กลุ่มชาติพันธ์ลัวะที่อาศัยอยู่ที่หย่อมบ้านถิ่นไทย เป็นหย่อมบ้านหนึ่งของบ้านน้ำเปื๋อย หมู่ที่ 6 ตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
ในช่วงปี พ.ศ. 2512-2513 ชนเผ่าลัวะได้ถูกอพยพลงมาอยู่ร่วมกับชาวพื้นราบ โดยอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพผู้หลบหนีเข้าเมืองอำเภอเชียงคำ ตำบลภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ในขณะนั้น มีชนเผ่าลัวะซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว และได้มีกลุ่มชนเดียวกันบางส่วนอพยพมาจากประเทศลาวเพิ่มเข้ามาอีกภายหลังชนกลุ่มนี้ก็จัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ที่มีภาษา ประเพณีและวัฒนธรรมลักษณะเฉพาะกลุ่มของตนนอกจาก เรียกชื่อกลุ่มของตนหลายชื่อชนกลุ่มนี้ยังมีชื่อที่ทางการตั้งให้อีกคือ "ถิ่น" หลังศูนย์อพยพบ้านแกปิดตัวลงได้แยกย้ายกันไปอยู่ตามหมู่บ้านชาวม้งทั้งในเขต อ.ภูซางและ อ.เชียงคำ จนถึงปัจจุบัน และเรียกกลุ่มตัวเองว่าถิ่นไทย เป็นหย่อมบ้านหนึ่งของบ้านน้ำเปื๋อย หมู่ที่ 6
กลุ่มชาติพันธ์ลัวะที่อาศัยอยู่ที่หย่อมบ้านถิ่นไทย เป็นหย่อมบ้านหนึ่งของบ้านน้ำเปื๋อย หมู่ที่ 6 ตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ทางราชการได้จัดสรรที่ดินที่ทำกินให้กับลัวะถิ่นจำนวน 150 ครอบครัวแต่เนื่องจากบางส่วนทางราชการได้จัดสรรที่ดินทำกินให้ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย จึงเหลือเพียง 76 ครัวเรือน ที่ตั้งรกรากอยู่ที่ บ้านน้ำเปื๋อยหมู่ที่ 6 ตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
อดีตกลุ่มชาติพันธ์ุลัวะ อยู่ที่แขวงไชยะบุรีหนึ่งในแขวงประเทศลาวที่อยู่ทางทิศตะวันตกสุดของประเทศ เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยมาก่อนเสียดินแดนขึ้นกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ต่อมาอพยพลี้ภัยจากปัญหาคอมมิวนิสต์มาจากชายแดนประเทศลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ผ่านเข้ามาทางจังหวัดน่าน ถูกทางราชการไทยควบคุมตัวและพักพิงอยู่ในศูนย์อพยพบ้านน้ำยาว ตำบลยวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ต่อมาทางการไทยได้ย้ายผู้อพยพชาวลัวะเหล่านี้ไปที่อยู่บ้านนาโพธิ์ตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม แต่เนื่องจากหนีภัยสงครามทำให้บัตรประจำตัวและข้อมูลต่าง ๆ สูญหายทำให้ไม่สามารถแสดงตัวตนว่าเป็นคนไทย ต่อมาได้ย้ายกลับมายังศูนย์อพยพบ้านแก่ คือตำบลป่าสัก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติตามประกาศ กระทรวงมหาดไทยแต่ไม่รับสิทธิประโยชน์ของคนไทยทำให้มีปัญหาในการทำกินไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง (ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดพะเยา)
ในช่วงปี พ.ศ. 2512-2513 ชนเผ่าลัวะได้ถูกอพยพลงมาอยู่ร่วมกับชาวพื้นราบ โดยอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพผู้หลบหนีเข้าเมืองอำเภอเชียงคำ ตำบลภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงรายในขณะนั้น มีชนเผ่าลัวะซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว และได้มีกลุ่มชนเดียวกันบางส่วนอพยพมาจากประเทศลาวเพิ่มเข้ามาอีกภายหลังชนกลุ่มนี้ก็จัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ที่มีภาษาประเพณีและวัฒนธรรมลักษณะเฉพาะกลุ่มของตนนอกจาก เรียกชื่อกลุ่มของตนหลายชื่อชนกลุ่มนี้ยังมีชื่อที่ทางการตั้งให้อีกคือ "ถิ่น" หรือบางครั้งเรียกว่า "ข่าถิ่น" อีกด้วยนัยว่าชนกลุ่มนี้เป็นคนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บริเวณต่าง ๆ ในจังหวัดน่านมาเป็นเวลานานนั่นเองแต่โดยทั่วไปชนกลุ่มนี้จะเรียกตนเองว่า "ลัวะ" ชนเผ่าลัวะถิ่นหรือที่เรียกว่า "ชาวถิ่น"
ระหว่างปี พ.ศ. 2517-2518 ชนเผ่าลัวะกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาจากประเทศลาวเข้ามาในเขตจังหวัดน่านของประเทศไทยเนื่องจาก เพื่อหนีภัยคอมมิวนิสต์ในประเทศลาว โดยเข้ามาทาง จังหวัดน่าน
พ.ศ. 2519 ชนเผ่าลัวะอีกกลุ่มได้อพยพมาจากประเทศลาว เข้ามาในเขตจังหวัดน่าน ของประเทศไทยเนื่องจากถูกกดขี่จากฝ่ายปกครอง และเรื่องเสียภาษีการส่งส่วยและต่อมาได้อพยพมาอีกครั้ง
อดีตศูนย์รับผู้อพยพลี้ภัยสงคราม ค.ศ. 1975-1987 (พ.ศ. 2518-2530) หรือศูนย์พักพิงผู้อพยพบ้านแก ต.ภูซาง อ.เชียงคำ จ.เชียงราย (สมัยนั้น พ.ศ. 2520 จังหวัดพะเยา) บางส่วนไปอยู่ประเทศที่สามบางส่วน หลังศูนย์อพยพบ้านแกปิดตัวลงได้แยกย้ายกันไปอยู่ตามหมู่บ้านชาวม้งทั้งในเขต อ.ภูซางและ อ.เชียงคำ จนถึงปัจจุบัน
ข้อความบางตอนของกลุ่มชนชาวม้งที่อพยพมาอยู่ที่ศูนย์พักพิงผู้อพยพบ้านแก ต.ภูซาง อ.เชียงคำ ในสมัยนั้น
การสู้รบครั้งล่าสุดของชนเผ่าม้ง คือ ช่วงปี พ.ศ. 2504-2518 (ค.ศ. 1961-1975) เป็นการสู้รบป้องกันตนเองของชนเผ่าม้งในช่วงสงครามเย็น หรือสงครามต่อต้านการแพร่ขยายของระบบคอมมิวนิสต์ในประเทศลาว (สงครามอินโดจีน) สงครามในครั้งนั้น ชนเผ่าม้งได้แบ่งออกเป็นสองพรรคพวก พรรคพวกของท่านฝายด่าง (Faiv Ntaj) ไปเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ และม้งอีกจำนวนหนึ่งได้เข้ากับรัฐบาลลาวฝ่ายขวา ซึ่งนำโดยท่านนายพลวังเปา (Vajpov Vaj) ในฐานะแม่ทัพภาคที่ 2 ของกองทัพลาวในขณะนั้น ทำให้ม้งบางส่วนต้องสู้รบกันเอง ส่งผลให้สงครามในครั้งนี้ใช้เวลานานถึง 10 กว่าปี ก็ยังไม่มีฝ่ายไหนแพ้หรือชนะแต่อย่างใด จนในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2518 ได้มีการเจรจาเซ็นสัญญายุติสงคราม เพื่อนำความผาสุขกลับมาในพื้นประเทศลาว แต่ฝ่ายนายฝายด่างที่เป็นแกนนำม้งของพรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้ายของประเทศลาว ไม่พอใจในการกระทำที่ผ่านมาของท่านนายพลวังเปาและทหารของเขา จึงทำให้เกิดการสู้รบกันระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายของท่านนายพลวังเปา เมื่อสถานการณ์ไม่เอื้อให้กับท่านนายพลวังเปา ท่านนายพลวังเปา ตัดสินใจนำพาชนเผ่าม้งจำนวนหนึ่งอพยพลี้ภัยออกจากประเทศลาว โดยมีเป้าหมายคือ ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ยังประเทศที่สาม
