ชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดสด สถานที่ราชการ เช่น สถานีตำรวจ จึงมีร้านค้าอาหารที่หลากหลายคอยบริการ เปรียบเสมือนโรงอาหารของชาวเมืองมหาสารคาม
จุดศูนย์กลางของชุมชนและศูนย์รวมจิตใจของชุมชน คือ วัดนาควิชัย ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า ชุมชนนาควิชัย ตามชื่อของ พ่อนาคและพ่อชัย ที่อุทิศที่ดินในการสร้างวัด
ชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดสด สถานที่ราชการ เช่น สถานีตำรวจ จึงมีร้านค้าอาหารที่หลากหลายคอยบริการ เปรียบเสมือนโรงอาหารของชาวเมืองมหาสารคาม
เริ่มตั้งชุมชนเดิมประมาณปี พ.ศ. 2340 ได้มีประชากรที่อพยพมาจากเมืองร้อยเอ็ดมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านส่องนางใย ต่อมาผู้คนเริ่มหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ จากนั้นประมาณปี พ.ศ. 2380 ผู้คนก็ได้อพยพออกมาจากบ้านส่องนางใยมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณทุ่งนา (หนองทุ่ง) เพราะบริเวณนั้นมีหนองน้ำและเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ในระยะแรก ๆ นั้น มีประชากรอาศัยอยู่น้อย แต่ต่อมาไม่นานประชากรก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการสร้างวัดเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในบริเวณนั้น โดยมีพ่อนาคและพ่อชัย อุทิศที่ดินให้ตั้งวัด ในปี พ.ศ 2416 มีนายอำเภอเป็นผู้ตั้งชื่อวัดให้ โดยยึดถือเอาหนองหัวช้างและชื่อของผู้อุทิศ
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ถนนนครสวรรค์ ตั้งแต่หอนาฬิกาจนถึงบ้านค้อ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ถนนนครสวรรค์จนถึงสำนักงานเทศบาล
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนอภิสิทธิ์
- ทิศตะวัตก ติดต่อกับ ถนนนครสวรรค์ จนถึงโรงพยาบาลมหาสารคาม
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ สภาพพื้นที่ของชุมชนนาควิชัยเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม ในปัจจุบันบริเวณชุมชนนาควิชัยไม่มีการทำเกษตรกรรมแล้ว เนื่องจากการขยายตัวของเมืองมหาสารคาม มีการสร้างบ้านเรือนขึ้นเป็นจำนวนมาก สภาพแวดล้อมจัดอยู่ในชุมชนแออัด และมีแนวโน้มในอนาคตกลายเป็นชุมชนที่เติบโตของเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นย่านการค้ามีธุรกิจต่าง ๆ อยู่ติดกับถนนเศรษฐกิจ เช่น ถนนนครสวรรค์ และคลองสมถวิล
จากแผนพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2561-2565 เทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ระบุจำนวนประชากรเพศชายและหญิง ไว้ดังนี้ จำนวนประชากรชาย 785 คน จำนวนประชากรหญิง 780 คน รวมทั้งสิ้น 1,655 คน คนในชุมชนมีกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว และเป็นกลุ่มคนเชื้อสายจีนบางส่วน
จีนมีการจัดตั้งองค์กรการทำกิจกรรมภายในชุมชน มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์
วิถีชีวิตอยู่แบบเรียบง่าย รับราชการ ค้าขาย ภายในชุมชนยังมีการนับถือและปฏิบัติยึดถือตามศาสนาพุทธเป็นหลัก ในอดีตชาวบ้านยึดถือการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เนื่องจากการพัฒนาและการขยายชุมชนของเมืองมหาสารคาม ทำให้ชุมชนนาควิชัยมีการพัฒนา และมีความเจริญมากขึ้น การขยายชุมชนมีการสร้างตึก และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของเมืองมหาสารคาม ทำให้พื้นที่ที่เคยเป็นทุ่งนาและป่ามะพร้าวหายไป ชาวบ้านหันมาประกอบอาชีพรับจ้างและรับราชการ คนเข้าวัดน้อยลง กิจกรรมและประเพณีตามความเชื่อประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่ในวัดเริ่มหายไป
1.พระเจริญราชเดช (ฮึ่ง) ภูวตานนท์ เจ้าเมืองคนที่ 2ของเมืองมหาสารคาม
2.นายปิยวัฒน์ วรรณศิลป์ หมอสูตรขวัญ
3.นายทองหล่อ พลโคตร ส.ส เมืองมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2543
