Advance search

บ้านบน

ชุมชนบ้านสามสบบน ในพื้นที่บริเวณจุดบรรจบของลำห้วยใหญ่สามสาย เรียกว่า สามสบพื้นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขากะเหรี่ยง (สะกอ) กับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ

หมู่ที่ 1
บ้านสามสบ
ท่าผา
แม่แจ่ม
เชียงใหม่
ทต.ท่าผา โทร. 0-5311-4660
วิไลวรรณ เดชดอนบม
12 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
12 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
12 มิ.ย. 2024
บ้านสามสบบน
บ้านบน

ที่มาของชื่อชุมชนบ้านสามสบบนนั้นมีที่มาจากสภาพแวดล้อมการตั้งบ้านเรือนของชาวบ้าน อยู่ใกล้กับลำห้วยใหญ่ 3 ลำห้วย คือ ห้วยแม่แรก ห้วยหางเดื่อ และห้วยน้ำดัง ซึ่งไหลมาบรรจบกันบริเวณทางด้านทิศเหนือของชุมชน ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า สามสุบต่อมาจึงเพี้ยนเป็น สามสบและมีชาวบ้านสองกลุ่มอาศัยอยู่ คือ กลุ่มชาวไทยภูเขาบนพื้นที่สูง เรียก บ้านสามสบบนและกลุ่มที่อยู่บนพื้นที่ราบเป็นชาวพื้นเมือง เรียก บ้านสามสบล่างหรือเรียกกันแบบชื่อท้องถิ่นว่า บ้านบน และบ้านล่าง


ชุมชนบ้านสามสบบน ในพื้นที่บริเวณจุดบรรจบของลำห้วยใหญ่สามสาย เรียกว่า สามสบพื้นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขากะเหรี่ยง (สะกอ) กับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ

บ้านสามสบ
หมู่ที่ 1
ท่าผา
แม่แจ่ม
เชียงใหม่
50270
18.5017879281148
98.4652514755725
เทศบาลตำบลท่าผา

บ้านสามสบบน เป็นหย่อมบ้านของหมู่บ้านสามสบ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประชาชนเป็นชาวปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยงสะกอ) การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ชุมชนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อใดไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัด จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในชุมชนกล่าวว่า ในอดีตช่วงประมาณปี พ.ศ. 2488-2489 หย่อมบ้านสามสบบน มีประชากรชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่เพียง 7-8 ครัวเรือน โดยสร้างที่พักกระจายกันไปตามพื้นที่หัวไร่ปลายนาของตนเอง ต่อมาเกิดมีผู้คนในครอบครัวเสียชีวิต ชาวบ้านเชื่อว่าพื้นที่ที่อยู่มีผีปกปักรักษาและไปทำให้ไม่พอใจ คนในครอบครัวที่เหลือจึงย้ายบ้านไปตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับบ้านที่สมาชิกยังแข็งแรงดี เพราะหากอยู่ที่เดิมต่อไปคนในครอบครัวอาจจะเจ็บป่วยเพิ่ม จึงกลายเป็นกลุ่มชุมชนขนาดเล็ก และมีการย้ายพื้นที่สร้างที่พักไปในพื้นที่บริเวณรอบๆ หมู่บ้านอยู่เนืองๆ ภายหลังจึงมีการเข้ารวมกล่มเป็นชุมชนเดียวกัน และในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. 2516 จึงพากันย้ายกลับมาอยู่พื้นที่เดิมอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน

ที่มาของชื่อชุมชนบ้านสามสบบนนั้นมีที่มาจากสภาพแวดล้อมการตั้งบ้านเรือนของชาวบ้าน อยู่ใกล้กับลำห้วยใหญ่ 3 ลำห้วย คือ ห้วยแม่แรก ห้วยหางเดื่อ และห้วยน้ำดัง ซึ่งไหลมาบรรจบกันบริเวณทางด้านทิศเหนือของชุมชน ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า สามสุบต่อมาจึงเพี้ยนเป็น สามสบและมีชาวบ้านสองกลุ่มอาศัยอยู่ คือ กลุ่มชาวไทยภูเขาบนพื้นที่สูง เรียก บ้านสามสบบนและกลุ่มที่อยู่บนพื้นที่ราบเป็นชาวพื้นเมือง เรียก บ้านสามสบล่างหรือเรียกกันแบบชื่อท้องถิ่นว่า บ้านบน และบ้านล่าง

บ้านสามสบบน อยู่ห่างออกไปจากบ้านสามสบล่างระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่บริเวณที่ตั้งชุมชน มีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา มีผืนป่าและภูเขาสูงสลับซับซ้อนล้อมรอบ มีลำห้วยขนาดเล็กจากป่าต้นน้ำไหลผ่านชุมชน การตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านจะสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณที่ราบสันเขา ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางในระยะประมาณ 760 เมตร ชุมชนบ้านสามสบบนมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ห้วยแม่แรก และพื้นที่ทำกินของชาวบ้านสามสบล่าง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านแม่ยางส้าน ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หน่วยจัดการต้นน้ำแม่แรก ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านป่ากล้วย ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