เหตุการณ์สู้รบในศึกสงครามอินโดจีนในครั้งนี้ ส่งผลให้ชนเผ่าม้งบางส่วนไม่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศลาวต่อไปได้อีก จึงเกิดการอพยพย้ายที่อยู่ใหม่อีกครั้ง โดยการอพยพในครั้งนี้ ทำให้ชนเผ่าม้งทั้งเด็กหรือผู้ใหญ่ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งการสูญเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากการดักซุ่มยิงของทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์ บางส่วนเสียชีวิตจากการจมน้ำตายในขณะข้ามแม่น้ำโขง บางส่วนก็ถูกโจรฆ่าชิงทรัพย์ในขณะข้ามเขตแดนมายังประเทศไทย สำหรับการอพยพเข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยนั้น ได้เข้ามาอาศัยอยู่ที่ศูนย์รับผู้อพยพลี้ภัยสงครามที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย โดยมีองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัยสี่เกือบทั้งหมดคือ มูลนิธิเมตตาธรรม และองค์การสหประชาชาติ (United Nations) เป็นต้น ที่ให้ความช่วยเหลือชาวลาว ชาวเวียดนาม ชาวม้ง และชนเผ่าอื่น ๆ ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในศูนย์รับผู้อพยพ ศูนย์รับผู้อพยพที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย หลังจากปี พ.ศ. 2518 มีอยู่หลายแห่งตามจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศลาว เช่น ศูนย์รับผู้อพยพนาโพธิ์ จังหวัดนครพนม ศูนย์รับผู้อพยพบ้านวินัย จังหวัดเลย ศูนย์รับผู้อพยพสบตวง จังหวัดน่าน ศูนย์รับผู้อพยพบ้านน้ำยาว จังหวัดน่าน ศูนย์รับผู้อพยพเชียงคำ (ศูนย์บ้านแก) จังหวัดเชียงรายในขณะนั้น และศูนย์พักผู้อพยพชั่วคราวพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นต้น จากการอพยพครั้งนี้ส่งผลให้ชนเผ่าม้งต้องอยู่กระจายไปทั่วโลก อาศัยอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น จีน เวียดนาม ลาว เมียนมา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ที่ว่าการอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
กลุ่มชาติพันธ์ุลัวะที่อาศัยอยู่ที่หย่อมบ้านถิ่นไทย เป็นหย่อมบ้านหนึ่งของบ้านน้ำเปื๋อย หมู่ที่ 6 ตำบลเชียงแรงอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ความเป็นมาของพื้นที่
พ.ศ. 2427 รัฐบาลสยามเริ่มปฏิรูปการปกครองล้านนาอย่างจริงจัง เริ่มมีการปฏิรูปหัวเมืองลาวเฉียง เฉพาะ 3 เมือง คือ เชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง (เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. บรรณาธิการ 2545. 100 ปี เหตุการณ์เงี้ยวก่อการจลาจลในมณฑลพายัพ พ.ศ. 2445. พะเยา นครนิวส์. หน้า 10)
พ.ศ. 2443 เปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็นมณฑลพายัพซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่าตะวันตกเฉียงเหนือครอบคลุมพื้นที่อาณาเขตของอดีตอาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้มีการรวมหัวเมือง ประกอบด้วย 6 หัวเมือง ได้แก่ (1.) เมืองนครเชียงใหม่ (ครอบคลุมพื้นที่ เมืองแม่ฮ่องสอน และเมืองเชียงราย) (2.) เมืองนครลำปาง (ครอบคลุมพื้นที่เมืองพะเยา และเมืองงาว (3.) เมืองนครลำพูน (4.) เมืองนครน่าน (ครอบคลุมพื้นที่เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองเชียงคำ และเมืองปง (5.) เมืองนครแพร่ (6.) เมืองเถิน (มณฑลเทศาภิบาล, wikipedia) พื้นที่บ้านถิ่นไทยอยู่ในเขตของเมืองเชียงคำ
พ.ศ. 2449 พระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ มีใบบอกมายังกระทรวงมหาดไทยให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า บริเวณน่านเหนือ ซึ่งได้ตัดขึ้นไปรวมอยู่ในบริเวณพายัพเหนือแล้วนั้น ควรจะเปลี่ยนวิธีการปกครองเสียใหม่ให้เหมาะกับท้องที่และผู้คนพลเมืองต่อไป มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ยกเลิกกรมบริเวณน่านเหนือเสียทั้งชุดและจัดตั้งกรมการแขวงขึ้นสำรับหนึ่ง ให้บังคับบัญชาการแขวงเชียงคำ ตั้งที่ว่าการแขวงอยู่ที่เมืองเชียงคำ เปลี่ยนนามบริเวณ เป็นแขวงเชียงคำ (แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนวิธีการปกครองบริเวณน่านเหนือใหม่. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 : 751. 14 ตุลาคม ร.ศ.125)
พ.ศ. 2453 ยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลพายัพ แต่เดิมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ได้จัดรวมเข้าเป็นจังหวัดเรียกว่าจังหวัดพายัพเหนือ ต่อมาเมืองเหล่านี้มีความเจริญยิ่งขึ้นจนเป็นเหตุให้เห็นว่า การที่จัดให้เป็นเพียงจังหวัดไม่พอแก่ราชการและความเจริญ สมควรจะเลื่อนชั้นการปกครองขึ้นให้สมกับราชการและความเจริญในท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ตั้งขึ้นเป็นเมืองจัตวา เรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และ จัดแบ่งการปกครองเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมือง ๆ เชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย อำเภอเมืองเชียงคำ อำเภอเมืองเชียงของ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระภักดีณรงค์ ซึ่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพายัพเหนือ เป็นผู้ว่าราชการเมืองเชียงราย
แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลพายัพ. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 : 427. 12 มิถุนายน ร.ศ.129)
พ.ศ. 2481 ยุบรวมตำบลเชียงแลง ตำบลสบบง ตำบลปง ตำบลวังเค็ม ตำบลแวน และหมู่บ้านที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 17 ตำบลในเวียง หมู่บ้านที่ 1, 2, 3, 4 ตำบลไชยพรม ตำบลหย่วน แล้วจัดตั้งเป็นตำบลอีกตำบลหนึ่ง ขนานนามว่า ตำบลหย่วน (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 : 3449-3457. 21 มกราคม 2481)
