Advance search

ชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนสืบสานวัฒนธรรม 

หนองซอน
หนองซอน
เชียงยืน
มหาสารคาม
ณัฐพล นาทันตอง
15 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
15 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
20 มิ.ย. 2024
บ้านหนองซอน

บ้านหนองซอนชื่อเดิมคือบ้านหนองออนซอน (ตามคำบอกเล่าต่อกันมา) ซึ่งเป็นชื่อหนองน้ำแห่งหนึ่งที่อุดมไปด้วยพืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ จนมีความรู้สึกชื่นชมและชอบและเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่า “หนองออนซอน”


ชุมชนชนบท

ชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนสืบสานวัฒนธรรม 

หนองซอน
หนองซอน
เชียงยืน
มหาสารคาม
44160
16.349177916904047
103.11486582690084
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองซอน

บ้านหนองซอนชื่อเดิมคือบ้านหนองออนซอน (ตามคำบอกเล่าต่อกันมา) ซึ่งเป็นชื่อหนองน้ำแห่งหนึ่งที่อุดมไปด้วยพืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ จนมีความรู้สึกชื่นชมและชอบและเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่า “หนองออนซอน” ชาวบ้านเริ่มตั้งรกรากที่บริเวณริมหนองเนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นยังตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณดอนอีแก่น และมีการขยายชุมชนเรื่อยมา จนตั้งหมู่บ้านได้หลายหมู่ เช่น บ้านหนองม่วง บ้านผักพาย บ้านหนองเม็ก เป็นต้น บ้านหนองออนซอนเป็นชื่อเรียกขานของชุมชนแห่งนี้ ซึ่งมีการใช้ชื่อนี้มาระยะหนึ่งและปัจจุบันได้เพี้ยนมาเป็นบ้านหนองซอน

กระทั่ง พ.ศ. 2456 มีการยกฐานะเป็นตำบลหนองซอนซึ่งอายุถึงปัจจุบันกว่า 108 ปี ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาอีสานเนื่องจากเป็นกลุ่มคนลาวอพยพ นับถือศาสนาพุทธ ชุมชนตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเชียงยืน ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม และมีอาชีพที่สำคัญที่ทำกันจำนวนมากคือการเพาะพันธ์ุปลาขาย นับว่าเป็นอาชีพที่มีการทำหลายครัวเรือนในชุมชนบ้านหนองซอน ชุมชนบ้านหนองซอนมีโรงเรียนตั้งแต่ พ.ศ. 2464 โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดราษฎร์สังคมเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน ต่อมา พ.ศ. 2495 มีการย้ายโรงเรียนมาตั้งที่หมู่ 3 บ้านหนองซอนซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนปัจจุบัน

บ้านหนองซอนเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขา มีแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น หนองน้ำ คลองส่งน้ำไหลผ่านหมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด 21,021 ไร่ จำนวนประชากรประมาณ 1,450 คน อาชีพหลักส่วนใหญ่ทำนา อาชีพเสริมมีการเพาะพันธุ์ปลาขาย ค้าขาย และอุตสาหกรรมในครัวเรือน

ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาอีสานเนื่องจากเป็นกลุ่มคนลาวอพยพ นับถือศาสนาพุทธ ชุมชนตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเชียงยืน ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม และมีอาชีพที่สำคัญที่ทำกันจำนวนมาก คือ การเพาะพันธ์ุปลาขาย

อาชีพหลักส่วนใหญ่ทำนา อาชีพเสริมมีการเพาะพันธุ์ปลาขาย ค้าขาย และอุตสาหกรรมในครัวเรือน

          

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนบ้านหนองซอนเป็นชุมชนเกษตรกรรม และเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่มีวัดถึง 4 วัดซึ่งเป็นจุดบ่งบอกว่าคนในชุมชนศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ชุมชนมีการทำกิจกรรมฮีต 12 คอง 14 ตามประเพณีโบราณอย่างครบถ้วน จะกล่าวถึงวัดในเขตชุมชนบ้านหนองซอนดังนี้

