Advance search

บ้านกลางน้ำ

บ้านกลางน้ำ ที่ตั้งเรียงรายอยู่กลางอ่าวพังงา ด้านหน้าของผาหินปูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน

เกาะปันหยี
เมืองพังงา
พังงา
อบต.เกาะปันหยี โทร. 0-7667-9144, วิสาหกิจชุมชน โทร. 09-5019-2956
หทัยชนก จอมดิษ
29 พ.ย. 2022
หทัยชนก จอมดิษ
17 ก.พ. 2023
เกาะปันหยี
บ้านกลางน้ำ

ปันยี เป็นภาษามลายู ซึ่งแปลว่า ธง ตั้งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเกาะที่มีรูปร่างคล้ายธง ต่อมาคำว่า "ปันยี" ได้เพี้ยนเป็น "ปันหยี" ดังเช่นปัจจุบัน


บ้านกลางน้ำ ที่ตั้งเรียงรายอยู่กลางอ่าวพังงา ด้านหน้าของผาหินปูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน

เกาะปันหยี
เมืองพังงา
พังงา
82000
8.335479581
98.5031693781
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะปันหยี

ชุมชนเกาะปันหยีหรือบ้านกลางน้ำ ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ราบพื้นดินประมาณ 1 ไร่เป็นเกาะเล็ก ๆ หนึ่งในเกาะของอ่าวพังงาอยู่และในเขตอุทยานแห่งชาติพังงา มีตำนานที่เล่าถึงประวัติความเป็นมาของเกาะปันหยี เมื่อราว 200 ปีก่อนมีครอบครัวมุสลิมสามครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวโต๊ะบาบู ชาวมลายู ครอบครัวโต๊ะหลง ชาวนครศรีธรรมราชและครอบครัวโต๊ะปรับ ชาวตรัง ได้เดินทางมาหาแหล่งทำมาหากินใหม่และมาพบเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้และชื่อมาของเกาะปันหยีนั้นมาจาก “โต๊ะบาบู” เป็นเรือลำแรกที่มาพบเกาะนี้และได้ใช้ธงปักเป็นกลุ่มแรก จึงเป็นที่มาของชื่อเกาะนี้และในภาษามลายูว่า ปันยี แปลว่า ธง เพราะลักษณะเกาะสูงชะลูดรูปร่างคล้ายธง ต่อมา ปันยี ได้เพี๊ยนมาเป็น “ปันหยี” มาถึงปัจจุบัน

ลักษณะชุมชนเป็นหมู่บ้านที่ตั้งเรียงรายอยู่บนทะเล ส่วนใหญ่บ้านจะมีลักษณะยกพื้นสูงโอยปักเสาไม้อยู่ในน้ำ มีสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อต่อกันทุกบ้านในบริเวณหน้าบ้านและเนื่องจากพื้นที่บนดินมีอย่างจำกัด จึงมีการตกลงร่วมกันในการกำหนดที่ดินให้เป็นสาธารณะโดยการสร้างมัสยิดและกุโบว์ (สุสาน) ไว้ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน ซึ่งชาวเกาะส่วนใหญ่เป็นมุสลิมและนับถือศาสนาอิสลาม 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนชาวเกาะปันหยีส่วนใหญ่เป็นมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม ครอบครัวในชุมชนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่โดยเฉลี่ย 6 คนต่อครอบครัว ในปัจจุบันมีบ้านเรือนจำนวน 300 ครัวเรือนมีประชากรที่อยู่บนเกาะทั้งสิ้น 4,000 คน

ชุมชนเกาะปันหยีเป็นกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตภายใต้บริบทวัฒนธรรมอิสลาม ชาวบ้านในชุมชนเป็นมุสลิมให้ความเคารพต่อผู้นำทางศาสนาหรือโต๊ะอิหม่าม นอกจากจะเป็นผู้นำในการละหมาดและถ่ายทอดอบรมความรู้ทางศาสนาแล้ว ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทต่าง ๆ ทำให้คนในชุมมีความนับถือต่อโต๊ะอิหม่ามมากและส่งผลให้โต๊ะอิหม่ามเป็นผู้ที่มีบทบาทในการกำหนดกฏเกณฑ์ในชุมชนให้มีระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมที่อิงหลักการศาสนา

ส่วนผู้นำทางการปกครองหรือกำนัน ได้เกิดขึ้นครั้งแรกพร้อมกับการประกาศตั้งเป็นชุมชนเกาะปันหยี ใน พ.ศ. 2457 ทำให้ชาวบ้านเริ่มคุ้นชินกับความสัมพันธ์อำนาจรัฐ เพราะกำนันถือเป็นตัวแทนของภาครัฐในการตอบสนองนโยบายลงสู่ชุมชน แต่การนับถือการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนบทบาทส่วนมากก็ยังเป็นการจัดการของโต๊ะอิหม่าม  แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและชุมชนนั้นยังเป็นเพียงความสัมพันธ์เชิงธุรกิจมากกว่าทางการปกครอง

