Advance search

ชุมชนชาวไทภูเขาบนพื้นที่ตั้งชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และการพัฒนาศักยภาพชุมชนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น

หมู่ที่ 11
บ้านแม่แมะ
แม่นะ
เชียงดาว
เชียงใหม่
เทศบาลตำบลแม่นะ โทร. 093-329-9408
วิไลวรรณ เดชดอนบม
13 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
13 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
13 มิ.ย. 2024
บ้านแม่แมะ

ตั้งชื่อชุมชนตามพื้นที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย คือ ดอยแม่แมะ


ชุมชนชนบท

ชุมชนชาวไทภูเขาบนพื้นที่ตั้งชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และการพัฒนาศักยภาพชุมชนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น

บ้านแม่แมะ
หมู่ที่ 11
แม่นะ
เชียงดาว
เชียงใหม่
50170
19.321979486752
98.884979635477
เทศบาลตำบลแม่นะ

ชาวบ้านแม่แมะในอดีตมีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยกันเป็นชุมชนมายาวนานกว่า 200 ปีมาแล้ว โดยแรกเริ่มชาวบ้านจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบเชิงดอย ทำอาชีพเกษตรกรรมสวนเมี่ยง ต่อมาเมื่อประมาณ 80 ปีก่อน เกิดปัญหาความยากลำบากในการประกอบอาชีพ การเดินทางไปทำสวนเมี่ยงไม่สะดวก ชาวบ้านจึงได้อพยพกันมาตั้งถิ่นฐานบนดอยแม่แมะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีลำห้วยไหลผ่าน โดยในลำห้วยมีทรายที่เมื่อสะท้อนกับแสงอาทิตย์จะเกิดเป็นสีทอง จึงได้ตั้งชื่อชุมชนว่า บ้านแม่แมะทรายคำ

โดยคำว่า แม่แมะ มาจากชื่อดอย และคำว่า ทรายคำ มาจากทรายที่มีสีทองบริเวณลำห้วย ซึ่งคำว่าทองในภาท้องถิ่นตรงกับคำว่า คำ ต่อต่อมาชื่อชุมชนจึงเหลือเพียงคำว่า แม่แมะ เท่านั้น หลังจากที่ชาวบ้านย้ายครอบครัวจากพื้นที่ราบเชิงดอยขึ้นมาตั้งถิ่นฐานที่ดอยแม่แมะ ในเวลาต่อมาก็มีผู้คนอพยพเข้ามาเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน โดยชุมชนแม่แมะได้รับการยกฐานะเป็นหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2499 เป็นหมู่บ้านแม่แมะ หมู่ที่ 11 ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 

บ้านแม่แมะตั้งอยู่ในพื้นที่ราบเชิงเขา มีภูเขาสูงสลับซับซ้อนโดยรอบ ที่ตั้งชุมชนมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร มีลำห้วยแม่แมะไหลผ่านทางทิศเหนือของหมู่บ้าน และลำห้วยแม่รายไหลผ่านทางทิศใต้มาบรรจบกับห้วยแม่แมะในบริเวณชุมชน และพื้นที่บริเวณชุมชนยังสามารถมองเห็นดอยหลวงเชียงดาวจากชุมชนได้อย่างชัดเจน เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมมีความสวยงามเป็นอย่างมาก

เส้นทางที่ใช้เดินทางมายังชุมชนบ้านแม่แมะ จะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 เข้าสู่อำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 68 จะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านแม่แมะ ระยะทางจากปางทางไปยังบ้านแม่แมะประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาที เป็นเส้นทางที่ค่อนข้างคับแคบและชัน โดยในระหว่างทางจะมีดอกไม้ป่าตามรายทางในและฤดูกาล ให้ได้ชมและเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ

สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่ 11 บ้านแม่แมะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 599 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 302 คน ประชากรหญิง 297 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 208 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2566)

ชาวบ้านแม่แมะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นรายได้หลักของชุมชน โดยส่วนใหญ่เป็นการทำสวนเมี่ยง หรือสวนชา ตามบริเวณไหล่เขา ซึ่งเป็นอาชีพที่ชาวบ้านทำต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนานรุ่นสู่รุ่น โดยชาที่ชาวบ้านนิยมปลูกมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ชาอัสสัม ชาศรีลังกา การปลูกเมี่ยงหรือชาของชาวบ้านเป็นการปลูกผสมผสานกับไม้ยืนต้นในพื้นที่ลาดชันกลางหุบเขา ในสวนจะประกอบไปด้วยไม้ยืนต้นอื่นๆ เช่น ต้นลิ้นจี่ ต้นตาว ฯลฯ และนอกจากการปลูกชาแล้วชาวบ้านยังปลูกพืชชนิดอื่นอีก เช่น กาแฟ ส้ม และท้อ

