Advance search

สวนพฤกษชาติเป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติ และดูปูหายาก

1
บ้านนาเชือก
นาเชือก
นาเชือก
มหาสารคาม
ณัฐพล นาทันตอง
6 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
6 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
20 มิ.ย. 2024
บ้านนาเชือก

คำว่า นา หมายถึง ทุ่งนา ส่วนคำว่า "เชือก" หมายถึง ต้นเชือกหรือต้นรกฟ้า ดังนั้นคำว่า "นาเชือก" จึงหมายถึง ทุ่งนาที่มีต้นเชือกหรือต้นรกฟ้ามากมาย แต่ปัจจุบันคงเหลือน้อย


สวนพฤกษชาติเป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติ และดูปูหายาก

บ้านนาเชือก
1
นาเชือก
นาเชือก
มหาสารคาม
44170
15.771706844735924
103.02936514506177
เทศบาลตำบลนาเชือก

เดิมอำเภอนาเชือก มีครอบครัวประมาณ 9 ครอบครัว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2447 ได้อพยพจากอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านกุดรังปัจจุบัน ต่อมาได้มีครอบครัวอพยพมาจากอำเภอห้วยแถลง, อำเภอสูงโนน จังหวัดนครราชสีมา, อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และจากจังหวัดอุบลราชธานี เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในละแวกนี้ ทั้งในเขตการปกครองของอำเภอบรบือ, อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและทำการค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสาน และนับถือพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

เมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับอยู่ห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอแต่ละแห่ง ประชาชนได้รับความลำบากในการติดต่อราชการ จึงมีการเสนอเพื่อขอให้ทางราชการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นในท้องที่ตำบลนาเชือก

ต่อมาเมื่อ พ.ศ 2496 จังหวัดได้สั่งให้นายอำเภอบรบือและนายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยร่วมทำการสำรวจพื้นที่ ที่ควรจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอในท้องที่ตำบลนาเชือก การสำรวจได้ทำการสำรวจหลายแห่งในที่สุดตกลงเลือกเอาพื้นที่โคกที่อยู่ระหว่างบ้านนาเชือกกับบ้านกุดรัง เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอ เพราะเป็นทำเลเหมาะสมเกี่ยวกับการระวางและขยายผังเมือง

ทั้งนี้อำเภอนาเชือกในปัจจุบันได้นำเอาชื่อบ้านนาเชือกมาตั้งเป็นตำบลนาเชือก ประมาณปี พ.ศ. 2503 และยกฐานของตำบลนาเชือกเป็นกิ่งอำเภอนาเชือก และเป็นอำเภอนาเชือกในปัจจุบัน

ลักษณะโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน ป่าไม้เป็นป่าเบญจพรรณ 

สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มี 3 ฤดูกาล

  • ฤดูร้อน อากาศร้อนจะร้อนอบอ้าว เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน ส่วนใหญ่ฝนจะไม่ตกตามฤดูกาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
  • ฤดูหนาว อากาศค่อนข้างหนาว มีลมแรง เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15 องศาเซลเซียส

บ้านนาเชือก หมู่ที่ 1 ประกอบด้วยจำนวนครัวเรือน 262 ครัวเรือน โดยมีประชากรรวมทั้งสิ้น 648 คน แบ่งเป็นเพศชายจำนวน 340 คน และเพศหญิงจำนวน 308 คน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประชาชนนับถือและสืบทอดประเพณีท้อถิ่น หรือที่เรียกกันว่า ฮีตสิบสอง" เช่น ประเพณีทำบุญเลี้ยงบ้าน ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนพรรษา นอกจากนี้ยัมีความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าปู่หลวงอุดมหรือหลวงอุดม 

