หนองผือบึงใหญ่ กำไรปลาแปรรูป โรงสูบน้ำสองแห่ง แหล่งปลาน้ำหลาก มากด้วยคุณธรรม
บ้านหนองผือหมู่ 6ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2430 โดยมีนายหนูเทพ(หลวงยกบัตร) พร้อมเครือญาติ บริวารได้ตั้งบ้านครั้งแรก คือ “บ้านโนนศิลา”ตั้งอยู่ใกล้หนองน้ำ ซึ่งมีต้นผือขึ้นเต็มไปหมด ต่อมาเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่จึงเปลี่ยนชื่อ “บ้านหนองผือ” เมื่อประชากรมากขึ้น ได้แยกออกเป็น 3 หมู่ คือ หมู่ที่6 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 9 ปัจจุบันคือบ้านหนองผือ หมู่ที่ 6ตำบลบ้านผืออำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น แยกจากตำบลบ้านกงเมื่อปีพ.ศ. 2522 ความเป็นมาของบ้านหนอง ผือมีหนองน้ำมีต้นกก (ต้นผือ) เป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์จึงเรียกว่าบ้านหนองผือมาจนถึงปัจจุบัน
หนองผือบึงใหญ่ กำไรปลาแปรรูป โรงสูบน้ำสองแห่ง แหล่งปลาน้ำหลาก มากด้วยคุณธรรม
บ้านหนองผือเป็นหมู่บ้านสำคัญของตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ หมู่บ้านมีประมาณ 433 หลังคาเรือน ตั้งอยู่ระหว่างแนวยาวของภูเขาพานคำ ทิศเหนือติดต่อกับ บ้านกอก หมู่8 ทิศตะวันออกหมู่บ้านติดกับหมู่ 7 ตำบลบ้านผือ ทิศใต้ติดต่อกับบ้านโนนฆ้อง หมู่ที่5 และแนวยาวของชายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งทั้งภูเขาและน้ำเขื่อนนี้ทอดขนานกันมาจากตัวเขื่อนอุบลรัตน์ทางด้านทิศเหนือ ห่างออกไปประมาณ 20 กิโลเมตรจึงจะถึงตัวเขื่อน
บ้านหนองผือแบ่งออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 มีวัดอยู่ตรงกลางระหว่างหมู่บ้านทั้ง 2 นั้น ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ประมง เลี้ยงสัตว์ เป็นส่วนใหญ่นิสัยใจคอของชาวบ้านหนองผือ เป็นคนขยันหมั่นเพียรตั้งใจทำมาหากินยึดมั่นในหลักธรรมประเพณีทางพระพุทธศาสนา มีปัญหาหรือกิจการส่วนรวมก็ร่วมกันทั้ง 2 หมู่บ้าน และร่วมกันทำตามมติข้อตกลงอย่างกลมเกลียวกันให้ถึงฝักฝ่าย คุณธรรมอันนี้เองทำให้ชาวบ้านหนองผือสร้างอุโบสถสำเร็จในเวลาอันสั้นได้
พื้นเพเดิมของบ้านหนองผือเท่าที่ได้สอบถามตามความเป็นมาพอทราบว่า ประมาณ 90 ปีที่ผ่านมาบริเวณบ้านหนองผือปัจจุบันยังเป็นป่าดงพงทึบ เป็นที่อาศัยของสิงสาราสัตว์นานาชนิด เช่น ช้าง เสือ หมูป่า กวาง เก้งเป็นต้น เพราะบริเวณดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างเขาภูพานคำกับแม่น้ำเชิญ เมื่อพวกนายพรานและนักแสวงโชคมาพบเขาก็ได้ชักชวนกันมาตั้งถิ่นฐาน ส่วนมากย้ายมาจากท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และเขตอำเภอเมืองขอนแก่น ในปัจจุบันนี้ผู้อพยพมาอยู่รุ่นแรกได้เผชิญกับไข้ป่า สัตว์ร้าย และดินฟ้าอากาศในถิ่นใหม่ เป็นต้น ปู่ย่าตายายเหล่ากันต่อๆมาว่า การมาตั้งหมู่บ้านหนองผือในยุคแรกเคยพากันแตกหนีถึง 3 ครั้ง เพราะภัยธรรมชาติดังกล่าว
นับแต่ปี พ.ศ. 25451 เป็นต้นมา ได้มีนายห้างเขาพาน นายโสม เครือมา นายกุลา พาลี มาจากบ้านตูม โนนทัน จังหวัดกาฬสินธุ์พาลูกหลานมาตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ เป็นครั้งที่ 4 ตอนแรกมีประมาณ 10 หลังคาเรือนต่อมาก็ได้มีประชาชนจากบ้านพระลับ บ้านทุ่ม บ้านสาวะถีย์ขอนแก่นและจากที่อื่นอพยพเพิ่มขึ้นเรื่อยเรื่อยทางราชการได้ตั้งเป็นหมู่บ้านหนองผือเพราะมีน้องน้ำขนาด 4 ตารางกิโลเมตรอยู่ด้านใต้ของหมู่บ้านมีน้ำขังตลอดปีมีต้นปรือ (ต้นผือ) เกิดงอกงามในหนองน้ำดังกล่าวนี้จำนวนมาก ตอนแรกนี้มีนายเทพยกบัตร โสรัตน์ เป็นผู้ใหญ่บ้านขึ้นต่อตำบลจระเข้ มีนายจิต ธรรมมา กำนันคนที่ 1 หมื่นนิกรเป็นกำนันคนต่อมา ขึ้นต่ออำเภอพระลับ (อำเภอเมืองขอนแก่น-ปัจจุบัน) จังหวัดขอนแก่น ต่อมาทางราชการได้แบ่งเขตปกครองใหม่ จึงได้ย้ายบ้านหนองผือมาขึ้นต่อตำบลสาวะถีย์ อำเภอพระลับเช่นเดิม และเมื่อตั้งอำเภอหนองเรือขึ้นทางการก็ได้โอนบ้านหนองผือมาสังกัดตำบลบ้านกงอำเภอหนองเรืออีกครั้งหนึ่งประมาณ 10 ปีมานี้ต่อไปอาจโอนไปสังกัดตำบลอำเภอใดอีกในอนาคตก็ไม่แน่นอน
