หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง
หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง
แต่เดิมชาวบ้านนาเปือยได้อพยพมาจากโนนบ้านปอ ซึ่งอยู่ระหว่างบ้านนาเปือย กับบ้านโนนทัน หมู่ที่2 ปัจจุบัน เมื่อประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว หมู่บ้านเปือยก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2363 โดยมีพ่อซ้าย แสนทำมา และพ่อที เป็นผู้ก่อตั้งหมู้บ้าน ซึ่งนำต้นไม้ที่มีมากในบริเวณนี้ได้แก่ ต้นเปือย มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน เมื่อมีครัวเรือ9นอื่นๆได้เคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นจึงได้ตั้งเป็นหมู่บ้าน โดยมีนายซ้าย แสนทำมาได้มีการดำรงเป็นตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
1. นายขุนศรี
2. นายแก้ว
3. นายจารย์ครูคำ
4. นายคง
5. นายบินดีสี
6. นายหมอน คำมี
7. นายธรรมมา กรมเหลี่ยม
8. นายขุน สีกา
9. นายทีน พลพิมพ์
10. นายบุญธรรม แสนอาจ
11. นายเอกชัย โคตรภูเวียง ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน
สภาพที่ตั้งและพื้นที่ของชุมชน ได้แก่
ที่ตั้งของชุมชนและอาณาเขต
บ้านเปือย หมู่ที่ 5 อยู่ในเขตการปกครองของตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น การเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือรถยนต์โตยสารประจำทาง โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 สายขอนแก่น - ชุมแพจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นไปทางทิศตะวันตก ผ่านอำเภอบ้านฝาง และอำเภอหนองเรือ รวมระยะทาง 56 กิโลเมตร สามารถแวะเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญคือ
1. อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
2. ถ้ำฝามือแดง ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดชอนแก่น
3. ล่องแพเที่ยวชมธรรมชาติบ้านนาหนองทุ่มในเขตพื้นที่ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
4. ล่องแพเที่ยวชมธรรมชาติบ้านฟ้าเหลื่อม ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่นและพักรับประทานอาหารได้ที่ร้านอาหารบริเวณสามแยกภูเวียง (ไก่ย่างส้มตำ)
ลักษณะทางธรณีวิทยาลักษณะภูมิประเทศลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน ร้อยละ 95 เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับ ทำนา / ปลูกพืช
การเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกข้าว ข้าวโพด ปลูกผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกะหล่ำ เป็นต้น ด้านปศุสัตว์มีการเลี้ยงสัตว์ได้แกเลี้ยงวัว ควาย ไก่
ลักษณะภูมิอากาศแบบราบลุ่ม มี 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูร้อนอากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ในฤดูฝนเริ่ม
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และฝน จะตกมากในเดือนกันยายน ส่วนฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็น
สภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน
การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ้าน
ลักษณะการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือของชาวชุมชนบ้านนาเปือย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ บ้านไม้สองชั้น บ้านปูน บ้านกึ่งปูนกึ่งไม้
1. บ้านไม้ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะนิยมสร้างเป็นบ้านไม้ 2 ชั้นมีใต้ถุนบ้านเพื่อเป็นบริเวณที่สามารถใช้
สอยได้ เช่นสามารถเป็นที่พักผ่อนระหว่างวัน หรือเป็นสถานที่ใช้เก็บของ บริเวณรอบบ้านจะมีพื้นที่ว่างซึ่งบางบ้านจะมีการปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง
2. บ้านปูนโดยจะมีทั้งบ้านปูนสองชั้น และชั้นเดียวสามารถพบได้น้อยในหมู่บ้าน บางบ้านมีมีพื้นที่ว่าง
ปลูกผักสวนรอบบ้าน บางบ้านฉาบปูนรอบบ้าน
3. บ้านกึ่งปูนกึ่งไม้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านสองชั้นโดยชั้นล่างเป็นปูน ส่วนชั้น2จะเป็นบ้านไม้ โดยรอบๆบ้าน
มีพื้นที่ว่างไว้สำหรับเก็บของ และปลูกผักสวนครัว
การจัดสภาพแวดล้อมนอกบ้าน
ลักษณะภายนอกบ้านของชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีพื้นที่รอบบ้านที่สามารถใช้สอยได้ เช่น ใช้เก็นสถานที่เก็บ
ของเพื่อการเกษตร ปลูกผักสวนครัว หรือสำหรับจอดรถ โดยนอกจากจะมีการปลูกผักรอบบ้านแล้วยังมีการปลูกผักตามรั้วบ้านเพื่อบริโภค มีการจัดสิ่งของอย่างเป็นระเบียบ ไม่มีการนำขยะมาวางไว้หน้าบ้าน เนื่องจากทุกครัวเรือนต้องมีการจัดการขยะของตนเอง
