Advance search

บ้านดอน

แหล่งผลิตงานหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือรายใหญ่อันเลื่องชื่อแห่งหนึ่งของไทย ซึ่งอยู่คู่กับวิถีชีวิตมาแต่ดั้งเดิม และเป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานกว่า 200 ปี 

หมู่ที่ 7
บ้านดอนหลวง
แม่แรง
ป่าซาง
ลำพูน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
14 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
14 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
14 มิ.ย. 2024
บ้านดอนหลวง
บ้านดอน

เดิมทีหมู่บ้านดอนหลวงมีชื่อว่า "หมู่บ้านกอถ่อน" ซึ่งเป็นชุมชนของชาวยองที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่ง ต่อมาชาวบ้านเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า "บ้านดอนหลวง" เนื่องจากที่ตั้งหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ดอน และชาวยองเข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่เป็นชุมชนใหญ่ ซึ่งคำว่า "หลวง" แปลว่า "ใหญ่" ในภาษาเหนือ


แหล่งผลิตงานหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือรายใหญ่อันเลื่องชื่อแห่งหนึ่งของไทย ซึ่งอยู่คู่กับวิถีชีวิตมาแต่ดั้งเดิม และเป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานกว่า 200 ปี 

บ้านดอนหลวง
หมู่ที่ 7
แม่แรง
ป่าซาง
ลำพูน
51120
18.49435387664058
98.9159946660838
เทศบาลตำบลแม่แรง

ชุมชนชาวยอง บ้านดอนหลวงเป็นหมู่บ้านชาวยองที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ้งของแคว้นสิบสองปันนาในจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ค้าวัวต่างมาก่อน ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยอง ประเทศพม่า เข้ามาตั้งบ้านเรือนในเขตเมืองลำพูนเป็นชุมชนใหญ่ วิถีชีวิตของคนยองในสมัยก่อนจะทำไร่ทำนาและเลี้ยงวัวควาย เมื่อเว้นว่างจากงานดังกล่าว ผู้หญิงชาวยองจะทอผ้าเพื่อใช้ในครัวเรือน ในภาษายองเรียกการทอผ้าว่า "ตำหูก" แต่ละบ้านจะทอผ้าจากฝ้ายที่ปลูกเอง แล้วนำมาผ่านกระบวนการปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นด้าย จากนั้นย้อมสีเส้นด้ายด้วยวัสดุจากธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีพื้น จากนั้นจึงนำมาขึ้นกี่ที่มีอยู่ใต้ถุนบ้านแทบทุกหลังคาเรือนเพื่อทอเป็นผืนผ้า จากนั้นนำผ้าทอมาตัดเย็บเพื่อทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ในสมัยก่อนเด็กผู้หญิงในหมู่บ้านจะทอผ้าด้วยกันเป็นเกือบทุกคน การทอผ้ามือที่บ้านดอนหลวงจึงเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดมายาวนานนับร้อยปี

ช่วงเฟื่องฟูของการทอผ้า การทอผ้าฝ้ายมีความเฟื่องฟูมาตั้งแต่ช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ได้นำความรู้เรื่องการทอผ้ามาเผยแพร่ให้กับเจ้าในเมืองลำพูน ซึ่งเป็นเครือญาติกับเจ้าหญิงส่วนบุญ ชายาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ปกครองลำพูนองค์สุดท้าย และเมื่อเจ้าหญิงส่วนบุญเห็นว่าชาวเวียงยองทอผ้าเป็น จึงให้ไปทอผ้าในคุ้ม ภายหลังคนที่ทอเป็นก็ออกมาสอนคนข้างนอก ทำให้ความรู้เรื่องการทอผ้าแพร่หลายและเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไปมากขึ้นตามลำดับ

การทอผ้า อาชีพที่สร้างรายได้ ต่อมาเมื่อมีถนนตัดผ่านถึงตัวอำเภอป่าซางไปถึงจังหวัดเชียงใหม่ การทอผ้ามือของช่างทอผ้าบ้านดอนหลวงจึงกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ แทนการทำไร่ทำนาอย่างในอดีต นอกจากนี้ยังมีโรงงานทอผ้าก่อตั้งในตัวเมืองอำเภอป่าซาง ทำให้ช่างทอผ้าจากบ้านดอนหลวงหลายคนไปทำงานที่โรงงานทอผ้า และได้คิดค้นลวดลายใหม่ ๆ ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น