พ.ศ. 2483 อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ตั้งตำบลเชียงแรง โดยแยกหมู่บ้านที่ 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60, 61 ตำบลหย่วน และหมู่บ้านที่ 9, 10, 11, 12, 13, 14,15, 16, 17, 18, 19, 20 ตำบลทุ่งกล้วย ไปรวมแล้วตั้งเป็นอีกตำบลหนึ่ง ตั้งชื่อว่าตำบลเชียงแรง จัดเป็น 21 หมู่บ้าน (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 : 2773-8. 12 พฤศจิกายน 2483)
พ.ศ. 2513 ตั้งตำบลภูซาง ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย โดยให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้านที่แยกออกมาจากตำบลเชียงแรง (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ อำเภอพาน กิ่งอำเภอป่าแดด และกิ่งอำเภอเชียงม่วน จังหวัดเชียงราย. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 87 ตอนที่ 83 : 2451-2463. 1 กันยายน 2513)
พ.ศ. 2520 ตั้งจังหวัดพะเยา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น ให้แยกอำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองของจังหวัดเชียงรายรวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา (พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 94 ฉบับพิเศษ ตอนที่ 69 : 1-4. 28 กรกฎาคม 2520)
พ.ศ. 2539 แบ่งท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง เรียกว่า “กิ่งอำเภอภูซาง” มีเขตการปกครองรวม 5 ตำบล คือ ตำบลภูซาง ตำบลป่าสัก ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลเชียงแรง และตำบลสบบง ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลภูซาง ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นไป (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูซาง. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 18 ง : 28. 26 มิถุนายน 2539)
พ.ศ. 2541 เนื่องด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กำหนดเขตตำบลภายในท้องที่ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำบลเชียงแรง มี 11 หมู่บ้าน หมู่ที่ 6 คือบ้านน้ำเปื๋อย บ้านถิ่นไทยยังเป็นหย่อมบ้าน ในเขตการปกครองของบ้านน้ำเปื๋อย หมู่ 6 ตำบลเชียงแรง กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 115 ตอนพิเศษ 93 ง : 332-353. 12 ตุลาคม 2541)
พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรตั้งอำเภอเพิ่มขึ้นในท้องที่บางจังหวัด เพื่อประโยชน์แก่การปกครองและความสะดวกของประชาชนให้ตั้งกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา (พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอฆ้องชัย ...อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง.... (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 46 ก : 14-21. 24 สิงหาคม 2550)
กลุ่มชาติพันธ์ลัวะที่อาศัยอยู่ที่หย่อมบ้านถิ่นไทย เป็นหย่อมบ้านหนึ่งของบ้านน้ำเปื๋อย หมู่ที่ 6 ตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
การปลูกสร้างบ้านเรือนโดยทั่วไปนิยมปลูกเป็นที่อยู่อาศัยหลังเล็ก ๆ บ้านทรงยกสูงแบบชาวเหนือที่อัตคัดตามชนบท คือ มีบ้านฝาสาน ขัดแตะ ห้องครัวอยู่แยกออกไปต่อจากห้องนอน มีระเบียงและชานนอกชายคา โรงวัวควาย เล้าไก่ ยุ้งข้าวอยู่ห่างกัน ครกตำข้าวนำไม้สูงประมาณ 1 เมตร มาเจาะลึกลงไปประมาณ 1 คืบ ใช้ตำด้วยมือตั้งครกไว้ใกล้บันไดเรือนในร่มชายคาบางบ้าน ใช้ครกกระเดื่องตำด้วยเท้าใต้ถุนเรือนเตี้ยใช้เก็บฟืน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ทางราชการได้จัดสรรที่ดินที่ทำกินให้กับกลุ่มชาติพันธ์ุลัวะถิ่น จำนวน 150 ครอบครัว แต่เนื่องจากบางส่วนทางราชการได้จัดสรรที่ดินทำกินให้ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย จึงเหลือเพียง 76 ครัวเรือน ที่ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านน้ำเปื๋อยหมู่ที่ 6 ตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ซึ่งบ้านถิ่นไทยเป็นหย่อมบ้านหนึ่งของบ้านน้ำเปื่อย หมู่ที่ 6
ชาวลัวะมีอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็น "ลัวะ" อย่างเด่นชัด คือ มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีความเข้าใจในภาษาพูดเฉพาะกลุ่มของตนเอง มีประเพณีที่สำคัญที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ คือ ประเพณีดอกแดง เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการทำบุญข้าวหลังจากฤดูการเก็บเกี่ยว ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชนเผ่าลัวะ ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีพิธีสู่ขวัญคนทำนา เรียกขวัญและมีการละเล่นที่เรียกว่า "ตีเกิ้ง" ร้องรำทำเพลง เป่าแคน ใส่ชุดประจำเผ่ามาร่วมสนุกสนานกัน
ชนเผ่าลัวะนับถือพุทธศาสนา ควบคู่กับการนับถือผีมาแต่เดิมเหมือนคนไทย มีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเป็นผู้สร้างวัดเจดีย์หลวง ในจังหวัดเชียงใหม่ และเสาอินทขิล ซึ่งถือเป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษถูกขับไล่ไปอยู่บนภูเขา ซึ่งไม่มีพระและวัด ชีวิตประจำวันจึงสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมากขึ้น ความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนาก็เริ่มจางลงและหันไปนับถือผีแทน มีความเชื่อเรื่องผี ว่ามีทั้งผีดีและผีเลวสิงสถิตอยู่ตามสิ่งต่าง ๆ เป็นต้นว่าผีที่เฝ้าครอบครัว ผีฟ้า ผีป่า ผีภูเขา ผีเข้าประตูหมู่บ้าน ซึ่งบางครั้งผีอาจจะเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยให้แก่คนได้ การติดต่อกับผีจะติดต่อโดยการเซ่นไหว้ด้วยอาหารที่ผีประเภทนั้น ๆ ชอบ โดยมีผู้ทำพิธีคือ "ลำ" และ "สะมัง" หรือคนที่มีคาถาอาคม จะมีการเชิญผีมากินอาหาร