บ้านสามสบบน เป็นหย่อมบ้านของหมู่บ้านสามสบ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรในชุมชนเป็นชาวปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยงสะกอ) โดยสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่ 1 บ้านสามสบ ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 749 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 391 คน ประชากรหญิง 358 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 246 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2566)

ปกาเกอะญอ

หมู่บ้านสามสบ ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนจะประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยการทำการเกษตรของชาวบ้านนั้นจะเป็นแบบเพื่อยังชีพเป็นส่วนใหญ่ คือการเพาะปลูกไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนตลอดทั้งปีเป็นหลัก พืชหลักที่ชาวบ้านนิยมปลูกคือ ข้าว เป็นการทำข้าวไร่ เนื่องจากใช้น้ำในการดูแลในปริมาณที่น้อยกว่าข้าวนา และเหมาะสมต่อสภาพภูมิศาสตร์มากกว่า เมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูกชาวบ้านจะเตรียมพื้นที่ ทำความสะอาดไร่ และหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ โดยจะปลูกพืชผักส่วนครัวชนิดต่าง ๆ ไปพร้อมกับการปลูกข้าวไร่ด้วย เช่น พริก แตงไทย แตงเปรี้ยว ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชีหอม ผักชีลาว ผักขี้โอ้ง ข้าวโพด หอมแดง ถั่วเหลือง กะหล่ำปลี ฟักทอง เป็นต้น ผักจะเจริญเติบโตไปพร้อมกับข้าว และสามารถเก็บผลผลิตได้ก่อน ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ผลผลิตบางส่วนก็มีการแปรรูปทำเป็นผักดองเพื่อไว้รับประทานในฤดูแล้ง และหากมีผลผลิตในปริมาณที่มาก ชาวบ้านก็จะแบ่งขาย โดยส่งขายไปยังตลาดในอำเภอแม่แจ่ม นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีการออกหาเก็บของป่าตามฤดูกาลในพื้นที่โดยรอบชุมชนสำหรับประกอบอาหารในครัวเรือน และแบ่งขาย ทั้งยังมีการเลี้ยงสัตว์ในชุมชน เช่น หมู ไก่ วัว และควาย

ชาวบ้านหย่อมบ้านสามสบบนเป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวปกาเกอะญอมีความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่าที่ปฏิบัติและนับถือมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือความเชื่อเรื่องการนับถือผี ผีบรรพบุรุษ ประกอบกับการนับถือพุทธศาสนา แต่พิธีกรรมส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบความเชื่อดั้งเดิม มีการทำพิธีเซ่นไหว้ผี ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดทั้งปี ทั้งการเซ่นไหว้ผีเมื่อเจ็บป่วยเพื่อให้หายจากอาการไม่สบายนั้น และยังเชื่อว่าพื้นที่ในธรรมชาติย่อมมีผีสิงสถิตปกปักรักษาอยู่ ทั้งผีเจ้าที่ ตามป่าเขา ลำน้ำ ไร่นา ชุมชน ฯลฯ การเลี้ยงผีของชาวบ้านนั้นเป็นไปเพื่อความสงบสุขในชุมชน ความสบายใจของชาวบ้าน และเชื่อว่าช่วยให้มีพืชผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ มีอยู่มีกินตลอดทั้งปี เช่น โดยเครื่องเซ่นไหว้ผีต่าง ๆ ที่ชาวบ้านนิยมใช้ คือ ไก่ 1 คู่ และเหล้า 1 ขวด วัฒนธรรมประเพณีและวิถีปฏิบัติของชุมชนตัวอย่างเช่น การมัดมือ ประเพณีปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ การเลี้ยงผีหมู่บ้าน การเลี้ยงผีฝาย ผีนา ผีไร่ ฯลฯ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง(ศศช.) บ้านสามสบบน โดยการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ่านศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแม่แจ่ม เมื่อปี พ.ศ. 2546 เพื่อจัดการศึกษาให้กับชาวบ้านที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา ที่มีความสนใจในการแสวงหาความรู้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา อีกทั้งทางศูนย์การศึกษายังจัดการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน และให้ความสำคัญต่อความเป็นอยู่ในชุมชน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระยะสั้น การศึกษาสายอาชีพ การฝึกทักษะอาชีพต่าง ๆ ให้กับชาวบ้าน เพื่อเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างรายได้ในครัวเรือน รวมถึงยังเป็นสถานที่ร่วมกลุ่มจัดกิจกรรมของชุมชน เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้พบปะ สานสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ภาษาพูด : ภาษาปกาเกอะญอ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษากลาง

ภาษาเขียน : อักษรโรมัน อักษรขาว อักษรไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิชิต ไพอุปลี. (2548). ปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมการทำแนวอนุรักษ์ป้องกันการพังทลายของหน้าดินในพื้นที่ลาดชัน กรณีศึกษา: หย่อมบ้านสามสบบน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศช.บ้านสามสบบน ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (2563). บ้านสามสบบน. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/

ศศช.บ้านสามสบบน ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (2566). บ้านสามสบบน. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/

ศศช.บ้านสามสบบน ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (2567). บ้านสามสบบน. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/

ทต.ท่าผา โทร. 0-5311-4660