Advance search

บ้านกู่กาสิงห์

ชุมชนมีการดำเนินการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีโบราณสถานที่โดดเด่นถึง 3 แห่งคือ กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง นอกจากนั้นยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาแบบค้างคืน

หมู่ที่1,2,3,4,9
บ้านกู่กาสิงห์
กู่กาสิงห์
เกษตรวิสัย
ร้อยเอ็ด
ณัฐพล นาทันตอง
13 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
25 เม.ย. 2023
บ้านกู่กาสิงห์

บ้านกู่กาสิงห์ตั้งชื่อบ้านตามลักษณะของโบราณสถานคือกู่ที่ปรากฏ  กู่หมายถึงปราสาทหินซึ่งเป็นสถานที่เคารพทางศาสนาในวัฒนธรรมเขมร กา เป็นภาษาถิ่น แปลว่าตราสัญลักษณ์ และสิงห์ หมายถึง รูปปั้นสัตว์ที่ตั้งอยู่หน้าปราสาทหินทำหน้าที่เฝ้าประตู รวมความหมายถึง กู่หรือปราสาทหินซึ่งมีสิงห์ยืนเฝ้าบริเวณทางเข้ากู่ (ปัจจุบันสิงห์สองตัวดังกล่าวได้สูญหายไปแล้ว)


ชุมชนชนบท

ชุมชนมีการดำเนินการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีโบราณสถานที่โดดเด่นถึง 3 แห่งคือ กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง นอกจากนั้นยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาแบบค้างคืน

บ้านกู่กาสิงห์
หมู่ที่1,2,3,4,9
กู่กาสิงห์
เกษตรวิสัย
ร้อยเอ็ด
45150
วิสาหกิจชุมชน โทร. 0-6219-7038, เทศบาลกู่กาสิงห์โทร. 0-4363-2126
15.580035080040817
103.67633664163586
เทศบาลตำบลเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์

ชุมชนกู่กาสิงห์เป็นชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่ก่อนตั้งหมู่บ้านใน พ.ศ. 2446 คือ กลุ่มวัฒนธรรมเขมรจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในพื้นที่เป็น โบราณสถานถึง 3 แห่งคือ กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ และกู่โพนระฆัง โบราณสถานที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่าพื้นที่แห่งนี้เคยมีผู้คนอยู่อาศัยมาก่อน พื้นที่ชุมชนกู่กาสิงห์ถูกปล่อยทิ้งร้างก่อนการตั้งหมู่บ้านซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นช่วงเวลาได้ 3 ยุค ดังนี้

 ยุคที่ 1 ยุคการตั้งถิ่นฐาน พ.ศ. 2446-2515 การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนในพื้นที่มีกลุ่มผู้นำชุดแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานมีกลุ่มผู้นำอยู่ 4 คน คือนายลือ นายพระจันทร์ นายเพียราชและนายสิกขา เดินทางมาตั้งบ้านกู่กาสิงห์เมื่อ พ.ศ.2446 สภาพพื้นที่เป็นดงป่าไผ่เป็นที่อาศัยของโจรผู้ร้ายและพื้นที่มีโบราณสถานสำคัญ เห็นว่าบ้านมีห้วย หนองน้ำและลำน้ำเสียว เมื่อเห็นว่าบ้านมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์จึงเลือกตั้งกระท่อมขึ้น ต่อมามีกลุ่มที่เห็นว่าพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์จึงอพยพตามมาอีก 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่1 อพยพจากจตุรพักพิมาน สาเหตุของการอพยพเข้ามาของคนกลุ่มนี้มี 2 ประการ ประการแรกคือเจ้านายจตุรพักรพิมานปกครองไม่เป็นธรรม ประการที่สอง พื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกพื้นที่บริเวณฝั่งหนองฆ้องตั้งบ้านเรือน กลุ่มที่ 2 อพยพจากเมืองสุวรรณภูมิ อพยพมาในช่วง พ.ศ. 2470 มาจากบ้านหัวช้างและเมืองสุวรรณภูมิ สาเหตุการอพยพเข้ามาเนื่องจากมีญาติพี่น้องเข้ามาอาศัยอยู่ก่อนและชักชวนกันเข้ามาอยู่ด้วย ชาวบ้านกลุ่มนี้เลือกพื้นที่บริเวณหนองอัญญา ใกล้กับโบราณสถานกู่กาสิงห์ กลุ่มที่ 3 อพยพมาจากเกษตรวิสัย อพยพเข้ามาในช่วงพ .ศ. 2475 มาจากบ้านทุ่งจานและบ้านดงมัน โดยมีบรรพบุรุษที่เมืองโคราชมีอาชีพปั้นหม้อเมื่อเดินทางมาถึงแล้วพื้นที่ไม่มีวัตถุดิบในการปั้นหม้อจึงเลือกทำอาชีพอื่นแทน กลุ่มนี้เลือกตั้งบ้านที่บริเวณคุ้มบ้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน (ธิติญา  เหล่าอัน, 2553, น.31-34)