การจัดสภาพแวดล้อมในชุมชน
ภายในชุมชนมีการจัดการขยะได้ดี โดยมีการจัดเก็บขยะของแต่ละครัวเรือนของตนเอง และนำไปทิ้งที่บ่อ
กำจัดขยะท้ายหมู่บ้าน ไม่มีขยะเกลื่อนถนน มีระบบระบายน้ำเสีย ถนนในชุมชนและรอบหมู่บ้านมีลักษณะเป็นคอนกรีต ส่วนเส้นทางที่ใช้เดินทางไปไร่นาจะเป็นถนนลูกรัง ชุมชนมีต้นไม้ร่มรื่น สะอาดสะอ้านเป็นระเบียบ
สาธารณูปโภคในชุมชน
1. วัด จำนวน 1 แห่ง คือ วัดโพธิ์งาม เป็นศูนย์รวมที่พึ่งทางจิตใจเป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมทาง
พระพุทธศาสนาในวันสำคัญทางศาสนา และประชากรในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัดร่วมกัน
2. โรงเรียนประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง มีนักเรียนทั้งหมด 64 คน เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลถึง
ประถมศึกษาปีที่ 6 คนในชุมชนได้มีการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
3. หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่งใช้สำหรับประชาสัมพันธ์ภายในหมู่บ้าน
4. ศาลาประชาคมในหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง ใช้สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน
5. โรงสีข้าว จำนวน 2 แห่ง ให้บริการสีข้าวแก่ประชาชนในชุมชน
6. น้ำประปา จำนวน 1 แห่ง สำหรับให้บริการประชาชนทุกครัวเรือน
7. ร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน จำนวน 3 แห่ง สำหรับขายสินค้าทั่วไปของใช้ในครัวเรือนและเครื่อง
อุปโภคบริโภคต่างๆ
การคมนาคม
การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียง เช่น บ้านนา หมู่ 6 บ้านโนนทัน หมู่ 2 ตำบลโนนทัน ในการเดินทางไปใช้สถานบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนทัน สามารถเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ และรถยนต์เป็นยานพาหนะหลักในการเดินทาง ถนนภายในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียงเป็นถนนคอนกรีต ถนนเข้าหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง ภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสภาพดี ไม่มีหลุมไม่มีบ่อ การคมนาคมสะดวกสบายส่วนการเดินทางระหว่างอำเภอหรือจังหวัด โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ประชาชนส่วนมากใช้รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และยังมีการใช้รถประจำทาง และรถยนต์ส่วนบุคคล หากมีการเจ็บป่วยฉุกเฉินประชาชนสามารถโทรเรียกรถหน่วยกู้ชีพเทศบาลตำบลโนนทันหมายเลข 1669 แต่ประชาชนส่วนใหญ่จะใช้รถส่วนตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล
แหล่งบริการและแหล่งประโยชน์ต่างๆในชุมชน
1. วัดโพธิ์งาม 1 แห่ง
2. โรงเรียน 1 แห่ง
3. องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง
4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนทัน 1 แห่ง พยาบาลวิชาชีพ 2 คน นักวิชาการสาธารณสุข 1 คน เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 คน ลูกจ้างชั่วคราว 2 คน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 73 คน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หมู่ 5 บ้านเปือย 14 คน
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่งตั้งอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนทัน โรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง มีจำนวนนักเรียน ดังนี้
จากการสำรวจเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 พบว่า มีประชากร ทั้งหมด 581 เป็นชาย 283 คน เป็นหญิง 298 คน จำนวน 165 หลังคาเรือน ซึ่งมีครัวเรือนไปทำงานไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ 27 หลัง , มีทะเบียนบ้านแต่ไม่มีคนอยู่ 14 หลัง ครอบครัวกลุ่มเสี่ยงโควิดกักตัว 7 หลัง อาศัยอยู่ตามไร่นา 24 หลังคา ไม่สะดวกให้ข้อมูล 10 หลัง (เพื่อนำมาลบออกจาก 165 หลังเลยเหลือแค่ 82 หลังคาเรือน)จากสถานการณ์โควิดไม่ได้เก็บคนที่อยู่นา หรือบ้านคนไม่อยู่ จึงมีการศึกษาแค่ 82 หลัง (ปชก. แบ่งออกข้อมูลเป็น 2 แบบ คือ ตามทะเบียนราษฎรกับข้อมูลที่เราเก็บมาจริง)
