ชุมชนเกษตรกรรมใกล้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บริเวณพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นป่าโคก มีต้นปอแดงเป็นจำนวนมาก
ชุมชนเกษตรกรรมใกล้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เมื่อราวก่อนปี 2438 หรือราว 110 ปีที่ผ่านมา บริเวณพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นป่าโคก มีต้นปอแดงเป็นจำนวนมาก ผู้คนเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างอยู่อาศัยโดยมีผู้นำ คือ นายรอด ( ทหารรอด ) นายเหล็ก จากบ้านขามเฒ่าที่พบว่าบริเวณแห่งนี้ความอุดมสมบูรณ์ป่าโคก อยู่ใกล้ลำห้วยและหนองน้ำ จึงได้มาบุกเบิกและถางป่าโคกปอแดงเพื่อทำไร่ ทำนาและตั้งบ้านเรือน
จากนั้นหลวงพระกลาง พระพิชิต นายเพชร และนายแขก ได้มีการโยกย้ายถิ่นฐานมาจาก บ้านใคร่นุ่น บ้านขามเฒ่า เข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนจนเกิดเป็นหมู่บ้านขึ้น ในปี 2466 ทางราชการได้แต่งตั้งหลวงพระกลาง หนู วงศ์บุตร เป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นคนแรก ซึ่งบริเวณที่มาตั้งถิ่นฐานนั้นเป็นบริเวณที่ป่าที่มีต้นปอแดงจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า บ้านปอแดง สถานที่บ้านช่วงแรกอยู่บริเวณทางทิศใต้ของวัด หลังจากนั้นเกิดเหตุไฟไหม้ สาเหตุมาจากต้นไม้มีต้นไม้จำนวนมาก จึงขยายตัวชุมชนไปทางหมู่บ้านแถวโรงเรียนทิศตะวันตก
ทศวรรษที่ 2500 เริ่มมีการปลูกปอ ปลูกมัน ผู้นำชุมชนเป็นผู้ริเริ่มในการปลูกมัน จนมาถึงพ.ศ. 2514-2515 มีการปลูกปอเยอะขึ้นพื้นที่ปลูกปอ บริเวณหัวไร่ปลายนา การปลูกปอทำให้พื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้นผู้คนจะตัดปอแล้วแช่ไว้ที่ห้วยกุดโดก ห้วยกุดโดก แหล่งน้ำสำคัญของชุมชน เมื่อแช่ปอเสร็จมีนายฮ้อยจากบ้านอื่นมารับซื้อปอจากชุมชน ผู้คนจะกร้อปอเป็นม้วนเพื่อขาย ปอสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือก หนังตองแอก โดยนำไปขายที่ร้านสุภาภรณ์ (เจ๊กลี) พ.ศ. 2518 มีการปรับปรุงถนนเส้นทางคมนาคม คือถนนหลัก 8 เมื่อก่อนเป็นทางเกวียนเข้าไปในวัดป่าวังเลิง ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เส้นทางที่มาสถานีอนามัยตั้งใหม่ ดอนเวียงจันทร์-มะค่า ไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้าน
ปี 2521 ตั้งโรงเรียนบ้านปอแดงทำให้ชุมชนเกิดการขยายตัวมาตั้งถิ่นฐานแถวบริเวณโรงเรียน และเริ่มขยับขยายมาตั้งถิ่นฐานใกล้บริเวณถนนมากขึ้น พ.ศ.2537 แยกตัวมาขึ้นกับตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เดิมขึ้นกับ ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ปี 2537 การเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคามทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามซื้อดินในชุมชนไปเป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง ทำให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่การเกษตร ชุมชนได้ประโยชน์ทำให้มีที่ดินที่สามารถทำการเกษตรได้เพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยมหาสารคามเข้ามาในชุมชนทำให้คุณภาพชีวิตในชุมชนดีขึ้น ซึ่งมาจากหลักสูตรวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชุน ทำให้คนในชุมชนมรงานมีอาชีพ ลูกหลานในชุมชนมีการศึกษาพ.ศ. 2540 คนในชุมชนเริ่มขยายตัวไปบริเวณถนนครั้งใหญ่ถนนหลัก 8 พ.ศ. 2554 ยุบรวมโรงเรียน ขามเฒ่า-ปอแดง