ความร่วมมือของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญา พ.ศ. 2535 เกิดกลุ่มทอผ้าบ้านดอนหลวงเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าของชุมชน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนและการสนับสนุนจากภาครัฐ ในช่วงแรกมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 15 คน โดยสมาชิกในกลุ่มทำหน้าที่ส่งเสริม พัฒนา และกระจายสินค้าให้แก่สมาชิก ซึ่งมีศูนย์จำหน่ายสินค้าจากผ้าฝ้ายทอมือตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน

พ.ศ. 2532 เกิดศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เครือข่ายกลุ่มทอผ้าหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยได้รับงบประมาณจากกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ (ก.น.ช.) งบประมาณส่วนหนึ่งมาสร้างศาลาประชาธิปไตยในพื้นที่ของวัดดอนหลวง และได้จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นศูนย์หัตถกรรม ต่อมาอาคารดังกล่าวทรุดโทรมลง

พ.ศ. 2541 ชุมชนสร้างอาคารศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ผ้าทอขึ้นใหม่ในที่เดิม โดยได้รับงบประมาณจากโครงการมิยาซาวา ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมสินค้าหัตถกรรมของกลุ่มเครือข่ายและฝึกอบรมสมาชิกเกี่ยวกับการทอผ้า การย้อมสีผ้า รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์

ต่อมา พ.ศ. 2542 ชุมชนบ้านดอนหลวงได้รับรางวัลหมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น จึงเปิดรับสมาชิกเพิ่มเพื่อขยายความร่วมมืออนุรักษ์และพัฒนาการทอผ้าฝ้าย

พ.ศ. 2549 บ้านดอนหลวงยังได้เป็นหมู่บ้าน OTOP แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (หมู่บ้าน OVC)

ปัจจุบัน การทอผ้าฝ้ายของชุมชนบ้านดอนหลวงได้รับการพัฒนารูปแบบ สีสัน และลวดลายให้ร่วมสมัย และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมไหล่ ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูเตียง และผลิตเป็นของที่ระลึกให้กับแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ ดังนั้นชุมชนบ้านดอนหลวงจึงเป็นแหล่งผลิตสินค้าจากผ้าฝ้ายทอเมืองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย นอกจากนี้ ชุมชนบ้านดอนหลวงมีการจัดงาน "แต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวง" ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าประจำปีของหมู่บ้าน (จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546) 

ชุมชนบ้านดอนหลวงเป็นชุมชนขนาดเล็ก ในหมู่บ้านมีตรอกซอกซอยต่าง ๆ ของชุมชนแห่งนี้ โดยคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกันและรู้จักกันเกือบหมด บริเวณกลางหมู่บ้านมีศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เครือข่ายกลุ่มทอผ้าหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่เรียนรู้งานหัตถกรรมผ้าแบบโบราณที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามาเยี่ยมเยือนและศึกษาดูงาน นอกจากนี้ในหมูบ้านมีวัดประจำหมู่บ้านคือ วัดดอนหลวง

ประชากรในชุมชนบ้านดอนหลวงส่วนใหญ่เป็นชาวยองและคนเมือง 

ยอง

คนในชุมชนหัตถกรรมบ้านดอนหลวงประกอบอาชีพเป็นช่างทอผ้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้าย ซึ่งลวดลายของผ้ามาจากแรงบันดาลใจต่อสิ่งต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต คติความเชื่อ และพุทธศาสนา ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ ลายกล้วยไม้ ลายพิกุล ลายกนก และลายดอกบานไม่รู้โรย ซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น

คนในชุมชนส่วนใหญ่สื่อสารกันด้วยภาษายองและภาษาคำเมือง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จังหวัดลำพูน. (2562). หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านดอนหลวงhttps://www.lamphun.go.th/

ประภัสสร แสนไชย. (2554). กระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือของชุมชนบ้านดอนหลวง จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2564). วิถีชาวยองบ้านดอนหลวง จ.ลำพูน ชุมชนที่รักษาอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้คงอยู่. https://www.dasta.or.th/