ในพื้นที่เกาะปันหยี ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นเกาะรายล้อมไปด้วยทะเลประกอบกับมีพื้นที่ราบให้ใช้สอยอย่างจำกัด วิถีชีวิตของคนในพื้นที่จึงมีข้อปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันและเคร่งครัดในศาสนามีการละหมาด 5 ครั้งต่อวันและทุกวันศุกร์ ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในชุมชนจะต้องไปละหมาดที่มัสยิด นับว่าเป็นการละหมาดครั้งสำคัญในรอบสัปดาห์ ภายในชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มอาชีพ และกลุ่มปันหยีสัมพันธ์เป็นกลุ่มที่กระชับความสัมพันธ์ของคนในชุมชน มีการแข่งกีฬาหรือพัฒนานันทนาการอื่น ๆ  

เนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยที่เป็นเกาะกลางทะเล ไฟฟ้าจึงเป็นหนึ่งในข้อตกลงที่กำหนดไว้ในชุมชน โดยบ้านแต่ละหลังภายในหมู่บ้านจะมีการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่หกโมงเย็นเป็นต้นไป ทั่วทั้งเกาะจะสว่างไสวไปด้วยแสงไฟใช้ทำกิจกรรมภายให้ครอบครัว จนถึง สี่ทุ่มไฟก็จะเริ่มดับลง เว้นแต่หากวันไหนมีการถ่ายทอดสดฟุตบอลก็จะเปิดไฟจนจบรายการ ซึ่งเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของชุมชนเกาะปันหยี และอาชีพส่วนใหญ่แต่เดิมของคนในพื้นที่คือการทำประมงมาเพื่อเลี้ยงชีพภายในครอบครัว ต่อมาเกาะปันหยีได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดพังงาที่ได้รู้จักใน “ชุมชนมุสลิมกลางทะเลแหล่งเดียวในโลก” ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่สนใจอยากสัมผัสวิถีชีวิตของคนในชุมชน เกิดความหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้เศรษฐกิจที่นี่มีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้อาชีพประมงเริ่มลดลง ชาวบ้านเริ่มหันไปหาช่องทางในการทำมาหากินใหม่ การประกอบอาชีพจึงเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวมากขึ้น มีการดัดแปลงหน้าบ้านให้เป็นที่วางจำหน่ายสินค้าของระลึก เช่น ของฝากพื้นเมือง อาหารทะเล เสื้อผ้าและเครื่องประดับต่าง ๆ

วัฒนธรรมการแต่งตัวของคนในพื้นที่ ผู้ชายนุ่งโสร่งตาหมากรุก สวมหมวกแขก ส่วนผู้หญิงต้องแต่งกายอย่างมิดชิดนุ่งผ้าปาเต๊ะยาวปิดข้อเท้า คลุมศรีษะด้วยผ้าฮิญาบ อาหารการกินต้องปฎิบัติตามหลักศาสนาของมุสลิมในชุมชน ส่วนมากรับประทานอาหารทะเลที่มีอยู่ในพื้นที่ และข้อห้ามในที่นี้คือ การนำสุราเข้ามาดื่มในพื้นที่เป็นสิ่งต้องห้าม

ศาสนา  ความเชื่อ และพิธีกรรม

ชาวบ้านในชุมชนเกาะปันหยีมีการนับถืออิสลามและมีระบบความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติที่ควบคู่กับวิถีชีวิตของชาวบ้านบนเกาะ

ชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นชาวมุสลิม นับถือศาสนาอิสลามโดยการยึดมั่นในองค์อัลเลาะห์และคำสอนของนบีมูฮัมหมัด ทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนจะมีการปฏิบัติตามหลักของศาสนาอย่างเคร่งครัด โดยแสดงออกมาในรูปแบบของการปฏิบัติกิจตามคำสอนและในความสำคัญในประเพณีพิธีกรรมในวันสำคัญ ดังนี้

วันเมาลิด เป็นวันรำลึกถึงวันประสูติของท่านนบีมูฮัมหมัด ชุมชนจะมีการร่วมมือร่วมใจในการจัดงานพิธีขึ้นที่ มัสยิดประจำหมู่บ้าน เพื่อสรรเสริญและรำลึกคุณของท่านนบีมูฮัมหมัดและสวดขอพร

