Advance search

ชุมชนกะเหรี่ยงแดงบ้านไม้สะเป่ หมู่บ้านที่ยังคงมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม สะท้อนผ่านรูปของการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีขึ้นเป็นประจำทุกปี 

หมู่ที่ 9
บ้านไม้สะเป่
ปางหมู
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
วิไลวรรณ เดชดอนบม
22 พ.ค. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
24 พ.ค. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
1 มิ.ย. 2024
บ้านไม้สะเป่

"ไม้สะเป่" มาจากภาษาไทใหญ่ หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากในหมู่บ้าน (ภาคกลางเรียก ต้นหว้า) ชาวบ้านจึงออกนามหมู่บ้านตามชื่อต้นไม้ว่า "บ้านไม้สะเป่"


ชุมชนกะเหรี่ยงแดงบ้านไม้สะเป่ หมู่บ้านที่ยังคงมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม สะท้อนผ่านรูปของการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีขึ้นเป็นประจำทุกปี 

บ้านไม้สะเป่
หมู่ที่ 9
ปางหมู
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
58000
19.431059929865096
97.85483557545842
องค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู

ในอดีตชาวกะเหรี่ยงแดงบ้านไม้สะเป่อยู่อาศัยที่บ้านกลาง ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร แต่เมื่อประชากรมีจำนวนมากขึ้น ประกอบกับการทำการเกษตรซ้ำ ๆ ส่งผลให้ดินเริ่มเสื่อมสภาพ ชาวบ้านจึงเริ่มหาทำเลพื้นที่ทำกินและที่อยู่ใหม่โดยการนำของนายซ่อ ไพรนิมิตกุล นายเท คีรีสกุลสิงห์ และนายโซ คีรีทรัพย์ทวี ได้เดินทางมาถึงบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านไม้สะเป่ในปัจจุบัน จึงเลือกเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน เพราะพื้นที่นี้มีความเหมาะสมสำหรับทำการเกษตร เนื่องจากมีดินและป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังสะดวกในการติดต่อกับภายนอกหมู่บ้านใกล้เคียง จึงได้อพยพจากบ้านกลางมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านไม้สะเป่ในปัจจุบัน

เดิมการตั้งหมู่บ้านจะขึ้นกับหมู่บ้านในสอย หมู่ที่ 4 ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่ต่อมาได้ชักชวนญาติพี่น้องของตนและเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาอยู่มากขึ้น ทางราชการจึงตั้งเป็นหมู่บ้านไม้สะเป่ หมู่ 9 ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนมาจนปัจจุบัน 

ที่ตั้งและอาณาเขต

บ้านไม้สะเป่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นหุบเขา ภายในหมู่บ้านมีแม่น้ำตัดผ่าน มีภูเขาล้อมรอบหมู่บ้านและมีต้นไม้หลากหลายชนิดขึ้นตามเขา โดยบ้านเรือนของชาวบ้านตั้งอยู่บริเวณภูมิประเทศที่เป็นเชิงเขา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ 

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หย่อมบ้านห้วยผึ้ง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านในสอย
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหมอกจำแป่
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ภูเขาและแนวป่า

ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยในฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนจัด มีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว และฝนตกชุกในฤดูฝน นอกจากนี้มีหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี สภาพภูมิอากาศมีทั้งหมด 3 ฤดู ดังนี้

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ทำให้อากาศชุ่มชื้น ฝนตกชุกมาก ซึ่งจะมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในเดือนสิงหาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและความกดอากาศจากประเทศจีน ส่งผลให้อากาศมีความหนาวเย็นมาก

สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่ 9 บ้านไม้สะเป่ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 708 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 388 คน ประชากรหญิง 320 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 207 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2566) ประชากรบ้านไม้สะเป่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดง หรือกะแย

กะแย

การประกอบอาชีพ 

ชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนบ้านไม้สะเป่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรและรับจ้าง โดยมีอาชีพหลัก คือ การปลูกข้าวไร่ และการทำนาข้าว ส่วนอาชีพเสริมของคนในหมู่บ้าน คือ การเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ แพะ โดยจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนหมูจะทำคอกไว้เลี้ยงโดยเฉพาะ

การทำนาตามฤดูกาลจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม จนถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนของทุกปี สำหรับการทำข้าวไร่และการปลูกพืชผัก เช่น แตงกวา ถั่วพู  พริก กระเทียม ฟักทอง งา ข้าวโพด ฯลฯ เริ่มราวเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ และจะเริ่มตัดวัชพืชและเผาไร่ในเดือนเมษายน จนเมื่อครั้นฝนตกในเดือนพฤษภาคมก็เริ่มปลูกข้าวใหม่อีกครั้ง

การรวมกลุ่มทางชุมชน 

  • กลุ่มออมทรัพย์
  • กลุ่มสหกรณ์
  • กลุ่มสตรีบ้านไม้สะเป่ หรือกลุ่มสตรีทอผ้า จุดประสงค์การก่อตั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนให้คงอยู่สืบต่อไป

ชาวบ้านบ้านไม้สะเป่ส่วนมากแล้วจะนับถือผีร่วมกับนับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือการนับถือศาสนาคริสต์ ทั้งนี้ยังมีความเชื่อในการบูชาผีและเทพ โดย "เจ้าที่เจ้าธาร" เป็นเทพองค์ที่สำคัญสุดในการคุ้มครองพื้นดิน แม่น้ำ ลำธาร ต้นไม้ รวมถึงพื้นที่ทำการเกษตร โดยความเชื่อเรื่องผีนี้ยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตของชาวกะเหรี่ยงแดงบ้านไม้สะเป่ เนื่องจากเชื่อว่าการบูชาผีจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุขและสามารถดูแลผลผลิตทางการเกษตรของตนได้

ด้านพิธีกรรม ชาวกะเหรี่ยงแดงจะมีพิธีการแต่งงานรอบ 2 เพราะเชื่อกันว่าการแต่งงานรอบที่สองจะทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขและพืชผลต่าง ๆ จะดีตามไปด้วย ถ้าไม่ทำคนในครอบครัวอาจจะเจ็บป่วย และครอบครัวอยู่ไม่เป็นสุข ทุกคนที่เข้าร่วมงานและแต่งงานรอบสองแล้วจะต้องกินชิ้นหมูที่ทำพิธีแล้ว นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องการบูชาผีที่สำคัญมากต่อกะเหรี่ยงแดง ถือว่าการบูชาผีจะทำให้ตนเองอยู่เย็นเป็นสุขและสามารถดูแลผลผลิตของตนเองได้

ประเพณีและวัฒนธรรม

1.งานปอยข้าวต้ม เป็นประเพณีที่จะจัดขึ้นทุกปี โดยงานปอยข้าวต้ม จะจัดในเดือนกันยายนของทุกปี  เพื่อเป็นการเลี้ยงขอบคุณเทพยาดาอารักษ์ที่ได้ดูแลพืชพรรณธัญญาหาร ชาวบ้านมีพื้นฐานความเชื่อที่ว่าตั้งแต่การทำการเพาะปลูกพืชมาจะมีเจ้าหลวง ตลอดจนถึงเทวดาผู้คอยดูแลต้นพืชให้เจริญเติบโต

2.งานปอยต้นทีเล็ก จัดในเดือนตุลาคม ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อแสดงถึงการขอบคุณเจ้าหลวงและผีป่าผีเขาที่ช่วยดูแลผลผลิต พอเก็บเกี่ยวแล้วจะนำมาถวายเจ้าหลวงให้ได้กินด้วย

3.งานปอยต้นทีใหญ่ จัดขึ้นในเดือนเมษายนพร้อมกับวันสงกรานต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเลี้ยงผีเจ้าหลวงประจำปี ซึ่งเป็นผีที่ปกปักรักษาคุ้มครองหมู่บ้าน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านไม้สะเป่. (2565). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/

ปิยะ นาน่องโกรน. (2548). อาหารท้องถิ่นของกะเหรี่ยงแดง: กรณีศึกษาหมู่บ้านไม้สะเป่ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.pangmu.go.th/