4.นายถาวร ปาละอินทร์ ช่างแกะสลักเทียน, ปั้นปูน
5.นายประสิทธิ์ ปาละอินทร์ ช่างแกะสลักเทียน, ปั้นปูน
ชุมชนนาควิชัยมีพื้นที่อยู่บริเวณย่านการค้าของเมืองมหาสารคาม อยู่ใกล้วัดมหาชัย ซึ่งเป็นอารามหลวงของจังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากมีพื้นที่เป็นย่านการค้าทำให้ชุมชนนาควิชัยเป็นพื้นที่ที่ใคร ๆ ต่างต้องการเข้ามาประกอบอาชีพค้าขายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยในอดีตบริเวณนี้เป็นย่านการค้าสำคัญของเมืองมหาสารคาม ขับเคลื่อนโดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนที่อพยพมาจากจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดร้อยเอ็ด และเมืองต่าง ๆ ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการค้าในย่านนี้
วัดนาควิชัย ตั้งอยู่ ถนนนาควิชัย ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2416 นายเพี้ยนพาน เมืองกลาง (บุดดี) หรือหลวงอภิสิทธิ์สารคาม (นายอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามคนแรก) พร้อมญาติได้สร้างวัดขึ้นที่ริมหนองหัวช้าง บนที่ดินของนายนาคและนายชัย ซึ่งบุคคลทั้งสองคนนี้เป็นผู้บริจาคที่ดินให้จึงจัดตั้งตามชื่อผู้ที่บริจาคที่ดินว่า วัดนาควิชัย แต่คนทั่วไปเรียกว่า “วัดทุ่ง” ทั้งนี้เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางบริเวณเรือกสวนไร่นา แต่ปัจจุบันเป็นเขตชุมชนซึ่งมีการคมนาคมไปมาสะดวก
วัดนาควิชัย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเจ้าอาวาสจากอดีตถึงปัจจุบันมี 10 รูป ปูชนียวัตถุ พระพุทธรูปปั้น ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 4 ศอก คือ หลวงพ่อแดงหรือ หลวงไทรงาม ซึ่งในสมัยโบราณผู้คนมาวัดทุ่งหรือวัดนาควิชัยจะเป็นโชค มาพักแรมที่วัดนี้จะทำพิธีขอพรให้ท่านคุ้มครอง ให้ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองและประสพโชค ซึ่งเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธ์
พระประทานประจำอุโบสถหลังเดิม คือ หลวงพ่อนาควิชัย หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 3 ศอกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2493 และพระประธานอุโบสถหลังใหม่ คือ พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก ปางสมาธิเพชร มีซุ้มเรือนแก้ว ขนาดหน้าตัก 3 ศอก เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานเสนาสนะ
ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอีสานในการติดต่อสื่อสารกันในชุมชน ใช้ภาษากลางในส่วนที่ต้องติดต่อราชการ
การยกฐานะเมืองมหาสารคามเป็นเทศบาลเมืองมหาสารคาม เมื่อ ปี พ.ศ. 2479 มีนายบุญช่วย อัตถากร เป็นนายกเทศมนตรีคนแรกของเทศบาลเมืองมหาสารคาม การจัดตั้งเขตเทศบาล ทางราชการมีนโยบายต่าง ๆ ในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญ รวมทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่าง ๆ เช่น ตัดถนน ขยายถนนหลายสายในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม รวมทั้งเริ่มมีการจัดระบบชุมชนที่จะมีการขยายตัวของที่อยู่อาศัย บทบาทการพัฒนาพื้นที่ของเทศบาลส่งผลต่อการขยายชุมชนของเขตเมืองเก่า เทศบาลได้ดำเนินนโยบายขยายพื้นที่เมืองมหาสารคามไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้มากขึ้น การพัฒนานโยบายนี้ทำให้ชุมชนนาควิชัยที่อยู่ทิศใต้ของเมืองเกิดการขยายชุมชนและการพัฒนาจากการขยายความเจริญพื้นที่
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ, ธีรชัย บุญมาธรรม และทม เกตุวงศา. (2545). โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมือง ศูนย์รวม เผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน จังหวัดมหาสารคาม 2545-2546. เทศบาลบาลเมืองมหาสารคาม.
เทศบาลเมืองมหาสารคาม. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2561-2565. เทศบาลเมืองมหาสารคาม.