Advance search

อ่างเก็บน้ำสำคัญของเมืองมหาสารคามและเป็นจุดท่องเที่ยวของชาวมหาสารคาม

แก่งเลิงจาน
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
วุฒิกร กะตะสีลา
28 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
20 มิ.ย. 2024
วุฒิกร กะตะสีลา
27 มิ.ย. 2024
แก่งเลิงจาน

เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหนองน้ำหรือพื้นที่ต่ำรับน้ำ (เลิง) และมีโขดหินหรือสิ่งกีดขวางทางน้ำ (แก่ง) อีกทั้งยังมีต้นจาน (ทองกวาว) ในพื้นที่ดังกล่าวจึงตั้งชื่อตามภูมิลักษณะว่า แก่งเลิงจาน


ชุมชนชนบท

อ่างเก็บน้ำสำคัญของเมืองมหาสารคามและเป็นจุดท่องเที่ยวของชาวมหาสารคาม

แก่งเลิงจาน
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
44000
16.18475
103.27197
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน

แก่งเลิงจานหรืออ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของเมืองมหาสารคาม ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถเข้ามาท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี มีลักษณะเป็นบึงกว้างเป็นแหล่งอาหารของชุมชนในละแวกนั้น เช่น บ้านดอนตูม บ้านกุดเป่ง บ้านท่าแร่ บ้านดอนโด อีกทั้งแก่งเลิงจานเป็นอ่างเก็บน้ำที่รับน้ำจากลำห้วยคะคางและไหนผ่านเข้าไปในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นสายน้ำสำคัญในอดีตที่คนในเมืองมหาสารคามใช้อุปโภคบริโภคและตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน แก่งเลิงจานเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของนิสิตนักศึกษาตั้งแต่สมัยที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (พ.ศ. 2511) มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ. 2517) ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และโรงเรียนฝึกหัดครูต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ทั้งมีการจัดกิจกรรมรับน้องหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยในอดีตและเป็นที่ท่องเที่ยวปิ๊กนิคของนิสิตนักศึกษาในสมัยนั้น จนกระทั่งปัจจุบันพื้นที่แก่งเลิงจานยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนิสิตนักศึกษาเข้ามาใช้พื้นที่อยู่อย่างคึกคัก โดยในปัจจุบันมีการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบแก่งเลิงจานให้มีถนนรอบแก่งที่สามารถให้วิ่งออกกำลังการ ปั่นจักรยานรอบแก่งเลิงจานได้ อีกทั้งยังมีร้านค้าขายของกินไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวที่มาพื้นที่แก่งเลิงจาน นอกจากนี้แก่งเลิงจานยังมีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สถานีประมง ศาลากลางน้ำ มุมพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาธรรมชาติ และเป็นจุดชมวิวตอนพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามแห่งหนึ่งของมหาสารคาม

แก่งเลิงจานหรืออ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของเมืองมหาสารคาม ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่รับน้ำจากลำห้วยคะคางที่ไหลมากจากพื้นที่แก่งโคกก่อและไหลยาวเรื่อยมาจนถึงบริเวณแก่งเลิงจานและไหลผ่านตัวเมืองมหาสารคาม เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของชุมชนและแหล่งปลาน้ำจืดที่สำคัญของพื้นที่

กลุ่มคนที่ใช้แก่งเลิงจานทั้งอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชนรอบ ๆ แก่งเลิงจาน เช่น บ้านดอนตูม บ้านกุดเป่ง บ้านท่าแร่ บ้านดอนโด ซึ่งได้ใช้ทรัพยากรน้ำและหาปลาและสัตว์น้ำต่างในพื้นที่แก่งเลิงจาน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนบริเวณรอบแก่งเลิงจานรักษาฮีตคองตามรูปแบบของคนอีสานคือมีประเพณีตามฮีต 12

  • เดือนมกราคม การทำบุญสู่ขวัญข้าว การทำบุญปีใหม่
  • เดือนกุมภาพันธ์ ข้าวจี่
  • เดือนมีนาคม ประเพณีบุญผะเหวด
  • เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
  • เดือนพฤษภาคม บุญบั้งไฟ
  • เดือนมิถุนายน บุญเลี้ยงบ้าน
  • เดือนกรกฎาคม วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนกันยายน บุญข้าวสาก
  • เดือนตุลาคม บุญออกพรรษา
  • เดือนพฤศจิกายน บุญกฐิน บุญลอยกระทง
  • เดือนธันวาคม เทศกาลปีใหม่  
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

แหล่งท่องเที่ยวของคนมหาสารคาม พื้นที่สาธารณะสำหรับออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ จับจ่ายซื้อของ

ชุมชนบริเวณรอบแก่งเลิงจานส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาว (อีสาน) ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อิทธิชัย แก่นวงศ์คำ.ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม.(2563).ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Moomo Moomo. (2563). บรรยากาศแก่งเลิงจาน. https://www.wongnai.com/photos/

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ม.ป.ป.). สวนสาธารณะแก่งเลิงจาน. https://thailandtourismdirectory.go.th/