ชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนทอผ้า และเป็นชุมชนรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมท่องเที่ยว
ชื่อหมู่บ้านตั้งขึ้นจากแม่นางซึ่งพาพี่น้องมาหาอาหารในบริเวณลำห้วยซึ่งได้ปลาบู่จำนวนมาก นำไปแจกจ่ายพี่น้องและชักชวนกันมาอยู่บริเวณใกล้กับลำห้วยและตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านปลาบู่”
ชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนทอผ้า และเป็นชุมชนรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมท่องเที่ยว
บ้านปลาบู่ก่อตั้งในปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ แต่มีเรื่องราวเล่าขานต่อกันมาว่ามีแม่นาง ได้พาพี่น้องมาหาอาหาร(ช้อนปูปลากุ้ง) ในบริเวณลำเสียวและได้พบปลาบู่จำนวนมาก อาศัยตามพุ่มไม้ตามลำธาร จึงช่วยกันหาปลาบู่มาทำเป็นอาหารและนำกลับบ้านไปแจกจ่ายพีน้อง และแม่นางเล่าให้พี่น้องฟังว่า พบพื้นที่อุดมสมบูรณ์มีอาหารหารหินมากมาย เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีป่าไม้เหมาะอย่างยิ่งที่จะไปตั้งหมู่บ้าน แม่นางจึงชักชวนญาติพี่น้องมาหักร้างถางป่าเพื่อทำกินและตั้งบ้านเรือน และตั้งชื่อว่าบ้านโนนดอกไม้ จากนั้นชาวบ้านผำ
(ปัจจุบันบ้านนาฝาย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของแม่นาง) ได้อพยพตามแม่นางและได้มีชาวบ้านโพธิ์งา บ้านดอกไม้ได้ยินข่าวเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ต่างอพยพกันมาทำมาหากิน จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านปลาบู่ ตามชนิดปลาที่มีอยู่มากมายในบริเวณนั้น และได้ยกแม่นางเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาทางราชการทราบเรื่องจึงมีการแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านที่ถูกต้อง นับแต่นั้นมาหมู่บ้านก็ได้รับการรับรองจากทางการมากกว่า 100 ปีมาแล้ว
บ้านปลาบู่ดำรงชีวิตตามวิถีของคนอีสานในชนบท พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ มีพื้นที่ทั้งหมด 5 ตารางกิโลเมตร หางจากตัวอำเภอวาปีปทุมประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดมหาสารคามประมาณ 49 กิโลเมตร ห่างจากถนนสายวาปีปทุม-พยัคฆภูมิพิสัยประมาณ 4 กิโลเมตร บ้านปลาบู่มีการแบ่งการดูแลออกเป็น4 คุ้ม ได้แก่ คุ้มบูรพา คุ้มดอกไม้ คุ้มเหนือพัฒนา และคุ้มตะวันลับฟ้า บ้านเรือนส่วนใหญ่ตั้งอยู่กันเป็นกลุ่ม ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและเลี้ยงสัตว์
อาณาเขตชุมชนบ้านปลาบู่มีบริเวณติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านโสกยาง ตำบลหนองแสง
ทิศใต้ ติดกับ ลำน้ำเสียว
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านบมทุ่ง ตำบลหนองแสง
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านมะแซว ตำบลหวาย
บ้านปลาบู่เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีป่าไม้เหมาะอย่างยิ่งที่จะไปตั้งหมู่บ้าน แม่นางจึงชักชวนญาติพี่น้องมาหักร้างถางป่าเพื่อทำกินและตั้งบ้านเรือน และตั้งชื่อว่าบ้านโนนดอกไม้ จากนั้นชาวบ้านผำ(ปัจจุบันบ้านนาฝาย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของแม่นาง) ได้อพยพตามแม่นางและได้มีชาวบ้านโพธิ์งา บ้านดอกไม้ได้ยินข่าวเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ต่างอพยพกันมาทำมาหากิน ปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือน 68 ครัวเรือน มีประชากรประมาณ 278 คน
