
“สิม” อุโบสถโบราณและจิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) มรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของชุมชนบ้านวังคูณ
“สิม” อุโบสถโบราณและจิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) มรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของชุมชนบ้านวังคูณ
ชุมชนบ้านวังคูณ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ผู้คนชุมชนบ้านวัง คูณเป็นผู้คนที่อพยพมาจากอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ไม่สามารถระบุปี พ.ศ. ที่อพยพเข้ามาตั้งชุมชนได้ กลุ่มคนที่อพยพมาเป็นกลุ่มแรก ๆ คือ กลุ่มพ่อใหญ่ลี พ่อใหญ่หลิด พ่อใหญ่จันศรีนามสกุลจันพิลา เพื่อมาตั้งบ้านใหม่ซึ่งอพยพมาหลายครอบครัว หลังจากเข้ามาตั้งชุมชนก็ได้สร้างวัดสระบัวแก้ว
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 หลวงปู่ผุยหรือพระครู พิบูลย์พัฒน์ยุต เป็นเจ้าอาวาสซึ่งท่านเป็นพระจากบ้านยางสีสุราชปัจจุบันคือ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ได้ ริเริ่มการสร้างสิมบกขึ้นมาแทนสิมน้ำซึ่งมีอยู่แต่เดิมและมีสภาพชำรุด หลวงปู่ผุยได้ระดมทุนทรัพย์และแรงงานจากชาวบ้านวังคูณช่วยกันสร้างสิมจนแล้วเสร็จ นางตุ่น เมื่อไธสง เล่าว่า "สมัยยายเป็นเด็กน้อยได้ไปเล่นอยู่วัดตอนเขาเช็ด สิม ชาวบ้านก็ช่วยกันเฮ็ดก้อนอิฐโดยเอาดินมาปั้นผสมกับแกลบแล้วนำมาเผา จากนั้นก็ก่ออิฐแล้วช่างค่อยเขียนรูป รอบ ๆ สิม ตอนที่เขามาวาดรูปอยู่สิมเด็กน้อยในบ้านพากันไปเล่นอยู่วัด เพราะว่าตอนที่ช่างวาดรูปนั้นเขาเล่าเรื่องราวที่ วาดภาพไปนำเฮ็ดให้คนในหมู่บ้านสนใจกันหลาย โดยเฉพาะเด็กน้อย" คนในชุมชนบ้านวังคูณส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพทำนาเพราะพื้นที่บริเวณชุมชนเป็นพื้นที่ลุ่มไม่สามารถปลูกพืชไร่ได้
ชาวบ้านในอดีตมีการทอผ้าเพื่อใช้เองมีทั้งผ้า ฝ้ายและผ้าไหมซึ่งปรากฏวัตถุที่เกี่ยวกับการทอผ้าในพิพิธภัณฑ์หลายชิ้น หลังจากที่มีการบูรณะสิมแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้ทรงเสด็จมาชมสิน หลังจากนั้นเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันชุมชนพยายามพัฒนาเรื่องอาชีพของชุมชนและพัฒนา ทรัพยากรที่โดดเด่นคือ สิมและฮูปแต้ม ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชนซึ่งปัจจุบันกำลังพัฒนาในส่วนนี้ ชุมชนบ้านวัง คูณเป็นชุมชนที่มีความสามัคคีกันสูงไม่ค่อยมีความขัดแย้งในชุมชน
สภาพพื้นที่ของบ้านวังคูณเป็นพื้นที่ราบเหมาะแก่การทำนาและทำไร่ อาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นการทำเกษตรกรรม
กลุ่มคนส่วนใหญ่ในชุมชนบ้านวังคูณเป็นลูกหลานของกลุ่มที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานยุคแรกเริ่มกล่าวคือ พื้นที่อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
- กลุ่มเกษตรอินทรีย์
ชุมชนรักษาฮีตคองตามรูปแบบของคนอีสานคือ มีประเพณีตามฮีตสิบสอง
- เดือนมกราคม การทำบุญสู่ขวัญข้าว การทำบุญปีใหม่
- เดือนกุมภาพันธ์ ข้าวจี่
- เดือนมีนาคม ประเพณีบุญผะเหวด
- เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
- เดือนพฤษภาคม บุญบั้งไฟ
- เดือนมิถุนายน บุญเลี้ยงบ้าน
- เดือนกรกฎาคม วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
- เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
- เดือนกันยายน บุญข้าวสาก
- เดือนตุลาคม บุญออกพรรษา
- เดือนพฤศจิกายน บุญกฐิน บุญลอยกระทง
- เดือนธันวาคม เทศกาลปีใหม่
สิมวัดสระบัวแก้วและฮูปแต้มวัดสระบัวแก้ว เป็นอุโบสถศิลปะท้องถิ่นอีสาน
คนในชุมชนบ้านวังคูณใช้ภาษาลาว (อีสาน) ในการสื่อสารประจำวัน
นางตุ่น เดื่อไธสง (อายุ 90 ปี), หมู่ที่ 4 บ้านวังคูณ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น, วุติกร กะตะสีลา, ผู้สัมภาษณ์, 25 มิถุนายน 2561
นายอรุณ ศรีเดช (อายุ 53 ปี), หมู่ที่ 4 บ้านวังคูณ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น, วุติกร กะตะสีลา, ผู้สัมภาษณ์, 25 มิถุนายน 2561