การฆ่าสัตว์เลี้ยงผีจะจัดส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ให้ผีอย่างละน้อย สัตว์ที่ใช้เซ่นไหว้ มีไก่ หมู วัว ควาย และ หมา นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า คนมีวิญญาณ หรือขวัญ 32 ขวัญ หากขวัญใดขวัญหนึ่งออกจากตัวไป จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย ต้องมีการประกอบพิธีกรรมเรียกขวัญให้กลับเข้ามาสู่ร่าง โดยการผูกข้อมือด้วยด้ายสีขาว เชื่อว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้ขวัญหายและไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ชาวลัวะมีอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็น "ลัวะ” อย่างเด่นชัด คือ มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีความเข้าใจในภาษาพูดเฉพาะกลุ่มของตนเอง มีประเพณีที่สำคัญที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ คือ ประเพณีดอกแดงเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการทำบุญข้าวหลังจากฤดูการเก็บเกี่ยว ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชนเผ่าลัวะ ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีพิธีสู่ขวัญคนทำนา เรียกขวัญและมีการละเล่นที่เรียกว่า "ตีเกิ้ง" ร้องรำทำเพลง เป่าแคน ใส่ชุดประจำเผ่ามาร่วมสนุกสนานกัน ลัวะนับถือพุทธศาสนาควบคู่กับการนับถือผีมาแต่เดิมเหมือนคนไทย มีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเป็นผู้สร้างวัดเจดีย์หลวงในจังหวัดเชียงใหม่ และเสาอินทขิล ซึ่งถือเป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษถูกขับไล่ไปอยู่บนภูเขาซึ่งไม่มีพระและวัดชีวิตประจำวันจึงสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมากขึ้นความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนาก็เริ่มจางลงและหันไปนับถือผีแทน มีความเชื่อเรื่องผี ว่ามีทั้งผีดีและผีเลวสิงสถิตอยู่ตามสิ่งต่าง ๆ เป็นต้นว่าผีที่เฝ้าครอบครัว ผีฟ้า ผีป่า ผีภูเขา ผีเข้าประตูหมู่บ้าน ซึ่งบางครั้งผีอาจจะเป็นสาเหตุก่อความเจ็บป่วยให้แก่คนได้ การติดต่อกับผีจะติดต่อโดยการเซ่นไหว้ด้วยอาหารที่ผีประเภทนั้น ๆ ชอบโดยมีผู้ทำพิธีที่เรียคือ "ลำ" และ "สะมัง" หรือคนที่มีคาถาอาคม จะมีการเชิญผีมากินอาหาร การฆ่าสัตว์เลี้ยงผีจะจัดส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ให้ผีอย่างละน้อย สัตว์ที่ใช้เซ่นไหว้ มีไก่ หมู วัว ควาย และ หมา นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า คนมีวิญญาณ หรือขวัญ 32 ขวัญ หากขวัญใดขวัญหนึ่งออกจากตัวไป จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย ต้องมีการประกอบพิธีกรรมเรียกขวัญให้กลับเข้ามาสู่ร่าง โดยการผูกข้อมือด้วยด้ายสีขาว เชื่อว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้ขวัญหายและไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
วิถีชีวิตดังกล่าวของชนเผ่าลัวะบ้านถิ่นไทยบ่งบอกถึงที่ความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มอย่างเด่นชัดและมีวิถีปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่รวมตัวกันและอาศัยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งในทางมานุษยวิทยาได้กล่าวถึง “วิถีชีวิต”ก็คือ “วัฒนธรรม” ที่เป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในเชิงสัญลักษณ์ 30 ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิตเป็นพฤติกรรม 30 และสิ่งที่คนในกลุ่มผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตนและยึดถือปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และความเหมาะสม บางครั้งสามารถแสดงออกผ่าน 30 ดนตรีวรรณกรรมจิตรกรรมประติมากรรมที่กำหนดขึ้นตามรูปแบบของการดำเนินชีวิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ยึดโยง "ลัวะบ้านถิ่นไทย" ให้สามารถรวมกลุ่มเพื่อสืบทอดวิถีทางวัฒนธรรมของตนเองมาจนถึงปัจจุบัน
ชาวลัวะบ้านถิ่นไทย ที่อาศัยในบ้านน้ำเปื๋อย ม.6 เป็นกลุ่มชนขนาดเล็กที่อาศัยในพื้นที่ของคนท้องถิ่นดั้งเดิม (คนเมือง) มีสังคมเฉพาะกลุ่มแยกออกจากกลุ่มคนเมือง มีการปกครองอยู่ภายใต้กฏระเบียบเดียวกันใช้มาตรการและข้อบังคับเช่นเดียวกับคนท้องถิ่น แต่จะให้สิทธิการปกครอง และการแสดงออกทางการเมืองโดยผ่านผู้นำชุมชนของบ้านถิ่นไทย
วิถีชีวิตของชนเผ่าลัวะบ้านถิ่นไทยบ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มอย่างเด่นชัดและมีวิถีปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่รวมตัวกันและอาศัยอยู่ในพื้นที่ ดังนี้
1.ด้านภาษาพูด ชนเผ่าลัวะมีอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็น“ลัวะ” อย่างเด่นชัด คือ มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีความเข้าใจในภาษาพูดเฉพาะกลุ่มของตนเอง
2.ด้านที่อยู่อาศัย (บ้านเรือน) โดยทั่วไปนิยมปลูกเป็นที่อยู่อาศัยหลังเล็ก ๆ บ้านทรงยกสูงแบบชาวเหนือที่อัตคัดตามชนบท คือมีบ้านฝาสาน ขัดแตะ ห้องครัวอยู่แยกออกไปต่อจากห้องนอน มีระเบียงและชานนอกชายคา โรงวัวควาย เล้าไก่ ยุ้ง ข้าวอยู่ห่างกันครกตำข้าวเขาเอาไม้สูงประมาณ 1 เมตร มาเจาะลึกลงไปประมาณ 1 คืบ ใช้ตำด้วยมือตั้งครกไว้ใกล้บันไดเรือนในร่มชายคาบางบ้านใช้ครกกระเดื่องตำด้วยเท้าใต้ถุนเรือนเตี้ยใช้เก็บฟืน
3.ด้านประเพณี วัฒนธรรม
3.1 ประเพณีสู่ขวัญ หรือประเพณีดอกแดง เป็นประเพณีสู่ขวัญให้ลูกหลานสายตระกูลให้พ้นโรคภัยไข้เจ็บอยู่เย็นเป็นสุขซึ่งเป็นพิธีกรรมชุมชนโดยเฉพาะช่วงปลายเดือนธันวาคม-มกราคมการงานดอกแดงหรือดอกหงอนไก่เป็นประเพณีประจำของเผ่าลัวะ ที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่ลูกหลานชาวลัวะต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกปี โดยจัดในช่วงเดือนมกราคม วันที่จัดงานประเพณีดอกแดง ขึ้นอยู่กับกลุ่มผีตนเอง ซึ่งทุกคนรู้เองว่าใครอยู่กลุ่มผีใด แต่ละกลุ่มผีจัดไม่ตรงกัน และแต่ละกลุ่มผีต้องจัดประเพณีดอกแดงให้ตรงกันทุกปี เช่น กลุ่มผีที่ 1 จัดวันที่ 4 มกราคม ก็ต้องจัดวันที่ 4 มกราคม ของทุก ๆ ปี