บ้านปลาบู่มีการตั้งสมาคมไทบ้าน เป็นพื้นที่การเรียนรู้ให้คนทุกช่วงวัยในชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีการนำความรู้ภูมิปัญญาในหมู่บ้านมาถ่ายทอด ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผ้ามัดย้อม กลุ่มอาหาร กลุ่มธรรมชาติบำบัด กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
บ้านปลาบู่ดำรงชีวิตตามวิถีของคนอีสานในชนบท พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ มีพื้นที่ทั้งหมด 5 ตารางกิโลเมตร หางจากตัวอำเภอวาปีปทุมประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดมหาสารคามประมาณ 49 กิโลเมตร ห่างจากถนนสายวาปีปทุม-พยัคฆภูมิพิสัยประมาณ 4 กิโลเมตร บ้านปลาบู่มีการแบ่งการดูแลออกเป็น 4 คุ้ม ได้แก่ คุ้มบูรพา คุ้มดอกไม้ คุ้มเหนือพัฒนา และคุ้มตะวันลับฟ้า บ้านเรือนส่วนใหญ่ตั้งอยู่กันเป็นกลุ่ม ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและเลี้ยงสัตว์
บ้านปลาบู่มีการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดมหาสารคามได้เป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน เรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชนบ้านปลาบู่ที่มีการพัฒนาและต้อนรับนักท่องเที่ยวผ่านกิจกรมชื่อ พาใจกลับบ้าน ณ บ้านปลาบู่ ดังนี้
1.รับประทานอาหารอีสานพื้นบ้านเฮา
2.รับชมศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้านและการฟ้อนรำต้อนรับลูกหลานนักท่องเที่ยว
3.เรียนรู้วิธีการสานตะกร้าพร้อมกับ รับตะกร้าสาน
4.รับประทานและทดลองทำกระยาสารทหรือขนมพื้นบ้าน
5.ทดลองทำขนมวิถีโบราณพื้นบ้าน
6.ท่องเที่ยวตามฐานต่างมีดนตรีบรรเลงสดตลอดทาง
7.ทดลองทำข้าวต้มมัด
8.เรียนรู้วิธีทำและรับประทานข้าวจี่ร้อนๆข้าวเม่าหอมๆ
9.เรียนรู้ตำสาดแบบพื้นบ้าน(ผลิตเสื่อกก)
10.ตำข้าวด้วยวิธีโบราณ
11.เรียนรู้วิธีการทำผ้ามัดย้อม
12.นั่งผ่อนคลายด้วยการมาส์กหน้า สปาเท้า พร้อมจิบชาสมุนไพร
13.เสริมสิริมงคลด้วยการผูกข้อต่อแขนจากผู้หลักผู้ใหญ่ตามความเชื่อประเพณีอีสาน
ภาษาที่ใช้ในชุมชนใช้ภาษาอีสานเป็นส่วนมาก เนื่องจากบรรพบุรุษเป็นกลุ่มคนลาวอพยพมา ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาอีสาน และมีการใช้ภาษากลางในการติดต่อราชการได้
ความเปลี่ยนแปลงนอกจากการพัฒนาของหน่วยงานราชการด้านสาธารณูปโภคแล้ว การวิจัยก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะพัฒนาชุมชนให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นเช่น การทำลายผ้าที่ใหม่และทันต่อยุคสมัย การพัฒนาผ้าทอไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เมตตา เก่งชูวงศ์และคณะ.(2562).การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ยั่งยืนบ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.มหาวิทยาลัยราชถัฏมหาสารคาม.
Facebook.(2021).ท่องเที่ยววัฒนธรรมบ้านปลาบู่.(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567.เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/permalink.php?
Google Map. (2566). พิกัดแผนที่บ้านปลาบู่. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567.เข้าถึงได้จาก: https://www.google.com/maps