จากแผนภูมิพบว่าจากประชากรทั้งหมดของชุมชนบ้านเปือย หมู่ 5 ตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น 581 คน มีประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 28.58 ของประชากรทั้งหมด ชาย 77 คน คิดเป็นร้อยละ 13.26 หญิง 70 คน คิดเป็นร้อยละ 15.32 ประชากรส่วนน้อยจะอยู่ในช่วงอายุ 25-39 ปี จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 12.23 เพศชายจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 5.17 เพศหญิง จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 7.06 จากรูปร่างของพีระมิดอยู่ในรูป… แสดงให้เห็นว่ามีจำนวนผู้สูงอายุที่มากกว่าวัยทำงานและวัยเด็ก ซึ่งมีอัตราการเกิดน้อย อัตราตายต่ำ และมีอัตราการพึ่งพิงที่สูงมากขึ้น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของการแพทย์ที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุลดลง
จากแผนภูมิพบว่าจากประชากรทั้งหมดของชุมชนบ้านเปือย หมู่ 5 ตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น 240 คน มีประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 37.92 ของประชากรทั้งหมด ชาย 38 คน คิดเป็นร้อยละ 15.83 หญิง 53 คน คิดเป็นร้อยละ 22.08 ประชากรส่วนน้อยจะอยู่ในช่วงอายุ 30-34 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 เพศชายจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 เพศหญิง จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 จากรูปร่างของพีระมิดอยู่ในรูปแสดงให้เห็นว่ามีจำนวนผู้สูงอายุที่มากกว่าวัยทำงานและวัยเด็ก ซึ่งมีอัตราการเกิดน้อย อัตราตายต่ำ และมีอัตราการพึ่งพิงที่สูงมากขึ้น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของการแพทย์ที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุลดลง
ประชาชนส่วนใหญ่ของชาวบ้านเปือยนับถือศาสนาพุทธ จากการสำรวจทั้งหมด 240 คนพบว่าที่คนที่นับถือศาสนาพุทธ 239 คน คิดเป็นร้อยละ 99.5 ส่วนน้อยที่นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของจำนวนทั้งหมด
มกราคม ต้นเดือนมกราคมเป็นช่วงต้นปีจะมีการทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ จะมีการบายศรีสู่ขวัญ การขอพร ขอขมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้มีอาวุโสในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการต้อนรับสิ่งใหม่ๆ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครอบครัวและชุมชน และในเดือนนี้มักจะนิยมจัดงานมงคล เช่น งานแต่ง งานบวช ทำบุญบ้าน เป็นต้น ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม กุมภาพันธ์ พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อเตรียมข้าวจี่พร้อมแล้ว ชาวบ้านจะไปรวมกันหรือต่างคนจัดทำจากบ้าน แล้วนำไปถวายพระภิกษุที่วัด มีการไหว้พระรับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรด้วยข้าวจี่ เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม มีนาคม –เมษายน บุญพระเวสสันดร บุญผะเหวด หรือบุญพระเวส หมายถึง บุญพระเวสสันดร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ ชาวอีสานจะนิยมจัดขึ้นในเดือนสี่ (ช่วงเดือนมีนาคม) เป็นบุญประจำปีในฮีตสิบสอง ดังที่ปราชญ์อีสานได้ประพันธ์ผญา (บทกลอน) เกี่ยวกับการทำบุญในช่วงเดือนสามและเดือนสี่ไว้ว่า “เถิงเมื่อเดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ตกเมื่อเดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มัทรี” แปลว่า เมื่อถึงเดือนสามพระภิกษุสามเณรจะรอชาวบ้านทำบุญข้าวจี่ และเมื่อถึงเดือนสี่(ช่วงเดือนมีนาคม) สามเณรเทศน์กัณฑ์มัทรีในงานบุญมหาชาติ ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม เมษายน เดือนเมษายนหรือบุญเดือนสี่จะเป็นบุญสรงน้ำหรือซึ่งงานประเพณีสงกรานต์ชาวบ้านจะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ มีการจัดขบวนแห่นางสงกรานต์ มีสรงน้ำพระและบรรพบุรุษ และมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ในบ้านด้วย ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ลูกหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัดจะกลับมา สังสรรค์ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม พฤษภาคม บุญบั้งไฟในเดือนนี้อดีตเคยมีการจัดประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบสานต่อกันมาทางวัฒนธรรมของหมู่บ้าน แต่ในปัจจุบันหมู่บ้านงดการจัดบุญบั้งไฟ เนื่องจากผู้ทำบั้งไฟเสียชีวิตไม่มีผู้สืบทอด และบั้งไฟทำให้เกิดความเสียหายกับไร่อ้อย ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม มิถุนายน เดือนพฤษภาคมหรือบุญเดือนห้า ในเดือนนี้จะมีการทำบุญเบิกบ้าน แต่ละครอบครัวจะเชิญพระสงฆ์มาทำบุญ ตักบาตร ทำพิธีไหว้ศาลปูตา และประพรมน้ำมนต์ เพื่อเป็นศิริมงคล และมีพิธีสำคัญคือพิธีแรกนาขวัญ เป็นบุญที่จะทำทุกปีก่อนที่จะเริ่มทำนาปี เพื่อเป็นการเตรียมตัวทำนา โดยในช่วงนี้จะมีการเตรียมที่นาเพื่อจะหว่านเมล็ดพันธุ์สำหรับปลูกข้าว เป็นเดือนที่เป็นช่วงฤดูกาลทำนา กรกฎาคม บุญเข้าพรรษา จะเป็นช่วงเดือนที่มีงานบุญประเพณีเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้าและมีการแห่เทียนพรรษา มีการถวายผ้าอาบรน้ำฝนแก่พระภิกษุและมีการจำวัดของผู้เฒ่าหรือแม่ออกในวัดตลอดช่วง 3 เดือนที่เข้าพรรษา สิงหาคม บุญข้าวประดับดิน จะมีประเพณีบุญข้าวประดับดิน ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าการนำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงเจ้าที่เจ้าทางที่รักษาพื้นนา เชื่อว่าจะทำให้ได้ข้าวอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจะเตรียมข้าวปลาอาหารใส่กระทงใบตอง มีเครื่องเส้น บุหรี่ หมากพู นำไปวางตามท้องทุ่งนา ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม กันยายน บุญข้าวสาก ทำบุญตักบาตรเทโวอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ตุลาคม บุญออกพรรษาเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงประเพณีออกพรรษา โดยทำบุญตักบาตรเทโวอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา พฤศจิกายน บุญกฐินจะทำบุญผ้าป่า เนื่องจากเป็นบุญที่ทำหลังจากออกพรรษา โดยการถวายผ้าบังสุกลนอกจากนี้ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ชาวบ้านจะเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการทำนาปี โดยปกติมักจะหลังจากเสร็จงานบุญเพื่อถือเป็นการทำบุญก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวบ้านจะมาร่วมทำบุญกันก่อนที่จะแยก ย้ายกันเก็บเกี่ยวผลผลิตของตนเอง นอกจากนี้ยังมีประเพณีลอยกระทงโดยการจัดให้มีการลอยกระทงที่หนองน้ำ ลำคลอง ลำห้วยของหมู่บ้าน ธันวาคม บุญข้าวกรรม ตรงกับวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมทำอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน การสวดระงับอาบัติ ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้ว ถือว่าเป็นผู้หมดมลทินบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชาวบ้านที่ทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ระหว่างเข้ากรรมถือได้ว่ากุศลแรง ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
มกราคม
ต้นเดือนมกราคมเป็นช่วงต้นปีจะมีการทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ จะมีการบายศรีสู่ขวัญ การขอพร ขอขมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้มีอาวุโสในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการต้อนรับสิ่งใหม่ๆ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครอบครัวและชุมชน และในเดือนนี้มักจะนิยมจัดงานมงคล เช่น งานแต่ง งานบวช ทำบุญบ้าน เป็นต้น ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
กุมภาพันธ์
พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อเตรียมข้าวจี่พร้อมแล้ว ชาวบ้านจะไปรวมกันหรือต่างคนจัดทำจากบ้าน แล้วนำไปถวายพระภิกษุที่วัด มีการไหว้พระรับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรด้วยข้าวจี่ เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
มีนาคม –เมษายน
บุญพระเวสสันดร บุญผะเหวด หรือบุญพระเวส หมายถึง บุญพระเวสสันดร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ ชาวอีสานจะนิยมจัดขึ้นในเดือนสี่ (ช่วงเดือนมีนาคม) เป็นบุญประจำปีในฮีตสิบสอง ดังที่ปราชญ์อีสานได้ประพันธ์ผญา (บทกลอน) เกี่ยวกับการทำบุญในช่วงเดือนสามและเดือนสี่ไว้ว่า “เถิงเมื่อเดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ตกเมื่อเดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มัทรี” แปลว่า เมื่อถึงเดือนสามพระภิกษุสามเณรจะรอชาวบ้านทำบุญข้าวจี่ และเมื่อถึงเดือนสี่(ช่วงเดือนมีนาคม) สามเณรเทศน์กัณฑ์มัทรีในงานบุญมหาชาติ ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
เมษายน
เดือนเมษายนหรือบุญเดือนสี่จะเป็นบุญสรงน้ำหรือซึ่งงานประเพณีสงกรานต์ชาวบ้านจะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ มีการจัดขบวนแห่นางสงกรานต์ มีสรงน้ำพระและบรรพบุรุษ และมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ในบ้านด้วย ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ลูกหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัดจะกลับมา สังสรรค์ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