ประเพณีดอกแดงเป็นประเพณีที่สำคัญ บุคคลใดที่ออกไปทำงานอยู่ต่างจังหวัด ต้องกลับมาร่วมงานประเพณีดอกแดงนี้ทุกคน ถือได้ว่าเป็นการรวมญาติ หากคนใดไม่มาร่วมประเพณี ชาวเผ่าลัวะเชื่อว่า คนคนนั้นจะมีอาการทางประสาท หลังจากวันประเพณีดอกแดงเสร็จ ภายใน 7 วัน ห้ามบุคคลใดในเผ่าลัวะสร้างบ้านเรือน หรือตัดไม้ เป็นอันขาด วัฒนธรรมของชนเผ่าลัวะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชุมชน เป็นการสร้างกุศโลบายให้กับคนในชุมชนให้ตระหนักถึงรากเหง้าของตัวเอง ไม่ทิ้งบ้านเกิดและรักษาประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามของตัวเอง
3.2 การละเล่นเครื่องดนตรี (ตีเกิ้ง) เป็นการละเล่นของชนเผ่าลัวะ ชาวลัวะมีเครื่องดนตรีประจำเผ่าเป็นเครื่องตีที่ทำจากไม้ไผ่ กลุ่มลัวะเรียกเครื่องดนตรีของเขาว่า “ปิ๊” หรือ เกิ้ง (ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองที่ใช้เรียก) เครื่องดนตรีสองชนิดที่ทำจากไม้ไผ่เหมือนกัน แต่มีรูปร่างลักษณะและวิธีการเล่นตลอดจนโอกาสในการเล่นที่แตกต่างกันออกไป“เกิ้ง” เป็นเครื่องตีที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกทำจากไม้ไผ่ โดยอาจมีความยาวตั้งแต่ปล้องไม้ไผ่ จนถึงหลาย ๆ ปล้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหัวและส่วนหาง ส่วนหัวมีความยาวประมาณ 3/5 ของความทั้งหมดในส่วนหางจะบวกด้านหนึ่งของกระบอกไม้ไผ่ลงไป มีลักษณะคล้ายปากฉลามแต่ในการเล่น "ปิ๊" ต้องเล่นเป็นชุด ๆ อย่างน้อยประกอบไปด้วย “ปิ๊” 4 คู่ ใช้ผู้เล่น 4 คน คือผู้เล่น 1 คนต่อ “ปิ๊” 1คู่ (โดยนำ “ปิ๊” ใส่ไว้ในง่ามนิ้ว) “ปิ๊” 4 คู่ เรียกว่าตัวแม่ตัวกลางตัวนางและตัวเล็ก “ปิ๊” ทั้ง 4 คู่มีขนาดลดหลั่นลงไปตามลำดับซึ่งให้เสียงที่แตกต่างกันออกไป โดยไม้ใช้ที่ตีนั้นใช้ไม้อะไรก็ได้ แต่ควรจะเป็นไม้เนื้ออ่อนและยังสดอยู่เพื่อให้ได้เสียงที่นุ่มนวล ตีลงบนกระบอก
3.3 ประเพณีเลี้ยงผีเสื้อบน (ผีหมู่บ้าน) เขาทำซุ้มประตูสานไม้เป็นรูปรัศมี ๘ แฉก ติดไว้ห้ามไม่ให้ต่างถิ่นเข้าสู่เขตหมู่บ้าน เครื่องหมายนี้ชาวเหนือเรียกว่า "ตาแหลว" ซึ่งชาวไทยกลางเรียก "เฉลว" เขาปีดบนทำพิธีเลี้ยงผีเสื้อบ้าน ๑ วัน ถ้าเดินทางไปพบเครื่องหมายเฉลวนี้แล้วต้องหยุดอยู่มีธุระอะไร ก็ตะโกนเรียกชาวบ้านให้ไปพูดกันตรงนั้น เช่น ขอดื่มน้ำหรือเดินหลงทางมาถ้าขืนเดินล่วงล้ำเขตหมู่บ้านของเขาจะถูกปรับเป็นเงิน ๕ บาท ถ้าไม่ยอมให้ปรับ เขาบังคับให้ค้างแรมคืน เวลาเกิดมีโรคสัตว์ระบาด หรือไข้ทรพิษคิดขึ้นแก่คนภายในหมู่บ้านของเขา เขาจะปิดเฉลวหรือเครื่องหมายห้ามเข้าหมู่บ้านเช่นเดียวกัน
3.4 ประเพณีการแต่งงาน ลัวะมีระบบการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว โดยฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายเข้าไปอยู่บ้านฝ่ายชายและนับถือผีบรรพบุรุษฝ่ายชาย บุตรที่เกิดมาอยู่ในสายเครือญาติของฝ่ายพ่อในครัวเรือนหนึ่ง ๆ โดยทั่วไปประกอบด้วยสามี ภรรยา บุตร บุตรชายคนโตต้องไปสร้างบ้านใหม่เมื่อแต่งงาน บุตรชายคนสุดท้ายจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับมรดกและเลี้ยงดูพ่อแม่ตลอดชีวิต หน้าที่ในครัวเรือนแบ่งออกตามอายุ และเพศ กล่าวคือ ผู้หญิงมีหน้าที่รับผิดชอบหาฟืน ตักน้ำ ตำข้าว ทำอาหาร และทอผ้า ผู้ชายมีหน้าที่ซ่อมแซมบ้าน ทำรั้วไถนา และล่าสัตว์ ส่วนงานในร่มเป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย ต้องช่วยกันทำ รวมทั้งสมาชิกวัยแรงงานทุกคนในครอบครัวด้วย งานด้านพิธีกรรมถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ชายเกือบทั้งหมด
4.ด้านเครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกาย ของชนเผ่าลัวะบ้านถิ่น ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจาก ชนเผ่าลัวะบ้านถิ่น ไม่มีการทอผ้าใช้เอง ชุดที่ถูกหยิบยกขึ้นมา ก็ยังมีข้อถกเถียงและข้อขัดแย้งกันในกลุ่มเป้าหมาย บางส่วนบอกเป็นชุดประจำเผ่า บางส่วนบอกใช่ ไม่มีชุดประจำเผ่า เนื่องจากชุดที่ใส่ เป็นชุดที่ซื้อมาจากแหล่งอื่น ๆ นอกจากนี้ในส่วนของเครื่องประดับส่วนใหญ่ทำมาจากเงิน เช่น กำไลเงิน ต่างหู ฯลฯ ทั้งนี้ชุมชนสามารถทำเครื่องประดับเองได้ แต่ไม่นิยมทำ (ดวงพร ทนดี และคณะ, 2560)
ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาวปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หนอกตามแถว
กระดุม และแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้สะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเสื่อมไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่น ติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บน ไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปีดอกเห็นถัน ถ้าเข้าไปในเมืองก็จะสวมเสื้อแต่งกายอย่างชาวเหนือถ้าออกไปหาผักตามป่า เอาผ้าขาวโพกศีรษะ สะพายกระบุงกันลึกโดยสายเชือกคล้องศีรษะตรงเหนือหน้าผากใส่คาดคอรองรับน้ำหนักอีกชั้นหนึ่ง ไม่สวมเสื้อ แต่ดึงผ้าซิ่นขึ้นไปเหน็บปิดเหนือถันแบบนุ่งผ้า
5.ด้านอาหารถิ่น ภูมิปัญญา
ชาวลัวะกินอาหารเหมือนคนพื้นเมือง แต่มีที่แตกต่างคือ น้ำพริกมะแขว่น ที่กินกันเป็นประจำ และมีอาหารประจำประเพณี เช่น สู่ขวัญใช้ไก่ต้ม เหมือนกับคนพื้นเมือง ประเพณีดอกแดงก็กินอาหารเหมือนคนพื้นเมือง เช่น หมู ไก่ เหล้า (ดวงพร ทนดี และคณะ, 2560) นิยมกินข้าวเหนียวนี่งใส่ แอ๊บ หรือ กระติ๊บไว้กินทั้ง 3 มื้อมีเกลือและพริกเป็นเครื่องชูรสอาหารยอดนิยมคือน้ำปู เป็นเครื่องจิ้ม สำหรับผักและข้าวเหนียวประเภทเนื้อสัตว์จะกินในโอกาสพิเศษหรือยามเซ่นผี นิยมเข้าป่าล่าสัตว์ เมื่อได้สัตว์ป่ามาหนึ่งตัว ผู้ล่าแบ่งเอาไว้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งนำไปมอบให้แก่ผู้ใหญ่บ้านผู้ใหญ่บ้านตีเกราะสัญญาณเรียกชาวบ้านมาแบ่งกันไปจนทั่วทุกหลังคาเรือน