การตั้งถิ่นฐาน บ้านหนองผือ
บ้านหนองผือหมู่ 6 ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2430 โดยมีนายหนูเทพ(หลวงยกบัตร) พร้อมเครือญาติ บริวารได้ตั้งบ้านครั้งแรก คือ “บ้านโนนศิลา”ตั้งอยู่ใกล้หนองน้ำ ซึ่งมีต้นผือขึ้นเต็มไปหมด ต่อมาเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่จึงเปลี่ยนชื่อ “บ้านหนองผือ” เมื่อประชากรมากขึ้น ได้แยกออกเป็น 3 หมู่ คือ หมู่ที่6 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 9 ปัจจุบันคือบ้านหนองผือ หมู่ที่ 6ตำบลบ้านผืออำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น แยกจากตำบลบ้านกงเมื่อปี พ.ศ. 2522 ความเป็นมาของบ้านหนอง ผือมีหนองน้ำมีต้นกก (ต้นผือ) เป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์จึงเรียกว่าบ้านหนองผือมาจนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้งของชุมชุนและอาณาเขต
บ้านหนองผือ หมู่ 6 ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ระยะห่างจากอำเภอหนองเรือ ประมาณ 22 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 40 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,736 ไร่ แบ่งเป็น
- ที่นา 1,321 ไร่
- ที่ไร่ 367 ไร่
- ที่อยู่อาศัย 50 ไร่
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านดอนกอก หมู่ 8 ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านโนนฆ้อง หมู่ 5 ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านหนองผือ หมู่ 7 ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านไคร่นุ่น ตำบลกุดขอนแก่น อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
ลักษณะทางธรณีวิทยาลักษณะภูมิประเทศลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่เชิงเขาติดกับเขื่อนอุบลรัตน์ ลักษณะดิน มี 2 ประเภท คือ ดินร่วนปนทราย ส่วนมากเป็นพื้นที่ติดกับภูเขาให้ทำนา ทำไร่ และดินเหนียว(ดินทาม) บริเวณติดเขื่อนอุบลรัตน์ชืทำนาปรัง ปลูกแตงร้านและพืชผักสวนครัว
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศ มี 3 ฤดู ได้แก่
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน-ตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
สภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน
การจัดสภาพแวดล้อม
การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน
ลักษณะบ้านในชุมชนมีลักษณะเป็นบ้าน 2 ชั้นและบ้านชั้นเดียว ส่วนใหญ่ภายในบ้านมีการจัดวางสิ่งของอย่างเป็นระเบียบ มีการระบายอากาศที่ดี ภายในบ้านมีแสงสว่างเพียงพอ
การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าน
ลักษณะภายนอกบ้านส่วนใหญ่มีการจัดสิ่งของรอบบ้านได้อย่างเป็นระเบียบมีการปลูกต้นไม้และพืชผักสวนครัวไว้ริมรั่ว รอบบ้านไม่มีหญ้าขึ้นรก มีจัดเก็บขยะเป็นระเบียบ
การจัดสภาพแวดล้อมในชุมชน
ภายในชุมชนมีการจัดการขยะได้ดีไม่มีขยะเกลื่อนถนน ถนนภายในชุมชนมีลักษณะเป็นคอนกรีตและดินแดงในช่วงหน้าหนาวจะมีฝุ่นจำนวนมาก บริเวณถนนจะมีมูลสัตว์จำนวนมาก เช่น วัว ควาย ซึ่งภายในชุมชนมีการเลี้ยงวัว ควาย จำนวน 23 ครัวเรือน
สุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ
การประกอบอหารภายในชุมชนส่วนใหญ่ประชาชนมีการปรุงอาหารที่สุกใหม่ สะอาด เพื่อลดปัญหาโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำ ภายในชุมชนมีประชาชนที่รับประทานอาหรสุก ๆ ดิบ ๆ ซึ่งแบ่งเป็นรับประทนเนื้อวัวดิบจำนวน 101 คน รับประทานปลาดิบจำนวน 44 คนจากประชาชนทั้งหมด 433 คน ภายในครัวเรือนมีกรเลือกรับประทานผักปลอดสารพิษซึ่งครัวเรือนได้ปลูกเองจำนวน 34 ครัวเรือน มีการรับประทานผักที่ซื้อตามตลาดจำนวน 95 ครัวเรือน
การคมนาคม
มีถนนทางหลวงหมายเลข 4063 บ้านฝาง-อุบลรัตน์ผ่านกลางหมู่บ้าน และมีถนนภายในหมู่บ้าน เป็นถนนคอนกรีต และบางแห่งเป็นถนนดิน หรือถนนลูกรัง
การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียง อำเภอหรือจังหวัด โดยเฉพาะกับสถานบริการสุขภาพที่สำคัญเช่นโรงพยาบาลสถานีอนามัยหรือคลินิกต่าง ๆ
การเดินทางของชุมชนไม่มีรถโดยสารประจำทางผ่าน ประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคล เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถซาเล้ง ในการเดินทางมารับบริการที่เทศบาลตำบลบ้านผือและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผือ และโรงพยาบาลหนองเรือ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร ละติจูด 16.5268 ลองจิจูด 102.5484 เป็นถนนลาดยางชำรุด เป็นหลุม เป็นบ่อ เส้นทางคดเลี้ยว ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเดินทาง
พาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทางตลอดจนจำนวนพาหนะและความถี่ในการให้บริการ
ประชาชนในชุมชนบ้านหนองผือมีการใช้พาหนะ ได้แก่ รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถซาเล้งและรถยนต์ในการเดินทาง และการเดินทางในชุมชนอยู่ใกล้เคียงกัน และสถานที่ให้บริการสุขภาพอยู่ไกลจากหมู่บ้าน ต้องใช้รถส่วนบุคคลในการมารับบริการ ทำให้ประชาชนไม่สะดวกเข้ามารับบริการมากนัก
สภาพถนนในแต่ละฤดูกาล
- ฤดูร้อน ถนนในหมู่บ้านมีฝุ่นเยอะ และมีมูลสัตว์เยอะ เนื่องจากในหมู่บ้านมีการเลี้ยงสัตว์เช่น เลี้ยงวัวจำนวน 14 ครัวเรือน เลี้ยงควายจำนวน 9 ครัวเรือนและเลี้ยง หมูจำนวน 1 ครัวเรือน แบ่งเลี้ยงที่บ้าน 44 ครัวเรือน เลี้ยงที่นา 21 ครัวเรือน ไม่ค่อยได้รับการทำความสะอาด ทำให้มีความสกปรกและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
- ฤดูฝน ถนนมีฝุ่นเยอะ และมีมูลสัตว์เยอะ แต่เมื่อระยะเวลาที่ฝนตกติดต่อกันยาวนานบางพื้นที่ถนนในหมู่บ้านก็มีน้ำท่วมเนื่องจากระบายไม่ทัน และได้รับมูลน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์จำนวนมาก ทำให้มีน้ำท่วมถนนและภายในหมู่บ้านหนองผือ
- หนาว ถนนมีฝุ่นเยอะ และมีมูลสัตว์เยอะ
แสดงพีระมิดประชากร พบว่าเป็นพีระมิดแบบหดตัว (constrictive pyramid or declining pyramid) เป็นพีระมิดประชากรที่มีรูปแบบของฐานพีระมิดกว้าง ตรงกลางหดตัว ยอดค่อยๆ พองออกและแคบเข้าคล้ายรูปดอกบัวตูม ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดที่เพิ่มขึ้นและอัตราการตายที่ลดลง แนวโน้ม ประชาการจะเพิ่มขึ้นและเข้าสังคมผู้สูงอายุต่อไป
นายทองสุข ไชยบุตรดี อายุ 74ปี
ที่อยู่ บ้านหนองผือ ม.6 ตำบลบ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
ตาทองสุขชอบช่วยเหลือคนอื่น เป็นที่ไว้วางใจของคนในชุมชน ชอบทำไร่ทำนา ขณะที่สัมภาษณ์ตาสุขก็ยังทำนาอยู่เลย คุณตาดูเป็นคนสุขภาพดี สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
