กลุ่มวิสาหกิจที่มีการพัฒนาการเลี้ยงปูนา และสามารถทำผลิตภัณฑ์จากปูนาส่งขายทั่วประเทศได้
ตั้งชื่อจากชื่อผู้เริ่มต้นเลี้ยงปูนาชื่อยายหลาน
กลุ่มวิสาหกิจที่มีการพัฒนาการเลี้ยงปูนา และสามารถทำผลิตภัณฑ์จากปูนาส่งขายทั่วประเทศได้
บ้านหนองอิตื้อ หมู่ 10 ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีประชากรทั้งหมด 640 คน 120 ครัวเรือน แบ่งเป็นประชากรชาย 360 คน ประชากรหญิง 280 คน (องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข, 2566) ลักษณะของชุมชนเป็นชุมชนแบบสังคมชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร สภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมีความคล้ายคลึงกัน ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย อยู่กันแบบเครือญาตินอกจากฤดูกาลทำการเกษตร ยังปรากฏว่ามีอาชีพเสริม การปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคภายในครัวเรือน ทำเกษตรแบบผสมผสาน และมีการตั้งกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากปูนาวิสาหกิจชุมชนมันปูยายหลานในพื้นที่บ้านหนองอิตื้อ ในปี 2561 โดยเริ่มแรกเริ่มจากการทำผลิตภัณฑ์จากมันปูนา เป็นมันปูนาสดยังไม่ได้ปรุงรสและแปรรูป
จากการเริ่มต้นของกลุ่มดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการต่อยอดและเป็นที่สนใจของตลาด เพราะไม่สามารถทำขายได้ตลอดปี จะขายได้เฉพาะช่วงตามฤดูกาลเท่านั้น เพราะการใช้มันปู ต้องใช้เวลาตามธรรมชาติ และปูนาจะมีพื้นที่ในการเลี้ยง โดยเลี้ยงในนาข้าว และทางกลุ่มฯ ก็ได้รับซื้อปูนาจากหมู่บ้านใกล้เคียงด้วย
นอกจากนี้ ในการที่ผลิตภัณฑ์เป็นมันปูนาสด ยังไม่ได้ปรุงรส จึงเจาะตลาดกลุ่มอื่นไม่ได้ เพราะผู้ซื้อส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหาร สั่งซื้อไปเป็นวัตถุดิบทางกลุ่มฯต้องการจะพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มศักยภาพและมูลค่าผลิตภัณฑ์ ให้สามารถมีผลิตภัณฑ์จากปูนาที่หลากหลาย ขายได้ตลอดปี ในทุกช่องทางออนไลน์ อาทิ เพิ่มการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่คือ น้ำปูร้า (จากปูนาในชุมชน) เพราะจะสามารถทำขายได้ตลอดปี ควบคู่กันไปกับการขายผลิตภัณฑ์จากมันปูนาที่มีตามฤดูกาล และต่อยอดผลิตภัณฑ์จากมันปูนาที่แต่เดิมเป็นแบบไม่ปรุงรส เป็นน้ำพริกมันปูนา เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม สร้างมาตรฐานของสินค้าเพื่อดึงดูดความสนใจ เจาะกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย ในปัจจุบันกลุ่มฯ มีจำนวนสมาชิก25 คน และยังเปิดรับตลอด ทางประธานกลุ่มฯระบุว่า หากมีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้นดังกล่าว น่าจะมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มอีกนอกจากนี้กลุ่มฯ ยังขาดการบริจัดการที่เป็นระบบอีกด้วย
พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามมีโครงการเข้ามาต่อยอดวิสาหกิจปูนายายหลาน โดยการเข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีการบูรนาการกับภาคีเครือข่าย ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการควบคุมมาตรฐานการผลิต สารปนเปื้อนในนาข้าวที่ส่งผลต่อปูนาในนาข้าว ตลอดจนสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
บ้านหนองอิตื้อ หมู่ 10 ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีประชากรทั้งหมด 640 คน 120 ครัวเรือน แบ่งเป็นประชากรชาย 360 คน ประชากรหญิง 280 คน (องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข, 2566) ลักษณะของชุมชนเป็นชุมชนแบบสังคมชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร สภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมีความคล้ายคลึงกัน ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย อยู่กันแบบเครือญาตินอกจากฤดูกาลทำการเกษตร ยังปรากฏว่ามีอาชีพเสริม การปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคภายในครัวเรือน ทำเกษตรแบบผสมผสาน
1.กลุ่มวิสาหกิจปูนายายหลาน กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากปูนาวิสาหกิจชุมชนมันปูยายหลานในพื้นที่บ้านหนองอิตื้อ ในปี 2561 โดยเริ่มแรกเริ่มจากการทำผลิตภัณฑ์จากมันปูนา เป็นมันปูนาสดยังไม่ได้ปรุงรสและแปรรูป จากการเริ่มต้นของกลุ่มดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการต่อยอดและเป็นที่สนใจของตลาด เพราะไม่สามารถทำขายได้ตลอดปี จะขายได้เฉพาะช่วงตามฤดูกาลเท่านั้น เพราะการใช้มันปู ต้องใช้เวลาตามธรรมชาติ และปูนาจะมีพื้นที่ในการเลี้ยง โดยเลี้ยงในนาข้าว และทางกลุ่มฯก็ได้รับซื้อปูนาจากหมู่บ้านใกล้เคียงด้วย
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร สภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมีความคล้ายคลึงกัน ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย อยู่กันแบบเครือญาตินอกจากฤดูกาลทำการเกษตร ยังปรากฏว่ามีอาชีพเสริม การปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคภายในครัวเรือน
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสาน และภาษากลางในการสอนนักเรียนหรือผู้ที่สนใจ
กลุ่มวิสาหกิจปูนายายหลานเป็นสิ่งที่น่าสนใจและจะสร้างชื่อเสียงให้โดดเด่นประจำจังหวัดได้เนื่องจากผลิตจากวัตถุดิบในพื้นที่ และผลิตจากคนในชุมชนผานการให้ความรู้โดดยหน่วยงานด้านการศึกษามีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้และเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตมากขึ้น
นัชชา อู่เงินและคณะ.(2566).การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพและมูลค่าผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพจากปูนา วิสาหกิจชุมชนปูนายายหลาน บ้านหนองอิตื้อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Google Map. (2567). พิกัดแผนที่วิสาหกิจชุมชนปูนายายหลาน (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่18 พฤษภาคม 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www.google.com/maps