6.ด้านอาชีพ
บ้านถิ่นไทย มีสภาพด้านเศรษฐกิจของชุมชน รายได้ของครัวเรือนก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำ อาชีพที่ชาวบ้านประกอบเป็นอาชีพด้านเกษตรกรรม เป็นส่วนใหญ่ เพื่อทำมาหากินเลี้ยงชีพ เลี้ยงครอบครัวนั้น ยังไม่มั่นคง เนื่องจากชาวลัวะไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง หากต้องการทำการเกษตรอาชีพที่ชาวประกอบเช่าที่ทำกิน เช่น การทำไร่ข้าวโพด การทำไร่มันสำปะรัง รับจ้างกรีดยาง การทำนาข้าว เป็น ซึ่งการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเหล่านี้ ชาวบ้านจะเช่าที่ดินเพื่อการทำการเกษตรในราคาไร่ละ 1,000 บาท หรือ แบ่ง 3 ส่วน คนทำรับไป สองส่วน เจ้าของที่รับหนึ่งส่วน โดยส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป หากเป็นช่วงเวลาของทำการเกษตรทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่อยู่ในวัยทำงานของครอบครัวก็จะออกไปประกอบอาชีพร่วมกัน หากรับจ้างรายวันก็ได้รายวันละ 200-300 บาท (แล้วแต่นายจ้าง) ส่วนการรับจ้างกรีดยางก็จะแบ่งกับเจ้าของส่วน คือ 60 : 40 (เจ้าของสวนรับส่วน 60% ส่วนผู้รับจ้าง รับ 40 % )โดยเจ้าของสวนรับผิดชอบเรื่องปุ๋ยเพื่อผู้เดียว ผู้รับจ้างมีหน้าที่กรีดยางและเก็บขายเท่านั้น
ด้วยราคาผลผลิตด้านการเกษตรขึ้นอยู่กับการกำหนดราคาของพ่อค้าคนกลาง จึงทำให้ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้รับรายได้จากการขายสินค้าหรือผลผลิตไม่คงที่ บางปีได้ราคาที่สูง บางปีได้ราคาที่ต่ำ แต่หากปีไหนได้ราคาที่ต่ำลงกว่าเดิม ทำให้ชาวบ้านประสบปัญหาหนี้สินเข้ามา เนื่องจากการลงทุนที่ยังสูงเช่นเดิมจะกล่าวได้ว่า ต้นทุนสูง แต่ได้ผลผลิตที่ต่ำ ทำให้ไม่คุ้มค่า
ชาวบ้าน บ้านถิ่นไทย เมื่อสิ้นฤดูทำมาหากินด้านเกษตรกรรมแล้ว ชาวบ้านส่วนหนึ่งก็เข้าไปรับจ้างในเมือง หรือเดินทางไปกรุงเทพฯ และกลุ่มเยาวชนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาตรีก็เข้าไปทำงานที่กรุงเทพเป็นส่วนใหญ่ จากชนเผ่าที่ปิดตัวเอง เขินอายในการเปิดชุมชนให้บุคคลภายนอกชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้ ร่วมกัน ชุมชนมีความพยายามที่จะเปิดเผยข้อมูล มีการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ดั้งเดิมกับชุมชนภายนอก
ผู้ชายชาวบ้านถิ่นไทยที่เป็นกลุ่มแรงพอทำงานได้ หลังจากสิ้นสุดฤดูเกษตรกรรม ก็จะรับจ้างทั่วไป หรือออกไปรับงานที่ต่างบ้าน ต่างตำบล ต่างอำเภอแล้วแต่จะมีผู้มาว่าจ้างมีทั้งเป็นรายวัน และรายเดือน และเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เช่น ไก่ เป็ด เป็นต้น
ส่วนผู้หญิงที่ยังอาศัยอยู่ที่บ้านก็หาอาชีพอื่นหรืออาชีพเสริมเข้ามาเพื่อให้ครอบครัวมีรายได้ เพื่อเลี้ยงปากท้องตนเอง เช่น การปักผ้าม้ง การรับจ้างทั่วไป เป็นต้นการรับผ้าม้งมาปักนั้น จะมีนายหน้าเข้ามาเพื่อติดต่อแม่บ้านบางส่วน ในการรับงานไว้แล้วแจกจ่ายงานให้กับผู้หญิงคนอื่นให้ทำต่อกันไป ผู้หญิงที่พอสามารถ ปักได้ก็มาเรียนรู้ด้วยกันเอง และให้ลองทำ
กระโจมอกเวลาเดินน่ากลัวผ้าชื่นหลุด แต่ไม่เหน็บแน่น ไปไหนถือกล้องยาทำด้วยรากไม้ไผ่เป็นประจำ เสื้อผู้ชายอย่างเดียวกันกับปักดอกลวดลายที่คอเอและชายเสื้อ เครื่องแต่งกายดังกล่าวนี้ปัจจุบันไมใช้กันแล้วเสื้อเชิ้ตแขนยาวผ่าอกกลาง กางเกงจีนธรรมดาแต่ผู้ชายที่นุ่งผ้าโจงกระเบนยังอยู่บ้าง
ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
นับถือศาสนาพุทธ ยังนิยมนับถือผี มีการถือผีเสื้อบ้าน ผูกเส้นด้ายข้อมือถือขวัญ เวลาเจ็บป่วยใช้ยารากไม้ สมุนไพร เสกเป่า และทำพิธีฆ่าไก่เช่นผี ถ้าตาย จะทำพิธีอย่างชาวเหนือ มีพระสงฆ์สวดมนต์ บังสุกุล เอาศพไปป่าช้า ฝังมากกว่าเผา แต่ถ้าตายอย่างผิดธรรมดาก็เผาให้สิ้นซากไป ลัวะ เชื่อในผี 2 ประเภท คือ ผีที่มีอำนาจลึกลับ เรียกว่า "ปย๊อบ" มี 4 แก่นตา (นัยน์ตา) เช่น พวกผีป่าผีไร่ ผีน้ำ เวลาที่เซ่นไหว้จะสัมพันธ์กับฤดูกาลในการทำไร่ และผีบรรพบุรุษหรือผีประจำตระกูล มีวิธีเรียก 2 แบบ คือใช้คำว่า "อาว" แปลว่า พ่อ นำหน้า เช่น อาวคัด และใช้คำว่า บ้าน นำหน้า เช่น ผีบ้านเบาะ เป็นผีประจำหมู่บ้าน อายุน้อยกว่า ปย๊อบ แต่มากกว่า อาว ทั้งผีบ้านและผีอาวจะมี พิธีมอบไหเหล้าประจำตระกูลให้ทายาทรับช่วง โดยทายาทฝ่ายหญิงคนโตจะได้รับสิทธิ์ก่อน ธีไหว้ใช้ได้ทั้งหมูและไก่ นิยมเช่นด้วยตับหมูและตับไก่ ส่วนมากใช้ไก่ เอาน้ำร้อนลวก ถอนขน ตัดคอ ผ่าอก ตัดขา ตัดเล็บ ผู้ทำต้องเป็นผู้หญิง เอาไปไหว้รวมกับเหล้า ดอกไม้และเทียน
ช่วงเดือนสิงหาคม ของทุกปีจะมี "พิธีโสลด" จะทำในช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง ใช้เวลา 2 วัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของหมู่บ้านโดยเก็บเงินครัวเรือนละ 15 บาท การทำพิธีรวมจะต้องทราบว่าผีอยู่เรือนใด ซึ่งจะไม่ซ้ำกัน พิธีจะเริ่มประมาณเจ็ดโมงเช้า หมอผีจะเป็นผู้นำพิธี เจ้าของบ้านที่ผีอาศัยอยู่ ต้องเตรียมพันธุ์พืชจากไร่ของตัวเอง เช่น ต้นข้าว ข้าวโพด เผือก เมี่ยง ใส่รวมกันในกระจาด ทุกคนต้องมารวมกันที่ศาลาผีของหมู่บ้าน ห่างจากตัวเรือนที่ผีอาศัยอยู่ 100 เมตร ใช้ประกอบพิธีทุกปี บริเวณศาลาจะมีการเล่น "เรียงลำดับเพลงที่ใช้เล่น คือ ก่อมตุ๋น, ตอหย่า, แพะ,ชัวะ, กัวอื่อ และ เมื่อขบวนแห่ถึงเรือนเก๊าจะหยุดตั้งขบวนและเล่นเพลงสุดท้ายชื่อว่า จะหลัน โดยมีหมอผีนำขบวนตามด้วยเจ้าของเรือน ขบวนพิขนาดใหญ่ 3 อันซึ่งจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนเพลงและจังหวะ ต่อด้วยขบวนผู้หญิงมีทั้งวัยรุ่นและวัยกลางคน ฟ้อนเล็บและเต้นตามจังหวะเพลงประมาณ 15 คน ตามด้วยผู้ร่วมขบวนทุกคนถือพิตีตามจังหวะ เมื่อขบวนถึงเรือนหรือหัวบันไดบ้านที่ผีอาศัยอยู่ หมอผีจะว่าคาถา แล้วเจ้าของบ้านก็นำกระจาดใส่พันธุ์พืชไปไว้ในห้องนอน ผู้เล่นทุกคนจะเข้าไปในบ้านนี้ ประตูทางเข้าจะจุดเทียน มีข้าวเปลือก ไม้ดอกและพืชมงคลหลายชนิด วางข้างประตู มีเหล้าอุ 1 