
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด สถานที่ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ
ในอดีตเรียกว่า "บึงพระลานชัย" ใน พ.ศ.2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์(ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่าบึงตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอมาขุดลอกเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี การขุดลอกดำเนินไปทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมชุดลอกถึง 40,000 นับว่าเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ควรจารึกไว้ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด สถานที่ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ
บึงพลาญชัย ตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ด นับเป็นรูปธรรมหนึ่งที่สร้างเกิดขึ้นจากอดีตสู่ปัจจุบัน แท้จริงแล้ว บึงพลาญชัยในมุมของผู้เขียนนั้นมองเห็นถึงนัยยะทางการเมืองที่สะท้อนถึงบริบททางการเมืองจากยุคจารีตสู่ยุครัฐสมัยใหม่บนพื้นฐานประชาธิปไตยยุคแรกเริ่ม พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจากส่วนกลางที่เข้ามาจากระบอบการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 จากเมืองร้อยเอ็ดกลายเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลอีสาน พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด (พ.ศ. 2469-2471) สั่งให้ทำการขุดลอกบึงพลาญชัย โดยดำเนินการอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ได้เขียนบันทึกถึงบึงพลาญชัยไว้ว่า “…แวะเข้าบ้านท้าวขัติยดูขอบบึงพระลานไชยที่ราษฎรรุดดันเข้าไป เพราะเราคิดจะแต่งบึงเพื่อเอาน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง บึงพระลานชัยนี้ไม่น่าปลาดที่คนชอบรุดเพราะชอบบึงดินชุ่มปลุกต้นไม้งาม…”
โดยดินที่ขุดขึ้นมาได้นำมาถมริมขอบบึงกลายเป็นถนน ตั้งชื่อถนนเป็นเกียรติแก่ท่านชื่อว่า “ถนนสุนทรเทพกิจจารักษ์” ส่วนดินที่เหลือก็พูนขึ้นเป็นเกาะกลางบึง ตกแต่งเกาะดังกล่าวให้สวยงาม และเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง การมีศาลหลักเมืองบนเกาะกลางบึงพลาญชัย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บึงพลาญชัยถือว่าเป็นพื้นที่ทางการเมืองที่แสดงออกมาจาการตื่นตัวจากประชาชนชาวร้อยเอ็ดได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การสร้างอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญร้อยเอ็ดที่บึงพลาญชัย สร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2479 ตั้งเคียงข้างศาลหลักเมืองบนเกาะบึงพลาญชัย บึงพลาญชัยในปัจจุบันนี้ที่ชาวร้อยเอ็ดนั้นเข้าใจว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่อันประกอบด้วยหลักเมืองที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น แต่ในอดีตนั้น บึงพลาญชัยแฝงนัยยะไปด้วยการเติบโตขึ้นมาจากผลพวงของข้าหลวงจากส่วนกลางในยุคการเกิดขึ้นของมณฑลเทศาภิบาลที่ยังเป็นการเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาจนถึงยุคประชาธิปไตยในยุคเริ่มต้น ที่ปรากฏผ่านแนวคิดการสร้างอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญที่บึงพลาญชัย นำไปสู่การให้ความสำคัญทางความคิดประชาธิปไตยในเชิงสัญลักษณ์ ผ่านการออกแบบตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
บึงพลาญชัย เป็นส่วนหนึ่งของสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ด บนพื้นที่ 120 ไร่ เกาะกลางเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมืองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน – คู่เมืองร้อยเอ็ด ภายในเกาะกลางมีพระพุทธโธดม อนุสาวรีย์พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก) อนุสาวรีย์สมเด็จย่า และอุทยานการเรียนรู้ทางธรรมชาติ ในบึงพลาญชัยมีปลานานาพันธุ์ และน้ำพุดนตรีแห่งเดียวในภาคอีสานที่สวยงาม อลังการณ์ รอบนอกจัดเป็นทางเดินวิ่งและทางจักรยาน ด้านหน้ามีหอนาฬิกาที่เป็นเสียงโหวต – ดนตรีพื้นบ้าน มีประตูเมืองสาเกตุนคร ที่จำลองเป็นเข้าเมืองสีพี ของพระเวสสันดรในนครกัณฑ์ งานประเพณีบุญผะเหวดร้อยเอ็ด เป็นจุดถ่ายภาพที่สวยงาม
ปัจจุบันบึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด บึงพลาญชัย มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำ ขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 200,000 ตารางเมตร บึงพลาญชัยเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งประดับประดาเป็นสวนไม้ดอก ขนาดใหญ่ รวมทั้งมีการประดับตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ จึงเกิดความร่มรื่นสบายตา และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลากหลายพันธุ์ อีกทั้งยังมีเรือจักรยานน้ำและเรือพายไว้บริการประชาชนให้พายเล่นในบึงแห่งนี้นอกจากนี้ บึงพลาญชัย ยังใช้เป็นสถานที่จัดงาน เทศกาลของจังหวัด รวมไปถึงการจัดมหรสพต่างๆ ภายในจังหวัดอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า บึงพลาญชัย เป็นสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ ของจังหวัดร้อยเอ็ด
ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือและเชื่อว่า เจ้าพ่อ จะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองร้อยเอ็ด มีความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดให้สมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมือง ร้อยเอ็ด และนักท่องเที่ยวต่างก็มากราบนมัสการขอพรกันเป็นประจำ พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่กลางสวนดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้ ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลองและรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์ สนามเด็กเล่นและสวนสุขภาพเป็นสวน ออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
บึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด บึงพลาญชัย มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำ ขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 200,000 ตารางเมตร บึงพลาญชัยเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งประดับประดาเป็นสวนไม้ดอก ขนาดใหญ่ รวมทั้งมีการประดับตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ จึงเกิดความร่มรื่นสบายตา และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลากหลายพันธุ์ อีกทั้งยังมีเรือจักรยานน้ำและเรือพายไว้บริการประชาชนให้พายเล่นในบึงแห่งนี้นอกจากนี้ บึงพลาญชัย ยังใช้เป็นสถานที่จัดงาน เทศกาลของจังหวัด รวมไปถึงการจัดมหรสพต่างๆ ภายในจังหวัดอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า บึงพลาญชัย เป็นสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ ของจังหวัดร้อยเอ็ด
ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นสิ่งสักดิสิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือและเชื่อว่า เจ้าพ่อ จะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองร้อยเอ็ด มีความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดให้สมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมือง ร้อยเอ็ด และนักท่องเที่ยวต่างก็มากราบนมัสการขอพรกันเป็นประจำ พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่กลางสวนดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้ ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลองและรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์ สนามเด็กเล่นและสวนสุขภาพเป็นสวน ออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
บึงพลาญชัยเป็นสถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงเป็นสถานที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง สถานที่นี้จึงเป็นที่นัดพบปะผู้คน สถานที่พักผ่อน สถานที่ออกกำลังกาย ซึงนับว่าเป็นสถานที่สร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนระแวกนั้นกับคนภายนอกชมุมชน
บึงพลาญชัยยังเป็นสถานที่รวมกลุ่มของคนในชุมชนผ่านการตังกลุ่มออกกำลังกายเช่น กลุ่มลีลาศ กลุ่มเต้นแข่งขันชิงรางวัล และอีกมากมายทำให้คนในครอบครัวได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน
ชาวชุมชนในเองและบริเวณใกล้เคียงมักมาใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย พบปะพูดคุย สอบถามสารทุกข์สุกดิบกัน
1. บึงพลาญชัย
