วัดกลางมิ่งเมือง วัดสำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวัดที่ตั้งขึ้นราว พ.ศ. 2084 เดิมชื่อวัดกลาง เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดจึงเรียก "วัดกลางมิ่งเมือง"
วัดกลางมิ่งเมือง วัดสำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวัดที่ตั้งขึ้นราว พ.ศ. 2084 เดิมชื่อวัดกลาง เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดจึงเรียก "วัดกลางมิ่งเมือง"
ชุมชนพระอารามหลวง ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเทศบาลร้อยเอ็ด เขตที่ 2 บริเวณชุมชนแห่งนี้มีศาสนสถานที่สำคัญ คือ วัดกลางมิ่งเมือง
วัดกลางมิ่งเมือง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2084 เดิมชื่อวัดกลาง เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดสันนิษฐานว่าวัดสร้างมาตั้งแต่เมืองร้อยเอ็ดอยู่ในการปกครองของขอม ในสมัยของนายวิญญู อังคณารักษ์เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดได้ขอพระราชทานยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2090 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2413
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม มีดังนี้
- รูปที่ 1 พระครูหลักคำ (วา)
- รูปที่ 2 พระครูหลักคำ สุทธวงศา
- รูปที่ 3 พระครูเพ็ง
- รูปที่ 4 พระครูตา พ.ศ. 2446-2455
- รูปที่ 5 พระครูเพ็ญธรรมคุณ พ.ศ. 2456-2490
- รูปที่ 6 พระสุนธรธรรมประพุทธ ตั้งแต่ พ.ศ. 2490
อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย
1.อุโบสถ กว้าง 12.50 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2090 รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้ 1 ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)ปรากฏอยู่เหนือประตูทางเข้าและผนังภายนอกรอบสิม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ และทศชาดก สรุปแล้วรูปเเบบของสิมหลังนี้นับเป็นตัวอย่างของ สิมทึบพื้นบ้านบริสุทธิ์ ที่ดีที่สุดหลังหนึ่งของอีสาน ส่วนสภาพของวัสดุก่อสร้างนั้น ฐานก่ออิฐพื้นเมืองซึ่งเผาไม่แกร่งนั้นได้หลุดร่วงลงมาบริเวณมุมเสาของมุขหน้าเนื่องด้วยเสาถูกปลวกกัดกินจนขาด อิฐที่ก่ออ้อมเสาเอาไว้จึงกะเทาะร่วงตามลงมาด้วย กอปรกับปูนฉาบแบบโบราณหมดสภาพการยึดเหนี่ยว บัดนี้ทางวัดได้ใช้ซีเมนต์ซ่อมจนกลับสู่สภาพเดิมแลัว ส่วนโครงสร้างหลังคานั้นยังมีความเเข็งเเรงดีทางคณะกรรมการวัดมีดำริจะรื้อถอน แต่ท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้นคือพระสมุห์พิบูลย์ สุจิตโตได้คัดค้านเอาไวั ด้วยท่านเข้าใจในการอนุรักษ์โบราณสถาน ทางกรรมาธิการสถาปนิกอีสานของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้มอบโล่เกียรติยศนักอนุรักษ์ดีเด่นไว้เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2534
2.ศาลาการเปรียญ กว้าง 15 เมตร ยาว 27 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511
3.กุฏิสงฆ์จำนวน 9 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง และตึก 7 หลัง พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ฝึกสอนเมื่อ พ.ศ. 2514
- สิม รูปเเบบของสิมหลังนี้นับเป็นตัวอย่างของ สิมทึบพื้นบ้านบริสุทธิ์ที่ดีที่สุดหลังหนึ่งของอีสาน
วัดเป็นโรงเรียนสอนปริยัติธรรมมีการสอนภาษาบาลี แต่การสื่อสารในชีวิตประจำวันเป็นภาษาอีสานหรือภาษากลาง
สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2565). วัดกลางมิ่งเมือง. ฐานข้อมูลด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นด้านพุทธศิลป์ภาคอีสาน. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567.เข้าถึงได้จาก : https://cac.kku.ac.th/esanart/
Google Map. (2566). พิกัดแผนวัดกลางมิ่งเมือง. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567. https://www.google.com/maps
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาล. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2567. https://roietmunicipal.go.th/roiet/