พฤษภาคม
บุญบั้งไฟในเดือนนี้อดีตเคยมีการจัดประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบสานต่อกันมาทางวัฒนธรรมของหมู่บ้าน แต่ในปัจจุบันหมู่บ้านงดการจัดบุญบั้งไฟ เนื่องจากผู้ทำบั้งไฟเสียชีวิตไม่มีผู้สืบทอด และบั้งไฟทำให้เกิดความเสียหายกับไร่อ้อย ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
มิถุนายน
เดือนพฤษภาคมหรือบุญเดือนห้า ในเดือนนี้จะมีการทำบุญเบิกบ้าน แต่ละครอบครัวจะเชิญพระสงฆ์มาทำบุญ ตักบาตร ทำพิธีไหว้ศาลปูตา และประพรมน้ำมนต์ เพื่อเป็นศิริมงคล และมีพิธีสำคัญคือพิธีแรกนาขวัญ เป็นบุญที่จะทำทุกปีก่อนที่จะเริ่มทำนาปี เพื่อเป็นการเตรียมตัวทำนา โดยในช่วงนี้จะมีการเตรียมที่นาเพื่อจะหว่านเมล็ดพันธุ์สำหรับปลูกข้าว เป็นเดือนที่เป็นช่วงฤดูกาลทำนา
กรกฎาคม
บุญเข้าพรรษา จะเป็นช่วงเดือนที่มีงานบุญประเพณีเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้าและมีการแห่เทียนพรรษา มีการถวายผ้าอาบรน้ำฝนแก่พระภิกษุและมีการจำวัดของผู้เฒ่าหรือแม่ออกในวัดตลอดช่วง 3 เดือนที่เข้าพรรษา
สิงหาคม
บุญข้าวประดับดิน จะมีประเพณีบุญข้าวประดับดิน ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าการนำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงเจ้าที่เจ้าทางที่รักษาพื้นนา เชื่อว่าจะทำให้ได้ข้าวอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจะเตรียมข้าวปลาอาหารใส่กระทงใบตอง มีเครื่องเส้น บุหรี่ หมากพู นำไปวางตามท้องทุ่งนา ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
กันยายน
บุญข้าวสาก ทำบุญตักบาตรเทโวอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
ตุลาคม
บุญออกพรรษาเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงประเพณีออกพรรษา โดยทำบุญตักบาตรเทโวอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
พฤศจิกายน
บุญกฐินจะทำบุญผ้าป่า เนื่องจากเป็นบุญที่ทำหลังจากออกพรรษา โดยการถวายผ้าบังสุกลนอกจากนี้ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ชาวบ้านจะเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการทำนาปี โดยปกติมักจะหลังจากเสร็จงานบุญเพื่อถือเป็นการทำบุญก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวบ้านจะมาร่วมทำบุญกันก่อนที่จะแยก ย้ายกันเก็บเกี่ยวผลผลิตของตนเอง นอกจากนี้ยังมีประเพณีลอยกระทงโดยการจัดให้มีการลอยกระทงที่หนองน้ำ ลำคลอง ลำห้วยของหมู่บ้าน
ธันวาคม
บุญข้าวกรรม ตรงกับวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมทำอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน การสวดระงับอาบัติ ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้ว ถือว่าเป็นผู้หมดมลทินบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชาวบ้านที่ทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ระหว่างเข้ากรรมถือได้ว่ากุศลแรง ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
ต้นเดือนมกราคมเป็นช่วงต้นปีจะมีการทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ จะมีการบายศรีสู่ขวัญ การขอพร ขอขมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้มีอาวุโสในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการต้อนรับสิ่งใหม่ๆ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครอบครัวและชุมชน และในเดือนนี้มักจะนิยมจัดงานมงคล เช่น งานแต่ง งานบวช ทำบุญบ้าน เป็นต้น ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
กุมภาพันธ์
พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อเตรียมข้าวจี่พร้อมแล้ว ชาวบ้านจะไปรวมกันหรือต่างคนจัดทำจากบ้าน แล้วนำไปถวายพระภิกษุที่วัด มีการไหว้พระรับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรด้วยข้าวจี่ เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
มีนาคม –เมษายน
บุญพระเวสสันดร บุญผะเหวด หรือบุญพระเวส หมายถึง บุญพระเวสสันดร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ ชาวอีสานจะนิยมจัดขึ้นในเดือนสี่ (ช่วงเดือนมีนาคม) เป็นบุญประจำปีในฮีตสิบสอง ดังที่ปราชญ์อีสานได้ประพันธ์ผญา (บทกลอน) เกี่ยวกับการทำบุญในช่วงเดือนสามและเดือนสี่ไว้ว่า “เถิงเมื่อเดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ตกเมื่อเดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มัทรี” แปลว่า เมื่อถึงเดือนสามพระภิกษุสามเณรจะรอชาวบ้านทำบุญข้าวจี่ และเมื่อถึงเดือนสี่(ช่วงเดือนมีนาคม) สามเณรเทศน์กัณฑ์มัทรีในงานบุญมหาชาติ ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