ไหไว้ต้อนรับ จากนั้นเจ้าของบ้านต้มน้ำ แล้วนำไก่ดำที่เตรียมไว้มาเชือด แล้วนำเลือดไก่ไปทาพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในกระจาด ทาบริเวณหัวบันได และ พิขนาดใหญ่ แล้วเชือดไก่ปรุงอาหารเลี้ยงกัน หลังจากเสร็จพิธีกรรมของหมู่บ้านแล้ว ทุก ๆ บ้านจะมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีของหมู่บ้าน แต่จะทำในช่วงบ่ายและเย็นของวันเดียวกัน ซึ่งจะมีอีกพิธีหนึ่งที่อยู่ในขั้นตอนของพิธี โสลด คือ พิธีเขี่ยเหล้า พิธีเขี่ยเหล้า เป็นพิธีกรรมที่บอกผีบ้านผีเรือนดลบันดาลให้ได้ข้าวมาก พืชในไร่อุดมสมบูรณ์ ไม่เจ็บไม่ป่วย แคล้วคลาดจากภัยอันตรายต่าง ๆ วิธีการคือ ผู้ชายจะรวมกลุ่มกันประมาณ 4-5 คน แล้วเดินไปจนครบทุกบ้าน เมื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งขึ้นบ้านมา เจ้าของบ้านต้องเตรียมสำรับอาหารใส่กระจาด ในกระจาดมีอาหาร มีเหล้าอุวางกลางกระจาด ซึ่งบรรจุในกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ด้านบนมีแกลบโรยปิดไว้ ลอดทำจากไม้ไผ่ขนาดเท่านิ้วก้อยยาวประมาณ 1-1 เมตรครึ่ง ใช้ลวดเล็กปลายแหลมแทงรอยกั้นระหว่างข้อปล้องของหลอดทำให้ดูดน้ำได้ 2 หลอด แหย่ลงไปในกระบอกเหล้า แล้วก็ลงมือเขี่ยเหล้า โดยใช้ไม้ไผ่เหลาคล้ายตอกขนาดเท่า ๆ ก้านไม้ขีดยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร พันปลายเป็นตะขอ ทุกคนเอามือจับไม้เขี่ยพร้อม ๆ กัน อธิษฐานบอกผีบ้านผีเรือนประมาณ 1 นาที แล้ววางไม้เขี่ยรวมกันในกระจาด จากนั้นจะมีการกินอุ จะดูดวนกันเป็นวง จะต้องยืนขึ้นหรือนั่งยอง ๆ เท่านั้น หากเหล้าหมดก็เติมได้อีก ส่วนอาหารจะทานหรือไม่ก็ได้ จากนั้นก็ขึ้นบ้านอื่นอีก ตั้งแต่กลางวันถึงกลางคืนจนครบทุกบ้าน พิธีกรรมและความเชื่อในการทำการเกษตรในรอบปี มีขั้นตอนดังนี้
การถางไร่ เริ่มเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนถางจะต้องทำพิธีบอกผีป่าผีไร่ (ผีเจ้าที่) มีชื่อว่า "ผีปัค ผีแคว้น" โดยต้องให้บ้านที่ผีอยู่ หรือเรียกว่า "จำผี" ทำพิธีก่อน หมอผีจะต้องทำพิธีร่วมกับเจ้าบ้าน 2 คน ในตอนเช้ามืดประมาณ 7 โมง เครื่องเช่น ได้แก่ ปูเหลย ว่านหักขิน ว่านควานดำ ขมิ้นดำ ดอกกะหลัวและขิง ทำพิธี บริเวณต้นไม้ใหญ่ริมไร่ เริ่มพิธีโดยท่องคาถาภาษาลัวะและอธิษฐานว่าสามารถทำไร่ตรงนี้ได้ไหม และเอาของเช่นฝังไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ แล้วเดินไปดูบริเวณที่จะถางไร่ แล้วกลับมาดู หากเครื่องเซ่นไม่สมบูรณ์ก็หาที่อื่น หากสมบูรณ์ก็ถางได้ ก่อนถางต้องบอกผีเจ้าที่ก่อน จากนั้นทุกคนในหมู่บ้านจะไปลงแขกถางไร่ (เอามื้อ) ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการถางและเผาเตรียมพื้นที่
การดูแลรักษาไร่ มีการสร้างศาลผีไร่ ด้วยไม้ไผ่ ไหว้และบนบานผีไร่ทุกปีเพื่อไม่ให้ศัตรูมารบกวนพืชไร่ โดยมีหมาก พลูและสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู หมา ไก่ ไว้แก้บน แล้วแต่ผีจะชอบ
การเก็บเกี่ยว หมอผีและจำผีต้องไปทำพิธีที่ไร่ก่อนการเก็บเกี่ยวเป็นคนแรกอีก เพื่อเป็นการขอบคุณผีโดยเกี่ยวข้าวและผลผลิตใส่ภาชนะ ใช้ไก่ 1 ตัว เช่น เชือดแล้วเอาเลือดทาผลผลิต วางเอาไว้แล้วเดินไปทั่วบริเวณไร่ กลับมาอีกครั้ง ฆ่าไก่ปรุงเป็นอาหารเลี้ยงผีโดยเฉพาะเครื่องใน จากนั้นมีการลงแขกกันอีกรอบ
การเก็บรักษาผลผลิต ไม่มีพิธีกรรมอะไร
ดอกไม้ 5 ชนิด ที่ลัวะนิยมปลูกในไร่ถือเป็น ดอกไม้มงคลและใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ คือ ดอกคำปู้จู้ ผักกมก๊อ ผักชะอ้อน ดอกหงอนไก่และดอกล้อกอง
องค์ความรู้และภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือ การแก้พิษเห็ดจากเหรียญมัน สมุนไพรรักษา โดยใช้ เหรียญมันคือเงินตรา/เหรียญท๊อก นำมาแช่น้ำ ประมาณ 5 นาที แล้วนำมาดื่ม
การเรียกขวัญในพิธีประกอบไปด้วย ขันพิธีใหญ่ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในขันเป็นอุปกรณ์ที่ทำขึ้นเอง เช่น เทียน ทำขึ้นเอง โดยทำมาจากขี้ผึ้งโกน ไข่ดิบ ข้าวสารเหนียว มีด และที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ เหรียญมัน และดอกแดง (ดอกแดง ที่ใช้ต้องมีก้านแข็งหากบางท้องที่ไม่มีดอกแดงที่มีก้านแข็งก็สามารถใช้ดอกชนิดไหนก็ได้ที่มีสีแดง) เมื่อเสร็จพิธีสู่ขวัญ ชาวเผ่าลัวะเชื่อว่า เทวดาที่ตนเองนับถือได้มาสิงสถิตอยู่ในขันพิธี จึงมีการเสี่ยงทาย เช่น เสี่ยงทายว่า ปีนี้ข้าวในนาจะอุดมสมบูรณ์ ขอให้ข้าวสารเหนียวที่ถือไว้ เมื่อปล่อยลงบนมีดหรือไข่ดิบ ข้าวสารเหนียวสามารถตั้งอยู่บนมีดได้ตามจำนวนเม็ดที่ได้กล่าวไว้ ใครจะถามอะไรก็สามารถสอบถามและเสี่ยงทายได้ เมื่อเสร็จพิธีเสี่ยงทายจะเป็นการส่งมอบเหล้า พร้อมจุดเทียน ต่อ ๆ กันไปให้ครบทุกคน กิจกรรมนี้จะทำเฉพาะผู้ชาย เมื่อเสร็จพิธีการทั้งหมดจะเป็นร่วมกันสนุกสนาน กันถึงค่ำ (ดวงพร ทนดี และคณะ, 2560)
ปฏิทินวิถีชนเผ่า
- มกราคม ประเพณีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ
- กุมภาพันธ์ เลี้ยงผีป่า, เลือกพื้นที่
- มีนาคม ฟันไร่,ถางไร่
- เมษายน ปีใหม่
- พฤษภาคม ไถนา
- มิถุนายน ทำนา
- กรกฎาคม กำจัดวัชพืช
- สิงหาคม เก็บเกี่ยวพืช ผสม
- กันยายน เก็บเกี่ยวข้าว
- ตุลาคม เก็บเกี่ยวข้าว เบา
- พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวข้าว หนัก
- ธันวาคม เลี้ยงผีหมู่บ้าน
มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีความเข้าใจในภาษาพูดเฉพาะกลุ่มของตนเองภาษา
ด้านการดำรงชีพ อาชีพหลักของชนเผ่าลัวะคือ รับจ้างทั่วไปที่กลายเป็นชนชั้นของผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ รองลงมาคือการทำเกษตรกรรม มีการบุกรุกพื้นที่ทำกินของชุมชนพื้นเมือง ทำให้เกิดปัญหาไปยังชุมชนใกล้เคียง