1.วัดใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหนองผักพายหลวงปู่ใต้เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมาเป็นวัดร้างเนื่องจากชัยภูมิไม่เหมาะสมแก่การตั้งวัด วัดใต้ตามหลักฐานและการบอกเล่าสืบต่อกันมาคาดว่ามีการตั้งขึ้นก่อนวัดกลาง เมื่อวัดใต้ร้างจึงได้สร้างวัดกลางและอีกหลายปีต่อมาก็มีการสร้างวัดเหนือหรือวัดน้อยหรือวัดอุดมวิทยาปัจจุบัน

2.วัดใหญ่ (วัดราษฎร์สังคม) เดิมชื่อวัดกลาง โดยเป็นวัดที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างวัดในที่ตั้งปัจจุบัน จากหลักฐานและคำบอกเล่าคาดว่ามีการตั้งวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2113 หรือราวสี่ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา แต่ข้อมูลขาดหายไปจนมาถึง พ.ศ. 2435 จึงปรากฏหลักฐานว่ามีพระเข้ามาปฏิบัติศาสนกิจและเริ่มมีเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2435 เป็นต้นมา โดยเจ้าอาวาสคนแรกชื่อพระบุคคี อิสิญาโณ

3.วัดน้อย จากหลักฐานและคำบอกเล่าคาดว่ามีการตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2203 หรือราวสามร้อยกว่าปีมาแล้ว แต่ข้อมูลขาดหายไปจนมาถึงปี พ.ศ. 2435 ปรากฏว่ามีพระเข้ามาทำศาสนกิจเช่นเดียวกับวัดใหญ่และมีเจ้าอาวาสคนแรกชื่อวัดบุดดา พ.ศ. 2435

4.วัดป่าหนองซอน (ชื่อเดิมวัดป่าสันติธรรม) วัดนี้ก่อตั้งขึ้นจากการมีพระธุดงค์เข้ามาปรักกรดบริเวณป่าช้าใกล้ ๆ กับหนองกีเปาเมื่อปี พ.ศ. 2525 ซึ่งมีคนในชุมชนคอยปรนนิบัติรับใช้และสร้างวัด ต่อมา พ.ศ. 2529 หลวงปู่พรมมา ตันติปาโร มาจากวิเชียรบุรีซึ่งบ้านหนองซอนเป็นบ้านเกิดของท่านและได้กลับมาเพื่อเริ่มแนวทางพัฒนาวัดตามแนวทางพระนิกายธรรมยุติหรือสายป่า

มีการเริ่มบุกเบิกบูรณะวัดต่อกันเรื่อยมาจนในปี พ.ศ. 2541 สามารถซื้อที่ดินที่พักสงฆ์เพิ่ม 7 ไร่ ขอขออนุญาตทำการตั้งวัดอย่างถูกต้องตามหลักบ้านเมือง ซึ่งผู้ใหญ่พิภพ พลบำรุงเป็นผู้นำดำเนินการในช่วงนั้น จากศรัทธาของชาวบ้านทำให้วัดสามารถสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม รวมถึงการหล่อพระประธานองค์ใหญ่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มีการสร้างศาลาการเปรียญขนาดใหญ่และมีความสวยงามปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนบ้านหนองซอนและผู้ศรัทธาจำนวนมาก นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมะประจำชุมชนได้

ภาษาที่ใช้ในชุมชนใช้ภาษาอีสานเป็นส่วนมากเนื่องจากบรรพบุรุษเป็นกลุ่มคนลาวอพยพมา ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาอีสาน และมีการใช้ภาษากลางในการติดต่อราชการได้


ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนแห่งนี้คือการเข้ามาวิจัยและพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนสามารถประชาสัมพันธ์ให้คนมาเที่ยวในชุมชน ยกระดับทุนทางวัฒนธรรมให้มีมูลค่าและคุณค่ามากขึ้นดีกว่าการย่ำอยู่กับที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อุเทน โชติชัย. (2562). ประวัติวัดป่าหนองซอน จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม

วัดป่าหนองซอน หลวงพ่อใหญ่. (2567). วัดป่าหนองซอนหลวงพ่อใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567. จาก https://www.facebook.com/