เมษายน
เดือนเมษายนหรือบุญเดือนสี่จะเป็นบุญสรงน้ำหรือซึ่งงานประเพณีสงกรานต์ชาวบ้านจะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ มีการจัดขบวนแห่นางสงกรานต์ มีสรงน้ำพระและบรรพบุรุษ และมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ในบ้านด้วย ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ลูกหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัดจะกลับมา สังสรรค์ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
พฤษภาคม
บุญบั้งไฟในเดือนนี้อดีตเคยมีการจัดประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบสานต่อกันมาทางวัฒนธรรมของหมู่บ้าน แต่ในปัจจุบันหมู่บ้านงดการจัดบุญบั้งไฟ เนื่องจากผู้ทำบั้งไฟเสียชีวิตไม่มีผู้สืบทอด และบั้งไฟทำให้เกิดความเสียหายกับไร่อ้อย ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
มิถุนายน
เดือนพฤษภาคมหรือบุญเดือนห้า ในเดือนนี้จะมีการทำบุญเบิกบ้าน แต่ละครอบครัวจะเชิญพระสงฆ์มาทำบุญ ตักบาตร ทำพิธีไหว้ศาลปูตา และประพรมน้ำมนต์ เพื่อเป็นศิริมงคล และมีพิธีสำคัญคือพิธีแรกนาขวัญ เป็นบุญที่จะทำทุกปีก่อนที่จะเริ่มทำนาปี เพื่อเป็นการเตรียมตัวทำนา โดยในช่วงนี้จะมีการเตรียมที่นาเพื่อจะหว่านเมล็ดพันธุ์สำหรับปลูกข้าว เป็นเดือนที่เป็นช่วงฤดูกาลทำนา
กรกฎาคม
บุญเข้าพรรษา จะเป็นช่วงเดือนที่มีงานบุญประเพณีเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้าและมีการแห่เทียนพรรษา มีการถวายผ้าอาบรน้ำฝนแก่พระภิกษุและมีการจำวัดของผู้เฒ่าหรือแม่ออกในวัดตลอดช่วง 3 เดือนที่เข้าพรรษา
สิงหาคม
บุญข้าวประดับดิน จะมีประเพณีบุญข้าวประดับดิน ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าการนำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงเจ้าที่เจ้าทางที่รักษาพื้นนา เชื่อว่าจะทำให้ได้ข้าวอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจะเตรียมข้าวปลาอาหารใส่กระทงใบตอง มีเครื่องเส้น บุหรี่ หมากพู นำไปวางตามท้องทุ่งนา ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
กันยายน
บุญข้าวสาก ทำบุญตักบาตรเทโวอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
ตุลาคม
บุญออกพรรษาเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงประเพณีออกพรรษา โดยทำบุญตักบาตรเทโวอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
พฤศจิกายน
บุญกฐินจะทำบุญผ้าป่า เนื่องจากเป็นบุญที่ทำหลังจากออกพรรษา โดยการถวายผ้าบังสุกลนอกจากนี้ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ชาวบ้านจะเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการทำนาปี โดยปกติมักจะหลังจากเสร็จงานบุญเพื่อถือเป็นการทำบุญก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวบ้านจะมาร่วมทำบุญกันก่อนที่จะแยก ย้ายกันเก็บเกี่ยวผลผลิตของตนเอง นอกจากนี้ยังมีประเพณีลอยกระทงโดยการจัดให้มีการลอยกระทงที่หนองน้ำ ลำคลอง ลำห้วยของหมู่บ้าน
ธันวาคม
บุญข้าวกรรม ตรงกับวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมทำอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน การสวดระงับอาบัติ ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้ว ถือว่าเป็นผู้หมดมลทินบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชาวบ้านที่ทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ระหว่างเข้ากรรมถือได้ว่ากุศลแรง ไม่ได้จัดเนื่องจากสถานการการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อลดการชุมนุม
ชื่อ พ่ออนูญ ศรีหลง
ประวัติส่วนตัว
- เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2494
ภูมิลำเนา
- บ้านเลขที่ 13/2 หมู่ 5 บ้านเปือย ตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ประวัติการศึกษา
- เข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาเปื่อย ป.1-ป.4 จบการศึกษาขั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อปี 2504 และ
ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อชั้น มส.1 ที่ โรงเรียนหนองเรือ ได้ครึ่งเทอม และลาออก
ประวัติชีวิต
- พ.ศ. 2507 อายุ 13 ปี เดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร ทำงานรับจ้าง ใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพ 8ปี
