ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ของตำบลแก่งเลิงจาน และอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม
ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ของตำบลแก่งเลิงจาน และอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม
บ้านท่าแร่เป็นหมู่บ้านเก่าก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2430 โดยพ่อสุวรรณเสน แสนบุญกับพวกรวม 7-8 คน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านค้อเมืองมหาสารคามเนื่องจากมีที่ทำกินที่นาที่สวนที่อยู่ติดกับลำห้วยคะคาง(หรือลำห้วยท่าแร่) ไม่สะดวกในการเดินทางจากบ้านค้อมาทำนาและทำสวนที่ห้วยคะคางจึงอพยพครอบครัวมาอยู่ที่ริมห้วยคะคางเพื่อทำนาและทำสวนอยู่ริมห้วยคะคาง ในปี พ.ศ. 2430 หลังจากนั้นก็มีผู้อพยพครอบครัวตามมาอยู่ด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2440 มีจำนวนครอบครัว 30 ครอบครัว พ่อสุวรรณ แสนบุญจึงได้ติดต่อทางอำเภอเพื่อขอจัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านที่ 15 ของตำบลท่าสองคอน ต่อมาอำเภอเมืองมหาสารคามได้แบ่งแยกตำบลทาสองคอนออกเป็นสองตำบลคือ ตำบลท่าสองคอนและตำบลแก่งเลิงจาน ดั้งนั้นบ้านท่าแร่จึงเป็นหมู่ที่ 5 ของตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคามโดยมีพ่อสุวรรณเสน แสนบุญ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
เนื่องจากหมู่บ้านท่าแร่เป็นหมู่บ้านที่ติดอยู่กับเขตพื้นที่ของเมืองมหาสารคามดังนั้นประชาชนในหมู่บ้านจึงมีทางเลือกในการประกอบอาชีพนอกจากการทำนาและทำสวนที่บริเวณริมห้วยคะคาง อาชีพที่ทำก็จะเป็นการรับงานจ้างเกี่ยวกับช่างฝีมือช่างไม้ ช่างปูน และการรับราชการ นอกจากนั้นก็มีการเลี้ยงสัตว์เช่น วัว สุกร ไว้เพื่อขายและบริโภคในชุมชน ด้วยความเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับเมืองมหาสารคามทำให้บ้านท่าแร่ไม่มีการทำอุตสาหกรรมชาวบ้านท่าแร่จะมีรายได้ต่อเดือนถึง 25,000 บาทต่อปี
บ้านท่าแร่ ตำบลแก่งเลิงจานตั้งอยู่ในเขตสุขขาภิบาล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร มีพื้นที่ 1,128 ไร่ ลักษณะพื้นที่บ้านท่าแร่เป็นพื้นที่ราบ มีแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ และยังมีแหล่งน้ำผิวดินอีกคือ ลำห้วยคะคาง
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับ ลำห้วยคะคาง
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านหนองจิก ตำบลแก่งเลิงจาน
- ทิศตะวันออก ติดกับ ลำห้วยคะคาง
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านเม่นน้อยและบ้านเม่นใหญ่ ตำบลแก่งเลิงจาน
ประชากรโดยมากอพยพมาจากบ้านค้อในเขตเมืองมหาสารคาม ทำให้มีเครือญาติที่บ้านค้อในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม แต่โดยมากแล้วจะเป็นคนลาว
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านท่าแร่ ม.5 ต.แก่งเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นหมู่บ้านชานเมืองที่เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลแก่งเลิงจาน และอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม มีผู้นำหมู่บ้านคือ นายไมตรี สิทธิจันทร์ และเป็นประธานของกลุ่มด้วย กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เช่น ธนาคารพัฒนาหมู่บ้าน กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน กลุ่มโคเนื้อ กลุ่มดอกไม้จันทน์และดอกไม้ประดิษฐ์ กลุ่มจักสานได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน และการศึกษานอกโรงเรียน การรวมกันของกลุ่มเพื่อช่วยให้ชาวบ้านในหมู่บ้านมีอาชีพเสริมและรายได้เลี้ยงครอบครัว กำไรส่วนหนึ่งถูกนำไปช่วยเหลือคนในหมู่บ้านและรักษาธรรมชาติของหมู่บ้าน
ชาวชุมชนบ้านท่าแร่มักประกอบอาชีพทำนาทำสวน เนื่องจากมีที่ดินติดกับลำห้วยคะคางซึ่งสามารถทำนา ทำสวนได้ตลอด
ภาษาที่ใช้ในชุมชนใช้ภาษาอีสานเป็นส่วนมากเนื่องจากบรรพบุรุษเป็นกลุ่มคนลาวอพยพมา ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาอีสาน และมีการใช้ภาษากลางในการติดต่อราชการได้
การทำผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนที่เป็นผู้สูงอายุและเป็นผู้เกษียณอายุราชการมีรายได้และมีความสุขในการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ทศพร อินทรพันธุ์. (2537). การประเมินผลการดำเนินงานที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านของศูนย์การศึกษานอก โรงเรียนจังหวัดมหาสารคาม : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านหนองเหล่าและบ้านท่าแร่. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม. บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม
ผ้าขาวม้า มหาสารคาม ผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า. (2566). ผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567. จาก https://www.facebook.com/