ด้านการดำเนินชีวิตซึ่งเชื่อมโยงจากการเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดเล็กที่อาศัยในพื้นที่ของคนท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่จะมีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของที่นำหน้าด้วยเลข 8 ซึ่งหมายถึง คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มี "ถิ่นที่อยู่" ในประเทศไทย หรือ "คนต่างด้าวที่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย" (คนต่างด้าวที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นไทย) ซึ่งในฐานะของผู้อพยพทำให้เกิดความไม่มั่นใจการแบ่งแยกกลุ่ม ไม่เป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบ การดำเนินชีวิตในสังคมที่มีความแตกต่างจากตนเอง และกดขี่การใช้แรงงานรวมไปถึงการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของชนเผ่าลัวะที่มาตั้งรกรากอยู่กับชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับอิทธิพลการใช้ชีวิตจากชุมชนเมืองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตนเอง ละทิ้งวิถีวัฒนธรรมดั่งเดิมเพื่อสร้างการยอมรับใหม่และปรับตัวให้สอดรับกับคนท้องถิ่นมากขึ้น
สถานการณ์ของชนเผ่าลัวะ (บ้านถิ่นไทย) ปัจจุบัน พบว่าชนเผ่าในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังขาดสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย เนื่องจากชนเผ่าบางคนยังไม่ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลและความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งเกิดจากปัญหาหลักในด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้ชนเผ่าในพื้นที่ไม่สามารถอ่านออก เขียนได้ ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่สำคัญคือการอพยพย้ายถิ่นและเกิดจากค่านิยมที่ว่า "การศึกษาไม่ได้มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต" หากแต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือเรื่องปากท้องที่ดินทำกิน ซึ่งทำให้ชนเผ่าลัวะ (บ้านถิ่น) มีอาชีพหลัก คือ อาชีพรับจ้างทั่วไป และรองอาชีพรองลงมา คือ อาชีพเกษตรกรรม มีการบุกรุกพื้นที่ทำกินของชุมชนพื้นเมือง ทำให้เกิดปัญหาไปยังชุมชนใกล้เคียง ทำให้เกิดการแบ่งแยกและไม่เป็นที่ยอมรับของชุมชน ในด้านวัฒนธรรม ด้านภาษา การปลูกสร้างบ้านเรือนวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ถูกกลืนจากชุมชนพื้นเมืองที่อยู่โดยรอบ
ชนเผ่าลัวะบ้านถิ่นไทยที่อาศัยในบ้านน้ำเปื๋อย ม.6 เป็นกลุ่มชนขนาดเล็กที่อาศัยในพื้นที่ของคนท้องถิ่นดั้งเดิม (คนเมือง) มีสังคมเฉพาะกลุ่มแยกออกจากกลุ่มคนเมือง มีการปกครองอยู่ภายใต้กฏระเบียบเดียวกันใช้มาตรการและข้อบังคับเช่นเดียวกับคนท้องถิ่น แต่จะให้สิทธิการปกครอง และการแสดงออกทางการเมืองโดยผ่านผู้นำชุมชนของบ้านถิ่นไทย (นายณภัทร บุญวงศ์สกุลและ ผู้ช่วย) ทำหน้าที่ในการเชื่อมประสานงานและการรับการช่วยเหลือจากภาครัฐจากการเป็นกลุ่มชนขนาดเล็กที่อพยพมาจากถิ่นอื่นและอาศัยรวมอยู่กับคนเมืองทำให้ "ลัวะบ้านถิ่นไทย" ขาดโอกาสในการเข้าถึงการพัฒนา รวมถึงงบประมาณในด้านต่าง ๆ
ด้านการสาธารณสุขพบว่าส่วนใหญ่ยังขาดสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต มีปัญหาทางด้านสุขภาพ และบางรายยังไม่ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาล รวมถึงความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
ดวงพร ทนดี และนภัทร บุญวงศ์สกุลและคณะ. (2560). โครงการวิจัยการค้นหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมของชนเผ่าลัวะบ้านถิ่นไทยโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน ม.6 ต.เชียงแรง อ.ภูซาง จ.พะเยา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
ที่ว่าการอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. (2560, 17 พฤษภาคม). ภาพอดีตศูนย์อพยพภาพเก่าเล่าอดีตศูนย์รับผู้อพยพลี้ภัยสงคราม ค.ศ.1975 -1987 (พ.ศ.2518 -พ.ศ.2530) หรือศูนย์พักพิงผู้อพยพบ้านแก. https://www.facebook.com/watch/
Thai PBS. (2560, 26 ธันวาคม). เรื่องนี้มีตำนาน : งานสู่ขวัญลัวะบ้านถิ่น. https://www.youtube.com/
ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดพะเยา. (ม.ป.ป.). ข้อมูลชนเผ่า. http://phayao-hdc.go.th/
เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. บรรณาธิการ 2545. 100 ปี เหตุการณ์เงี้ยวก่อการจลาจลในมณฑลพายัพ พ.ศ. 2445. พะเยา : นครนิวส์
แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนวิธีการปกครองบริเวณน่านเหนือใหม่. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 : 751. 14 ตุลาคม รศ.125
แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลพายัพ. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 : 427. 12 มิถุนายน รศ.129)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 : 3449-3457. 21 มกราคม 2481
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 : 2773 – 8 . 12 พฤศจิกายน 2483
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ อำเภอพาน กิ่งอำเภอป่าแดด และกิ่งอำเภอเชียงม่วน จังหวัดเชียงราย (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 87 ตอนที่ 83 : 2451-2463. 1 กันยายน 2513
พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520 (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 94 ฉบับพิเศษ ตอนที่ 69 : 1-4. 28 กรกฎาคม 2520
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูซาง. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนพิเศษ 18ง : 28. 26 มิถุนายน 2539
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา. (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 115 ตอนพิเศษ 93 ง : 332 - 353. 12 ตุลาคม 2541
พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอฆ้องชัย ...อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง.... (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 46 ก : 14-21. 24 สิงหาคม 2550