ตาทองสุขเล่าว่าแกเป็นคนที่นี้ เกิดวันที่ 10 มิถุนายน 2488 ตอนนี้อายุ 74 ปี พ่อชื่อ นายสาย ไชยบุตรดี แม่ชื่อ นางคำตัน ไชยบุตรดี เข้าโรงเรียนตอนอายุ 8 ปีหลังจบชั้น ป.4 จบจากโรงเรียนบ้านหนองผือราษฎร์ประสิทธิ์ พอจบก็มาช่วยพ่อแม่ทำนา จนอายุ 20 ปี ตาก็บวชให้กับพ่อกับแม่อยู่ 2 พรรษา ปัจจุบันพ่อและแม่ของลุงทองสุขเสียชีวิตไปแล้ว ตาทองสุขมีพี่น้องทั้งหมด 11 คน โดยลุงเป็นบุตรคนที่4 พ่อแม่มีลูกชายทั้งหมด 7 คน ลูกผู้หญิงทั้งหมด 4 คน ตาแต่งงานตอนอายุ 25ปี กับยายประยัน ศิริเคน มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นผู้ชาย1คน ผู้หญิง 2 คน คนโตชื่อฉัตรแก้ว ไชยบุตรดี อายุ 49 ปี คนกลางเป็นผู้ชาย เสียชีวิตแล้วด้วยโรคความหล่อตอนอายุ 20 กว่าปี แล้วตาก็หัวเราะ ส่วนคนเล็กชื่อวรรณรัตน์ ไชยบุตรดี อายุ 42 ปี ตาบอกว่าหลังแต่งงานตาก็เป็นชาวไร่ชาวนา เข้าวัดทำบุญ ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนตลอด เป็นประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานระบบท่อ ประมาณ พ.ศ. 2544 เรียนต่อ กศน.ป.6 ขณะนั้นเริ่มป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนองผือ เป็นอยู่3สมัย จนถึงปัจจุบันนี้ ตาเล่าต่อว่าสิ่งที่รู้สึกภูมิใจในตัวเองคือ การเป็นที่ไว้วางใจของคนในชุมชน ไม่ว่าจะลงเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลกี่ครั้งตาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลและอีกอย่างคือการเป็นพ่อพราหมณ์ของหมู่บ้านทำหน้าที่สู่ขวัญพิธีต่างๆทั้งในและนอกหมู่บ้าน ซึ่งการเป็นพ่อพราหมณ์ได้รับการสืบต่อจากญาติข้างบ้านคือคุณตาสมศรี ศรีพรรณนาที่เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้ตายังร่วมกับผู้ใหญ่บ้านและคนในชุมชนร่วมกันพัฒนาถนนในหมู่บ้านและถนนทางเข้าหมู่บ้านและยังดำรงตำแหน่งประธานน้ำชลประทาน ตาทองสุขเป็นคนอัธยาศัยดี ปัจจุบันมีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง รับการรักษาที่ รพ.หนองเรือและรพ.สต.บ้านผือ สามารถความคุมความดันโลหิตได้ สุขภาพแข็งแรง ทำไร่ทำนาได้ตามปกติ
แหล่งน้ำ
1.บึงหนองผือ เป็นแหล่งน้ำใหญ่ตามธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ สำหรับใช้ประโยชน์ เช่น ทำนา การประปา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทำประมง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
2.ประปาผิวดิน มีจำนวน 1 แห่ง ซึ่งชาวบ้านหนองผือใช้ในการอุปโภค
3.เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าและพลังงานน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยาว 885 เมตร สูง 32 เมตร สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 2,263 ล้าน ชาวบ้านหนองผือใช้ประโยชน์ เช่น ทำนา การประปา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทำประมง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
ทรัพยากร
1.พืชผัก ผลไม้ ชาวบ้านหนองผือมีการปลูกผัก ได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศ พริก และผักตามฤดูกาล โดยอาศัยน้ำจากบึงหนองผือ และน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์
2.ข้าว ชาวบ้านหนองผือ มีอาชีพในการทำนาเป็นหลัก โดยการทำนาจะแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ นาปรังจะทำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังจะมีการเตรียมหน้าดิน และลงเมล็ดข้าวทำนาปีในเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม
3.สัตว์ ชาวบ้านหนองผือส่วนใหญ่มีการเลี้ยง วัว ควาย ไก่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เลี้ยงเพื่อขายเป็นอาหารและไว้บริโภคโดยมีการเลี้ยง วัว ควายจำนวน 23 ครัวเรือน เลี้ยงไก่จำนวน 35 ครัวเรือน ซึ่งวัวควายนั้นจะมีนายหน้าเข้ามารับซื้อ จำนวนตัวละ 20,000-30,000 บาท และไก่เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน
บ้านหนองผือมีการแพทย์พื้นบ้านโดยมีหมอสมุนไพร หมอพราหมณ์ และหมอจ้ำประจำหมู่บ้าน โดยมีหมอต่าง ๆ ดังนี้ หมอสมุนไพร นายบุตรศรี ต้นจำปา หมอพราหมณ์ นายสมศรี ศรีพันนา หมอจ้ำ นายทองสุข ไชยบุตรดี
ผู้คนในชุมชนบ้านหนองผือใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน
ชุมชนบ้านหนองผือได้เข้าร่วมโครงการรู้จักเพื่อป้องกัน รู้ทันเพื่อควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูง
จากข้อมูลสถิติการเจ็บป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชน หมู่ 6 บ้านหนองผือ ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน 41 คน (ร้อยละ 14.85)และความดันโลหิตสูงทั้งหมด 48 ราย (ร้อยละ 17.97) จากประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 267 คน มีจำนวนผู้ที่มาคัดกรองเบาหวานเพียง 170 คน (ร้อยละ 64) และผู้ที่ไม่มาคัดกรองเบาหวาน 97 คน (ร้อยละ 36) จากที่ประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ไม่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จากปัจจัยนำ คือ ไม่รู้จักอาการและสาเหตุของโรคความดันโลหิตโลหิตสูงและโรคเบาหวาน คิดว่าร่างกายไม่ผิดปกติ จึงไม่จำเป็นต้องไปคัดกรอง จากปัจจัยนำ คือ ไม่รู้จักอาการและสาเหตุของโรคความดันโลหิตโลหิตสูงและโรคเบาหวาน คิดว่าร่างกายไม่ผิดปกติ จึงไม่จำเป็นต้องไปคัดกรอง ขาดความตระหนักและความรู้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากปัจจัยเอื้อ คือ ไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการคัดกรอง ด้วยบริบทของชุมชนที่ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนใหญ่ทำให้ต้องออกไปทำงานในช่วงเช้าจึงไม่มีเวลามาตรวจ หรือปัจจัยอื่น เช่น อยู่ไกลหอกระจายข่าวทำให้ไม่ได้ยินเสียงประชาสัมพันธ์ ฟังประกาศคลาดเคลื่อนทำให้เข้าใจว่าให้ตรวจเฉพาะผู้ที่เป็นโรคประจำตัว ไม่สามารถมาคดกรองได้ด้วยตนเองเป็นต้น
ดังนั้นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น จึงได้จัดทำโครงการ รู้จักเพื่อป้องกัน รู้ทันเพื่อควบคุม โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในชุมชนบ้านหนองผือ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่นเพื่อให้ประชาชนบ้านหนองผือได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตน มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งจะส่งให้มีสุขภาพแข็งแรงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ชุมชนบ้านหนองผือมีจุดที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเรืออีสานอินดี้ @บ้านผือสาขา 2 ร้านแม่บังอร ตำทะเลริมภู & พิซซ่า และ วัดศรีมงคล
ขนิษฐา นันทบุตร. (2550). ระบบการดูแลสุขภาพชุมชน แนวคิด เครื่องมือ การออกแบบ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จริยาวัตร คมพยักฆ์. (2554). การพยาบาลอนามัยชุมชน: แนวคิด หลักการและการปฏิบัติการพยาบาล. กรุงเทพฯ : จุดทอง.
ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2553). การส่งเสริมสุขภาพในชุมชนแนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.