ศาลเจ้าปู่หลวงอุดม ตั้งอยู่ใกล้หนองอุดม ซึ่งเป็นหนองน้ำศักดิ์สิทธิ์ติดกับดอนปู่ตา เชื่อว่าเจ้าปู่หลวงอุดมหรือหลวงอุดม เป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่เคยปกป้องชุมชนในอดีต เป็นผู้ที่รักษาป่าดูนลำพัน มิให้ผู้ใดมาบุกรุกทำลาย และช่วยปกปักรักษาชุมชนให้รอดพ้นจากอันตราย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ตั้งอยู่ในท้องที่ ตำบลนาเชือกอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม สภาพพื้นที่ป่าของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันมีลักษณะค่อนข้างพิเศษคือ พื้นที่ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของคลองชลประทาน มีสภาพป่าเป็นป่าเต็งรังไม้เด่น ได้แก่ ไม้แสบงหรือไม้กราด และต้นรวงไซ พืชสมุนไพรที่พบ เช่น โด่ไม่รู้ล้ม ขี้อ้น หยาดน้ำค้าง เป็นต้น ส่วนพื้นที่ป่าที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของคลองชลประทาน มีสภาพป่าที่มีลักษณะเป็น ป่าผสมกล่าวคือป่ากึ่งดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและสภาพคล้ายป่าพรุ ไม้เด่นที่พบมากได้แก่ ต้นเชือกหรือต้นรกฟ้า ต้นผลู ต้นหว้า ไผ่ป่า ต้นข่อย ต้นแคทุ่ง เฟิร์น นอกจากนี้ยังมีพืชที่จัดเป็นพืชสมุนไพรมากมายหลายชนิด ได้แก่ เครือเอ็นอ่อน เถาเอ็นอ้า แก้วมือไวว่านแผ่นดินเย็น กวาวเครือ เท้ายายหม่อม กล้วยไม้ที่พบในป่าดูนลำพันมีหลายชนิด เช่น กะเรกะร่อน คูลู เป็นต้น สัตว์ที่พบส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก อีเห็น พังพอน ตะกวด จิ้งเหลนน้อยหางยาวหรือที่เรียกว่างูขา เป็นต้น

ส่วนสัตว์จำพวกนกพบมากที่สุดทั้งจำนวนชนิดและจำนวนปริมาณ โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวจะมีนกอพยพที่หนีความหนาวมาจากประเทศจีนเป็นจำนวนมากเช่น นกยางโทนน้อย นกยางโทนใหญ่ นกยางกอกพันธุ์จีน นกแขวก นกเป็ดแดง เป็นต้น

ต่อมาได้มีการค้นพบปูน้ำจืดซึ่งมีสีสันสวยงามชนิดใหม่ของโลกในปี พ.ศ. 2536 ในพื้นที่ป่าดูนลำพัน ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ภายหลังได้ขอพระราชทานชื่อว่า "ปูทูลกระหม่อม" ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งเดียวที่พบปูชนิดนี้ ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ผืนป่าดูนลำพันแห่งนี้ตลอดจนทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่ารวมทั้งเพื่อเป็นการป้องกันภัยคุกคามและปัญหาการบุกรุกพื้นที่และระบบนิเวศ ซึ่งจะส่งผลให้ปูทูลกระหม่อมสูญพันธุ์ได้ ทางจังหวัดมหาสารคามและกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมจึงร่วมกันพิจารณาประกาศให้พื้นที่ป่าดูนลำพัน เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยออกเป็นประกาศกระทรวงฉบับที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

ต่อมากรมป่าไม้โดยส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจพบว่านอกจากปูทูลกระหม่อมแล้วป่าดูนลำพันแห่งนี้ยังมีความหลากหลายทางธรรมชาติ ทั้งพืชพันธุ์และสัตว์ป่าจึงได้ดำเนินการเสนอต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2541 โดยนายปองพล อดิเรกสารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดให้พื้นที่สาธารณประโยชน์ป่าดูนลำพันในท้องที่ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนพิเศษ 40ง ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2542

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสาน และภาษาไทยกลาง


เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์9 กรมอุทยานแห่งชาติ. (2562). เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567. https://www.dnp.go.th/khonkaen/  

Google Map. (2567). พิกัดแผนที่ป่าดูนลำพัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www.google.com/maps

เทศบาลตำบลนาเชือก. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นเมื่อ 9 มกราคาคม 2568. https://www.tessabannachueak.go.th/

ณรงศักดิ์. (2548). การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.