Advance search

บ้านยาป่าแหน่ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอแดง พัฒนาการทางสังคมของชุมชนกับความเชื่อดั้งเดิมในวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น

หมู่ที่ 5
บ้านยาป่าแหน
ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า โทร. 052-040147
วิไลวรรณ เดชดอนบม
13 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
13 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
13 มิ.ย. 2024
บ้านยาป่าแหน

ชื่อหมู่บ้านยาป่าแหนมาจากชื่อของผู้นำชุมชนที่ชาวบ้านให้ความเคารพเป็นอย่างมาก เมื่อมีการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการจึงได้ใช้ชื่อ ยาป่าแหนเป็นชื่อหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน


บ้านยาป่าแหน่ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอแดง พัฒนาการทางสังคมของชุมชนกับความเชื่อดั้งเดิมในวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น

บ้านยาป่าแหน
หมู่ที่ 5
ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
58105
19.60158581110354
98.2372596859932
องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า

ชาวบ้านยาป่าแหนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมูเซอแดง เดิมเป็นชาวบ้านชุมชนเดียวกับบ้านแสนคำลือ อำเภอปางมะผ้า ก่อนที่กลุ่มชาวบ้านจะแยกตัวออกมาเพื่อแสวงหาพื้นที่ทำกินใหม่ กลุ่มชาวบ้านมีการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยกันหลายครั้งก่อนที่จะมาตั้งหลักปักฐานเป็นชุมชนถาวร ณ ปัจจุบัน เนื่องจากเมื่อชาวบ้านย้ายถิ่นฐานไปตั้งบ้านเรือนตามป่าตามเขา แล้วเกิดเหตุมีคนในชุมชนล้มป่วย ไม่สบาย ชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นการกระทำของผี ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่ชาวบ้านสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่และอาจเผลอไปทำให้ผีนั้นไม่พอใจจึงโดนลงโทษ ชาวบ้านจึงต้องย้ายบ้านเรือนไปยังที่ใหม่ และเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นเดิมขึ้นอีก ชาวบ้านก็มีการอพยพโยกย้ายอีกครั้ง จนสุดท้ายได้มาลงหลักปักฐานที่ชุมชนบ้านยาป่าแหนในปัจจุบัน

สำหรับชื่อชุมชน ยาป่าแหนเป็นชื่อของผู้นำชุมชนที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ เนื่องจากเป็นคนที่มีความสามารถในการล่าสัตว์ และมีความรู้ในเรื่องของจารีตประเพณีท้องถิ่นเป็นอย่างดี ปีใดที่การเพาะปลูกได้ผลผลิตไม่ดี ยาป่าแหนจะเป็นผู้นำในการล่าสัตว์เพื่อนำไปแลกขาว แลกอาหารในเมืองมาจุนเจอชาวบ้าน ยาป่าแหนจึงเป็นผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก และเมื่อหน่วยงานราชการมีการประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน จึงได้ใช้ชื่อของยาป่าแหน มาตั้งเป็นชื่อชุมชนจนถึงปัจจุบัน

บ้านยาป่าแหน ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุมชนมีพื้นที่ประมาณ 1,094 ตารางกิโลเมตร ลักษณะทางกายภาพของชุมชนเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาสูงชัน มีพื้นที่ราบในหุบเขาเพียงเล็กน้อย ที่ตั้งชุมชนอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นระยะความสูงประมาณ 960-980 เมตร หมู่บ้านตั้งอยู่บนพื้นที่เนินเขาสองลูก เนินเขาลูกแรก เป็นที่ตั้งของโรงเรียนและบ้านเรือนของชาวบ้านบางส่วน ด้านหลังของเนินเขามีลำธารสายเล็กไหลผ่าน เนินเขาลูกที่สองอยู่ถัดกันออกไป เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านส่วนใหญ่ มีชาวบ้านกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำทางจิตวิญญาณ ร้านค้าชุมชน และศาลาประจำชุมชน โดยพื้นที่ระหว่างเนินเขาจะมีถนนตัดผ่านซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังหลายหมู่บ้านในตำบลปางมะผ้าและตำบลใกล้เคียงด้วย

บ้านยาป่าแหน ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมูเซอแดง โดยมีสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่ 5 บ้านยาป่าแหน ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 637 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 329 คน ประชากรหญิง 308 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 261 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2566)

ลาหู่

บ้านยาป่าแหน ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับด้านการทำเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตแบบชาวไทยภูเขา กลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นทางภาคเหนือโดยทั่วไป คือการประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่เป็นหลัก โดยชาวบ้านนิยมทำข้าวไร่ ทำไร่ข้าวโพด ปลูกถั่วแดง ถั่วดำ และพืชผักต่าง ๆ ฯลฯ ทั้งเพื่อส่งขายและเพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีการทำปศุสัตว์ในระดับครัวเรือนเพื่อเป็นอาชีพเสริม และเลี้ยงไว้สำหรับบริโภค สัตว์ที่ชาวบ้านเลี้ยงตัวอย่างเช่น วัว หมู เป็น ไก่ เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1.พ่อเฒ่ายาป่าแหน