วันอิดิลฟิตรี หรือ วันรายอรายาเป็นการทำบุญรื่นเริงหลังจากที่ชาวมุสลิมได้ถือศีลอดหรือบวชมาแล้วครบ 1 เดือน ในเดือนรอมฎอน ในวันนี้จะมีการบริจาคทาน หรือ ซากาตฟิตเราะฮ ให้บุคคลที่ด้อยโอกาสแล้วไปละหมาดที่มัสยิดและเยี่ยมกุโบร์ (สุสาน) หลังจากนั้นมีงานรื่นเริงกินเลี้ยงและพบปะสังสรรค์

วันอีดีล หนือ รายออัจญ์ ถือเป็นว้นออกบวชใหญ่ นับจากวันอิอิลฟิตรีไป 70 วัน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับชาวมุสลิมทั่วโลกจะไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะ กิจกรรมในวันนี้มีลักษณะคล้าย ๆ กับวันอิดฟิตรีแต่จะมีการกินเลี้ยงที่ใหญ่กว่าและมีการเชือดสัตว์แล้วแจกจ่ายให้คนยากจน

วันอะสูเราะห์ หรือ อาซูรอ นับเป็นเดือนแรกทางศักราชอิสลาม มีการรำลึกเหตุการณ์เรือของศาสดานุห์ ในวันอะสูเราห์ ชาวมุสลิมนิยมกวนขนมชนิดหนึ่ง ที่มาจากอาหารหลาย ๆ ชนิดนำมากวนให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วแจกจ่ายรับประทานกันในหมู่บ้าน ก่อนจะรับประทานจะมีการเชิญบุคคลที่นับถือขึ้นมากล่าวขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าก่อน ซึ่งปฏิบัติกันเป็นประเพณีในทุก ๆ ปี

วันศุกร์ ถือเป็นวันสำคัญที่ชาวชุมชนเกาะปันหยี เป็นการทำละหมาดครั้งสำคัญในรอบสัปดาห์เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลเลาะห์ ชาวบ้านในชุมชนพร้อมใจกันไปละหมาดที่มัสยิด แม้มีธุระสำคัญก็ต้องหาทางไปร่วมพิธีละหมาดให้ได้หรือกระทั่งผู้ที่ออกทะเลไปหาปลามาไม่ทันเวลาละหมาด ปลาที่จับมาได้ในวันนี้จะถือว่าต้องห้ามรับประทาน ทำให้ในอดีตมีการหยุดงานประจำตนและไม่ออกไปหาปลา รวมไปถึงครูและนักเรียนที่เรียนหนังสือหรือสอนอยู่ที่โรงเรียนก็ได้รับอนุญาตให้มาละหมาดอีกด้วย

ชาวชุมชนเกาะปันหยี แม้จะมีหลักการของศาสนาอิสลามให้ยึดมั่นในอัลลอฮ์ เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่ในระยะแรกเริ่มชาวบ้านในชุมชนก็มีความเชื่อหลากหลาย ความเชื่อเกี่ยวกับปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ เช่น เรื่องเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสางนางไม้และการถือฤกษ์ยาม โดยยึดกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนดังนี้

ความเชื่อเรื่องวิญญาณ ชาวบ้านเชื่อว่าบนเกาะปันหยีมีเจ้าของเกาะเรียกว่า “โต๊ะแส” เป็นวิญญาณเจ้าของเกาะที่คอยปกป้องรักษาคนบนเกาะ ภายในหมู่บ้านจะมีศาลาที่สิงสถิตของโต๊ะแสเรียกว่า “ศาลาโต๊ะแส” ชาวบ้านทั่วไปจะนิยมไปกราบไหว้ บนบาน

ความเชื่อเกี่ยวกับฤกษ์ยาม เวลา เนื่องจากชาวเกาะปันหยีส่วนใหญ่นั้นประกอบอาชีพประมง การเริ่มต้นนำเรือออกครั้งแรกมักประกอบพิธีกรรมที่สำคัญคือการสวดดูอา เพื่อขอพรความโชคดีเป็นศิริมงคล มีการกำหนดช่วงวันเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการปล่อยเรือ

โต๊ะอิหม่าม เป็นผู้นำทางศาสนาของชุมชนเกาะปันหยีซึ่งเป็นมุสลิม ชาวบ้านให้ความเคารพและมีความเกรงใจสูงต่อโต๊ะอิหม่าม มีบทบาทที่สำคัญในเรื่องศาสนาและพิธีกรรมรวมไปถึงความเรื่องความเชื่อของชาวบ้าน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิทยา บุษรารัตน์. สมปอง ยอดมณี. (2544). เกาะปันหยี:เวทีธุรกรรมกลางน้ำ. กรุงเทพฯ : กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อบต.เกาะปันหยี โทร. 0-7667-9144, วิสาหกิจชุมชน โทร. 09-5019-2956