Advance search

หนองป๋าเข้า

วัดป่าดาราภิรมย์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังที่ว่าการอำเภอแม่ริมและค่ายดารารัศมี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 7 ของเชียงใหม่ ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนาได้เป็นอย่างดี บรรยากาศร่มรื่นและสงบ เหมาะแก่การมาทำบุญไหว้พระ เพื่อให้จิตใจสงบและผ่องใสเป็นอย่างมาก

หมู่ที่ 1
บ้านริมใต้
ริมใต้
แม่ริม
เชียงใหม่
เทศบาลแม่ริม โทร. 0-5329-7613
พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
24 เม.ย. 2023
พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
3 พ.ค. 2023
พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
24 เม.ย. 2023
บ้านริมใต้
หนองป๋าเข้า

พื้นที่ตำบลริมใต้มีชื่อไม่เป็นทางการว่า “หนองป๋าเข้า” (คลองที่มีปลาเข้ามาอาศัยมากมาย) มีกุ้ง หอย ปู ปลา อุดมสมบูรณ์ ส่วนบริเวณบ้านที่อยู่อาศัยเป็นพื้นที่ลุ่มดอน ที่เกิดจากน้ำแม่สา-แม่ริม พัดมารวมเป็นที่ดอน ที่ดินเป็นดินร่วนอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกพืชผักเจริญงอกงามดี ผู้คนที่อาศัยก็มีความสุข ดังนั้นจึงเรียกชื่อตำบลนี้ว่า “ตำบลริมใต้”


วัดป่าดาราภิรมย์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังที่ว่าการอำเภอแม่ริมและค่ายดารารัศมี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 7 ของเชียงใหม่ ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนาได้เป็นอย่างดี บรรยากาศร่มรื่นและสงบ เหมาะแก่การมาทำบุญไหว้พระ เพื่อให้จิตใจสงบและผ่องใสเป็นอย่างมาก

บ้านริมใต้
หมู่ที่ 1
ริมใต้
แม่ริม
เชียงใหม่
50180
18.91472
98.93949
เทศบาลตำบลแม่ริม

แม่ริม (คำเมือง: Lanna-Mae Rim.png) เป็นอำเภอหนึ่งในเขตปริมณฑลของนครเชียงใหม่ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเป็นอำเภอขนาดใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอที่ตั้งของศูนย์ราชการที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ มีการขยายตัวของชุมชนเมืองที่รองรับความเจริญเติบโตของนครเชียงใหม่ ปัจจุบันมีการขยายตัวของการท่องเที่ยว ทั้งโรงแรมและรีสอร์ตที่ถือว่ามากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นอำเภอที่รองรับความเจริญของนครเชียงใหม่เพื่อขยายไปยังศูนย์กลางความเจริญทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นทางผ่านเพื่อไปยังอำเภอปาย ทำให้อำเภอแม่ริมมีสภาพเศรษฐกิจดี มีการคมนาคมที่คับคั่ง รองจากอำเภอสันทราย และอำเภอหางดง และเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุด

อำเภอแม่ริม เดิมมีฐานะเป็นแขวงชื่อว่า แขวงสะลวง เนื่องจากตั้งอยู่ภายในเขตของบ้านสะลวงนอก หมู่ที่ 3 ตำบลสะลวง ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2439 จนกระทั่งในปีต่อมา ทางราชการได้สร้างถนนขึ้นสำหรับเชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับแขวงและอำเภอต่าง ๆ เช่น แขวงเมืองแกน (อำเภอแม่แตงในปัจจุบัน) อำเภอเมืองฝาง ซึ่งสถานที่ตั้งแขวงเดิมนั้นเป็นท้องที่ที่อยู่ห่างไกล ประกอบกับมีการตั้งบ้านเรือนจำนวนน้อย ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อกันทางด้านคมนาคม จึงมีการย้ายแขวงสะลวง มาอยู่ริมทางหลวงสายเชียงใหม่-ฝาง (ถนนโชตนา) ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตของบ้านข่วงเปา เรียกชื่อใหม่ว่า แขวงข่วงเปา ปัจจุบันคือ หมู่ที่ 1 บ้านหมื่นถ้อย-น้ำงาม ตำบลริมใต้

