ชุมชนโบราณยุคเหล็กในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูล
พื้นที่เป็นป่ารกทึบมีไม้พลวงขึ้นอยู่หนาแน่น จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพลวง" แต่คนโดยทั่วไปเรียกว่า "บ้านดงพลวง" หรือ "บ้านเมืองพลวง" จนกระทั่งเพี้ยนเสียงเป็น "ดงพลอง"
ชุมชนโบราณยุคเหล็กในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูล
ชุมชนบ้านดงพลอง ตั้งอยู่ที่ ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่หมู่บ้านประมาณ 3,235 ไร่ ในอดีตเป็นเมืองโบราณ มีคูน้ำล้อมรอบหมู่บ้าน 3 ชั้น ชื่อว่าเมืองพลวง ประชาชนอพยพมาจากบ้านสวายตาแห้ว จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้เกวียนและช้างเป็นยานพาหนะขนสิ่งของเครื่องใช้มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านดงพลองแห่งนี้ โดยตั้งบ้านเรือนที่โคกเก่าหรือที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดงพลอง ณ ปัจจุบัน
หมู่บ้านดงพลองแบ่งการปกครองออกเป็น 4 คุ้ม ได้แก่
- คุ้มหนองบัว (ภาษาเขมร-พุม-ตำ-เป็ยง-โชค) อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน
- คุ้มศาลหลักเมือง (ภาษาเขมร-พุม-ตา-หลัก-มืง) อยู่กลางหมู่บ้าน
- คุ้มหนองวัดประชาชาติ (ภาษาเขมร-พุม-ตำ-เป็ยง-เวือด) อยู่ทางด้านทิศเหนือ
- คุ้มวัดประชาชาติ (ภาษาเขมร-พุม-เวือด) อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน
ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชุมชนบ้านดงพลองเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว ซึ่งเดิมเป็นบ้านร้างมีคูคันดิน 3 ชั้นล้อมรอบ เป็นป่ารกทึบมีไม้พลวงขึ้นอยู่หนาแน่น จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านพลวง แต่คนโดยทั่วไปเรียกว่า บ้านดงพลวง หรือบ้านเมืองพลวง ได้พัฒนาการจากหมู่บ้านเล็ก ๆ จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ลูกหลานได้อพยพไปหากินแห่งใหม่ และประชาชนจากหลายถิ่นย้ายเข้ามาอยู่ ซึ่งมาจากทิศเหนือของน้ำมูล อันได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสุรินทร์ บ้านดงพลองหรือบ้านเมืองพลวง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านดงพลอง ดังปรากฏในปัจจุบัน
บ้านดงพลองหมู่ที่ 1 มีผู้ใหญ่บ้านมาแล้วทั้งหมด 4 คน ดังนี้
- คนที่ 1 นาย เชื้อ ศรีเพชร
- คนที่ 2 นาย อุดม อ่อนสลวย (ดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2539-2543)
- คนที่ 3 นาย เซ็ง ป่านทอง (ดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2543-2551)
- คนที่ 4 นาย มงคล สิทธิวงศ์ (ดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ย. 2551-ปัจจุบัน)
ประมาณได้ว่าบ้านดงพลอง จัดตั้งหมู่บ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325
ปี พ.ศ. 2429 ได้สร้างวัดประชาชาติและขึ้นทะเบียนวัดเมื่อปี พ.ศ.2462 มีหลักฐานปรากฏที่ป้ายชื่อวัดประชาชาติ ได้มีโรงเรียนบ้านดงพลองเมื่อปี พ.ศ. 2456
ประวัติบ้านดงพลอง หมู่ที่ 1 ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ชื่อเดิมบ้านดงพลวง ซึ่งมีนาย เชื้อ ศรีเพชร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2538 บ้านดงพลองมีการแบ่งการปกครองออกเป็น 3 เขตการปกครอง ได้แก่บ้านดงพลอง หมู่ที่ 1, บ้านดงพลอง หมู่ที่ 2 และบ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 3 ซึ่งบ้านดงพลองหมู่ที่ 1 ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตรและห่างจากบุรีรัมย์ ระยะทาง 56 กิโลเมตร
บ้านดงพลองหมู่ที่ 1 ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาณาเขตดังนี้
- ทิศเหนือ จรดกับ บ้านขาม หมู่ที่ 6 ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศใต้ จรดกับ บ้านดงพลอง2 หมู่ที่ 2 และบ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 3 ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก จรดกับ บ้านกระทุ่ม หมู่ที่ 7 ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันตก จรดกับ บ้านขี้ตุ่น หมู่ที่ 11 ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
ประชากรของบ้านดงพลองเป็นกลุ่มคนในวัฒนธรรมเขมรและผสมกับคนในวัฒนธรรมลาวผ่านการแต่งงานกับชุมชนใกล้เคียง บ้านดงพลอง หมู่ที่ 1 ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 171 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 662 คน แยกเป็น ชาย 348 คน หญิง 314 คน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2558, สำนักทะเบียนราษฎร์อำเภอแคนดง)
ประเพณีและพิธีกรรมในหมู่บ้าน
- เฮาปลึงเซร็อว หรือ การเรียกขวัญข้าว เปิดยุ้ง เปิดฉางขึ้น 3ค่ำเดือน 3
- เทอบ็อญเซราะ การทำบุญบ้านขึ้น3ค่ำเดือน3
- การตระตอม หรือการละเล่นสงกรานต์ การแห่พระ สรงน้ำพระ 13 เมษายนของทุกปี
- เบ็ญตูจ หรือวันสาร์ทเล็ก ขึ้น15 ค่ำ เดือน 10
- เบ็ญทม หรือวันสาร์ทใหญ่ นับ 14 วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ถึง วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
- ไงแซนโฎนตา หรือ การบูชาบรรพบุรุษแรม 14 ค่ำเดือน 10
- แซนขม็อด หรือการเซ่นผี คือ มีงานบุญต่าง ๆ จะต้องบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้านและบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว เครื่องบวงสรวง ได้แก่ ไก่ต้ม หัวหมู ปลาย่าง น้ำมะพร้าว
- การละเล่นมะม็วด หรือการละเล่นแม่มด เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาโรค
- แซนการ์ หรืองานแต่งงาน
- การ์บู หรืองานบวชนาค
- การโบล หรือการทำนาย เมื่อมีของหายหรือมีเหตุการณ์เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุก็จะใช้วิธีโบลหรือทำนายตรวจเพื่อหาสาเหตุ
ชุมชนโบราณยุคเหล็ก มีการขุดค้นทางโบราณคดีปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าชุมชนแห่งนี้มีผู้คนเคยอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีการจัดการน้ำโดยการขุดคูน้ำคันดินรอบบริเวณชุมชน ภาชนะดินเผา เครื่องมือเหล็ก
ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านดงพลอง หมู่ที่ 1 ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
- การจักสานด้วยไม้ไผ่
- การทอผ้า
- การทอเสื่อกก
- การหาสมุนไพร
- การต่อนก
- การดำรงชีวิตด้วยการจับสัตว์น้ำ
- การหาของป่า
ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ภาษาเขมรในการสื่อสารและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
นิยามศัพท์เฉพาะ
- ไง หมายถึง วัน
- แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้
- การบวงสรวงโฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
- ประเพณีแซนโฎนตา หมายถึง ประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ จัดเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยซึ่งพูดภาษาเขมร มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน
Google maps. (2567). ภาพแผนที่ทางอากาศชุมชนโบราณบ้านดงพลอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2567. https://www.google.co.th/maps/