Advance search

บ้านป่ากั้ง ชุมชนเก่าแก่กับการย้ายถิ่นฐานเนื่องจากผลกระทบจากระบบพัฒนาแหล่งน้ำท้องถิ่น และวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน

หมู่ที่ 5
บ้านป่ากั้ง
ท่าแฝก
ท่าปลา
อุตรดิตถ์
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
26 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
26 มิ.ย. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
26 มิ.ย. 2024
บ้านป่ากั้ง

เดิมชาวบ้านเรียกชุมชนนี้ว่า “บ้านสองสบป่าก้าง” เนื่องจากที่ตั้งชุมชนอยู่ในบริเวณที่ลำห้วยจริมไหลมาบรรจบกับลำห้วยก้าง และต่อมาชื่อชุมชนก็ถูกตัดทอนลงและเรียกผิดเพี้ยนไปจากเดิมเหลือเพียง “ป่ากั้ง”


ชุมชนชนบท

บ้านป่ากั้ง ชุมชนเก่าแก่กับการย้ายถิ่นฐานเนื่องจากผลกระทบจากระบบพัฒนาแหล่งน้ำท้องถิ่น และวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน

บ้านป่ากั้ง
หมู่ที่ 5
ท่าแฝก
ท่าปลา
อุตรดิตถ์
53110
17.937658463204095
100.62722191214561
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแฝก

บ้านป่ากั้ง หมู่ที่ 5 ตำบลท่าแฝก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมชาวบ้านเรียกชุมชนนี้ว่า “บ้านสองสบป่าก้าง” เนื่องจากที่ตั้งชุมชนอยู่ในบริเวณที่ลำห้วยจริมไหลมาบรรจบกับลำห้วยก้าง และต่อมาชื่อชุมชนก็ถูกตัดทอนลงและเรียกผิดเพี้ยนไปจากเดิมเหลือเพียง “ป่ากั้ง”

ในปี พ.ศ. 2506 ทางกรมชลประทานได้ทำการก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ จึงได้แจ้งให้ชาวบ้านป่ากั้งย้ายขึ้นไปอยู่พื้นที่ที่ทางการจัดสรรให้ เนื่องจากเกรงว่าพื้นที่ชุมชนจะถูกน้ำท่วม แต่ชาวบ้านยังคงอาศัยอยู่ที่เดิม จนในปี พ.ศ. 2514 น้ำจากเขื่อนก็เพิ่มระดับจนท่วมถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงได้อพยพโยกย้ายออกจากพื้นที่ โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ย้ายไปอยู่ในพื้นที่จัดสรรของหน่วยงานราชการ และอีกกลุ่มหนึ่งนำโดยผู้นำชุมชนในขณะนั้นได้พากันย้ายขึ้นไปอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึงในบริเวณบ้านเด่นยาว และช่วยกันแผ้วถางป่าทำเป็นพื้นที่ทำกินและที่พักอาศัยโดยจัดสรรแบ่งให้ชาวบ้านโดยทั่วกัน และลงหลักปักฐานมั่นคงถาวรที่นั่นเรื่อยมา ภายหลังก็มีผู้คนจากพื้นที่อื่นอพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มเติม ทั้งส่วนที่มาตั้งบ้านเรือนถาวรและที่มาอยู่อาศัยเพื่อเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตตามฤดูกาล ทำให้ชุมชนมีการขยายตัว และมีการพัฒนาทางด้านระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ตามพัฒนาการทางสังคมมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะทางกายภาพและสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ตั้งชุมชนบ้านป่ากั้ง ตำบลท่าแฝก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่บนพื้นที่ราบเนินเขา มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านชุมชน คือ ลำห้วยก้างทางด้านทิศตะวันออก ลำห้วยบง และลำห้วยเด่นยาว เป็นลำห้วยขนาดเล็กทางด้านทิศตะวันตกของชุมชน และมีลำห้วยจริมอยู่ถัดออกไปจากชุมชนไหลผ่านในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน โดยชุมชนป่ากั้งมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านงอมสัก หมู่ที่ 3
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านห้วยผึ้งหมู่ที่ 4
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอฟากท่า
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านเด่นยาว หมู่ที่ 5

สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่ 5 บ้านป่ากั้ง ตำบลท่าแฝก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 771 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 411 คน ประชากรหญิง 360 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 292 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2566)

ไทยวน

ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนบ้านป่ากั้ง ตำบลท่าแฝก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านที่ยึดเป็นอาชีพเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว และเพื่อการดำรงชีวิต โดยการทำการเกษตรของชาวบ้านจะมีทั้งการทำนา ทำสวน และทำไร่ ซึ่งจะหมุนเวียนเพาะปลูกไปตามฤดูกาล และตามลักษณะความเหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืชชนิดต่าง ๆ ที่ชาวบ้านจะนำมาปลูก ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าวนา การทำข้าวไร่ ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ถั่วหลากหลายชนิด หรือไม้ยืนต้น ไม้ผล เช่น มะขามหวาน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ในระดับครัวเรือนของประชากรในชุมชน การทำประมงพื้นบ้านหรือการหาปลาในแหล่งน้ำเพื่อนำมาประกอบอาหารรับประทานกันในครอบครัว ชาวบ้านป่ากั้งบางส่วนก็มีอาชีพรับราชการ หรือพนักงานที่มีรายได้ประจำ นอกจากนี้ก็จะมีชาวบ้านที่ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้างทั่วไป เพื่อนำรายได้มาสู่ครัวเรือน

บ้านป่ากั้ง ตำบลท่าแฝก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นชุมชนที่ชาวบ้านนับถือพุทธศาสนา มีวิถีชีวิตตามแบบฉบับชาวพุทธโดยทั่วไป มีการทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม ร่วมงานประเพณีในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และวันสำคัญตามประเพณีเทศกาลและวัฒนธรรมท้องถิ่น และชาวบ้านยังมีความเชื่อในการนับถือผีอีกด้วย โดยเป็นการนับถือผีปู่ย่า ซึ่งในอดีตเมื่อถึงวันขึ้น-แรม 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ ชาวบ้านทุกคนจะหยุดทำงาน หากผู้ใดยังทำงานอยู่จะถือว่าเป็นการผิดผี และจะต้องเลี้ยงผีด้วยหมูหรือไก่ เพื่อไม่ให้เกิดสิ่งไม่ดีกับชีวิต แต่ในปัจจุบันความเชื่อเรื่องดังกล่าวก็เริ่มเลือนรางและลดลงไปตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคม แต่บางครอบครัวโดยเฉพาะผู้สูงอายุก็ยังมีความเชื่อในด้านนี้อยู่ และยังคงปฏิบัติตามขนมธรรมเนียมดั้งเดิม เพื่อเป็นการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นเอาไว้ ประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชนบ้านป่ากั้ง ตัวอย่างเช่น งานบุญข้าวเปลือก งานเทศน์มหาชาติ เทศกาลเข้าพรรษา-ออกพรรษา ประเพณีกินก๋วยสลาก พิธีทำขวัญ ต่อชะตา สงเคราะห์ การบนบ้าน และการแก้บน ฯลฯ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านป่ากั้งจะเรียกตัวเองว่า คนยวน ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารจะเป็นการใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือร่วมกับภาษาไทย 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทัศภรณ์ แซ่ตั้ง. (2540). ความเชื่อเกี่ยวกับการบนบานและการแก้บน: กรณีศึกษาบ้านป่ากั้งหมู่ที่ 5 ตำบลท่าแฝก อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 

บนดอย สวนหนานเพิง. (2563). สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/

บ้านป่ากั้ง ต.ท่าแฝก อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์. (2563). สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/

วัดป่ากั้ง ตำบลท่าแฝก. (2564). สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2567, จาก https://www.facebook.com/