อ่างเก็บน้ำโคกก่อนอกจากเป็นแหล่งน้ำชุมชนแล้วยังเป็นสถานที่คลายร้อนยามน้ำลด มีการสร้างแพลอยน้ำขายอาหารสร้างรายได้ให้กับแม่ค้าในชุมชน
บริเวณอ่างเก็บน้ำโคกก่อมีลักษณะพื้นที่สูงต่ำสลับกันสามารถลงเล่นน้ำได้ชาวอีสานเรียกแก่ง เลยเป็นที่มาของแก่งโคกก่อ
อ่างเก็บน้ำโคกก่อนอกจากเป็นแหล่งน้ำชุมชนแล้วยังเป็นสถานที่คลายร้อนยามน้ำลด มีการสร้างแพลอยน้ำขายอาหารสร้างรายได้ให้กับแม่ค้าในชุมชน
แก่งโคกก่อ เป็นชื่อเรียกของสถานที่เล่นน้ำของชาวบ้านที่เรียกกันติดปาก ซึ่งตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำโคกก่อบริเวณใกล้กับชุมชนบ้านโคกก่อ ซึ่งอ่างเก็บน้ำบริเวณนี้เป็นพื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคและจ่ายน้ำเพื่อให้เกษตรกรทำการเกษตรในเขตพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคามและอำเภอใกล้เคียง เมื่อถึงช่วงปริมาณน้ำลดลงจนทำให้ประชาชนสามารถนำวัว ควายไปเลี้ยงบริเวณริมอ่างเก็บน้ำโคกก่อได้
ช่วง พ.ศ. 2565 เริ่มมีคนรู้จักพื้นที่แห่งนี้มากขึ้นและเริ่มเดินทางมาถ่ายรูป เล่นน้ำพักผ่อนในช่วงวันหยุด ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มนำน้ำดื่มขนม อาหารมาขายเพื่อสร้างรายได้ให้ตนเอง เมื่อเริ่มมีคนประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้นทำให้ผู้คนเริ่มหลั่งไหลอยากมาชมแก่งโคกก่อมากขึ้น จนชาวบ้านได้สร้างแพลอยน้ำขึ้นมาให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อนทานอาหารในแพกลางน้ำ และสามารถสร้างแพลอยน้ำขึ้นกว่า 80 แพ โดยคิดค่าเช่าชั่วโมงละ 50 บาท นอกจากนั้นยังมีการนำห่วงยางมาให้เช่าเพื่อเล่นน้ำครั้งละ 30 บาท พร้อมทั้งขายอาหารเครื่องดื่มบริการถึงแพ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมามากขึ้น
อ่างเก็บน้ำโคกก่อบริเวณใกล้กับชุมชนบ้านโคกก่อ ซึ่งอ่างเก็บน้ำบริเวณนี้เป็นพื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคและจ่ายน้ำเพื่อให้เกษตรกรทำการเกษตรในเขตพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคามและอำเภอใกล้เคียง เมื่อถึงช่วงปริมาณน้ำลดลงจนทำให้ประชาชนสามารถนำวัว ควายไปเลี้ยงบริเวณริมอ่างเก็บน้ำโคกก่อได้
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านโคกก่อ ตำบลโคกก่อ
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านหนองหิน ตำบลโคกก่อ
- ทิศตะวันออก ติดกับ ค่ายลูกเสือแก่งโคกก่อ
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านหนองแวงน้อย ตำบลโคกก่อ
อ่างเก็บน้ำโคกก่อเป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงชาวตำบลโคกก่อ ทั้งด้านการเกษตร ด้านการเลี้ยงสัตว์ สามารถใช้น้ำในแก่งโคกก่อได้ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ของชุมชนริมอ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำโคกก่อสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวนมากเนื่องจากคนที่มาทำแพ ขายอาหาร ขายน้ำดื่ม ตลอดจนเช่าหวงยางล้วนเป็นคนในพื้นที่ทั้งหมด การที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่จำนวนมากทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดในฤดูที่น้ำในอ่างมีปริมาณมากทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ทำให้ร้านค้าต้องปิดตัวลงชั่วคราว แต่คนในชุมชนก็ยังมีอาชีพเกษตรกรรมที่เป็นอาชีพหลักอยู่แล้ว การท่องเที่ยวจึงเป็นรายได้เสริมในช่วงน้ำลด
1.ค่ายลูกเสือแก่งโคกก่อ เป็นสถานที่สำหรับเข้าค่ายลูกเสือเนื่องจากมีพื้นที่ในการเดินป่ามีการสร้างฐานผจญภัยสำหรับฝึกความอดทนในด้านต่าง สามารถรองรับการอบรมลูกเสือได้จากทุกหน่วยงาน
ภาษาที่ใช้ในชุมชนใช้ภาษาอีสานเป็นส่วนมากเนื่องจากบรรพบุรุษเป็นกลุ่มคนลาวอพยพมา ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาอีสาน และมีการใช้ภาษากลางในการติดต่อราชการได้
การท่องเที่ยวอ่างเก็บน้ำโคกก่อสามารถดำเนินการได้ในช่วงน้ำลดเท่านั้นทำให้มีข้อจำกัดเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้ ถ้าแล้งมากก็ไม่มีน้ำในอ่างก็ไม่มีนัก่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยว แต่ค่ายลูกเสือสามารถเปิดฝึกอบรมได้ตลอดปี ซึ่งช่วงที่หนาแน่นมากที่สุดจะเป็นช่วงเดือนมกราคม
แนวหน้า. (2567). มหาสารคามร้อนระอุ! ทะลุ 40 องศาแห่เล่นน้ำคลายร้อนอ่างเก็บน้ำโคกก่อ เก็บหอยคึกคัก. แนวหน้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567. จาก https://www.naewna.com/
Google Map. (2566). พิกัดแผนที่แก่งโคกก่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567. จาก https://www.google.com/maps
ค่ายลูกเสือแก่งโคกก่อแคมป์ มหาสารคาม. (2566). ค่ายลูกเสือแก่งโคกก่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567. จาก https://www.facebook.com/Prasartscoutcamp/