ผู้นำอาวุโสบรรพบุรุษคนสำคัญของชุมชน ซึ่งชื่อของท่านได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ ยาป่าแหน ได้รับตำแหน่งเป็น อาดอของหมู่บ้าน คือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยของชุมชน ยาป่าแหนมีพ่อชื่อว่า จ่าหาเป็นชาวเผาลีซอ และมีแม่ชื่อว่า นาสอซึ่งเป็นชาวเผามูเซอแดง ยาป่าแหนมีพี่สาว 3 คน มีน้องสาว 1 คน และน้องชายคนเล็ก 1 คน ยาป่าแหนมีสายเลือดผู้นำเหมือนกับจ่าหาพ่อของเขา ที่เป็นผู้นำหมู่บ้านห้วยผึ้งในอดีต ซึ่งตั้งอยู่ในเขตประเทศพม่า ยาป่าแหนเป็นผู้นำที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือและให้เกียรติเสมอมา

สถานที่ภายในชุมชน

  • โรงเรียนบ้านยาป่าแหน เป็นโรงเรียนประจำชุมชนที่เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เริ่มเปิดทำการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน โดยมีนักเรียนที่เข้ามาศึกษาส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนชาวบ้านยาปาแหน
  • ป่าชุมชน/ป่าช้า เป็นพื้นที่สำหรับฝังศพเมื่อมีคนในหมู่บ้านเสียชีวิตซึ่งปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมคือการฝังศพ โดยพื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณด้านหลังโรงเรียน และถือเป็นพื้นที่ป่าชุมชนเพราะมีพรรณไม้ขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ถือเป็นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้อย่างหนึ่งของชุมชน
  • ศาลาประเพณีหรือโบสถ์ประจำหมู่บ้าน ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นพื้นที่สำหรับรักษาคนป่วยตามพิธีกรรมของปู่จองซึ่งเป็นความเชื่อท้องถิ่น ถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความสำคัญและเคารพนับถือ
  • อาคารอเนกประสงค์ และที่อ่านหนังสือประจำชุมชน สร้างขึ้นภายใต้คำแนะนำและการสนับสนุนจากทางหน่วยงานราชการ เป็นพื้นที่รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในปี พ.ศ. 2524 ได้มีครอบครัวชาวมูเซอจากจังหวัดเชียงใหม่ได้ย้ายเข้ามาสร้างบ้านเรือนในชุมชนบ้านยาป่าแหน ซึ่งชาวมูเซอครอบครัวนี้เป็นชาวมูเซอที่นับถือศาสนาคริสต์และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรศริสตศาสนาในการเผยแผ่ศาสนา ครอบครัวนี้เป็นชาวมูเซอที่มีความรู้ความสามารถในการอ่านหนังสือ และได้รับการถ่ายทอดความเชื่อทางศาสนาคริสต์มาจากมิชชันนารี และมีการแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษามูเซอ เมื่อมาตั้งถิ่นฐานในบ้านยาป่าแหนก็ได้มีการพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อเผยแผ่ศาสนา ระยะเวลาผ่านไปประมาณ 4-5 ปี ก็มีชาวบ้านเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ประมาณ 10 ครอบครัว ส่งผลให้มีความขัดแย้งกับชาวบ้านที่มีความเชื่อดั้งเดิม กลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสต์จึงมีการแยกตัวออกไปตั้งบ้านเรือนบนเนินเขาอีกลูกหนึ่ง เพื่อสร้างโบสถ์และทำพิธีกรรมทางศาสนา แต่ชาวบ้านก็ยังมีการติดต่อกันเป็นปกติ นอกจากนี้การเข้ามาของศาสนาคริสต์นอกจากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมความเชื่อ และสร้างความขัดแย้งให้กับชาวบ้านบ้าง แต่ยังมีการเข้ามาสนับสนุนทางด้านการศึกษา มีการแนะนำให้ชาวบ้านรู้จักใช้ตัวอักษร รู้จักการอ่านการเขียน การสอนไม่ให้ชาวบ้านเสพฝิ่น การนำยารักษาโรคที่ทันสมัยเข้ามาในชุมชน ซึ่งเป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้กับสมาชิกทุกคนในบ้านยาป่าแหนอย่างเท่าเทียม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิมุข ชาญธนะวัฒน์. (2538). คริสตศาสนา กับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมูเซอแดง: การศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีระหว่าง หมู่บ้านยาป่าแหน กับหมู่บ้านแสนคำลือ ในกิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนบ้านยาป่าแหน. (2565). สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/p/

โรงเรียนบ้านยาป่าแหน. (2566). สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/p/

องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า โทร. 052-040147