
ชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนที่มีช่างฝีมือทำกลองยาว
ชื่อหมู่บ้านตั้งขึ้นจากบริเวณพื้นที่เป็นพื้นที่สูง ชาวอีสานเรียก โนนจอกขวาง จึงตั้งชื่อบ้านบริเวณนั้นว่า "บ้านจอกขวาง"
ชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนที่มีช่างฝีมือทำกลองยาว
บ้านจอกขวางเป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งมานาน กลุ่มคนแรกที่เข้ามาตั้งหมู่บ้านจอกขวางเป็นกลุ่มคนจากเมืองศรีภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน อพยพมาราว พ.ศ. 2420 ก่อนตั้งเมืองสุวรรณภูมิมีพระใหญ่ หลวงพ่อสังฆราชหรือเพี้ย เป็นผู้นำพาญาติโยมอพยพมาเบื้องต้นตั้งอยู่บ้านโนนหนองแต่ใกล้ดงสองห้อง อยู่มาไม่นานเท่าใดนัก เห็นว่าโนนจอกขวางกว้างขวางดีมีชัยภูมิเหมาะสมน่าเจริญรุ่งเรือง จึงย้ายเข้ามาตั้งบ้านอยู่โนนจอกขวางตราบเท่าทุกวันนี้ จนเป็นบ้านหลังใหญ่มีหลังคาเรือนหลายร้อย มีนายหมวด นายกอง ถวายไว้ในวัดเรียกว่า หอยาครูสังฆราช
การปกครองหมู่บ้านในเริ่มแรกนั้นเป็นหมู่บ้านใหญ่แบ่งเป็น 3 คุ้ม คือ คุ้มตะวันออก คุ้มกลางและคุ้มตะวันตก มีผู้ใหญ่บ้านปกครองคนเดียว มีวัดและเจ้าอาวาสวัดเป็นศูนย์รวมของชาวบ้านทุกคน ต่อมาจึงมีการแยกหมู่บ้านออกเป็น 2 หมู่ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2541 ใช้เส้นทางกลองหมู่บ้านเป็นเส้นทางการแบ่งเขตเป็นหมู่ที่ 26 และหมู่ที่ 6 ปัจจุบันบ้านจอกขวาง หมู่ที่ 6 ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีทั้งหมด 148 ครอบครัว มีประชากรทั้งหมด 709 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา หลังฤดูการเก็บเกี่ยวก็เลี้ยงสัตว์ บางส่วนเข้าไปรับจ้างทำงานตามร้านค้าในตลาดอำเภอวาปีปทุมเพื่อหารายได้เพิ่มเติมจากการขายข้าว
ก่อนจะเป็นเมืองวาปีปทุม เดิมมีชุมชนตั้งอยู่ก่อนแล้วคือชุมชนบ้านจอกขวางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองวาปีปทุม ชุมชนบ้านจอกขวางอพยพมาจากเมืองทุ่งศรีภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิปัจจุบัน) ต่อมามีการขยายหมู่บ้านออกไปทางทิศเหนือเนื่องจากพื้นที่เดิมมีน้ำท่วมบ้าน ไร่นาเสียหายจึงย้ายไปตั้งบ้านหนองแสง บ้านดอนบม บ้านกระยอม บ้านหนองเดิ่น ซึ่งกระจายอยู่บริเวณรอบ ๆ หนองแสง ทำให้สามารถสรุปได้ว่าบ้านจอกขวางเป็นบ้านที่เก่าแก่ก่อนตั้งเมืองวาปีปทุม
พื้นที่ทั้งหมดในหมู่บ้าน 1,285 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 1,078 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 157 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 50 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านจอกขวาง หมู่ที่ 26 ตำบลหนองแสง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านแดง ตำบลหนองแสง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านหนองโน ตำบลหนองแสง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ กระยอม ตำหนองแสง
บ้านจอกขวางมีประชากรประมาณ 709 คน แยกเป็นเพศชาย 353 คน และเพศหญิง 256 คน
ชุมชนบ้านจอกขวางมีวงกลองยาวที่สร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนที่ทำการตีกลอง ทำกลอง ซึ่งบ้านจอกขวางมีคณะกลองยาวที่มีชื่อเสียงโด่งดังมีงานจ้างตลอดทั้งปี นับว่าเป็นหมู่บ้านที่มีครูกลองยาวที่สร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอวาปีปทุมคือ กลองยาวคณะจอกขวางคำ
ชุมชนบ้านจอกขวางดำรงชีวิตในรูปแบบเกษตร เมื่อว่างจากงานด้านการทำนาก็จะทอผ้า แต่สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับชาวบ้านจอกขวาง คือ กลองยาวอีสาน
1.นายเที่ยง พิณทะปะกัง เป็นผู้ก่อตั้งคณะกลองยาวเทพนิมิต ซึ่งเป็นทั้งหัวหน้าวงกลาวยาว และเป็นช่างทำกลองยาวฝีมือดี นอกจากนั้นยังเป็นครูสอนทำกลองยาวที่มีชื่อเสียงอีกด้วย
1.กลองยาววาปีปทุม เป็นการละเล่นของชาวอำเภอวาปีปทุมในหมู่บ้านต่าง ๆ เริ่มปรากฏการเล่นเมื่อราว 2504 โดยเริ่มจากการเล่นต่างคนต่างเล่น ซึ่งชาวชุมชนจะสามารถพบปะกันและตีกลองร่วมกันในงานเทศกาล ทั้งยังสามารถสร้างความสามัคคีและความสนุกสนานอีกด้วย
ภาษาที่ใช้ในชุมชนใช้ภาษาอีสานเป็นส่วนมากเนื่องจากบรรพบุรุษเป็นกลุ่มคนลาวอพยพมา ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาอีสาน และมีการใช้ภาษากลางในการติดต่อราชการได้
พลวัฒน์ ประโยธิน. (2564). ประวัติหมู่บ้าน บ้านจอกขวาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567. จาก https://www.gotoknow.org/
อวิรุทธิ์ โททำ. (2566). วงกลองยาวอีสาน : กรณีศึกษาคณะเทพนิมิต อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์.