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2457 แขวงข่วงเปา ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ชื่อว่า อำเภอแม่ริม เนื่องจากที่ตั้งของอำเภอแม่ริม ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำแม่ริม ซึ่งไหลผ่านจากอำเภอแม่แตงลงสู่แม่น้ำปิงที่บ้านสบริม หมู่ที่ 3 ตำบลริมใต้ (บ้านขอนตาลในปัจจุบัน)

เขตพื้นที่ของตำบลริมใต้ในอดีต ประมาณปี พ.ศ. 2445 บรรพบุรุษมาบุกเบิกที่รกร้าง และจับจองเป็นเจ้าของทำประโยชน์บนพื้นที่ทำนา ทำสวน ทำไร่ ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2515 ทางราชการได้ออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินให้แก่ประชาชนที่มาทำกิน เพื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ในพื้นที่เกษตรกรรมตั้งอยู่ที่ราบลุ่มแต่ไม่เคยมีน้ำท่วม มีความอุดมสมบูรณ์มาก ดังคำกล่าวของคนเฒ่าคนแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ว่า พื้นที่ตำบลริมใต้มีชื่อไม่เป็นทางการว่า “หนองป๋าเข้า” (คลองที่มีปลาเข้ามาอาศัยมากมาย) มีกุ้ง หอย ปู ปลา อุดมสมบูรณ์ ส่วนบริเวณบ้านที่อยู่อาศัยเป็นพื้นที่ลุ่มดอน ที่เกิดจากน้ำแม่สา-แม่ริม พัดมารวมเป็นที่ดอน ที่ดินเป็นดินร่วนอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกพืชผักเจริญงอกงามดี ผู้คนที่อาศัยก็มีความสุข ดังนั้นจึงเรียกชื่อตำบลนี้ว่า “ตำบลริมใต้”

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ดอนมีแม่น้ำแม่ริมไหลผ่านทางทิศเหนือ มีแหล่งน้ำธรรมชาติจากน้ำตกแม่สาทางทิศตะวันตก และแม่น้ำปิงไหลผ่านทางทิศตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยและสถานที่ราชการ มีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 107 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ผ่านตลอดตอนกลางของเทศบาลในแนวทิศเหนือ - ทิศใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอาคาร ที่พักอาศัย พื้นที่เกษตรกรรม และสถานที่ราชการ

ลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน อากาศค่อนข้างร้อนจัดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม, ฤดูฝน มีฝนตกชุกเป็นบางพื้นที่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว มีอากาศหนาวปานกลางระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ตระกูลตุ้ยคำภีร์ เป็นตระกูลดั้งเดิมที่มาตั้งรกรากอาศัยในชุมชนน้ำงาม ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยต้นตระกูลเริ่มจากนายคำและนางสม มีบุตรทั้งหมด 9 คน เสียชีวิตทั้งหมด โดยบุตรจำนวน 6 คน ไม่ทราบข้อมูล ส่วนอีก 3 คน ได้แต่งงานมีครอบครัว 

ตระกูลจันทร์เช้า เป็นตระกูลดั้งเดิมที่มาตั้งรกรากอาศัยในชุมชนน้ำงาม ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกันกับตระกูลตุ้ยคัมภีร์ โดยต้นตระกูลเริ่มจากนายหมวกและนางหลาน มีบุตรทั้งหมด 5 คน 

ประชาชนชุมชนน้ำงาม โดยส่วนใหญ่แล้วประชาชนจะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น ก่อสร้าง ถางหญ้า รับจ้างปลูกผัก เป็นต้น รองลงมาคือข้าราชการ เกษตรกรรม ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพเสริมที่ช่วยสร้างรายได้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน คือ ประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว

องค์กรที่เป็นทางการ

  1. คณะกรรมการหมู่บ้าน
  2. สมาชิกสภาเทศบาล
  3. ผู้นำชุมชน
  4. อสม.
  5. ชมรมผู้สูงอายุ
  6. กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

องค์กรที่ไม่เป็นทางการ

  1. กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว

1. กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของประชาชนชุมชนน้ำงาม โดยส่วนใหญ่แล้วประชาชนจะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น ก่อสร้าง ถางหญ้า รับจ้างปลูกผัก เป็นต้น รองลงมาคือข้าราชการ เกษตรกรรม ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพเสริมที่ช่วยสร้างรายได้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน คือ ประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว

2. กิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม

  • 2.1 ทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ เป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อน โดยชาวบ้านจะมีการเตรียมอาหารคาวหวาน ขนม และผลไม้ต่าง ๆ โดยจะเตรียมตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม เพื่อนำไปทำบุญในวันขึ้นปีใหม่ คือ วันที่ 1 มกราคมของทุกปี ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการทำสิ่งที่ดีในการเริ่มต้นปีใหม่จะทำให้ครอบครัวมีความสุข อีกทั้งในวันขึ้นปีใหม่นี้เป็นวันหยุดสากล ลูกหลานบางบ้านจะกลับมาร่วมฉลองกินเลี้ยงสังสรรค์กับครองครัว แล้วไปทำบุญร่วมกันในวันขึ้นปีใหม่
  • 2.2 ประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดแม่ริม เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการสักการะพระบรมธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความเป็นสิริมงคล
  • 2.3 ประเพณีปี๋ใหม่เมือง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานาน ซึ่งในช่วงประเพณีปี๋ใหม่เมืองนี้จะเห็นการแสดงออกของการกตัญญูกตเวที ความสามัคคีในหมู่พี่น้องและชุมชน โดยจะมีการเตรียมอาหารและผลไม้ เพื่อนำไปถวายอุทิศส่วนกุศลไปหาญาติที่ล่วงลับไปแล้ว มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุที่เคารพนับถือและขนทรายเข้าวัดปักตุงที่เจดีย์ทราย

3. กิจกรรมด้านสาธารณสุข จากการสอบถามการดำเนินกิจกรรมเชิงรุกทางด้านสาธารณสุขพบว่าโครงการที่จัดขึ้นเป็นโครงการของทางเทศบาลที่มีทางสมาชิกสภาเทศบาลออกเยี่ยมดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ เป็นการนำสิ่งของที่จำเป็นออกไปเยี่ยมและพูดให้กำลังใจ 

1. ตาแรม สมเงิน 

เป็นคนชุมชนน้ำงามโดยกำเนิด คุณตาเป็นบุตรของนายตา สมเงิน กับนางธรรม สมเงิน ซึ่งทั้งสองคนเสียชีวิตแล้ว คุณตาจำวันเกิดไม่ได้ จำได้แต่เพียงว่าเกิดปี พุทธศักราช 2483 คุณตา มีพี่น้องทั้งหมด 12 คน แต่ไม่สามารถจำพี่น้องของตนเองได้หมด รู้เพียงว่าขณะนี้มีพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด 4 คน คือ ตาแรมและน้องชายอีก 3 คน ในวัยเด็กตาแรมเริ่มศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอนุบาลริมใต้ ในปี พ.ศ. 2487 ศึกษาจบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในปี พ .ศ. 2593 จากนั้นแม่ของคุณตาได้ขอฝากให้เป็นเด็กวัด คุณตาเล่าว่าจะไป ๆ มา ๆ บ้านเสมอ เมื่อที่วัดตีก็จะหนีกลับบ้าน แล้วแม่ก็จะไล่กลับวัดไป จะเป็นแบบนี้ประจำ ประมาณ 3 ปี จากนั้นก็ได้กลับมาอยู่บ้านช่วยพ่อทำนาที่บ้าน เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ได้เข้ารับราชราชการทหารในค่ายกองพันปืนใหญ่ที่ 7 เป็นเวลา 2 ปี หลังจากที่ปลดทหารประจำการได้ไปอยู่ที่บ้านพี่สะใภ้จังหวัดพะเยา ได้ประกอบอาชีพค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ และได้พบรักกับคุณยายคำมี สมเงิน ศึกษาดูใจกันประมาณ 3 เดือน จากนั้นคุณตา ก็ได้พาพ่อแม่ไปสู่ขอด้วยสินสอดเป็นทองคำ 2 สลึงและได้พากันมาอยู่ด้วยกันที่ชุมชนบ้านน้ำงาม เพื่อก่อร่างสร้างตัว โดยได้เริ่มจากการประอาชีพทำไร่ ทำสวน และรับจ้างก่อสร้าง จนถึงอายุประมาณ 50 ปี คุณยายคำมีรู้สึกปวดข้อเข่าจึงไม่สามารถทำงานหนักได้ จึงเปลี่ยนมาประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์ตระเวนหาของเก่าไปยังบริเวณหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง โดยจะออกไปหาของเก่าด้วยกันทุกวันแล้วจะนำมาสะสมไว้ให้ได้ปริมาณเยอะพอที่จะสามารถขายได้ประมาณ 2 วัน