บึงพลาญชัย นับเป็นสถานที่รวมตัวกันของคนในชุมชน ซึ่งใช้เป็นสถานที่เดินเล่น ออกกำลังกาย ตลอดจนการรวมกลุ่มมีสถานที่ยึดเนี่ยวจิตใจ รวมถึงสถานที่ออกกำลังกายอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
2. สัญลักษณ์รัฐธรรมนูญ
อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญร้อยเอ็ด สร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2479 ตั้งเคียงข้างศาลหลักเมืองบนเกาะบึงพลาญชัย ซึ่งเป็น แลนด์มาร์ก ศูนย์กลางเมืองร้อยเอ็ด อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญบนเกาะกลางบึงพลาญชัย ยังเปรียบเสมือนเป็นการประกาศชัยชนะของระบอบใหม่เหนือระบอบเก่า โดยอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญได้มาประดิษฐานบนเกาะที่ถูกสร้างจากการเกณฑ์แรงงานอย่างเอารัดเอาเปรียบในสมัยระบอบเก่า อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังทำให้ ราษฎร ได้เปลี่ยนสถานะมาเป็น พลเรือน ที่มีอำนาจและสิทธิทางการเมือง รวมถึงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
ดังนั้นเกาะกลางบึงพลาญชัยในระบอบใหม่ จึงเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของชาวร้อยเอ็ด อันประกอบด้วยหลักเมืองที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น รัฐธรรมนูญที่เป็นหลักการปกครองประเทศ และเสาธงไตรรงค์อันเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย”
3. ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
“ศาลหลักเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด” ที่ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด เป็นศาลคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดนับถือ ซึ่งชาวร้อยเอ็ดมีความเชื่อว่าเจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองมีความสุข สมปรารถนา จึงเป็นสถานที่ที่ชาวเมืองร้อยเอ็ดมากราบไหว้ ตลอดจนผู้ที่เดินทางมายังเมืองร้อยเอ็ดต่างก็มาสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแห่งนี้ ศาลหลักเมืองตั้งอยู่ภายใน “บึงพลาญชัย” ที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพรรณไม้ต่างๆ มากมาย
ปัจจุบันชาวอีสานส่วนมากถึง 90 เปอร์เซนต์พูดภาษาอีสาน ซึ่งส่วนมากชาวอีสานใกล้เคียงมีการพูดภาษอีสาน
การมีส่วนร่วมของชุมชน สังคมต่อสถานที่สาธารณะ มีการจัดตั้งกลุ่มลีลาศ กลุ่มวอลเล่บอล ซึ่งมาออกกำลังกาย สวนภาพออกกำลังกาย นับว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่รวมพลสำหรับคนรักสุขภาพ ตลอดจนเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับจัดงานทางด้านวัฒนธรรมเช่น งานบุญผะเหวด งานสงกรานต์ งานปีใหม่ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเคยเป็นที่จัดการแข่งขันวอลเล่บอลชายหาดระดับนานาชาติด้วย เนื่องจากเป็นสถานที่เหมาะสมอยู่ใจกลางเมืองสะดวกต่อการเดินทาง
1.สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ข้างๆบึงพลาญชัยมีพิพิธภัณฑ์แสดงสัตว์น้ำจืดสำหรับเด็กๆและผู้สนใจเข้าชม จัดแสดงปลาและสัตว์น้ำจืด พร้อมทั้งนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับปลาและสัตว์น้ำจืดชนิดต่างๆ มีส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำประกอบด้วย ตู้ปลาขนาดเล็กที่ฝังอยู่ในผนังรอบๆ อาคาร จำนวน 24 ตู้ ช่วงตรงกลางของอาคาร เป็นตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร พร้อมอุโมงค์แก้วผ่านกลางตู้สำหรับให้ผู้เข้าชมเดินชมได้อย่างใกล้ชิดและรอบทิศทาง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). บึงพลาญชัย.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567.เข้าถึงได้จาก : https://www2.m-culture.go.th/roiet/ewt_news.php?nid=1092&filename=index
มิวเซียมไทยแลนด์.(2566).สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567.เข้าถึงได้จาก : https://www.museumthailand.com/th/museum/Roi-Et-Municipality-Aquarium
MGRตะลอนเที่ยว.(2558)เยือน “ร้อยเอ็ด” สัมผัสเส้นทางบุญถิ่นอีสานตอนบน.สืบค้นเมื่อวันที่ 27พฤษภาคม 2567.เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/travel/detail/9580000019874
Google Map. (2566). พิกัดแผนที่บึงพลาญชัย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567.เข้าถึงได้จาก: https://www.google.com/maps