Advance search

คุ้มเหล่างิ้ว

พื้นที่ใจกลางเศรษฐกิจของเมืองมหาสารคามและที่ตั้งของตลาดสดเมืองมหาสารคาม

ชุมชนสามัคคี
ตลาด
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
วุฒิกร กะตะสีลา
28 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
20 มิ.ย. 2024
วุฒิกร กะตะสีลา
27 มิ.ย. 2024
สามัคคี
คุ้มเหล่างิ้ว

ชุมชนสามัคคี เดิมชื่อคุ้มเหล่างิ้ว ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคุ้มวัดสามัคคี เมื่อปี พ.ศ. 2482 ตามชื่อวัดสามัคคีที่มีการสร้างขึ้นในชุมชน


พื้นที่ใจกลางเศรษฐกิจของเมืองมหาสารคามและที่ตั้งของตลาดสดเมืองมหาสารคาม

ชุมชนสามัคคี
ตลาด
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
44000
16.18711979
103.3055471
เทศบาลเมืองมหาสารคาม

ชุมชนวัดสามัคคี ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2447 ในสมัยพระเจริญราชเดช(ฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคามคนที่ 2 บริเวณนี้มีต้นงิ้วป่าหรือต้นนุ่นป่าขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจึงตั้งชื่อว่า คุ้มเหล่างิ้ว ซึ่งพื้นที่ปัจจุบันของคุ้มเหล่างิ้วคือคุ้มวัดสามัคคี ในระยะแรกของการเข้ามาอยู่อาศัยคุ้มเหล่างิ้วมีอยู่เพียงคุ้มเดียวในพื้นที่บริเวณนี้ เวลาต่อมาจึงได้มีการขยายตัวออกไปทางห้วยคะคางซึ่งแยกออกเรียกว่า คุ้มห้วย ผู้ปกครองคุ้มในอดีตเรียกว่า “ผู้ใหญ่บ้านเขต” แล้วค่อยมาเปลี่ยนเป็นหัวหน้าคุ้ม คุ้มเหล่างิ้วได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็นคุ้มวัดสามัคคี เมื่อปี พ.ศ. 2482 ตามชื่อวัดสามัคคีที่มีการสร้างขึ้นในชุมชนจนกระทั่งในปัจจุบัน ลักษณะที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของชุมชนวัดสามัคคีในระยะแรกเริ่ม มีการสร้างบ้านเรือนตามแนวถนนหลัก คือ ถนนจุฑางกูร ถนนผดุงวิถีและถนนมหาชัยดำริ ในระยะเริ่มต้นของชุมชนมีบ้านเรือนไม่กี่หลังคาเรือน ต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้นอีกทั้งมีการอพยพโยกย้ายของประชากรจากแหล่งอื่นเข้ามาทำมาหากินอยู่ในชุมชนและมีการสร้างบ้านเรือนภายในชุมชนทำให้มีการขยายตัวของชุมชน ซึ่งมีการกระจายตัวของบ้านเรือนไปตามแนวถนนดังกล่าวอย่างหนาแน่น (ทวีศิลป์ สืบวัฒนะและคณะ, 2546 : 208)

ชุมชนสามัคคีหรือชุมชนวัดสามัคคีมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ จรดกับ หลักกิโลเมตรที่ 4,5 บ้านท่าประทาย
  • ทิศใต้ จรดกับ สถานที่ราชการจังหวัดมหาสารคาม เช่นจวนผู้ว่าราชการจังหวัด,ไปรษณีย์
  • ทิศตะวันออก จรด ชุมชนวัดมหาชัย
  • ทิศตะวันตก จรด ชุมชนธัญญาวาส
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ถึงแม้ชุมชนสามัคคีจะเป็นชุมชนเมืองแต่ชุมชนยังรักษาฮีตคองตามรูปแบบของคนอีสานคือมีประเพณีตามฮีต 12

  • เดือนมกราคม การทำบุญสู่ขวัญข้าว การทำบุญปีใหม่
  • เดือนกุมภาพันธ์ ข้าวจี่
  • เดือนมีนาคม ประเพณีบุญผะเหวด
  • เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
  • เดือนพฤษภาคม บุญบั้งไฟ
  • เดือนมิถุนายน บุญเลี้ยงบ้าน
  • เดือนกรกฎาคม วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนกันยายน บุญข้าวสาก
  • เดือนตุลาคม บุญออกพรรษา
  • เดือนพฤศจิกายน บุญกฐิน บุญลอยกระทง 
  • เดือนธันวาคม เทศกาลปีใหม่  
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ย้ายมาจากตลาดตั้งเจริญมาตั้งยังสถานที่ปัจจุบันและได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ตลาดของเรา” ลักษณะของตลาดในระยะแรกสร้างเป็นอาคารไม้มีร้านค้าอยู่ไม่มาก ครั้น พ.ศ. 2478 ตลาดของเราเริ่มมีการค้าขายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้คนที่ย้ายมาใหม่และอาศัยตามชุมชนข้าราชการโดยเฉพาะที่มาจากแถบโคราชได้เปิดร้านค้ามากขึ้น เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง ขนมไทยต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2505 นายบุญช่วย อัตถากร ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองมหาสาคาม ได้มีการสร้างตึกโค้ง โดยมีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ชั้นบนเป็น “โรงแรมไทยประคอง” ด้านล่างเป็นตลาดและสถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเทศบาล สุขศาลา สถานธนานุบาลและห้างทองร้านแรก คือ ห้างภัทราภรณ์ ห้างอีฮง ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 บรรดาสถานที่ราชการได้ย้ายออกจากตึกโค้งและโรงแรมไทยประคองก็เลิกกิจการไป (พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม, 2551 : 38

ผู้คนใช้ภาษาอีสานและภาษาไทยในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ และคณะ. (2546). ข้อมูลชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามระยะที่ 2. โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมือง ศูนย์รวม เผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ฝ่ายวิชาการเทศบาลเมืองมหาสารคาม

พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม. (2551). สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองมหาสารคาม. เทศบาลเมืองมหาสารคาม.