ด้านความประหยัดของตาแรมที่ควรนำมาเป็นแบบอย่าง จะเห็นได้จากการประหยัดไฟฟ้าโดยจะเปิดไฟฟ้าเฉพาะดวงที่จำเป็น หลังการใช้งานจะปิดทุกครั้งและพยายามใช้ไฟฟ้าให้น้อยกว่าที่รัฐบาลกำหนดให้ใช้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีการประหยัดน้ำโดยไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ พยายามปิดน้ำให้สนิท ส่วนด้านการรับประทานอาหารมีการซื้อวัตถุดิบมาปรุงอาหารด้วยตนเอง เมื่อเหลือสามารถนำมารับประทานได้ต่อก็จะนำไปใส่ตู้เย็นเพื่อรับประทานในมื้อต่อไป อีกทั้งยังมีการปลูกผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ง่ายใช้น้ำน้อย ไว้บริเวณหลังบ้านเพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่เมื่อต้องการรับประทานอาหารชนิดใดเป็นพิเศษที่อาจมีราคาสูง คุณตาก็จะซื้อมารับประทานนาน ๆ ครั้ง โดยจากที่คำพูดที่ตาแรมได้พูดว่า “กิ๋นเหมือนเปิ้น แต่จะไปกิ๋นอย่างเปิ้น” ซึ่งมีความหมายว่า ได้รับประทานอาหารอิ่มท้องเหมือนคนอื่น แต่ไม่ต้องรับประทานอาหารที่มีราคาสูงเหมือนที่คนรวยได้รับประทานกัน 

2. นางสุพรรณ ทาเทียม

ความสามารถ : ทำลูกประคบสมุนไพร, อาหารพื้นเมือง

ผลงาน : จัดทำและจำหน่ายลูกประคบสมุนไพร, ประกอบอาชีพนวดแผนโบราณ, ประกอบอาชีพจำหน่ายอาหารพื้นเมือง (ไข่ป่าม), เป็นวิทยากรฝึกอบรมอาชีะเทศบาลตำบลแม่ริม

3. ร.ต.อ. ณัฐพล ศรีอนันต์

ความสามารถ : ตัดตุง ทำตุง งานระบายผ้า ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม

ผลงาน : วิทยากรตัดตุง ทำตุงล้านนา

แหล่งท่องเที่ยว

  • วัดลัฏฐิวัน (วัดขอนตาล)
  • วัดป่าดาราภิรมย์
  • พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์
  • ปางช้างเทียมจันทร์

ประชาชนในหมู่บ้านเป็นคนพื้นเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาพื้นเมือง, ภาษาเหนือ) ในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาหลักภายในชุมชน สำหรับการติดต่อสื่อสารทางราชการและบุคคลภายนอก จะใช้ภาษาไทยกลางและภาษาถิ่นในการติดต่อสื่อสาร


เดิมประชากรมีที่ดินเป็นของตนเอง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนาและปลูกถั่วเหลือง โดยจะทำนาในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-ตุลาคม หลังจากเก็บเกี่ยวก็จะปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่เดิมในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์เพื่อเป็นการฟื้นฟูดิน และเตรียมทำนารอบต่อไป ผู้ให้สัมภาษณ์เล่าว่าแต่ก่อนแต่ละบ้านจะมีควายไว้ใช้ในการไถนา และคนที่มีที่นาจำนวนมากจะให้คนอื่นมาทำนาบนที่นาของตน โดยจะแบ่งผลผลิตข้าวเป็นค่าแรง แต่ต่อมาก็มีการรับจ้างเกิดขึ้น ซึ่งได้ค่าจ้างวันละประมาณ 8 บาท ถ้าเหมาจะคิดค่าจ้างตามเนื้อที่ที่ได้ตกลงกัน