เนื่องจากพื้นที่บริเวรชุมชนบ้านแม่แมะมีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศมีความสวยงาม ทั้งยังสามารถมองเห็นดอยหลวงเชียงดาวได้อย่างชัดเจนในพื้นที่ชุมชน ประกอบกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ชาวบ้านบางส่วนเปิดบ้านเป็นโฮมสเตย์ เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสใกล้ชิดกับธรรมชาติ และชุมชนยังมีเส้นทางการเดินป่าศึกษาธรรมชาติถึงสองเส้นทาง ระหว่างทางจะพบไม้ป่าสวยงามตามฤดูกาล มีสวนเมี่ยง ป่าไผ่ และจุดชมวิว รวมไปถึงเส้นทางที่เดินไปถึงแหล่งน้ำตกที่มีความสวยงาม

สำหรับวิถีชีวิตของชาวบ้านแม่แมะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีวิถีที่คล้ายคลึงกับคนเมืองล้านนาในท้องถิ่นโดยทั่วไป ประเพรีและวัฒนธรรมในท้องถิ่นจะถูกกำหนดขึ้นตามปฏิทินจันทรคติแบบล้านนา ประกอบด้วย

  • เดือนหนึ่ง ประมาณช่วงเดือนกันยายน
  • เดือนสอง (เดือนยี่) ประมาณช่วงเดือนตุลาคม
  • เดือนสาม ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน
  • เดือนสี่ ประมาณช่วงเดือนธันวาคม
  • เดือนห้า ประมาณช่วงเดือนมกราคม
  • เดือนหก ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์
  • เดือนเจ็ด ประมาณช่วงเดือนมีนาคม
  • เดือนแปด ประมาณช่วงเดือนเมษายน
  • เดือนเก้า ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม
  • เดือนสิบ ประมาณช่วงเดือนมิถุนายน
  • เดือนสิบเอ็ด ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม
  • เดทอนสิบสอง ประมาณช่วงเดือนสิงหาคม

โดยมีประเพณีที่สำคัญที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่

  • ประเพณีเดือนยี่เป็ง หรือวันลอยกระทง ชาวบ้านจะร่วมกันทำโคมกระดาษ ในช่วงช่วงจะมีการทำกิจกรรมที่วัด การปล่อยคอมลอย และการลอยกระทง
  • ประเพณีเดือนสี่เป็ง หรือวันเพ็ญเดือนสี่ เป็นช่วงที่ชาวบ้านเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต และมีความเชื่อเกี่ยวกับการทำทาน จึงเกิดเป็นประเพณีการทานข้าวใหม่ โดยจะนำข้าวใหม่ไปทำเป็นข้าวหลามและนำไปทำบุญที่วัด
  • ประเพณีสงกรานต์ ชาวบ้านจะมีการทำบุญที่วัดและรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ นอกจากนี้จะมีการไหว้ศาลประจำหมู่บ้านเพื่อเป็นการขอบคุณที่คุ้มครองดูแลชาวบ้านตลอดทั้งปี
  • และนอกจากนี้ชาวบ้านจะมีการเข้าวัดทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านแม่แมะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก ทั้งผืนดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นทุนสำคัญในการดำรงชีวิตของระบบชุมชน เป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งรายได้ของชาวบ้านและคนในพื้นที่ โดยชาวบ้านมีการเข้าไปเก็บหาอาหารป่า พืชผัก สมุนไพร รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่นำมาประกอบอาหารในครัวเรือน ทำเป็นยารักษาโรค

ทั้งยังมีการแบ่งขายอีกด้วยหากมีปริมาณที่มากพอโดยทรัพยากรต่างๆ ที่ชาวบ้านหาได้จากพื้นที่ป่ารอบบริเวณชุมชน เช่น พืชสมุนไพร ได้แก่ ฮ่อสะพานควาย แก้รากเหลือง กำลังเสือโคร่ง ม้าแม่ก่ำ สามสิบสองราก ว่านพญาช้าง หญ้าถอดปล้อง หญ้าหนวดแมว อบเชย หัวขาวเย็นเหนือ ฯลฯ พืชผักในป่า ได้แก่ ผักกาด ผักหนาม สะเดา ขี้เหล็ก ผักหวาน มะขามป้อม มะไฟ กล้วย ก่อ มะกอกป่า เห็ด หน่อไม้ ตาว น้ำผึ้ง ฯลฯ

ภาษาพูด : ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) ภาษากลาง

ภาษาเขียน : ภาษาไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คนึงนิจ ฟองสา. (2555). การใช้ประโยชน์และการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในป่าชุมชน หมู่บ้านแม่แมะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

บ้านต้นไม้แม่แมะ Tree House Hideaway. (2566). สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/TreeHouseHideaway/?locale=th_TH

บ้านต้นไม้แม่แมะ Tree House Hideaway. (2567). สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/TreeHouseHideaway/?locale=th_TH

ท่องเที่ยวชุมชน. (ม.ป.ป.). แม่แมะ หมู่บ้านเล็กกลางป่าใหญ่ เดินน้ำตก เก็บชามาคั่ว นั่งหนาวๆนอนนับดาว. ท่องเที่ยวไทย. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2567, จาก https://www.trekkingthai.com/

เทศบาลตำบลแม่นะ โทร. 093-329-9408