Advance search

พระพุทธรูปคู่เมืองพุทไธสงและผู้คนในละแวกใกล้เคียง ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อบันดาลความสำเร็จให้กับผู้กราบไหว้

ศีรษะแรด
มะเฟือง
พุทไธสง
บุรีรัมย์
วุฒิกร กะตะสีลา
28 พ.ค. 2024
ณัฐพล นาทันตอง
20 มิ.ย. 2024
วุฒิกร กะตะสีลา
27 มิ.ย. 2024
บ้านศีรษะแรด


ชุมชนชนบท

พระพุทธรูปคู่เมืองพุทไธสงและผู้คนในละแวกใกล้เคียง ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อบันดาลความสำเร็จให้กับผู้กราบไหว้

ศีรษะแรด
มะเฟือง
พุทไธสง
บุรีรัมย์
31120
15.543264413896694
103.01663283895385
องค์การบริหารส่วนตำบลมะเฟือง

ตำนานพระเจ้าใหญ่วัดหงส์ ย้อนหลังไปในอดีตสมัยท้าวศรีปาก ท้าวทาทองและท้าวเหล็กสะท้อนไกรสรเสนา คนไทยเชื้อสายลาวและบริวารซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมหาสารคามในปัจจุบัน เป็นคนที่ชอบเที่ยวป่าล่าสัตว์ในเขตลุ่มน้ำลำพังชูตลอดไปจรดเขตลุ่มน้ำชีจังหวัดชัยภูมิ กล่าวกันว่าล่าแรดในสมัยนั้นถ้าพบแรดในเขตพุทไธสงจะล่าได้ในเขตชัยภูมิและถ้าพบในเขตชัยภูมิก็จะล่าได้ในเขตพุทไธสง ครั้งหนึ่งพรานทั้งสามได้ยิงนกขนาดใหญ่และสวยงามมากตัวหนึ่ง ณ บริเวณบึงสระบัวนกตัวนั้นได้บินมาตกบริเวณป่าทิศตะวันออก พรานจึงตามหานกตัวนั้นในป่าใหญ่ บังเอิญไปพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ทั้งสามไม่เคยพบเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่อย่างนี้มาก่อนเกิดความดีใจและเลิกค้นหานกตัวนั้น และสำรวจบริเวณรอบ ๆ องค์พระเจ้าใหญ่ทางด้านหลังพบเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ด้านทิศตะวันออกพบหนองน้ำขนาดย่อมมีซากกะโหลกหัวแรดอยู่ในหนองน้ำนั้นด้วย รอบ ๆ องค์พระมีต้นตาลอยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศมีเถาวัลย์ปกคลุมรุงรัง ไม่ปรากฏว่ามีผู้คนอาศัยอยู่บริเวณนั้นจึงกลับไปภูมิลำเนาของตนและได้ชวนญาติพี่น้องมาตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้และตั้งชื่อว่า “บ้านหัวแฮด” ตามที่พบซากกะโหลกหรือหัวของแรด จากนั้นได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดและตั้งชื่อวัดว่า “วัดหงส์” ตามชื่อของนกที่ยิงมาตกบริเวณดังกล่าว องค์พระมีอักษรขอมจารึกบนแผ่นดินเผาและถูกทำลายแล้วอ่านได้ว่าพระเจ้าใหญ่และอักษรตัวอื่นไม่มีใครอ่านออกจึงเรียกชื่อองค์พระว่า “พระเจ้าใหญ่ตั้งแต่นั้นมา” พระเจ้าใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 1.77 เมตร สูง2.2 เมตรหล่อด้วยสำริด(ตำนานพระนอแรด-ปาฏิหาริย์กาดำ)

พระเจ้าใหญ่วัดหงส์ไม่เพียงแต่เป็นพระคู่เมืองพุทไธสงแต่ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงกระจายไปในพื้นที่ละแวกนั้นส่งผลให้ทุกปีในงานนมัสการพระเจ้าใหญ่วัดหงส์มีผู้คนเข้ามากราบไหว้สักการะจำนวนมาก รวมทั้งความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของการขอพรและสาบานอีกด้วย

วัดหงส์ตั้งอยู่บริเวณนอกคูเมืองโบราณพุทไธสงฝั่งทิศตะวันออก เป็นวัดขนาดใหญ่ของชุมชนบ้านศีรษะแรด ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอุโบสถสีทองขนาดใหญ่เป็นที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อใหญ่และมีวิหารอุโบสถสีเงินอยู่ทางทิศเหนือของอุโบสถหลังใหญ่ ภายในพื้นที่วัดหงส์มีโรงเรียนวัดหงส์ตั้งอยู่เป็นสถานศึกษาของคนในชุมชน ทุกวันจะมีผู้คนเข้ามากราบไหว้พระเจ้าใหญ่อย่างไม่ขาดสาย

ประชากรของชุมชนศีรษะแรดเป็นกลุ่มคนในวัฒนธรรมลาว ที่อาศัยอยู่บริเวณนอกเมืองพุทไธสงและส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนรักษาฮีตคองตามรูปแบบของคนอีสานคือมีประเพณีตามฮีต 12

  • เดือนมกราคม การทำบุญสู่ขวัญข้าว การทำบุญปีใหม่
  • เดือนกุมภาพันธ์ ข้าวจี่
  • เดือนมีนาคม ประเพณีบุญผะเหวด
  • เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
  • เดือนพฤษภาคม บุญบั้งไฟ
  • เดือนมิถุนายน บุญเลี้ยงบ้าน
  • เดือนกรกฎาคม วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนกันยายน บุญข้าวสาก
  • เดือนตุลาคม บุญออกพรรษา
  • เดือนพฤศจิกายน บุญกฐิน บุญลอยกระทง 
  • เดือนธันวาคม เทศกาลปีใหม่ 

แต่คนในชุมชนมีเทศกาลใหญ่ คือ งานนมัสการพระเจ้าใหญ่วัดหงส์ที่ไม่ใช่เพียงคนในชุมชนท้องถิ่นเข้ามาร่วมงานเท่านั้น หากเป็นคนในพื้นที่รอบข้องทั้งต่างอำเภอและต่างจังหวัดอีกด้วย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • อุโบสถสีเงิน

คนในชุมชนใช้ภาษาลาวอีสานในการสื่อสารในชีวิตประจำวันและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การสาบานกับพระเจ้าใหญ่ ความศักดิ์สิทธิ์นอกจากจะเป็นการกราบไหว้ขอพรและเพื่อสิริมงคลแล้ว ผู้คนในละแวกนั้นมีความเชื่อเรื่องการสาบานกับหลวงพ่อ โดยเฉพาะการนำคนที่กระทำผิดมาสารภาพกับหลวงพ่อใหญ่ หากโกหกจะมีอันเป็นไปทำให้คนทำผิดไม่กล้าสาบานกับพระเจ้าใหญ่เพราะกลัวอิทธิฤทธิ์และจะมีอันเป็นไป คนในละแวกนั้นพูดติดปากกันในเรื่องการสาบานกับพระเจ้าใหญ่ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก โดยปัจจุบันมีผู้คนมาสาบานกับพระเจ้าใหญ่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการสาบานเลิกเหล้า เป็นต้น

 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล