ศาลหลักเมืองมหาสารคาม
จุดศูนย์กลางของชุมชนและศูนย์รวมจิตใจของชุมชนคือ วัดธัญญาวาส ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า ชุมชนธัญญาวาส
ศาลหลักเมืองมหาสารคาม
ประมาณ พ.ศ. 2380 (ต้นตระกูล รัตนแสง) ได้นำพาผู้คนอพยพมาอยู่และทำไร่ปลูกข้าวอยู่ใกล้ชิดกับดอนหลักเมืองมหาสารคาม ภายหลังมีพี่น้องลูกหลานย้ายจากบ้านสงเปือยมาอยู่บ้านข้าวฮ้าวกันมากขึ้น ปู่กวนตาแสง รัตนแสง อุทิศไร่ข้าวของตนสร้าง "วัดดอนเมือง" ปี พ.ศ. 2385 ได้ทำการย้ายวัดดอนเมืองให้เข้ามาใกล้บ้านข้าวฮ้าวมากกว่าเดิมเนื่องจากเป็นการลำบากในการเดินทางติดต่อระหว่างพระและโยม เพราะสมัยนั้นยังเป็นป่าที่มีสัตว์ป่าชุกชุมอยู่เกรงจะทำอันตรายได้ และขนานนามวัดใหม่ว่า วัดข้าวฮ้าว
ต้นตระกูล รัตนแสง ได้นำพาผู้คนอพยพมาอยู่และทำไร่ปลูกข้าวอยู่ใกล้ชิดกับดอนหลักเมืองมหาสารคาม มีการตั้งหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านข้าวฮ้าว เพราะแต่ก่อนทำนาปลูกข้าวบริเวณที่ปลูกข้าวดินแห้งแล้งทำให้ข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เรียกว่า ข้าวฮ้าว แต่บางคนเห็นว่าพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เพราะแต่ก่อนทำนาปลูกข้าวในบริเวณนั้นในนาข้าวมีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ข้าวมีกอใหญ่ จึงเรียกว่า ข้าวฮ้าว
ชาวบ้านอพยพมาจากเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งท้าวมหาชัย (ท้าวกวด) เป็นผู้นำชาวบ้านที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านจาน เมื่อประชาชนอพยพเข้ามามากขึ้น ท้าวกวดจึงชวนญาติพี่น้องมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2482 คณะสงฆ์และกรรมการได้เปลี่ยนชื่อวัดจากเดิมวัดข้าวฮ้าว เป็น วัดธัญญา เพราะธัญญา หรือ ธัญ หมายถึงข้าวเปลือก ส่วนคำว่า วาส มาเติมภายหลังในสมัยที่พระครูวรญาณประยุติ (บุญมา) เป็นเจ้าอาวาส ใน ปี พ.ศ. 2504 ชุมชนข้าวฮ้าวเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ชุมชนธัญญาวาส เพราะเห็นว่าธัญญาก็ดี เพราะมาจากชื่อวัดธัญญาวาส ขณะตั้งชุมชนใหม่ ๆ มีบ้านเรือนประมาณ 30 ครัวเรือน และอาศัยห่างกันพอสมควร เมื่อ ปี พ.ศ 2537 จึงแยกออกมาเป็นธัญญาวาส 1, 2
การขยายตัวของเมืองมหาสารคามมาทางทิศตะวันตกของเมือง ผู้คนอพยพเข้าสู่บริเวณรอบ ๆ วัดธัญญาวาสเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของเมืองมหาสารคาม มีการสร้างโรงเรียนสารคามพิทยาคม และโรงเรียนศาลหลักเมืองขึ้น อีกทั้งยังอยู่ใกล้ศาลหลักเมือง การขยายตัวทางการศึกษาของเมืองมหาสารคามเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ผู้คนขยายตัวออกมาอยู่ใกล้สถานศึกษา
สภาพแวดล้อมชุมชนมีลักษณะกับโครงสร้างทางสังคมมีโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างหนาแน่น มีการค้า มีเครือข่ายชุมชน การอาศัยอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ อยู่แบบพี่น้องอาศัยซึ่งกันและกัน
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ห้วยคะคาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนธัญญาวาส 2
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนธัญญาวาส
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนปัจฉิมทัศน์
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ
เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ คือ ห้วยคะคาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบกักเก็บน้ำยาก น้ำจากห้วยคะคางไหลผ่านตลอดทั้งปี ดินมีลักษณะดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูก ปัจจุบันในชุมชนไม่มีการเพาะปลูก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นตึกและอาคารพาณิชย์สำหรับการค้า บางพื้นที่เป็นเนินต่ำ ลาดลงไป
จากแผนพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2561-2565 เทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ระบุจำนวนประชากรเพศชายและหญิง ไว้ดังนี้ จำนวนประชากรชาย 765 คน จำนวนประชากรหญิง 816 คน รวมทั้งสิ้น 1,581 คน คนในชุมชนมีกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว และเป็นกลุ่มคนเชื้อสายจีนบางส่วน
มีการจัดตั้งองค์กรการทำกิจกรรมภายในชุมชน มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ และกองทุนร้านค้า
สมัยก่อนชาวบ้านมีวิถีชีวิตไปมาหาสู่ล้อมวงกินข้าวญาติพี่น้องเป็นปกติ และอาชีพหลักคือ เกษตรกร พอมีการแยกชุมชนออกเป็น 5 คุ้ม และมีการเข้ามาของผู้คนต่างพื้นที่ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 50 ปี วิถีชีวิตของคนในชุมชนเริ่มเปลี่ยนจากที่เคยไปมาหาสู่กันก็เปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอยู่ จากที่เคยประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ก็เริ่มมีอาชีพที่หลากหลายขึ้น เช่น รับจ้าง ค้าขาย
สมัยก่อนชาวบ้านอาศัยแหล่งน้ำสองที่หลัก ๆ คือ สระน้ำเก่าที่ปัจจุบันเป็นตึกรับปริญญาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และบ่อน้ำทุ่งนาเฟือง ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาล แหล่งน้ำทั้งสองนี้มีความสำคัญต่อคนในชุมชนธัญญาวาสมาก เพราะชาวบ้านใช้สำหรับบริโภค ส่วนลำน้ำห้วยและแม่น้ำชีเป็นแหล่งอาหารหาปลาของคนในชุมชน
ก่อนสร้างเมรุที่วัดธัญญาวาสเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ชาวบ้านนำศพไปเผาเชิงตะกอนที่ วัดป่าสุพมิตร ชาวบ้านในชุมชนมีศาลหลักเมืองที่นับถือหรือที่เรียกว่า พ่อปู่หลักเมือง
ปัจจุบันคนในชุมชนยังคงนับถือพุทธศาสนา และประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ มีการจัดงานตามประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่การตั้งชุมชน
1.ปู่กวนตาแสง รัตนแสง อดีตผู้นำชุมชนและผู้ก่อตั้งบ้านข้าวฮ้าว
เนื่องจากอยู่ใกล้สถานศึกษาและศาลหลักเมือง เหมาะแก่การประกอบธุรกิจค้าขาย อยู่ใกล้ย่านการค้า คือ ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม
ภาษาของชาวบ้านในท้องถิ่นสมัยก่อนคือ ภาษาอีสาน ในส่วนที่ต้องติดต่อราชการใช้ ภาษากลาง ปัจจุบันใช้ทั้งภาษาอีสานและภาษากลางปะปนกัน
อาชีพของผู้คนในชุมชนจากที่เคยประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ก็เริ่มมีอาชีพที่หลากหลายขึ้น เช่น รับจ้าง ค้าขาย เนื่องจากการขยายตัวของเมืองมหาสารคามในทศวรรษ 2500 ทำให้ผู้คนขยายชุมชนออกมาตามความเจริญของเมืองมหาสารคาม
มีการทำยาสมุนไพรต่าง ๆ ใช้สำหรับดมหรือทา ถูกนวด ทำจากว่านไพรสกัดเอามาทำแต่ยังไม่จำหน่าย ใช้แจกสำหรับคนทั่วไป ในงานต่าง ๆ ภายในชุมชน เรียกว่า น้ำมันเหลืองสกัดไพร
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ, ธีรชัย บุญมาธรรม และนายทม เกตุวงศา. (2545). โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมือง ศูนย์รวม เผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน จังหวัดมหาสารคาม. เทศบาลบาลเมืองมหาสารคาม.
เทศบาลเมืองมหาสารคาม. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ 2561-2565. http://mkm.go.th/