การตั้งถิ่นฐานของชุมชนกู่กาสิงห์เลือกทำเลที่ตั้งของชุมชนจากพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ การดำรงชีพในช่วงแรกของชุมชนกู่กาสิงห์อาศัยการหาอยู่หากินตามธรรมชาติ มีการหาพื้นที่สำหรับปลูกข้าวเพื่อกินเท่านั้น ด้วยสภาพพื้นที่มีแต่หญ้ามีน้ำขังมาก  ปูก็มาก การทำนาจึงไม่ได้ผลดีมากในช่วงนี้ สิ่งที่มีมากในชุมชนคือปลาที่สามารถหามารับประมาณได้ทุกฤดูการ หลังจาก พ.ศ. 2500 พื้นที่บริเวณกู่กาสิงห์ได้รับการพัฒนามีการขุดคลอง ทำถนน จนสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่นาข้าวได้ มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ด้วย การจับจองที่ดินทำโดยการปั้นคูปลาน้อยซึ่งแรกเริ่มเป็นการปั้นเพื่อกักเก็บน้ำและจะปล่อยช่องทางน้ำอออกทางเดียวเพื่อดักเอาปลา ต่อมาจึงมีการยกเอาคูปลาน้อยเป็นเขตพื้นที่ของที่นาแต่ละคน

ยุคที่ 2 การพัฒนาพื้นที่เพื่อเข้าสู่ระบบผลิตข้าวหอมมะลิ พ.ศ. 2516-2545 หลังทศวรรษ 2500 ชุมชนกู่กาสิงห์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีการพัฒนาเส้นทางระหว่างชุมชนเพื่อรองรับการเข้ามาของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เพื่อการบุกเบิกพื้นที่ครั้งใหญ่ ซึ่งเดช ภูสอองชั้นได้นิยามความหมายในช่วงเวลานี้ว่า “ทุ่งกุลาแตก” เนื่องจากไม่มีใครคิดว่าทุ่งหญ้ารกร้างไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เมื่อโดนรถไถเข้าไปรากหญ้าหักกระจุยไม่เหลือ ด้วยการบุกเบิกอย่างไม่หยุดทั้งกลางวันและกลางคืนทำให้พื้นที่โล่งเตียน ทำให้เกิดการซื้อขายที่นาขึ้น ด้วยการจับจองพื้นที่โดยใช้คูปลาน้อยทำให้ชาวบ้านบางคนมีพื้นที่ถึงพันไร่ พ.ศ. 2518 รัฐจึงเข้ามาจัดสรรพื้นที่ให้ครอบครองได้ไม่เกินครอบครัวละ 50 ไร่ และครอบครัวที่แยกออกมาอีก 28 ไร่ การเข้ามาจัดการของรัฐครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านหวงแหนที่ดินของตนจนเกิดการแต่งงานในวงตระกูลเดียวกันเพื่อเป็นการรักษาที่นาของตนไว้ให้ได้มากที่สุด

นอกจากรัฐจะมีการพัฒนาพื้นที่แล้วยังมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ของทุ่งกุลาร้องไห้ จนได้พันธุ์ข้าว “ข้าวเจ้าหอมมะลิ” ซึ่งมีการทดลองโดยการรวบรวมพันธ์ข้าวจากอำเภอบางคล้าจำนวน 199 รวม ส่งปลูกทดลองเปรียบเทียบกันในทุกภูมิภาค จนสามารถรับรองพันธุ์ข้าวได้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 โดยให้ชื่อว่า “ข้าวดอกมะลิ 105” พ.ศ.2515ช่ วงแรกการปลูกข้าวหอมมะลิยังไม่นิยมมากนักในพื้นที่ชุมชนกู่กาสิงห์เทคโนโลยีทางการเกษตรยังล้าสมัยประกอบกับส่วนมากรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก และมาได้รับความนิยมมากขึ้นในพ.ศ. 2522 ชาวบ้านสนใจจึงหันมาปลูกข้าวหอมมะลิมากขึ้น ชาวบ้านกู่กาสิงห์มีพื้นที่การทำนาที่เยอะจึงมีผลกำไรจากการขายข้าวและต่อมามีการซื้อรถไถเพื่อรับจ้างไถนาในชุมชนและภายนอกชุมชน ทำให้เกือบทุนครัวเรือนมีรถไถเพื่อใช้ในการไถนา พ.ศ. 2533 ชุมชนกู่กาสิงห์มีรถไถมากถึง 678 คัน สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนถึง 100 ล้านบาทต่อปี สามารถตั้งชมรมรถไถและร่วมกันบริจาคเงินเพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนกู่กาสิงห์อยู่เสมอ ตลอดจนมีการสร้างเครือข่ายเชิงพาณิชย์ที่มีนายหน้าหางานจากภายนอกชุมชนเพื่อหางานให้กับรถไถที่ออกไปรับจ้างภายนอกชุมชนอีกด้วย (บัวลอง  แพงวงษ์, 2565, สัมภาษณ์)

ชุมชนกู่กาสิงห์ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ด้วยความสามัคคีของคนในชุมชนที่เหนียวแน่น ไม่ลืมรากเหง้าความเป็นชุมชนกู่กาสิงห์มีการทำผ้าป่าเพื่อสมทบจัดสร้างอนุสาวรีย์บรรพชนคนกู่กาสิงห์ขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน การตั้งหมู่บ้านของชาวอีสานต้อมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือมีผีเชื้อ เป็นผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปซึ่งชาวชุมชนนับถือว่าเป้นผู้คอยช่วยเหลือเป็นที่พักพิงของลูกหลานอยู่เสมอ บือบ้านหลักบ้าน ชุมชนมีความเชื่อว่าเป็นที่สถิตของผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ผีดอนปู่ตา เป็นความเชื่อของกลุ่มคนลาวในอีสานที่เชื่อว่าผีปู่ตาคือผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จึงเชิญมาคุ้มครองหมู่บ้านโดยสร้างศาลตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะของชุมชน นอกจากนั้นชุมชนกู่กาสิงห์ยังมีผีที่คอยดูแลแต่ละสถานที่ เช่น เจ้าพ่อเสือหาญ ผีเจ้าทุ่ง ผีถนนคูขาด ผีหัวแสง เป็นต้น ในช่วงที่สองนี้เป็นการพัฒนาอย่างไม่หยุดของชุมชนกู่กาสิงห์ทำให้หมู่บ้านเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่ยังยึดเหนี่ยวจิตใจของของคนในชุมชนไม่เปลี่ยนแปลงเลยคือความเชื่อและการนับถือผีในเขตทุ่งกุลาร้องไห้

ยุคที่ 3 การสร้างตัวตนเพื่อการท่องเที่ยวพ.ศ.2546-2565 ชุมชนกู่กาสิงห์ได้รับการพัฒนาพื้นที่ปลูกข้าวของคนในชุมชนจนสามารถเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ได้ พ.ศ. 2533 มีการบูรณะกู่กาสิงห์ และ พ.ศ. 2546 มีการบูรณะกู่โพนวิจและกู่โพนระฆัง มีการเสด็จเยี่ยมของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทำให้ชุมชนกู่กาสิงห์เป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศผ่านรายการทีวี ในพ.ศ. 2545 มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวขึ้นซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนกู่กาสิงห์เนื่องจากรัฐเลือกพื้นที่กู่กาสิงห์มีสาเหตุประการแรกคือพื้นที่ชุมชนมีโบราณสถาน 3 แห่งที่เป็นที่ดึงดูดคนจากภายนอกชุมชนให้เข้ามาชมโบราณสถาน ประการที่สองชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่ของทุ่งกุลาร้องไห้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญ ประการที่สามมีการรวมกลุ่มของชุมชนทำกิจกรรมที่เป็นที่น่าสนใจเช่น กลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหม กลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าว ประการที่สี่โรงเรียนกู่กาสิงห์มีกิจกรรมมัคคุเทศก์น้อยเพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์โบราณสถาน

การมีองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวที่ครอบถ้วนทำให้รัฐเลือกที่จะเอาพื้นที่ชุมชนกู่กาสิงห์เป็นพื้นจัดการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐ มีการเดินทางไปศึกษาดูงานการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนอื่นเพื่อนำมาทดลองในพื้นที่ของตนเอง พ.ศ. 2545 จังหวัดมีกำหนดจัดงาน “กินข้าวทุ่งฯนุ่งผ้าไหม”เพื่อเปิดตัวการท่องเที่ยวทุ่งกุลาร้องไห้โยมีนายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธี ซึ่งภาพการจัดงานยิ่งใหญ่ชุมชนภาคภูมิใจเนื่องจากมีป้ายการจัดงานติดเพื่อบอกทางสู่กู่กาสิงห์ให้คนรู้จัก แต่ชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งนี้เลยเนื่องจากส่วนราชการเป็นผุ้ดำเนการจัดงานทั้งหมด ดนตรีการแสดงมีแต่คนนอกเป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้น และจะมีการจัดงานอีกครั้งใน พ.ศ. 2546 มีการเตรียมงานในพื้นที่ของชุมชนกู่กาสิงห์โดยชุมชนตื่นเต้นช่วยกันพัฒนาพื้นที่ชุมชน เตรียมพื้นที่จัดงาน ทำเวทีเพื่อรองรับการแสดง เมื่อถึงเวลาก่อนจัดงาน 10 วันจังหวัดได้ประกาศเปลี่ยนพื้นที่จัดงานไปจัดที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (บึงพลาญชัย) ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างมาก ส่งผลให้มีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยนำเอาทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญคือ โบรารสถานทั้งสามแห่ง และมีการนำเอาประเพณีที่สำคัญของชชุมชนมาดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ชาวชุมชนหันมาร่วมมือกันพัฒนาชุมชนของตนเอง

ประเพณีและกิจกรรมต่าง ๆ เริ่มมีบทบาทจริงจังนับตั้งแต่พ.ศ.2550 นายอำคา แสงงามได้ร่วมกับชุมชนกู่กาสิงห์รื้อฟื้นประณีสรงกู่ที่เคยปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต ในปีพ.ศ. 2541 เทศบาลกู่กาสิงห์ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดพิธีกรรมโดยงานสรงกู่และงานสงกรานต์เข้าด้วยกันทำให้งานสรงกู่แบบโบราณนั้นหายไปในปีพ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2550 นายอำคา และชุมชนได้ร่วมกันแยกงานสรงกู่ออกมาจัดในวันเพ็ญเดือนห้าตามประเพณีโบราณ ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมงานสรงกู่จำนวนมาก รวมทั้งชุมชนเกิดความสามัคคีเป็นอย่างดี ซึ่งการจัดงานสรงกู่ไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการ นอกจากประเพณีสรงกู่ชุมชนได้รื้อฟื้นประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งจัดขึ้นในวันเสาร์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยในงานไม่เพียงแต่คนในชุมชนกู่กาสิงห์เท่านั้นปรากฏว่ามีคนจากหมู่บ้านอื่น นักท่องเที่ยวจากภายนอกเข้ามาชมงานด้วย นอกจาการรื้อฟื้นประเพณีเก่ามาจัดใหม่ชุมชนยังมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้นจากเดิมเพื่อความหลากหลายได้มีการจัดทำพิพิธภัณฑ์ประจำหมู่บ้านขึ้น จัดให้มีที่พักแบบโฮมสเตย์และจะมีการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรขึ้นอีกในอนาคต

ชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย ตั้งอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้บริเวณทางทิศใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ด บ้านกู่กาสิงห์มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอสุวรรณภูมิทางทิศตะวันออกและทิศใต้ ทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย และทางทิศเหนือติดกับบ้านม่วย ตำบลกู่กาสิงห์  ลักษณะพื้นที่บ้านกู่กาสิงห์เป็นเนินดินสูงวางตัวยาวแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก  เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ โดยมีลำน้ำเสียวใหญ่ไหลผ่าน มีพื้นที่ทั้งหมด 8.5 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันประชากรบ้านกู่กาสิงห์มีจำนวน 4,652 พื้นที่ของชุมชนบ้านกู่กาสิงห์มีโบราณสถานสำคัญ 3 แห่งหนึ่งคือ กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ และกู่โพนระฆัง ซึ่งเป็นศิลปะในวัฒนธรรมเขมร  กู่กาสิงห์มีขนาดใหญ่พอควร และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนแห่งนี้ ชุมชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร

ปัจจุบันประชากรบ้านกู่กาสิงห์มีจำนวน 4,652 คน  พื้นที่ของชุมชนบ้านกู่กาสิงห์มีโบราณสถานสำคัญ 3 แห่งหนึ่งคือ กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ และกู่โพนระฆัง ซึ่งเป็นศิลปะในวัฒนธรรมเขมร  กู่กาสิงห์มีขนาดใหญ่พอควร และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนแห่งนี้ ชุมชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ชุมชนกู่กาสิงห์มีโครงสร้างเครือญาติที่แน่นแฟ้นมากที่สุดแห่งหนึ่ง จากการสืบค้นสายตระกูลพบว่า มี 4 ตระกูลคือ ศรีกู่กา ศรีเที่ยง ใจสาหัส และเหนือโท

  • กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ : กิจกรรมที่ดำเนินการคือ โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และการทำสวนเกษตรทฤษฎีใหม่
    •  กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านกู่กาสิงห์ : กิจกรรมที่ดำเนินการคือทอผ้าไหม ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 44 คน
    • กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อกู่กาสิงห์  : กิจกรรมที่ดำเนินงานคือการเลี้ยงโคพันธ์พื้นบ้าน
    • กลุ่มร้านค้าชุมชน : กิจกรรมที่ดำเนินงานคือ การจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด

ด้วยชุมชนกู่กาสิงห์เป็นพื้นที่การทำนาข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงในช่วงฤดูกาลทำนาชาวบ้านกู่กาสิงห์ก็จะมีการทำนาเป็นหลักเนื่องจากแต่ละครอบครัวมีพื้นที่การทำนาเยอะมากบางคนมีถึง 500 ไร่ จึงต้องใช้เวลาส่วนมากในการทำนาเป็นหลักในช่วงฤดูกาลทำนา เมื่อว่างเว้นจากการทำนาก็จะมีการรับจ้าง ผู้หญิงก็จะทอผ้า อีกกลุ่มคือกลุ่มข้าราชการที่ต้องมีการทำงานในเวลาราชการทุกวัน

  • ดร.อำคา แสงงาม ข้าราชการบำนาญ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมตำบลกู่หาสิงห์ นับว่าเป็นผู้มีบทบาทในการนำพาชุมชนกู่กาสิงห์มาสู่การท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ ตลอดจนเป็นผู้ประสานงานการทำวิจัยชุมชนให้มีความต่อเนื่องอยู่จนถึงปัจจุบัน
    • ายบัวลอง แพงวงษ์ อดีตผุ้ใหญ่บ้านกู่กาสิงห์เป็นอีกหนึ่งท่านที่ร่วมพัฒนาร่วมผลักดันชุมชนกู่กาสิงห์สู่การท่องเที่ยวชุมชน ควบคู่กับดร.อำคา แสงงาม โดยเป็นผุ้ประสานงานชุมชนร่วมช่วยเหลือผลักดันเพื่อการพัฒนาชุมชนกู่กาสิงห์

กู่กาสิงห์ จากรายงานการขุดค้นค้ำยันโบราณสถานกู่กาสิงห์ บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า กู่กาสิงห์ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจนุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 3696 วันที่ 8 มีนาคม 2478 และประกาศขอบเขตพื้นที่โบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา 116 ตอนพิเศษ 17 ง หน้า 15 วันที่ 17 มีนาคม 2542 มีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ 2 งาน 30.56 ตารางวา ชื่อ “กู่กาสิงห์” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “กู่” ที่ชาวบ้านใช้เรียกโบรณสถานขอมที่มีลักษณะคล้ายสถูปหรือเจดีย์ ส่วนคำว่า “กา” อาจหมายถึง อีกา ซึ่งในอดีตบริเวณนี้มีอีกาอยู่จำนวนมาก ส่วนคำว่า “สิงห์” อาจจะมาจากประติมากรรมรูปสิงห์ 2 ตัวที่เคยตั้งอยู่หน้าประตูทางเข้า ซึ่งประติมากรรมรูปสิงห์ถูกขโมย ในช่วง พ.ศ.2503 แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกปราสาทแห่งนี้ว่า “กู่กาสิงห์” สืบมาจนปัจจุบัน(กรมศิลปากร,2565)( https://finearts.go.th/promotion)

ด้านลักษณะทางโบราณคดีของปราสาทกู่กาสิงห์เป็นราสารทอิฐสามหลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีผังการก่อสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 35X50 เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบปราสาทประธานทั้ง 4 ด้าน ตั้งอยู่ในแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก ประกอบด้วยกลุ่มปราสาทประธาน ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ปราสาทประธานอยู่ตรงกลางมีมุขกระสันเชื่อมกับมณฑป มีประตูและบันไดทางขึ้นทางด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว อีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก ถัดเข้าไปเป็นห้องครรภคฤหะ มีประติมากรรมโคนนทิ ตั้งอยู่ด้านหน้าปราสาทประธานองค์กลาง ส่วนปราสาทด้านทิศเหนือและทิศใต้ เป็นเพียงห้องครรภคฤหะสำหรับประดิษฐานประติมากรรมรูปเคารพสำหรับประกอบพิธีกรรม มีบรรณาลัยตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นอาคาร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันตกทั้ง 2 หลัง และมีโคปุระ (ซุ้มประตู) ทั้ง 4 ด้าน ก่อด้วยศิลาแลงผสมอิฐ แต่สามารถใช้เข้าออกได้แค่ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก(กรมศิลปากร,2565) 

กู่โพนวิจ   ตั้งอยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ ไปทางทิศเหนือประมาณ 500 เมตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ 124 ง หน้า 9 วันที่ 17 ธันวาคม 2544 มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 36 ตารางวา ชื่อ “กู่โพนวิจ” มาจากการพบหลักฐานส่วนฐานรูปเคารพสี่เหลี่ยมผืนผ้า บริเวณเนินโบราณสถานจำนวนหลายชิ้น ประกอบกับพบชิ้นส่วนรางน้ำมนต์ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฐานส้วม จึงเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า “โพนเว็จ” หรือ “โพนวิจ” ลักษณะเป็นอาคาร 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร ก่อเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย ไม่พบบันไดทางขึ้นสันนิษฐานว่าเดิมอาจใช้บันไดไม้ภายหลังได้ผุพังสลายไป เพราะมีร่องรอยของหลุมเสาบนฐานศิลาแลง ซึ่งน่าจะเป็นหลุมเสาไม้ แนวฐานด้านทิศเหนือหายไปเนื่องจากถูกขุดเอาศิลาแลงไปสร้างวัดประจำหมู่บ้าน ในสมัยหลัง พื้นบนฐานเป็นทรายอัดแน่นปูด้วยศิลาแลง บนฐานศิลาแลงก่อเป็นฐานอาคารสูงประมาณ 70 เซนติเมตร จำนวน 5 ฐาน สันนิษฐานว่าเป็นฐานรองรับอาคารเครื่องไม้ ด้านหน้าทิศตะวันออกของ ฐานอาคาร มีอาคารสองหลังตั้งอยู่ ลักษณะเป็นอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมก่อผนังทึบทั้ง 4 ด้าน อาคารด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือถูกรื้อจนเหลือเพียงแนวหินชั้นเดียว ส่วนอาคารทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์ ภายในเป็นดินอัดแน่น สันนิษฐานว่าเป็นอาคารเครื่องไม้ที่มีฐานสูง ใช้เป็นบรรณาลัยประจำศาสนสถาน(กรมศิลปากร,2565)(เอกสารจากเว็บไซต์)

กู่โพนระฆัง  อยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 400 เมตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 172 หน้า 26 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2525 มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ๓ งาน 17 ตารางวา กู่โพนระฆัง สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยปราสาทประธาน ฐานก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานเขียง 5 ชั้น มีบันไดทางขึ้น 4 ด้าน เรือนธาตุก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ก่อมุขยื่นออกมาด้านหน้าและเจาะช่องหน้าต่างที่ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ ด้านหน้าปราสาทประธานมีชาลา (ทางเดิน) เชื่อมกับโคปุระ (ซุ้มประตู) อยู่กึ่งกลางแนวกำแพงทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายมีผังเป็นรูปกากบาท มีห้องมุขด้านทิศตะวันออก มีบรรณาลัย ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันตก โดยรอบก่อกำแพงแก้วด้วยศิลาแลงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน และมีสระน้ำกรุขอบสระด้วยศิลาแลงอยู่ด้านนอกของกำแพงแก้วทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ(กรมศิลปากร,2565)(เอกสารจากเว็บไซต์)

จากการมีโบราณสถานถึงสามแห่งคือกู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง ทั้งสามแห่งเป็นโบราณสถานที่สร้างในวัฒนธรรมเขมร ซึ่งทั้งสามแห่งมีอายุใกล้เคียงกัน กู่กาสิงห์สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 และมีการใช้งานถึงพุทธศตวรรษที่ 17 กู่โพจวิจสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 และกู่โพนระฆังสร้างขึ้นราวพุทธศตรวรรษที่ 18 การสร้างโบราณสถานทั้งสามแห่งใช้คนสร้างทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าชุมชนบริเวณนี้มีผู้คนอยู่อาศัยมาก่อนแล้ว เนื่องจากในวัฒนธรรมเขมรสร้างปราสาทขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ

             

คนในชุมชนกู่กาสิงห์ใช้ภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น คือภาษาอีสานได้อย่างชัดเจน


หลังทศวรรษ 2500 ชุมชนกู่กาสิงห์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีการพัฒนาเส้นทางระหว่างชุมชนเพื่อรองรับการเข้ามาของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เพื่อการบุกเบิกพื้นที่ครั้งใหญ่ ซึ่งเดช ภูสอองชั้นได้นิยามความหมายในช่วงเวลานี้ว่า “ทุ่งกุลาแตก” เนื่องจากไม่มีใครคิดว่าทุ่งหญ้ารกร้างไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เมื่อโดนรถไถเข้าไปรากหญ้าหักกระจุยไม่เหลือ ด้วยการบุกเบิกอย่างไม่หยุดทั้งกลางวันและกลางคืนทำให้พื้นที่โล่งเตียน ทำให้เกิดการซื้อขายที่นาขึ้น ด้วยการจับจองพื้นที่โดยใช้คูปลาน้อยทำให้ชาวบ้านบางคนมีพื้นที่ถึงพันไร่ พ.ศ. 2518 รัฐจึงเข้ามาจัดสรรพื้นที่ให้ครอบครองได้ไม่เกินครอบครัวละ 50 ไร่ และครอบครัวที่แยกออกมาอีก 28 ไร่ การเข้ามาจัดการของรัฐครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านหวงแหนที่ดินของตนจนเกิดการแต่งงานในวงตระกูลเดียวกันเพื่อเป็นการรักษาที่นาของตนไว้ให้ได้มากที่สุด

 นอกจากรัฐจะมีการพัฒนาพื้นที่แล้วยังมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ของทุ่งกุลาร้องไห้ จนได้พันธุ์ข้าว “ข้าวเจ้าหอมมะลิ” ซึ่งมีการทดลองโดยการรวบรวมพันธ์ข้าวจากอำเภอบางคล้าจำนวน 199 รวม ส่งปลูกทดลองเปรียบเทียบกันในทุกภูมิภาค จนสามารถรับรองพันธุ์ข้าวได้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 โดยให้ชื่อว่า “ข้าวดอกมะลิ 105” พ.ศ.2515ช่ วงแรกการปลูกข้าวหอมมะลิยังไม่นิยมมากนักในพื้นที่ชุมชนกู่กาสิงห์เทคโนโลยีทางการเกษตรยังล้าสมัยประกอบกับส่วนมากรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก และมาได้รับความนิยมมากขึ้นในพ.ศ. 2522 ชาวบ้านสนใจจึงหันมาปลูกข้าวหอมมะลิมากขึ้น ชาวบ้านกู่กาสิงห์มีพื้นที่การทำนาที่เยอะจึงมีผลกำไรจากการขายข้าวและต่อมามีการซื้อรถไถเพื่อรับจ้างไถนาในชุมชนและภายนอกชุมชน ทำให้เกือบทุนครัวเรือนมีรถไถเพื่อใช้ในการไถนา พ.ศ. 2533 ชุมชนกู่กาสิงห์มีรถไถมากถึง 678 คัน สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนถึง 100 ล้านบาทต่อปี สามารถตั้งชมรมรถไถและร่วมกันบริจาคเงินเพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนกู่กาสิงห์อยู่เสมอ ตลอดจนมีการสร้างเครือข่ายเชิงพาณิชย์ที่มีนายหน้าหางานจากภายนอกชุมชนเพื่อหางานให้กับรถไถที่ออกไปรับจ้างภายนอกชุมชนอีกด้วย

ชุมชนกู่กาสิงห์ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ด้วยความสามัคคีของคนในชุมชนที่เหนียวแน่น ไม่ลืมรากเหง้าความเป็นชุมชนกู่กาสิงห์มีการทำผ้าป่าเพื่อสมทบจัดสร้างอนุสาวรีย์บรรพชนคนกู่กาสิงห์ขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน การตั้งหมู่บ้านของชาวอีสานต้อมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือมีผีเชื้อ เป็นผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปซึ่งชาวชุมชนนับถือว่าเป้นผู้คอยช่วยเหลือเป็นที่พักพิงของลูกหลานอยู่เสมอ บือบ้านหลักบ้าน ชุมชนมีความเชื่อว่าเป็นที่สถิตของผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ผีดอนปู่ตา เป็นความเชื่อของกลุ่มคนลาวในอีสานที่เชื่อว่าผีปู่ตาคือผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จึงเชิญมาคุ้มครองหมู่บ้านโดยสร้างศาลตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะของชุมชน นอกจากนั้นชุมชนกู่กาสิงห์ยังมีผีที่คอยดูแลแต่ละสถานที่ เช่น เจ้าพ่อเสือหาญ ผีเจ้าทุ่ง ผีถนนคูขาด ผีหัวแสง เป็นต้น ในช่วงที่สองนี้เป็นการพัฒนาอย่างไม่หยุดของชุมชนกู่กาสิงห์ทำให้หมู่บ้านเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่ยังยึดเหนี่ยวจิตใจของของคนในชุมชนไม่เปลี่ยนแปลงเลยคือความเชื่อและการนับถือผีในเขตทุ่งกุลาร้องไห้