ที่ตั้งบ้านปอแดง หมู่ที่ 6 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นหมู่บ้านขยายแต่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และอยู่ห่างจากตัวอำเภอกันทรวิชัย ตามเส้นทางหลวงกันทรวิชัย-มหาสารคาม ยาวประมาณ 8 กิโลเมตร และอยู่ห่างตัวอำเภอเมืองตามเส้นทางมหาสารคาม-กันทรวิชัย ยาวประมาณ 8 กิโลเมตร พื้นที่ 1,098 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 21 ไร่ ที่สาธารณประโยชน์ 26 ไร่ และที่ทำการเกษตร 944 ไร่ แหล่งน้ำ 42 ไร่ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์
- ทิศเหนือ ติดกับบ้านขามเฒ่า ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
- ทิศใต้ ติดกับบ้านดอนเปลือย ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
- ทิศตะวันออก ติดกับบ้านใคร่นุ่น ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
- ทิศตะวันตก ติดกับบ้านหัวงัว ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นกลุ่มคนในวัฒนธรรมลาว(อีสาน) หากแต่ในช่วงหลังทศวรรษที่2540 หลังการเข้ามาตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามในพื้นที่อำเภอกันทรวิชัย ส่งผลให้มีประชากรแฝงเข้ามาในชุมชนอีกทั้งมีการตั้งหอพัก ไว้สำหรับรองรับนิสิตนักศึกษาในพื้นที่ของชุมชนบ้านปอแดงด้วย
ชุมชนรักษาฮีตคองตามรูปแบบของคนอีสานคือมีประเพณีตามฮีต 12
- เดือนมกราคม การทำบุญสู่ขวัญข้าว การทำบุญปีใหม่
- เดือนกุมภาพันธ์ ข้าวจี่
- เดือนมีนาคม ประเพณีบุญผะเหวด
- เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
- เดือนพฤษภาคม บุญบั้งไฟ
- เดือนมิถุนายน บุญเลี้ยงบ้าน
- เดือนกรกฎาคม วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
- เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
- เดือนกันยายน บุญข้าวสาก
- เดือนตุลาคม บุญออกพรรษา
- เดือนพฤศจิกายน บุญกฐิน บุญลอยกระทง
- เดือนธันวาคม เทศกาลปีใหม่
- ลำห้วยกุดโดก
คนในชุมชนใช้ภาษาอีสานในการสื่อสาร
การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่เนื่องจากการเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2535 ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของชุมชน คือ ห้วยกุดโดก ซึ่งแต่เดิมเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชน หลังจากปี พ.ศ. 2535 เรื่อยมามีการสร้างหอพักในพื้นที่ใกล้เคียงชุมชนบ้านปอแดงเป็นจำนวนมากส่งผลให้น้ำเสียจากหอพักต่าง ๆ ไหลทะลักเข้าสู่ลำห้วยส่งผลกระทบให้กับสัตว์น้ำและสภาพแวดล้อมของลำห้วยอย่างมากในปัจจุบัน
โครงการการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนและส่งเสริมพัฒนาทักษะของคนในชุมชนเพื่อสร้างช่องทางและศักยภาพในการเพิ่มรายได้หมุนเวียนแก่ชุมชนในตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
นางเอ็ด มีทิพย์ บ้านปอแดง ตำบลขามเฒ่าพัฒนา จังหวัดมหาสารคาม, ส้มภาษณ์, ณัฐพล นาทันตอง, ผู้สัมภาษณ์
นายสุดใจ ไตยวรรณ บ้านปอแดง ตำบลขามเฒ่าพัฒนา จังหวัดมหาสารคาม, ส้มภาษณ์, ณัฐพล นาทันตอง, ผู้สัมภาษณ์
นายจันทร์ อิณช้าง บ้านปอแดง ตำบลขามเฒ่าพัฒนา จังหวัดมหาสารคาม, ส้มภาษณ์, ณัฐพล นาทันตอง, ผู้สัมภาษณ์