุนเวียน นอกจากนี้ยังปลูกผลไม้ในสวน เช่น กล้วย และหมาก นอกจากนี้ยังมีพืชที่สำคัญอีกชนิด คือ กาแฟ ซึ่งนับเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชนในปัจจุบัน ในอดีตบ้านเกาะสะเดิ่งได้รับการส่งเสริมให้การปลูกกาแฟจากหน่วยงานของภาครัฐ แต่ก็ไม่ได้มีการต่อยอดกระบวนการอื่น ๆ อย่างการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า ภายหลังมูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้ชักชวนชุมชนบ้านเกาะสะเดิ่งเข้ามารวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กาแฟไล่โว่" เพื่อพัฒนาคุณภาพกาแฟที่มีอยู่ให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกหนึ่งช่องทาง
ชาวโพล่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีวิถีชีวิตผูกโยงกับความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ปรากฏความเชื่อทางพระพุทธศาสนาอยู่มากเช่นเดียวกัน โดยสถานที่ในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจะมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดเกาะสะเดิ่งซึ่งตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้าน ภายในวัดมีคัมภีร์เป็นภาษามอญ ส่วนประเพณีจะปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน จัดงานสงกรานต์ตามประเพณี หลังจากนั้นจะเตรียมพื้นที่เพาะปลูก และดูแลจนถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะประกอบพิธีฟาดข้าว บุญข้าวใหม่ บุญเดือนสาม ซึ่งบ้านเกาะสะเดิ่งมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาประจำปีทั้ง 12 เดือน ดังนี้
ปฏิทินพิธีกรรมประจำปีชุมชนเกาะสะเดิ่ง
เดือน | กิจกรรม |
มกราคม |
|
กุมภาพันธ์ |
|
มีนาคม |
|
เมษายน |
|
พฤษภาคม |
|
มิถุนายน |
|
กรกฎาคม |
|
สิงหาคม |
|
กันยายน |
|
ตุลาคม |
|
พฤศจิกายน |
|
ธันวาคม |
|
วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจกาแฟ บ้านเกาะสะเดิ่ง
บ้านเกาะสะเดิ่ง เป็นชุมชนชาติพันธุ์โพล่งที่ตั้งชุมชนอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ครอบครัวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ปลูกผักตามวิถีดั้งเดิมชาติพันธุ์ ในอดีตชุมชนได้รับการส่งเสริมให้การปลูกกาแฟจากหน่วยงานของภาครัฐ แต่ก็ไม่ได้มีการต่อยอดกระบวนการอื่น ๆ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับทรัพย์ที่มี รายได้จากต้นกาแฟจึงเป็นการเก็บผลออกขายเสียทั้งหมด ในเวลาต่อมามูลนิธิสืบนาคะเสถียรจึงชักชวนชุมชนบ้านเกาะสะเดิ่งเข้ามารวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์ ภายใต้แบรนด์ "กาแฟไล่โว่" ภายใต้การดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟไล่โว่ ที่เบื้องต้นเกิดจากการรวมตัวของสมาชิก 27 ครอบครัว จาก 5 หมู่บ้านในตำบลไล่โว่ เพื่อพัฒนาคุณภาพกาแฟที่มีอยู่ให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การปลูกกาแฟที่หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟเพิ่มหรือเปลี่ยนวิถีการประกอบอาชีพดั้งเดิมที่ชุมชน แต่เป็นการพัฒนาสิ่งของที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงและมีมูลค่าตามเท่าที่ผลผลิตสามารถต่อยอดไปถึงได้ หรือเป็นงานสร้างรายได้เสริมให้แก่ครัวเรือน
ภาษาพูด : โพล่ง ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษากลาง
ภาษาเขียน : ลิวา ลิโรเหม่ ไทย
กาแฟไล่โว่ laiwo coffee. (2564). สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/laiwocoffee
กาแฟไล่โว่ laiwo coffee. (2565). สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/laiwocoffee
จานบินสีฟ้า. (2556). เกาะสะเดิ่ง ที่เมืองกาญจน์. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://pantip.com/
พุธวดี ลีฬหาชีวะ (2556). วิถีชาวโผล่ว ณ ทุ่งใหญ่นเรศวร: กรณีศึกษา หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง หมู่ที่ 3 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2561). พัฒนาวิสาหกิจกาแฟ ที่หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.seub.or.th/
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2562). กาแฟไล่โว่ จิบแล้ว เลิกยาก. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.seub.or.th/
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2562). ดริปกาแฟริมห้วยโรคี่ และเรื่องราวของคนปลูก(กาแฟไล่โว่) - ธวัชชัย ไทรสังขทัศนีย์. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.seub.or.th/