- พ.ศ. 2015 อายุ 21 ปี เดินทางกลับบ้านเพื่อเข้าคัดเลือกรับราชการทหาร จับได้ใบดำ หลังจากนั้น
บวชเรียน 1 พรรษา เมื่อศึกออกมาก็ได้สมรส
- พ.ศ. 2516 อายุ 22 มีบุตรคนแรก เพศหญิง
- พ.ศ. 2521 อายุ 27 ปี มีบุตรคนที่สอง เพศชาย
- พ.ศ. 2523 อายุ 29 ปี บิดาเสียชีวิตด้วยโรคตับ อายุได้ 56 ปี
- พ.ศ. 2540 อายุ 46 ปี ศึกษาต่อ กศน. จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- พ.ศ. 2541-2544 มารดาเสียชีวิต อายุ 65 ปี
- พ.ศ. 2546 อายุ 52 ปี ป่วย HT
- พ.ศ. 2557 อายุ 63 ปี ป่วย DM
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ. 2520 อายุ 26 ปี ตำรงตำแหน่ง อสม. ประจำหมู่บ้าน ปัจจุบัน พ.ศ. 2564 อายุ 70 ปี ตำรงตำแหน่งประธาน อสม.หมู่บ้าน
- พ.ศ. 2524 อายุ 30 ปี ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถานศึกษาจนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2555-2559 ได้รับรางวัล อสม.
- พ.ศ. 2531 อายุ 37 ปี ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ใหญ่บ้าน
- พ.ศ. 2540-2544 ตำรงตำแหน่งสมาชิก อบต.
- พ.ศ. 2544-2548 ตำรงตำแหน่งนายก อบต.
- พ.ศ. 2554-2558 อายุ 60-64 ปี ดำรงตำแหน่งประธาน อสม.ประจำอำเภอ
- พ.ศ. 2556 อายุ 62 ปี ดำรงตำแหน่งรองนายก อบต.
แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตของชุมชน
1. แหล่งน้ำธรรมชาติหมู่บ้านเปือย มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านหมู่บ้านทั้งหมด 1 สาย ชื่อคลองบุนา
2. ป่าช้า บริเวณพื้นที่เก็บเห็ดของชุมชนบ้านเปือย
กองทุนปุ๋ย 1 แห่ง
กองทุนหมู่บ้าน 1 แห่ง
ผู้คนในชุมชนบ้านเปือยใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน
ชุมชนบ้านเปือยได้เข้าร่วมโครงการเกษตรกรชุมชนบ้านเปือย ปลอดภัยห่างไกลสารพิษ หมู่ 5 ต.โนนทัน อ.หนองเรือ จ.ขอนเเก่น
ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีการทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักโดยมีประชากรในชนบททั้งหมด 1,320,061 คน คิดเป็นร้อยละ 75.8 ของประชากรทั้งจังหวัด โดยมีครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ 55.27 ของครอบครัวทั้งหมด มีพื้นที่การเกษตร 4,369,043 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 64.19 ของพื้นที่จังหวัด โดยมีจำนวนคนทำงานภาคเกษตร 324,879 คน โดยแยกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านกสิกรรม หรือด้านพืช ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้หลักให้แก่เกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และ ถั่วเหลือง ด้านปศุสัตว์ สัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ คือ โคนม และโคเนื้อ และอีกหนึ่งด้านคือ ด้านการประมง โดยส่วนใหญ่ในการเพาะปลูกพืชมีผู้ที่ใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการปลูกเพื่อหวังผลผลิตในการส่งขาย ดังนั้นเกษตรกรส่วนมากจึงได้มีการสัมผัสสารเคมีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งกระทบต่อสภาวะสุขภาพของเกษตรกรได้ โดยข้อมูลในปี พ.ศ. 2560 มีการสำรวจผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในจังหวัดขอนแก่น จากจำนวน 1,801,753 คน พบว่าจำนวนผู้ป่วยจากพิษเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งหมด 478 คน คิดเป็น 26.53 ต่อแสนคน ( กองแผนและงบประมาณ อบจ.ขอนแก่น,2016)
ซึ่งการที่เกษตรกรที่ได้ทำการเกษตรตลอดทั้งปีในรูปแบบขอการเกษตรหมุนเวียนจึงต้องมีการใช้สารเคมีสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ตลอดเวลาสารเคมีกำจัดศัตรูสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ในอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ผิวหนัง และตา ก่อให้เกิดผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลันซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากการสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตาพร่ามัว หายใจติดขัด เป็นต้น ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรค หรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง โรคผิวหนังต่างๆ อัมพาต การเป็นหมัน การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น นอกจากนั้นผลกระทบต่อการใช้สารเคมีฯยังส่งผลต่อระบบประสาท ระบบเมตตาบอลิก และระบบอื่นๆในร่างกายโดยอาการแสดงทางระบบ ประสาทท่ีเกิดจากการสัมผัสสารเคมีฯน้ี ได้แก่ เมื่อยล้า มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ตาลาย หน้าแดง ปวดศีรษะ น้ำลายมากชัก และหมดสติ เป็นต้น (รัตนา ทรัพย์บำเรอ,2561 )ปัญหาพิษภัยสารเคมีที่ตกค้างไม่ได้ส่งผลต่อเกษตรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้บริโภคด้วย เนื่องจากการบริโภคผัก และผลผลิตที่มีการตกค้าง