ชุมชนกู่กาสิงห์ได้รับการพัฒนาพื้นที่ปลูกข้าวของคนในชุมชนจนสามารถเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ได้ พ.ศ. 2533 มีการบูรณะกู่กาสิงห์ และ พ.ศ. 2546 มีการบูรณะกู่โพนวิจและกู่โพนระฆัง มีการเสด็จเยี่ยมของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทำให้ชุมชนกู่กาสิงห์เป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศผ่านรายการทีวี ในพ.ศ. 2545 มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวขึ้นซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนกู่กาสิงห์เนื่องจากรัฐเลือกพื้นที่กู่กาสิงห์มีสาเหตุประการแรกคือพื้นที่ชุมชนมีโบราณสถาน 3 แห่งที่เป็นที่ดึงดูดคนจากภายนอกชุมชนให้เข้ามาชมโบราณสถาน ประการที่สองชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่ของทุ่งกุลาร้องไห้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญ ประการที่สามมีการรวมกลุ่มของชุมชนทำกิจกรรมที่เป็นที่น่าสนใจเช่น กลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหม กลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าว ประการที่สี่โรงเรียนกู่กาสิงห์มีกิจกรรมมัคคุเทศก์น้อยเพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์โบราณสถาน

การมีองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยวที่ครอบถ้วนทำให้รัฐเลือกที่จะเอาพื้นที่ชุมชนกู่กาสิงห์เป็นพื้นจัดการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐ มีการเดินทางไปศึกษาดูงานการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนอื่นเพื่อนำมาทดลองในพื้นที่ของตนเอง พ.ศ. 2545 จังหวัดมีกำหนดจัดงาน “กินข้าวทุ่งฯนุ่งผ้าไหม”เพื่อเปิดตัวการท่องเที่ยวทุ่งกุลาร้องไห้โยมีนายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธี ซึ่งภาพการจัดงานยิ่งใหญ่ชุมชนภาคภูมิใจเนื่องจากมีป้ายการจัดงานติดเพื่อบอกทางสู่กู่กาสิงห์ให้คนรู้จัก แต่ชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งนี้เลยเนื่องจากส่วนราชการเป็นผุ้ดำเนการจัดงานทั้งหมด ดนตรีการแสดงมีแต่คนนอกเป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้น และจะมีการจัดงานอีกครั้งใน พ.ศ. 2546 มีการเตรียมงานในพื้นที่ของชุมชนกู่กาสิงห์โดยชุมชนตื่นเต้นช่วยกันพัฒนาพื้นที่ชุมชน เตรียมพื้นที่จัดงาน ทำเวทีเพื่อรองรับการแสดง เมื่อถึงเวลาก่อนจัดงาน 10 วันจังหวัดได้ประกาศเปลี่ยนพื้นที่จัดงานไปจัดที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (บึงพลาญชัย) ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างมาก ส่งผลให้มีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยนำเอาทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญคือ โบรารสถานทั้งสามแห่ง และมีการนำเอาประเพณีที่สำคัญของชชุมชนมาดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ชาวชุมชนหันมาร่วมมือกันพัฒนาชุมชนของตนเอง

ชุมชนกู่กาสิงห์มีโบราณสถานสำคัญ 3 แห่งคือ กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง  และมีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนกู่กาสิงห์

วัชรินทร์  แสงรุ่งเมือง. (2551). ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกของ   เกษตรกรในเขตทุ่งกุลาร้องไห้. (ปริญญานิพนธ์ ปร.ด.) สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

วาโย ตึกประโคน. (2553). การแต่งงานภายในชุมชนและการปรับตัวเพื่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจท้องถิ่น.กรุงเทพมหานคร สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น)                                 

อำคา  แสงงาม. (2558). กู่กาสิงห์การท่องเที่ยวบนฐานวิถีชุมชน. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์