นอกจากนี้ได้มีการปลูกพืชผักและหาปลาในหนองน้ำ เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนและแบ่งปันเพื่อนบ้าน มีวิถีชีวิตเรียบง่าย มีความเอื้ออาทรกัน ชาวบ้านมีการไปมาหาสู่ มีการแบ่งปันสิ่งของในสมัยนั้น เงินจึงมีความสำคัญน้อยมาก ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่มีการย้ายถิ่นฐานของบุคคลภายนอกเข้ามาอยู่อาศัย มีการสร้างถนนทุกเส้นทุกซอยในหมู่บ้าน มีรั้วรอบขอบชิด การประกอบอาชีพส่วนใหญ่รับราชการและรับจ้าง ลักษณะชุมชนเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบท ทำให้ไปมาหาสู่กันน้อยลง


ด้านคมนาคม ชาวบ้านเริ่มจากการสร้างถนนเป็นเส้นทางเล็ก ๆ พอเดินทางไปมาหาสู่ได้ ต่อมาได้มีการร่วมมือร่วมใจกันขนหิน ดินลูกรัง มาขยายเส้นทางให้ใหญ่ขึ้น ได้มีการสัญจรโดยการเดินเท้าและเกวียน  

ประมาณปี พ.ศ. 2507 สมัยก่อนในหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ต้องจุดตะเกียงไฟแทนการใช้ไฟฟ้า เริ่มมีไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้านประมาณปี พ.ศ. 2515 ได้พัฒนาเส้นทางเป็นถนนลาดยางเริ่มสร้างเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 2 พร้อมด้วยเจ้าชายฟิลลิปดยุกแห่งเอดินเบอเรอะและเจ้าหญิงแอนน์ แห่งอังกฤษ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการแสดงของช้างใกล้บริเวณวนอุทยานน้ำตกแม่สา เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 และได้มีการพัฒนาถนนตามยุคสมัย เมื่อความเจริญเริ่มเข้ามาทางราชการจึงดำเนินการขุดคลองชลประทานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้ในด้านเกษตรกรรม โดยได้ซื้อที่ดินจากชาวบ้านใช้เป็นพื้นที่ในการขุดคลอง 

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2525-2526 การประปาเริ่มจากการใช้น้ำจากบ่อน้ำในการอุปโภคและบริโภคซึ่งชาวบ้านได้ช่วยกันขุดโดย 1 บ่อจะใช้ร่วมกันประมาณ 4-5 หลัง ผู้ให้สัมภาษณ์เล่าว่าทุกเย็นก็จะเห็นชาวบ้านต่างพากันหาบน้ำ มาใช้ในหมู่บ้าน ส่วนน้ำประปาเริ่มมีใช้เมื่อ ปี พ.ศ. 2530

พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายดารารัศมี อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

รูปแบบตัวอาคารได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตก ซึ่งเดิมพระตำหนักดาราภิรมย์ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 ซึ่งปกครองระหว่าง พ.ศ. 2413-2440 เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายที่มีอำนาจปกครองบ้านเมืองตามแบบเดิมก่อนเมืองเชียงใหม่จะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของไทย

ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาฯ โดยให้มีสภาพใกล้เคียงกับอดีตมากที่สุด อาทิเช่น ห้องพัก พระอิริยาบทจัดแสดงจานชาม เครื่องเสวย ของใช้ส่วนพระองค์ และเครื่องดนตรี เป็นต้น เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก/นักศึกษาในเครื่องแบบ 10 บาท พระสงฆ์และนักเรียนในเครื่องแบบเข้าชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-5329-9175

การเดินทาง ห่างไปจากเมืองเชียงใหม่ตามเส้นทาง 107 ติดกับที่ว่าการอำเภอแม่ริมจะมีทางแยกซ้ายเข้าไปยังค่ายดารารัศมีปางช้างแม่สา ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก ใช้เวลาขับรถจากตัวเมืองมาถึงปางช้างภายในเวลาประมาณ 20 นาที

โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์. (2554). วิถีชุมชน: เครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผล และสนุก. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขศาลา

เทศบาลตำบลแม่ริม. (2566). ข้อมูลทั่วไป. http://www.maerim.go.th

เทศบาลแม่ริม โทร. 0-5329-7613