จากข้อมูลการสํารวจพื้นที่บ้านเปือย หมู่ 5 ตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 82 ครัวเรือน พบว่าอาชีพของประชากรส่วนใหญ่อาชีพเกษตรกรรรมจำนวน 73 ครัวเรือนซึ่งใช้สารเคมีในการทำการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งส่วนใหญ่ทำการปลูกข้าวในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเกษตรกรจะทำการปลูกข้าวโพดในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อส่งให้กับโรงงานรับซื้อผลิตภัณฑ์การเกษตร นอกจากนี้ในระหว่างปียังมีการปลูกผักต่างๆ เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง พริก มะเขือ เพื่อขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางรับซื้อ เกษตรกรในหมู่บ้านจึงให้ความสำคัญเรื่องผลผลิตที่ได้ เพื่อเร่งผลผลิตให้ผลผลิตที่สวยในปริมาณมากเนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายทางเกษตรโดยความเสี่ยงของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีในเกษตรกรบ้านเปือย ตำบลโนนทัน พบประชากรกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 38 ในปี 2563 และ 2564 พบผู้ป่วยมีอาการผื่นร้อยละ 8.12 และ 5.51 ตามลำดับ ตาขาวอักเสบร้อยละ 3.45 และ 5.51 และเยื่อบุตาอักเสบร้อยละ 2.59 และ 3.79 ตามลำดับ และจากการทำแบบสอบถามจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคเกษตรกรในหมู่บ้านมีความรู้ในการปฏิบัติตนมีความรู้ในการปฏิบัติตัวร้อยละ 39.73 - 98.63 แต่อย่างไรก็ตามพบว่าพฤติกรรมปฏิบัติตัวในการใช้สารเคมีทางการเกษตรมีครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดีขึ้นไปจำนวน 50 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 68 และไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 23 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 32 ไม่ผ่านเกณฑ์มีใส่หมวกปีกกว้าง ร้อยละ 53.42 สวมผ้ายางกันเปื้อน ร้อยละ 39.73 และ ฝังกลบภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้หมดแล้ว ร้อยละ 53.42
ดังนั้นคณะผู้จัดทำร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนทันจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรจึงได้จัดโครงการเกษตรกรชุมชนบ้านเปือย ปลอดภัยห่างไกลสารพิษ หมู่ 5 ตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีในทางการเกษตร
ชุมชนบ้านเปือยมีจุดที่น่าสนใจอื่นๆเช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ หมู เปื่อย สด อีสานเหนือ ร้านพรไก่ย่าง และ วัดสว่างอารมณ์
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด. โครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ปี 2561.
[เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://localfund.happynetwork.org/project/22707/finalreport
กองแผนและงบประมาณ อบจ.ขอนแก่น. ด้านเกษตรกรรม. [เว็บบล็อก]. สืบค้น
จาก http://www.kkpao.go.th/E-PlanData/index.php?mod=index&file=datacat5-3โครงการการให้การศึกษาการใช้สารกำจัดศัตรูพืชออนทาริโอ. ความปลอดภัยในการทำงานกับสารกำจัดศัตรูพืช
สำหรับผู้ช่วยเกษตรกร. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.ohcow.on.ca/edit/files/migrant_farm_worker/pesticide_safety_for_on_farm_assistants_thai.pdf
รัตนา ทรัพย์บำเรอและคณะ. (2561). การศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
กรณีศึกษาในเกษตรกรปลูกกระเทียม จังหวัดพะเยา. Naresuan University Journal: Science and Technology. (26)1. 20-31.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีทาง
การเกษตรของเกษตรกร อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารสุขจังหวัดขอนแก่น. 3(1). 87-102. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/251256
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. การดำเนินงานมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน
ควบคุมโรคและภัยสุขภาพผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/105
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความ
เสี่ยง จากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/manual/Crp.pdf