Advance search

ชุมชนเกษตรกรรมที่มีการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์และแปรรูป 

หมู่ที่ 1,2,3,4
มะค่า
มะค่า
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
ณัฐพล นาทันตอง
20 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
20 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
20 มิ.ย. 2024
บ้านมะค่า

สาเหตุของการตั้งชื่อบ้านแห่งนี้เนื่องจากบริเวณพื้นที่มีต้นมะค่าโมงจำนวนมากผู้นำก่อตั้งชุมชนจึงตั้งชื่อว่า “บ้านมะค่า”


ชุมชนชนบท

ชุมชนเกษตรกรรมที่มีการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์และแปรรูป 

มะค่า
หมู่ที่ 1,2,3,4
มะค่า
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
44150
16.266247772338915
103.37001810397616
องค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า

ชาวบ้านมะค่าอาศัยที่พิมาย ต่อมาเกิดศึกกวาดไพร่ขึ้น คือ ได้มี กษัตริย์ของลาว คือ เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทร์ได้ยกกองทัพมาเพื่อกวาดตัวเอาประชาชนไทยกลับไปยังเวียงจันทร์ แต่ด้วยนิสัยของคนไทยที่รักความสงบจึงได้มีบุคคลสำคัญ 2 คน คือ หลวงพ่อฝ้ายและหลวงพ่อดาซึ่งเป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธ ได้พาครอบครัวคนไทยประมาณ 20 ครัวเรือน อพยพมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพิมายมาเรื่อย ๆ จนมาถึงบริเวณดง ห้วยต่า แต่บริเวณที่หลวงพ่อฝ้ายและหลวงพ่อดาอพยพมานั้นมีลักษณะเด่น คือ มีขมิ้นป่าขึ้นเยอะ หลวงพ่อฝ้ายและหลวงพ่อดาจึงตกลงกันตั้งหมู่บ้านขึ้น และให้ใช้ชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านดอนขมิ้น หรือ ขมิ้นหนองสอ (ซึ่งในปัจจุบันนี้ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนมะค่าพิทยาคมและวัดป่าศรีประชาวนาราม) หลังจากที่หลวงพ่อฝ้ายและหลวงพ่อดาอาศัยอยู่ที่ดอนขมิ้นหลายสิบปี ลูกบ้านก็มีมากขึ้นจึงมีปัญหาเกิดขึ้น คือ พื้นที่เพาะปลูกไม่เพียงพอ ดังนั้นหลวงพ่อดาจึงพาลูกบ้านส่วนหนึ่งอพยพไปทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านดอนขมิ้น แล้วก็ได้พบหนองน้ำแห่งหนึ่ง คือ ลำน้ำกุดใส้จ่อ หรือ หนองกอย หลวงพ่อดาเห็นว่าทำเลดีจึงตั้งรกรากอยู่ทางฝั่งซ้ายของล้ำน้ำกุดใส้จ่อและให้ชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านกุดใส้จ่อมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนหลวงพ่อฝ้ายก็ได้อพยพลูกบ้านมาทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านดอนขมิ้นจนมาพบบริเวณที่ราบสูงแห่งหนึ่ง ซึ่งมีต้นมะค่าโม่งขึ้นอยู่มากมายและเป็นบริเวณที่กว้าง กับทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูงอันกว้างใหญ่และมีน้ำขังในฤดูฝนอันเหมาะแก่การปลูกข้าว ส่วนทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นที่ราบสูงเหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ถั่ว งา ฝ้าย ฯลฯ เมื่อหลวงพ่อฝ้ายมาเห็นภูมิประเทศที่เหมาะสมที่จะตั้งหมู่บ้าน จึงพาลูกบ้านตั้งหมู่บ้านขึ้นที่ดอนมะค่าโม่งและตั้งชื่อบ้านว่า มะค่า มาจนตราบทุกวันนี้

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ จดกับ ตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศตะวันออก จดกับ ตำบลโคกสะอาดและตำบลฆ้องชัยพัฒนา กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 
  • ทิศใต้ จดกับ ตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศตะวันตก จดกับ ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

จำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,377 คน จำนวนครัวเรือน 565 ครัวเรือน ข้อมูลอาชีพของหมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรซึ่งอาศัยน้ำชลประทาน นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพค้าขาย รับราชการและรับจ้าง

1.กลุ่มแม่บ้านเกษตรมะค่าพัฒนา (ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทย) กลุ่มแม่บ้านเกษตรมะค่าพัฒนาหรือศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2544 ก่อตั้งโดย นางหนูเลี่ยม รักหบุตร ซึ่งนางหนูเลี่ยมได้ไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วได้ไปเห็นชาวญี่ปุ่นนิยมอบสมุนไพร อาบน้ำแร่ จึงนำแนวคิคมาทำเพราะวัตถุดิบในชุมชนนั้นหาง่าย จึงแนะนำและชักชวนเพื่อนบ้านมาทำ เริ่มแรกมีสมาชิก 9 คน ได้ลงขันกันคนละ 120 บาท ในการทำครั้งแรกและได้จดทะเบียนเมื่อ พ.ศ. 2546 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 46 คน สินค้าที่ทำคือ ลูกประคบสมุนไพร หมอนสมุนไพร ยาอบสมุนไพร มะรุมแคปซูน ขมิ้นแคปซูน ยาหม่องสมุนไพร น้ำมันเหลืองสมุนไพร

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรซึ่งอาศัยน้ำชลประทานนอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพค้าขาย รับราชการและรับจ้าง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสาน และภาษากลางในการสอนนักเรียนหรือผู้ที่สนใจ


การมีกลุ่มจัดทำสมุนไพรทำให้ชาวบ้านได้มีรายได้ระหว่างว่างเว้นจากการทำนา ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขายสมุนไพรเป็นสิ่งที่คนไทยขาดไม่ได้แม้จะมีแพทย์แผนปัจจุบันคนบางส่วนยังนิยมใช้สมุนไพรในการรักษาโรคอยู่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อำนาจ คำโคกสี(2560). ประวัติความเป็นมาบ้านมะค่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567. จาก https://slideplayer.in.th/slide/2855543/